การใช้ Line charts กรอง price levels ใน Candlestick charts

                ในโปรแกรมเทรด Metatrader 4 มี 3 ประเภทชาร์ตให้ท่านเลือกแทรด คือ Bar Charts Candlestick charts และ Line charts แต่ละอย่างมีการนำเสนอที่ต่างกันไป ก่อนจะมาศึกษาว่าใช้ชาร์ตอีกประเภทมากรอง price levels อีกประเภทได้อย่างไร ต้องอธิบายแต่ละชาร์ตโดยคร่าวๆ ก่อน

  1. Line charts น่าจะเป็นชาร์ตที่ง่ายที่สุด ตีเป็นเส้น ถือว่าเป็นชารตที่ง่ายที่สุด โดยราคาชาร์ตจะเป็นการลากจุดต่อจุดของราคาปิดแต่ละ timeframe ที่เลือก ดังนั้น Line charts จะแสดงเรื่องของเทรนให้ดูอย่างง่ายๆ ว่าตลาดขึ้นหรือลง ไม่ได้ให้ข้อมูลอะไรมากกว่านั้นเท่าไหร่ แต่ก็มีประโยชน์ถ้าท่านเป็นเทรดเดอร์ประเภทอิง fundamental information ของแต่ละคู่เงินที่เกี่ยวข้อง
  2. Bar charts จะเป็นที่นิยมและเทรดเดอร์มืออาชีพก็ใช้กันเยอะ ชาร์ตประเภทนี้ให้ข้อมูลมากกว่า Line charts เพราะ ชาร์ตแบบนี้นำเสนอ 4 ส่วน แต่ละช่วงเวลา คือ 1. ราคาเปิด 2. ราคาสูง 3. ราคาต่ำ และ 4. ราคาปิด ข้อดีของ Bar charts คือเห็น ticks ที่ออกมา ข้างช้ายบอกราคาเปิดและข้างขวาบอกราคาปิด ก็จะทำให้สามารถดู trading pressure การได้กำไรหรือการสูญเสียได้ชัดกว่าเมื่อเกิดขึ้นถ้าเทียบกับชาร์ตประเภทแรก สามารถดูระยะห่างราคาเปิดและราคปิดได้ง่าย ถ้าราคาปิดสูงกว่าบอกว่ากำลังขึ้น หรือถ้าราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิดก็บอกว่ากำลังลง โดย trading pressure ดูจากระยะห่างราคาเปิดกับราคาปิดและดูต่อเนื่องกัน ยิ่งดูพื้นที่เป็นแนวรับแนวต้านก็สามารถอ่าน price action ได้ว่าราคากำลังบอกอะไรกับพื้นที่ที่ให้ความสนใจ
  3. Candlestick charts น่าจะเป็นรูปแบบชาร์ตที่ใช้กันมากสุดตอนนี้ ชาร์ตประเภทนี้ให้ข้อมูลเดียวกับ Bar charts แต่การเพิ่มส่วนขยายเข้าไป เช่น ส่วนที่เป็นระยะห่างราคาเปิดราคาปิด สามารถปรับสีได้ต่างจากส่งที่เป็น upper shadow หรือ lower shadow หรือส่วนหาง หรือส่งระยะห่างจากราคาเปิด-ปิด เมื่อเทียบกัน Bar chart สามารถปรับสีต่างกันได้ ทำให้เข้าถึงราคาและแสดงผลการนำเสนอของแทงเทียนแต่ละช่วงเวลาได้เร็ว เช่นอาจปรับสี ส่วน real body เป็นสีเขียวถ้าราคาปิดสูงกว่าราคาเปิดและขนาดความยาวของสีที่อยู่ส่วน real body ก็สามารถสื่อความหมายได้เร็วด้วย หรือราคาปิดต่ำกว่าราคาเปิดก็สามารถปรับสีเป็นสีแดง

                ข้อดีของชาร์ตแบบ candlestick คือช่วยให้ท่านดูเทรนได้เร็ว เช่นเห็นบาร์สีเขียวต่อเนื่องกันก็เป็นเทรนขึ้น หรือบาร์สีแดงต่อเนื่องกันก็เป็นเทรนลง อีกอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือช่วยในการกำหนด candlestick patterns ได้ง่าย เช่น พวก pin bar, engulfing bar, two-bar reversal, spitting top, shooting bars เป็นต้น

                มาถึงว่าจะใช้ Line charts กรอง price levels ที่เห็นในชาร์ตแบบ candlestick charts อย่างไร ขอตัดชาร์ตที่เป็น Bar charts ออกไปเพราะ candlestick นำเสนอข้อมูลเดียวกันและมากกว่า ถ้ามอง candlestick เข้าใจก็จะมอง Bar charts ได้ทันที ก่อนอื่นก็หาพื้นที่ price level จากชาร์ต candlestick ก่อนแล้วเปิด line chart เทียบกันเพื่อปรับหาตำแหน่งที่ต้องการ ท่านจะดำแหน่งที่ดีขึ้นเพราะ line chart นำเสนอราคาเปิดอย่างเดียว อย่างเรื่องการอ่าน price action ผ่านแท่งเทียนอย่างหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือราคาปิดต่อ price level เป็นอย่างไร

                Line charts ทำให้เห็นความสำคัญของราคาปิดว่ามีอิทธพลเยอะต่อแท่งเทียนที่ตามมา ดูว่า line charts สร้างแนวรับแนวต้านอย่างไร และมอง price action จากแท่งเทียนประกอบ อย่างเลข 1 ราคาปิดและหักหัวลงอย่างรวดเร็ว ดูลักษณะเส้นจะดันลงเป็นเส้นตรงลงล่าง บ่งบอกว่าราคาปิดทางเดียวกันหมด เมื่อดูแท่งเทียนราคาลงแรงบาร์ยาวๆ ไปทิศทางเดียวกันปิดล่างด้วยต่อเนื่องกัน 4 แท่งเทียน รูป เลข 1 พอได้เห็นชาร์ต 2 แบบมีการกลับตัวแรงๆ แบบนี้ ท่านก็มาดูว่าพื้นที่อยู่ตรงไหน ท่านสามารถกำหนดพื้นที่ได้จากการดูชาร์ตแท่งเทียนว่าก่อนราคาจะลงแรงๆ มีพื้นที่ basing/consolidation เกิดขึ้นที่ราคาพยามดัน ตรงกรอบสี่เหลียมที่ตีในชาร์ตแท่งเทียนท่านก็จะได้แนวต้านที่ถูกที่ พอราคามาจุดที่เลข 2 เป็นการย่อตัวกลับมาพื้นที่เลข 1 ที่ขาใหญ่ต้องการจะเปิด sell orders เพิ่ม ถ้าท่านดู line chart ท่านก็จะไม่ได้จุดเข้านี้ แต่ถ้าดูแท่งเทียนประกอบท่านจะเห็นว่าตรงนี้เป็นจุดแรกที่เปิดเทรด ยกเว้นมีการล่า stop orders มาประกอบ เพราะพื้นที่ตรงนี้ถ้าดูแท่งเทียนจะมี trapped traders อยู่ เพราะถ้าราคากลับมาแล้วเกิดสัญญาณที่ราคาจะไม่ไปต่อหรือเกินขึ้นไปทางเลข 1 พวกนี้ก็จะออกจากตลาด

                จากเลข 1 ท่านจะพบว่า ถ้า line chart ที่หักกลับตัวแล้ววิ่งเกือบเป็นเส้นตรงขึ้นหรือลง ตรงที่กลับตัวยิ่งแหลมๆ ยิ่งดี แสดงว่ามี market orders เข้าเทรดเยอะเกิน limit orders เลยทำให้เกิดการกลับตัวทันที ถ้าต่อเนื่องเป็นเส้นยาวก็บอกว่า ออเดอร์เยอะ ต่อเนื่อง และมีแต่เทรดเดอร์อยากเทรดทางนั้นเลยสะท้อนความไม่สมดุลย์ออกมาชัดเจน แล้วท่านก็ดูแท่งเทียนประกอบเพื่อดู (1.) พื้นที่ supply/demand base, support/resistance zone (2.) ดูว่ามีการหักตัวในพื้นที่เพื่อดูการซึมซับออเดอร์ (3.) ดูว่า trapped traders อยู่ส่วนไหนเมื่อราคากลับมาจะหาจุดกดดันจากเทรดเดอร์พวกนี้ได้ถูก

                เลข 3 ราคาลงมา จะเห็นว่ามีการหักตัวแรงแต่ลงต่อ พอมาดูแท่งเทียนจะพบว่า ก่อนการหักตัวเป็นการปิดทำกำไร แล้วค่อยหักตัวลงแรงต่อนื่อง ดูลักษณะเส้น line chart เกือบตรงลง แสดงว่าเป็นการเข้าเทรดอีก พอมาถึงเลข 4 line chart หักตัว  มีการหักกลับตัว 2 รอบพื้นที่เดียวกันแล้วเด้งขึ้น การเด้งครั้งที่สองเกิดที่หักตัวแล้วเด้งรอบแรก สามารถสร้าง Higher High ได้จนถึงเลข 5 ค่อยจะกล้าเทรดเพราะถ้าดูแท่งเทียนประกอบ ราคาสามารถทำ Higher Low ได้ และมี trapped traders อยู่ในโครงสร้าง เลยทำให้ราคาขึ้นเร็ว ข้อมูลจากการอ่าน line chart ประกอบกับแท่งเทียนแบบนี้ เปิดเผยว่าขาใหญ่เข้าเทรดสัญญานเทรดเกิดที่เลข 5 หลัง bearish candlestick ปิดและเด้งที่พื้นที่เดิม หรือตอนราคาของแท่งต่อมาเกิด High ของ bearish candlestick นั้นก็ได้

                ที่น่าสังเกดที่เลข 7 ว่าทำไมราคาหักตัวนั้น ถ้าดู line chart อย่างเดียวจะไม่เห็นเพราะตอนที่ราคาวิ่งลง แม้ว่าแท่งเทียนจะมีส่วนอยู่ในพื้นที่เดียวกัน 3 แท่งเทียน แต่ไม่มีแท่งไหนปิดบนได้แบบจุดเลข 3 ท่านเลยไม่เห็นการหักตัวของ line chart ที่เด้งขึ้นแล้วลงต่อ แต่หลักการทำงานออเดอร์บอกว่า ถ้าราคาพื้นที่เดียวกันแสดงว่ามี filled orders ตรงนั้น ต้องใส่ใจตอนที่ราคาวิ่งกลับมาราคาจะบอกเองว่า มันจะโต้ตอบเปล่า เช่นอย่างจุดที่ลูกศรชี้ ดูจากแท่งเทียนราคาวิ่งผ่านจุดที่อธิบายมาเกินไปปิดบนด้วย ราคาลงมาเด้งแล้วขึ้นทำ new high ไปแถวพื้นที่เลข 3 และราคาเด้งแถวพื้นที่เลข 3 สองรอบได้แล้วลงมา จุดอ้างอิงที่ว่า ตอนราคาขึ้นมันเปิดเผยว่าอยากโต้ตอบกรอบสีแดง พอ line chart หักหัวกลับทาง ท่านก็ดูแท่งเทียนประกอบก็จะได้จุดเทรดอีก เพราะราคาวิ่งไปแถวพื้นที่เลข 3 มาก่อนแล้วได้ไปซึมชับ sell orders หรือ ลด sell liquidity ตรงนั้นออก ก็ทำให้เป็นไปได้สูงถ้าราคามาอีกรอบที่ราคาจะวิ่งผ่านได้ง่าย

ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com

เขียนโดย

Somchai Witthtaya

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon