ตัวชี้วัดทางเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญต่อการพยากรณ์ราคา : GDP (Gross Domestic Product)

GDP หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ จัดเป็นหนึ่งในตัวชี้วัดสภาพความสมบูรณ์ของเศรษฐกิจ ซึ่งคำนวณจากปริมาณการผลิตสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในประเทศในช่วงระยะเวลาหนึ่ง โดยปกติแล้ว การตีความสภาพความสมบูรณ์ของเศรษฐกิจในประเทศ จะใช้ GDP ของรอบเวลาปัจจุบันเปรียบเทียบกับ GDP กับรอบเวลาฐาน ยกตัวอย่างเช่น ในกรณีที่คำนวณหา GDP ที่เกิดขึ้นในรอบปี ถ้า GDP ในรอบปีปัจจุบันมีค่าเป็น 3% จะสามารถตีความได้ว่า สภาพเศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านี้

VK-GDP and Forex

สภาพสมบูรณ์ของเศรษฐกิจที่ถูกนำเสนอออกมาในรูปของ GDP จะเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนของประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ครัวเรือน อุตสาหกรรม หรือรัฐบาล ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจมีความแข็งแรงสมบูรณ์ เราจะพบว่าอัตราการว่างงานในประเทศจะลดต่ำลง ค่าจ้างแรงงานสูงขึ้น เกิดการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ มีการหมุนเวียนเงินทุนไปยังภาคส่วนต่างๆ แต่ในทางตรงกันข้าม หากสภาพเศรษฐกิจไม่มีความแข็งแรง ซึ่งแสดงออกมาในรูปของค่า GDP ที่น้อยมากหรือติดลบ นักลงทุนก็จะรู้สึกกังวลและไม่มั่นใจกับเศรษฐกิจของประเทศ นำไปสู่การลดปริมาณเงินลงทุนและโยกย้ายเงินลงทุนไปยังประเทศอื่นแทน

ตัวชี้วัด GDP ส่งผลกับตลาด Forex อย่างไร

อย่างที่เราทราบดีว่าการประกาศตัวเลข GDP ที่เกิดขึ้นจริง หรือแม้แต่ ตัวเลข GDP ที่คาดหวังนั้นทำให้เกิดความผันผวนของราคา นักลงทุนจะเริ่มทำการประเมินและพยากรณ์ราคาจากตัวเลข GDP ที่ถูกประกาศออกมา และเนื่องจากว่า GDP เป็นตัวชี้วัดหลักที่บ่งบอกสภาพเศรษฐกิจของประเทศ เราจะพบว่า ทิศทางของ GDP มักจะแปรผันตรงกับทิศทางของค่าเงิน กล่าวคือ ในประเทศที่มี GDP สูงจะมีปริมาณการใช้จ่ายภายในประเทศสูงด้วย ซึ่งการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นมีโอกาสที่จะทำให้เศรษฐกิจประสบกับภาวะเงินเฟ้อได้ และเมื่อเศรษฐกิจในประเทศเริ่มส่งสัญญาณเงินเฟ้อออกมา หนึ่งในมาตรการที่ธนาคารกลางใช้เพื่อควบคุมระดับเงินเฟ้อก็คือการเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หรือ interest rate เพื่อลดการใช้เงินทุนภายในประเทศ แต่ขณะเดียวกันการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวก็จะดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ส่งผลให้ค่าเงินสูงขึ้นตามหลักของ Demand และ Supply ทางเศรษฐศาสตร์

GDP

รูปที่ 1 แสดงตัวอย่าง Website ที่ประกาศตัวเลข GDP

การอ่านตัวเลข GDP

            โดยปกติแล้ว การประกาศตัวเลข GDP จะมีการประกาศออกมาทั้งแบบรายเดือนหรือรายไตรมาส นอกจากนั้นแล้ว ยังจำแนกเป็น ตัวเลข GDP ที่เกิดขึ้นจริง และตัวเลข GDP ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น โดยตัวเลขทั้งสองแบบนี้ล้วนมีความสำคัญต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งสิ้น นอกจากนี้แล้ว ตัวชี้วัดอีกตัวหนึ่งที่นักลงทุนมักใช้พิจารณาร่วมกับตัวเลข GDP เพื่อพยากรณ์ทิศทางของราคาก็คือ CPI (Consumer Price Index) หรือ ดรรชนีราคาผู้บริโภค ซึ่งมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการวัดหาระดับเงินเฟ้อด้านการบริโภคที่เกิดขึ้นในประเทศ

CPI

รูปที่ 2 แสดงตัวอย่าง Website ที่ประกาศตัวเลข CPI

การพยากรณ์ราคา Forex ต้องไม่ลืมหาข้อมูลทั้งสองด้าน

แต่อย่างไรก็ตาม การพยากรณ์ทิศทางราคาในตลาด Forex นั้น นักลงทุนต้องไม่ลืมว่า Forex คือการเปรียบเทียบค่าเงินของสองประเทศ ฉะนั้นการวิเคราะห์ทางพื้นฐานจึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ทั้งสองประเทศที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่น การพยากรณ์ค่าเงิน USD/CAD เราจะต้องมีความรู้ด้านตัวเลขเศรษฐกิจทั้งของสหรัฐอเมริกาและแคนาดา สมมติว่า U.S. มีการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจออกมา และพบว่า U.S. มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (Economic Growth) สูง ราคาเงินดอลล่าห์ก็มีความเป็นไปได้ที่จะสูงด้วย พยากรณ์ว่าราคา USD/CAD น่าจะสูงขึ้น แต่หาก Canada มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว เราจะพบว่าราคา USD/CAD จะลดลง ซึ่งผิดจากที่เราพยากรณ์ไว้ในตอนต้น

หลักในการใช้ตัวเลข GDP ในการพยากรณ์ทิศทางราคา

            ในที่นี้ขอยกตัวอย่างด้วย USD/CAD

  • ถ้า GDP ของ S. สูงขึ้นมาก (อาจจะใกล้ส่งสัญญาณเงินเฟ้อออกมา) แต่ GDP ของ Canada อยู่ในระดับปกติ พยากรณ์ว่า USD/CAD จะขึ้น
  • ถ้า GDP ของ S. อยู่ในระดับปกติ แต่ GDP ของ Canada มีค่าสูงมาก พยากรณ์ว่า USD/CAD จะลง
  • ถ้า GDP ของทั้ง S. และ Canada ใกล้เคียงกัน จะยังไม่มีความชัดเจนด้านทิศทาง ให้พิจารณาข้อมูลด้านอื่นๆ ประกอบ

 

 

ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon