เส้น

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา : ทฤษฎีลำดับเลข Fibonacci

ลำดับเลข Fibonacci กำเนิดจากนักคณิตศาสตร์ชื่อ Leonardo Fibonacci โดยมาจากการใช้ตัวเลขลำดับบวกกันไปเรื่อย ๆ ตั้งแต่ 0 นั่นคือ ถ้าเอา 0 บวกเลขลำดับถัดไปคือ เลข 1 จะได้ผลเท่ากับ 1 และเอาผลลัพธ์ที่ได้มาบวกกลับเข้าไปกับเลขก่อนหน้าจะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 2 และเอาเลข 2 บวกย้อนกลับเข้าไปกับผลลัพธ์ที่ได้ก็จะได้ผลลัพธ์เท่ากับ 3 บวกไปเรื่อย ๆ ดังนี้

                             0+1 = 1

                             1+1 = 2

                             2+1 = 3

                             3+2 = 5

                             5+3 =8

                             8+5 = 13

                             13+8=21

                             21+13=34…

ซึ่งหลังจากนั้นได้มีการนำลำดับเลขมาตีความมากมาย เช่น  นำตัวเลขผลลัพธ์ 21/13 = 1.615 เมื่อนำไปหารตัวข้างหน้า เช่น 21/34 = 0.617 สัดส่วน 0.617 อะไรต่าง ๆ เหล่านี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสัดส่วนต่าง ๆ ในธรรมชาติมากมาย เช่น การเพิ่มของตัวเลขที่มีลักษณะคล้ายกับก้นหอย ซึ่งเปลือกหอยในธรรมชาติก็มีสัดส่วนการเพิ่มที่ใกล้เคียงกัน

รูปที่ 1 การเพิ่มขนาดลำดับเลข Fibonacci
ที่มา : https://en.wikipedia.org/wiki/Fibonacci_number

นอกจากเปลือกหอยแล้วยังมีการนำไปเปรียบเทียบกับตัวอย่างอื่น ๆ เช่น จักรวาล กระบองเพชร การเรียงตัวของสัดส่วนบางอย่าง สัดส่วนของจุดกึ่งกลางสะดือมนุษย์ไปจนถึงเท้ากับ สะดือไปจนถึงศรีษะก็จะมีสัดส่วนใกล้เคียงกับรูปร่างของสัดส่วน Fibonacci คลื่นในทะเล ใบไม้ และ DNA ก้นหอยในลายมือมนุษย์ เกลียวของโมเลกุลทองคำ มันจึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า อัตราส่วนทองคำ

ด้วยความที่มันสามารถเหมาะเจาะกับสัดส่วนในธรรมชาติหลาย ๆ แบบ ทั้งยังเหมาะเจาะพอดีกับปรากฏการณ์ในธรรมชาติหลาย ๆ อย่างเราก็เลยทึกทักเอาว่า ในตลาด Forex มันก็น่าจะใช้งานได้เช่นเดียวกัน

 


รูปที่ 2 เปลือกหอยและสัดส่วน Fibonacci
ที่มา: https://hecatedeinze.wordpress.com/heilige-geometrie/

 

ในตลาด Forex ใช้งานอย่างไร?

อย่างที่ได้กล่าวไว้ว่า ลำดับตัวเลขเมื่อนำผลลัพธ์ไปเล่นแร่แปรธาติได้ตัวเลขมาหลาย ๆ ชุด เช่น นำไปหารกัน นำไปคูณกัน สัดส่วนเหล่านั้นจึงถูกนำมาใช้ในตลาด Forex เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนไหวของราคาว่าจะไปจบหรือเริ่มที่จุดไหน ใช้เป็นทั้งจุดเข้าเทรด และจุดทำกำไร ไม่ว่ามันจะใช้ได้หรือไม่ เดี๋ยวผมแสดงตัวอย่างให้ดูกันก่อน

รูปที่ 3 แสดงเครื่องมือ Fibonacci Retracement

ในรูปแสดงเครื่องมือ Fibonacci Retracement ซึ่งผมทำการลากจากเทรนด์ที่จบก่อนหน้า ของค่าเงิน EURUSD เนื่องจากจะไม่ได้มีข้อโต้แย้งว่าผมลากกับเทรนด์ที่ยังไม่สิ้นสุด จึงใช้กับเทรนด์ที่สิ้นสุดไปแล้ว จะเห็นว่าระดับสัดส่วนที่ปรากฏใน Fibonacci Retracement นั้นประกอบด้วยอัตราส่วนเปอร์เซ็นดังต่อไปนี้  23.6 , 38.2 , 50.0 , 61.8  , และ 100 จะเห็นว่าอัตราส่วน 61.8 นั่นก็คือ 0.617 ที่เราคำนวณในตอนแรกนั่นเอง

ในการใช้งาน Fibonacci Retracement เพื่อกำลังบอกการพักฐานของราคา (Retracement) ในระดับต่าง ๆ คาดการณ์ว่าราคาจะหยุด ณ จุดนั้นแล้วดีดกลับ ดังนั้นมันจึงนิยมใช้เข้าเป็นจุดเข้าเทรดและจุดทำกำไรเพราะมันจะบอกจุดดีดกลับให้เรา

ปัญหาของมันคืออะไร?

หลายคนอาจจะฟังดูแล้วคิดว่ามันใช้ได้ และมีหลักการทางวิทยาศาสตร์ แต่ก็ไม่มีหลักฐานความเชื่อมโยงอะไรต่าง ๆ ว่า ทำไม!!! ตัวเลขชุดแค่นี้ถึงอธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติและตลาด Forex ได้ ดังนั้นสิ่งที่เราต้องทำอันดับแรกคือ ต้องตั้งคำถาม แล้วคำถามของมันคืออะไร?

  • ทำไมอัตราส่วนตัวเลขนั้นถึงจะสามารถอธิบายการพักฐานของราคาได้อย่างนั้นหรือ?
  • จริง ๆ แล้วมันมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือไม่?

แค่เพียง 2 คำถามนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่เหนื่อยสำหรับการพิสูจน์ว่าอัตราส่วนตัวเลข Fibonacci นั้นจะสามารถใช้ได้หรือไม่สำหรับการเทรด Forex เรามาลองทำการตอบคำถามรายคำถามกันดีกว่า

 

ทำไมอัตราส่วนตัวเลขนั้นถึงจะสามารถอธิบายการพักฐานของราคาได้อย่างนั้นหรือ?

การจะตอบคำถามว่าทำไม คงต้องตอบว่า พฤติกรรมคนก็จะมีสัดส่วนเป็นก้นหอยด้วยหรือไม่ จำนวนคนส่วนใหญ่ก็จะมีสัดส่วนเป็นก้นหอย หรือว่าอัตราส่วน Fibonacci ด้วยหรือไม่ อัตราส่วนดังกล่าวจะสามารถอธิบายพฤติกรรมของคนได้ด้วยหรือไม่ ถ้าเราตั้งสมมุติฐานแบบนี้ก็จะเห็นว่า มันก็อาจจะเป็นไปได้ว่า พฤติกรรมการซื้อขายของคนนั้นจะสามารถตอบโจทย์ของ Fibonacci ได้ โดยรูปลักษณ์ของพฤติกรรมจะต้องเป็นอัตราส่วนเดียวกับ Fibonacci หรือใกล้เคียง หรืออีกแบบหนึ่งคือใช้ไม่ได้ แล้วเราจะพิสูจน์มันได้ไหมหล่ะ?

จริง ๆ แล้วมันมีหลักฐานเชิงประจักษ์หรือไม่?

การจะพิสูจน์เรื่องนี้ว่า อัตราส่วน Fibonacci ในการใช้การเทรดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่ยากเลย สามารถทดสอบได้โดยใช้สถิติด้วยซ้ำ เพียงแค่ลากเส้น Fibonacci ซัก 500 ครั้งเพื่อดูว่ามีจำนวนกี่ครั้งที่มันตอบรับกับสัดส่วนของ Fibonacci  ซึ่ง 500 ครั้งไม่ได้สาหัสหรอกจริงหรือไม่ เพราะว่าการทำ Back Test นั้นต้องใช้จำนวนครั้งมากกว่านั้นอีก แล้วต้องใช้จำนวนครั้งเท่าไหร่ถึงจะยอมรับว่ามันใช้ได้?  ในทางสถิติแล้ว เปอร์เซ็นต์ที่ยอมรับได้คือ 90 % ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งทางนักวิชาการมักจะบอกว่า ค่า P-value จะต้องเท่ากับ 0.10 หรือน้อยกว่านั้น กล่าวคือ การเทียบรูปแบบ 500 ครั้งสัดส่วนต้องได้พอดีเท่ากับ 450 ครั้งนั่นเอง ลองดูตัวอย่างการคิดกันว่าพอดีเป็นอย่างไร จากรูปที่ 4

รูปที่ 4 แสดงการวัด Fibonacci

จะเห็นว่าวงกลมสีฟ้านั้นไม่ถึง ระดับ 50 % มีเพียงจุดใน 4 เหลี่ยมสีแดงด้านขวาสุดที่ตรงกับระดับ 61.8 หมายความว่าถ้าหากเรานับไปเรื่อย ๆ ก็ย่อมมีโอกาสฟลุ๊คโดนแน่นอน แต่จะถึง 90 % นี่จะได้รับการยอมรับทางวิทยาศาสตร์รึเปล่า

เพียงเท่านี้สำหรับผม ผมคิดว่าไม่มีทางเป็นไปได้แน่นอน และไม่สามารถอธิบายอะไรได้ แม้ว่ามันจะมีจังหวะที่ถูกบ้าง แต่เราจะเอาเงินของเราไปเสี่ยงกับจังหวะที่เรียกว่า “บังเอิญตรงกัน” อย่างนั้นหรือ??? ไม่เอาด้วยคนหล่ะ

Keywords: ทฤษฎี Fibonacci, พิสูจน์ Fibonacci , สัดส่วน Fibonacci

เส้น

เขียนโดย

Somchai Witthtaya

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon