เส้น

วิธีการจัดการ Lot 

โดยทั่วไปแล้ว การจัดการ Lot เป็นสิ่งหลักที่ต้องพูดถึง การจัดการ Lot มันคือ Money Management  คือ การลดความเสี่ยง การเพิ่มความน่าจะเป็นในการทำกำไร  ถ้าจะให้บอกว่า วิธีการจัดการ Lot แบบไหนที่มีประสิทธิภาพสูงสุด และดีที่สุดสำหรับการเทรด Forex  ผมคงต้องบอกว่า มันคือวิธีการส่ง Lot เท่ากันหมดทุกออเดอร์ ทำไมการส่งทุกออเดอร์เท่ากันหมดถึงเป็นการจัดการ Lot ที่ดีได้อย่างนั้นหรือ ?  ก็เพราะว่า ด้วยความไม่รู้ของเรานั่นแหละครับ ทำให้เราจะจัดการ Lot ให้เท่ากันหมด แล้วการจัดการ Lot แบบไหนที่ผมชื่นชอบเป็นพิเศษ ก็เรียกว่า การจัดการ Lot ตามความเสี่ยงครับ  โดยบทความนี้เราก็จะมาพูดถึงเรื่องการจัดการ Lot เป็นหลัก ดังต่อไปนี้

วิธีการจัดการ Lot

การจัดการ Lot คืออะไร?

การจัดการ Lot คือ การบริหารจัดการความเสี่ยง ดังนั้น การจัดการความเสี่ยง หมายความว่าเรารู้ว่ามันเสี่ยง ความเสี่ยง คือ การที่เราไม่สามารถคาดเดาได้ว่า ผลของมันจะไม่แน่นอน ซึ่งก็คือ เราไม่รู้นั่นเอง ถ้าเราไม่รู้ว่า จะเกิดเหตุการณ์แบบไหนและจะเป็นอย่างไร นั่นเรียกว่า ความเสี่ยง  และเพื่อให้ความเสี่ยงน้อยลง เราก็ต้องมีการจัดการ Lot การจัดการ Lot สามารถแบ่งได้เป็นหลายรูปแบบ เรามาดูรูปแบบ ของการจัดการ Lot กัน

  1. รูปแบบ คงที่ – รูปแบบคงที่ คือ ส่งเท่ากันทุกครั้ง ซึ่งทำให้ เวลาขาดทุนก็จะได้คืนในสัดส่วนที่เท่ากัน การจัดการ lot แบบนี้จึงมีความน่าสนใจ
  2. รูปแบบปิรามิด – รูปแบบ ปิรามิด มี 2 แบบ คือ ปีรามิด คว่ำและหงาย ซึ่ง ปิรามิด หมายความว่า ยิ่งราคาลดต่ำลงก็จะส่ง Lot มากขึ้น หรือ่ในทางกลับกัน ยิ่งราคาสูงขึ้นก็จะส่ง lot สูงขึ้น
  3. รูปแบบตามความเสี่ยง – เช่น เสี่ยงมากก็จะส่งน้อย เมื่อเสี่ยงน้อยก็จะส่งมาก

ใน 3 รูปแบบที่ว่ามา ผมชอบ lot แบบรูปแบบตามความเสี่ยงมากที่สุด เพราะว่าจัดการได้ง่าย แต่อย่างไรก็ตาม มันก็มีจุดอ่อนอยู่บ้าง ซึ่งเดี๋ยวเราจะว่ากันในรายละเอียดต่อไป การจัดการ Lot ใน 3 รูปแบบที่กล่าวมานั้น อาจจะมีรูปแบบย่อยอีก เช่น รูปแบบปิรามิด ก็คือ รูปแบบ Martinagle หรือ การเทรดแบบ เบิ้ลล็อต  ที่เราคุ้นเคย ซึ่งจะมีทั้งใส่ Stop loss และไม่ใส่ Stop loss เป็นต้น ขณะที่รูปแบบตามความเสี่ยง ก็สามารถแยกออเดอร์ หรือรายจุดได้ ระบบที่เป็นที่รู้จักระบบหนึ่งในรูปแบบตามความเสี่ยง คือ Kelly formula นั่นเอง

 

รูปแบบตามความเสี่ยง

ในรูปแบบตามความเสี่ยงที่ผมจะพูดถึงวันนี้เป็นรูปแบบตามความเสี่ยงแบบธรรมดา เช่น ถ้าหากเราคิดว่า ค่าเงินจะลง แล้วคิดว่ามันมีโอกาสเท่าไหร่ที่จะลงกัน ถ้ามีโอกาสมาก เราก็ส่ง Sell และถ้ามันมีโอกาสน้อย แต่คิดว่ามีโอกาสกลับตัว เราก็ควร ส่ง Sell แต่ Lot น้อยๆ ครับ และเพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ผมเลยยกตัวอย่างในกราฟดังต่อไปนี้

ในรูปผมใส่กราฟ ลงมาเป็นกราฟ ของ EURUSD ในกราฟเป็นกราฟ 1 ชั่วโมง ผมได้ทำการสร้างวงกลมไว้ 3 ประเภท โดยแบ่งตามสี ซึ่งมี 4 สถานการณ์ตัวอย่าง เรามาดูสถานการณ์แรก

สีเหลืองวงกลมแรก จะเห็นว่า เป็นวงกลมที่ราคามีแนวโน้มว่าจะขึ้น แต่ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะขึ้นหรือไม่ เพราะว่า ราคาเคลื่อนไหวอยู่กึ่งกลาง Envelope indicator ผมจึงคิดว่า ผมจะให้ความเสี่ยงของโอกาสที่จะไม่ขึ้น เท่ากับ 60 % นั่นหมายความว่า มีโอกาสที่จะไม่ขึ้น 60 % แต่ก็ยังคิดว่ามีโอกาสไม่ขึ้นอยู่ด้วย ถ้าเดิมทีผมจะส่ง Lot 1 Micro Lot ผมจะส่งแค่ 0.3 หรือ 0.4 ของที่จะส่งเท่านั้น

วงกลมสีฟ้า จะเห็นว่า เป็นกราฟที่มีแนวโน้มว่าราคาจะขึ้น และค่อนข้างที่จะมีแรงสนับสนุนจากการเคลื่อนไหว พฤติกรรมราคาที่แกว่งตัวอยู่ในกรอบค่อนข้างบน  ผมคิดว่าน่าจะขึ้น แต่ว่าราคามันเคลื่อนไหวอยู่ช่วงกลางจึงคิดว่า จะให้สัก 60 % ของ Lot ที่จะส่งคือ Lot Micro 1 โดยส่งแค่ 0.6

อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ สีเหลือง ที่ผมคิดว่า มีโอกาสที่กราฟจะกลับตัวเป็นขาลงสูง แต่ว่าผมก็ยังไม่แน่ใจเพราะที่ผ่านมา กราฟ EURUSD นั้นเป็นขาขึ้น ผมจึงคิดว่า จะส่งแค่ 0.3 เหมือนกับ Position แรก ซึ่งแน่นอนว่าผมเดาถูกเพราะมันกลายเป็นขาขึ้น

และกราฟรูปแบบสุดท้าย เนื่องจากมันแตะจุดสูงสุดแล้วดีดกลับ จึงคิดว่า มีโอกาสูงมากที่ราคาจะลง จึงได้ส่ง Lot 1  สูงสุดของที่คำนวณว่าจะต้องเทรดเท่านั้น

 

ข้อดีข้อเสียของการส่ง Lot ตามความเสี่ยง

ข้อดี – การส่ง lot ตามความเสี่ยงทำให้บางจังหวะสามารถทำกำไรได้เร็ว และเมื่อเป็นไปตามความคิดของเรามันก็จะสามารถป้องกันความเสี่ยงของการที่จะขาดทุนไว้ด้วย เนื่องจาก ส่ง lot น้อย

ข้อเสีย – เนื่องจากเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น ดังนั้นการส่งตามความเสี่ยง เมื่อเรามั่นใจสูงเราก็จะส่ง lot ใหญ่ แต่ถ้ามันผิด การเอาคืนจากการผิดพลาดออเดอร์แรก จะไม่มีอะไรเกิดขึ้นเลย ดังนั้น ถ้าเราขาดทุนและครั้งต่อไปเราส่ง Lot เล็กก็จะไม่สามารถ Cover ขาดทุนครั้งเก่าได้ ดังนั้น การส่ง Lot แบบนี้จึงเป็นอะไรที่ต้องเสี่ยงกันบ้างและต้องใช้การคาดการที่แม่นยำด้วยเช่นกัน

 

ทีมงาน : thaibrokerforex.com

 

เขียนโดย

Somchai Witthtaya

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chatchawal Nakcharoen