เทคนิคการหาแนวรับ แนวต้าน ด้วยการใช้อินดิเคเตอร์ Fibonacci retracements
แนวรับ แนวต้าน เป็นคำที่นักลงทุนมักได้ยินกันอย่างคุ้นหู โดยประโยชน์ของแนวรับ แนวต้านคือสามารถใช้เป็นจุดอ้างอิงในการซื้อขาย โดยแนวรับ แนวต้านนั้นสามารถหาได้หลายหลากวิธี เช่น Trend line, Horizontal line, Fibonacci retracements ซึ่งบทความฉบันนี้จะเป็นนำเสนอวิธีการหา แนวรับ แนวต้าน จาก Fibonacci retracements
ทำไมต้องใช้ Fibonacci retracement
เนื่องจาก การตีเส้นแนวรับ แนวต้านตามแนวระดับ (Horizontal line) ซึ่งเป็นวิธีพื้นฐานที่นักลงทุนคุ้นเคยกันดีนั้น ใช้ได้ดีเฉพาะเมื่อราคาเคลื่อนไหวในกรอบ sideway แต่หากราคาอยู่ในช่วงสภาวะที่ราคามีแนวโน้ม (Trending) จะไม่สามารถตีเส้น แนวรับ แนวต้านตามแนวระดับ เพื่อหาแนวรับ แนวต้านได้ จึงเป็นเหตุให้นักลงทุนในยุคก่อนหน้าได้มีการคิดค้น Fibonacci retracement ขึ้นมาเพื่อใช้หาแนวรับ แนวต้าน ในช่วงสภาวะที่ราคามีแนวโน้ม หรือเป็น Trend
รูปที่ 1 : ตลาดไม่มีแนวโน้ม คือเคลื่อนไหวในกรอบ (sideway) สามารถตีเส้นในแนวระดับ เพื่อหาแนวรับ แนวต้านได้
รูปที่ 2 : ราคาเกิดแนวโน้มขาลง (Downtrend) ไม่สามารถตีเส้นในแนวระดับเพื่อหาแนวรับ แนวต้านได้
ที่มาของลำดับเลข Fibonacci
ก่อนที่เราจะไปสู่ขั้นตอนของการใช้ Fibonacci Retracement ในการหาแนวรับแนวต้านนั้น เราควรมาทำความรู้จักกับลำดับเลข Fibonacci ที่มีชื่อเสียงโด่งดังนี้ซักเล็กน้อยก่อน
ลำดับเลข Fibonacci ถูกตั้งชื่อตามผู้คิดค้น คือ Leonardo Fibonacci ซึ่งได้ค้นพบลำดับของจำนวนเต็ม โดยที่จำนวนถัดไปจะมีค่าเท่ากับผลบวกของจำนวนสองจำนวนก่อนหน้า และสองจำนวนแรกก็คือ 0 และ 1 ตามลำดับ นำไปสู่รหัสลับของธรรมชาติที่มีการจัดเรียงตัวทางกายภาพตามลำดับดังกล่าว เช่น รูปแบบการเกิดฟ้าแลบ รูปแบบการจัดเรียงตัวทางกายภาพของพืชและสัตว์ วงเกลียวของดอกไม้
นอกจากนี้แล้ว เมื่อนำตัวเลขลำดับที่ n หารด้วยตัวเลขลำดับที่ n+1 (หรือเลขหน้า หารด้วยเลขลำดับถัดมา) โดยที่ n เป็นตัวเลขลำดับที่ 4 ขึ้นไป จะพบว่า ค่าหารที่ได้ออกมาจะมีค่าอยู่ที่ 0.618 เสมอ และเมื่อตีเป็นเปอร์เซ็นแล้ว 0.618 จะมีค่าเท่ากับ 61.8% และอีกส่วนจะเป็น (100-61.8)% หรือเท่ากับ 38.2% นั่นเอง
การหาแนวรับ แนวต้านด้วย Fibonacci Retracement
ตัวเลขอัตราส่วนที่สำคัญของ Fibonacci Retracement คือ 38.2 และ 61.8 สำหรับวิธีการหาแนวรับ แนวต้านโดยใช้ Fibonacci retracement นั้นทำได้โดยง่าย คือ เพียงแค่เลือกจุดต่ำสุด และสูงสุดในรอบการเคลื่อนไหวนั้นๆ ระดับของแนวรับ แนวต้านที่ระดับ 31.8 และ 61.8 จะปรากฏขึ้นดังรูปด้านล่าง
รูปที่ 3 : แนวโน้มขาลง เลือกจุดสูงสุดที่ A และเลือกจุดต่ำสุดที่ B
รูปที่ 4 : แนวโน้มขาขึ้น เลือกจุดต่ำสุดที่ A และเลือกจุดสูงสุดที่ B
การกำหนดจุดซื้อขาย (Entry point)
- พิจารณาช่วงราคา ว่ามีการเคลื่อนไหวแบบใด ถ้ามีการเคลื่อนไหวในกรอบ ให้ใช้การตีเส้นแนวรับแนวต้านตามแนวระดับ (Horizontal Line) หรือถ้าเคลื่อนไหวในกรอบแบบมีทิศทาง ให้ใช้การตีเส้นแนวรับแนวต้านตามแนวโน้ม (Trend Line)
- ถ้าการเคลื่อนไหวของราคาไม่สามารถหาแนวรับ แนวต้าน ได้จากการตีเส้นแนวรับแนวต้านตามแนวระดับ (Horizontal Line) หรือ การตีเส้นแนวรับแนวต้านตามแนวโน้ม (Trend Line) ให้ใช้การตีเส้นด้วยอินดิเคเตอร์ Fibonacci แทน
- แนวโน้มขาลง นักลงทุนจะเลือกจุดขายหรือจุด Short selling ที่ระดับแนวรับของ Fibonacci ที่ 38.2 และ 61.8 (รูปที่ 3)
- แนวโน้มขาขึ้น นักลงทุนจะเลือกจุดซื้อที่ระดับแนวรับของ Fibonacci ที่ 38.2 และ 61.8 (รูปที่ 4)
ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com