Flipping levels – เข้าใจและใช้ให้เป็น
Support/Resistance น่าจะเป็นอีกเรื่องที่เทรดเดอร์รู้มากที่สุด น่าจะเป็นหลักการอ้างอิงการเทรดเบื้องต้น ถึงขั้นยากก็ว่าได้แล้วแต่ประยุกต์กันออกไป เข้ากับ technical analysis แต่คำว่า แนวรับ แนวต้าน ทุกเทรดเดอร์น่าจะรู้จักดี และรู้ว่าจะหาโอกาสเปิด sell เมื่อราคาถึงแนวต้าน (resistance) หรือเปิด buy เมื่อราคาลงมาถึงแนวรับ (support) รูปแบบการเทรดต่างๆ เช่น Position trading, Swing trading, Day trading และ Scalp trading ต่างมีวิธีถือออเดอร์ต่างกันออกไป มีผลต่อการถือออเดอร์ที่ support/resistance level ยาวนานต่างกันออกไป ทำให้มีผลต่อราคาที่เคลื่อนไปหา support/resistance level นั้นๆ ต่างกันออกไป
แต่ถ้าแนวรับ แนวต้านนั้นเป็นที่สนใจหลายกลุ่มการเทรด นั่นหมายถึง จำนวนออเดอร์ที่เกิดการจัดการออเดอร์ที่เกิด ทั้งรูปแบบ limit orders เพิ่ม liquidity เข้าตลาด market orders ลด liquidity ออกจากตลาด หรือ stop orders จากพวกเทรดเดอร์ที่มี positions อยู่ในตลาด เมื่อราคาเปลี่ยนแปลงทิศทางเทรดของพวกเขากลายเป็น market orders ไปในตัวก็ทำหน้าที่เป็น maket orders แล้วแต่ละข้างที่พวกเขาปิดไป ถ้า support/resistance level นั้นๆ ดึงดูดเทรดเดอร์จากกลุ่มเทรดต่างๆ แบบนี้ได้หมด หมายความว่า จะทำให้ S/R level นั้นๆ โต้ตอบแรงและเร็ว เพราะจำนวนออเดอร์ที่มากจากเทรดเดอร์ต่างๆ พวกนี้ด้วย
ราคาไม่ได้วิ่งทางเดียวหรือขึ้นตลอดเป็นเส้นตรง ราคาวิ่งไปย่อตัวไป เพราะออเดอรทำงานอย่างไรตามกลไกตลาดเพราะมีคนได้ต้องมีคนเสีย มีการปิดกำไร มีการเปิดออดรอใหม่เข้าเทรดอีกตลอด ถ้าเป็น level ที่เทรดเดอร์สนใจมาก ก็ยิ่งมีออเดอร์เยอะ เช่น ถ้าเป็น support levels แต่โดนเบรดด้วยบาร์ยาวๆ จาก support กลายเป็น resistance ตรงนี้เรียกว่าเปลี่ยนข้าง หรือ Flipping จึงเรียกเป็น flipping level จาก support กลายเป็น resistance สิ่งที่สนใจคือ อะไรเกิดขึ้นบ้าง เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำไมมีค่าพอที่จะสนใจและหาโอกาสเทรด
หลักการไม่ยากแต่ถ้ามองจากภาพคือเปลี่ยนจากแนวรับเป็นแนวต้าน แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังต่างหากที่ต้องใส่ใจ ก่อนอื่นต้องเข้าใจว่าราคาขึ้นลงเพราะจำนวนออเดอร์ที่เกินกัน ระหว่าง sell orders และ buy orders โดยผ่านการจับคู่ที่ราคาและจำนวนเดียวกันเวลาเดียวกัน ถ้าจำนวนออเดอร์อีกฝั่งที่ราคาเดียวกันไม่พอออเดอร์อีกฝั่งก็จะวิ่งไปหาออเดอร์อีกฝั่งที่ราคาต่อไปเลยทำให้ราคาขึ้น-ลง levels ต่างๆ เกิดขึ้นเพราะเทรดเดอร์อยากเปิด-จัดการออเดอร์ที่พื้นที่นั้นๆ แล้วแต่เงื่อนไขการวิเคราะห์และเทรดที่ต่างกันออกไป เลยทำให้พื้นที่นั้นๆ เกิดการโต้ตอบจนกลายมาเป็น support/resistance ยิ่งถ้า level นั้นๆ ดึงดูดเทรดเดอร์หลายๆ กลุ่มด้วยยิ่งมีออเดอร์เยอะ ถ้าเกิด level นั้นๆ ไม่ได้เป็นไปตามที่คาดเทรดเดอร์พวกนี้ต้องจักการออเดอร์ เลยทำให้เกิด market orders ถ้ายิ่งเป็นจุดที่เห็นชัดใน timeframe ใหญ่ๆ ยิ่งดันให้เกิด market orders ต่อเนื่องได้เพราะ trapped traders เยอะเลยทำให้ flipping levels ทำงานดี และยิ่งมาจาก timeframe ใหญ่ ก็ยิ่งจะต่อเนื่องไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างด้านบนนี้ flipping level เห็นชัดใน W1 D1 และ H4 กลุ่มเทรดเดอร์จาก position trading, swing traging, day trading และ scalp trading ต่างเห็นจุดนี้หมด ถ้าดูโครงสร้างการวิ่งใน H4 อาจมาแรงเพราะมีการย่อตัว แท่งเทียนในพื้นที่ทับกันเยอะ แต่ที่ต้องการให้เข้าใจคือ เมื่อ levels นั้นๆ มองผ่านหลายกลุ่มเทรดเดอร์ได้ชัด ดึงออเดอร์เข้าเยอะ แต่การปิดเช่นถ้าติดลบจากกลุ่ม trapped traders เงื่อนไขการออกจากตลาดต่างกันออกไปตามทุนและวิธีการเทรด แต่ที่เห็นชัดๆ คือความต่อเนื่อง sell market orders ที่เกิดจากกลุ่มพวกนี้ออกจากตลาด และพอเวลาผ่านไปเทรดเดอร์ที่ timeframe ย่อยลงมาก็จะเห็นโอกาสใหม่เกิดขึ้นก็จะหันมาเปิด sell orders เพิ่มเป็นหลัก
ตัวอย่างที่ 2 ที่เลข 1 เป็น flipping levels จาก support กลายเป็น resistance จาก W1 และ D1 ท่านจะเห็นจุด level เนื่องจากเห็นชัดจาก timeframes ใหญ่แสดงว่ามีเกือบทุกกลุ่มเทรดเดอร์สนใจ position trading swing trading day trading และ scalp trading เนื่องจากชาร์ตเปิดที่ w1 ใหญ่สุด กลุ่มที่เห็นชัดน่าจะเริ่มที่ swing traders ดูจากชาร์ต w1 จุด A คือจุดอ้างอิง swing high และราคาลงมาทำ swing low ที่ B ได้ แต่หลังจากราคาทำ swing low เด้งกลับไปรอบแรกไม่สามารถทำ swing high ใหม่ได้ แถมราคามาทำ swing low ใหม่ที่ต่ำกว่าเดิมอีก กลุ่มเทรดแบบ swing trading ตระหนักดีว่ามีแรงต้านจากด้านพื้นที่ A ถ้าราคาลงมาและต่ำกว่าจุด C อีกรอบข้อมูลจะเปลี่ยน – พวก swing traders ที่เปิดเทรด จุด B และ จุด C ก็จะติดลบ เพราะมีพวก swing อีกกลุ่มที่เปิด sell positions ที่พื้นที่ A ก็จะถือรอเพื่อจะใช้ประโยชน์จากพวกที่ติดลบตอนออกจากตลาด – ขณะเดียวกัน Day trading ก็เป็น flipping levels ชัดและมีการเทส ดูชาร์ต D1 ก็เริ่ม หาโอกาส sell เป็นหลัก หรือแต่พวกเทรด scalp trading เวลาเทรดก็จะหา major trend/movement แล้วค่อย scalp ให้สัมพันธ์กับทางนั้นเป็นหลัก ก็จะหันมา scalp ทางลงเป็นหลัก
จาก 2 ตัวอย่างและอธิบายด้วยตลาด ออเดอร์และเทรดเดอร์ จะพบว่ายิ่งเป็น support/resistance levels ที่กลายมาเป็น flipping levels ยิ่งจะทำให้ levels นั้นๆ ทำงานดี เพราะเป็นจุดที่เทรดเดอร์หลายๆ กลุ่มเห็น และเป็นจุดอ้างที่เทรดเดอร์หลายๆ กลุ่มเทรดมา โดยเฉพาะพวก Swing Trading และ Day trading ยังมี positions ที่อยู่ในตลาดเยอะ ถ้าจุดที่กลายเป็น flipping levels และมีการกลับมาเทสไม่นานไปก็เลยทำให้การกลับมาเทสทำงานดี เพราะ trapped traders สะสมจากกลุ่มเทรดเดอร์ต่างๆ และพวกเทสรายย่อยลงมา เช่น Day trading, scalp trading ก็จะถือข้อมูลใหม่นี้เป็นตัวนำ ก็จะหาความเป็นไปได้เพื่อจะเปิดออเดอร์ไปทางนั้นเป็นหลักเลยทำให้ flipping levels ทำงานค่อนข้างจะดี
ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com