Forex Trading For Living : การจัดการการเงินสำคัญอย่างไร
บทความนี้เกี่ยวกับการจัดการการเงิน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งของการเทรด Forex การจัดการการเงินมีบทบาทในการกำหนดผลกำไรขาดทุนของการเทรด และส่วนมากมือใหม่มักจะไม่เข้าใจเรื่องนี้ การเทรด Forex กับการจัดการการเงินเ เปรียบเสมือนมีดของนักเดินป่า การขาดมีดในป่าย่อมทำให้คุณขาดความสามารถในการป้องกันตัว ขาดความคล่องตัวในการสร้างและอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ดังนั้น วันนี้เราจึงมาขยายความสำคัญของการจัดการการเงินเพื่อทราบความสำคัญของมัน การใช้งานของการจัดการการเงินในตลาด Forex
รูปที่ 1 แสดงอัตราความเสี่ยงและ Win % ของการเทรด
การจัดการการเงินสำคัญอย่างไร
ในองค์ประกอบของการเทรด มีองค์ประกอบหลัก 3 อย่างคือ 1 จิตใจ 2 วิธีการ และ 3 การจัดการการเงิน ซึ่งการจัดการการเงิน สามารถชี้ชะตาการรอดของพอร์ทลงทุนได้ ด้วยองค์ประกอบ 2 ประการ คือ การจัดการความทนทานของพอร์ทลงทุน และการจัดการความเสี่ยง เราจะมาว่ากันที่การจัดการความทนทานของพอร์ทลงทุน กันก่อน
การจัดการความทนทานของพอร์ทลงทุน คือ การจัดการเพื่อให้พอร์ทสามารถทนต่อความผิดพลาดได้สูง การจัดการหมวดนี้สามารถแบ่งได้ย่อยออกเป็นอีกหลายหมวด เช่น การจัดการพอร์ทแบบคงที่ การจัดการแบบอัตราส่วนลดน้อยถอยลง การจัดการความเสี่ยงตาม Win %
การจัดการพอร์ทแบบคงที่ เช่น มีเงิน 100 บาท เรากำหนดให้ความเสี่ยงที่ 2 บาท ต่อ 1 ครั้งในการเทรด เมื่อเราเทรดแล้วได้กำไรมา 5 บาท จะทำให้เรามีเงิน 105 บาท หลังจากนั้นเราทำการเทรดอีก โดยตั้ง SL ไว้ที่ 2 บาท นั่นคือเมื่อ Equity ของ Forex ลดลงเหลือ 103 บาทก็จะตัดขาดทุน และถ้าหากเราเทรดอีกครั้งหนึ่ง เราก็จะตั้ง SL ไว้ที่ 101 บาท และเมื่อเราเทรดอีกครั้งหนึ่งเราก็จะตั้ง SL ไว้ที่ 99 บาทอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ การกระทำแบบนี้ทำให้พอร์ทสามารถรองรับความผิดพลาดได้ถึง 50 ครั้งเป็นต้น เมื่อเราพลาดได้มาก เราก็จะมีโอกาสเรียนรู้ได้มาก การตั้ง SL แบบนี้หรือการจัดการการเงินแบบนี้เรียกว่า เป็นการกำหนดค่าคงที่ ซึ่งเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่ง
เราลองมาดูตัวอย่างกันอีกซัก 1 ตัวอย่างเกี่ยวกับ การจัดการความเสี่ยงแบบอัตราลดน้อยถอยลง หลักการการจัดการความเสี่ยงแบบลดน้อยถอยลง คือ เมื่อเราขาดทุน แสดงว่าเรากำลังอยู่ในช่วงที่เกิด Drawdown ของพอร์ทลงทุนสูง สิ่งที่เราทำคือ การลดสัดส่วนของการขาดทุนลง เช่น กำหนดที่ 2 % เป็นต้น การกำหนดการลงทุนต้องกำหนดขนาดของ Lot ที่จะส่ง นั่นเอง เพราะว่า ระยะทางของการส่งคำสั่งนั้นจะยังเท่าเดิมแต่สิ่งที่ลดลงคือ จำนวน Lot เพื่อให้เสี่ยงน้อยลง ตัวอย่างเช่น เราซื้อค่าเงิน EURUSD ด้วยเงิน 100 บาท เราจะตั้ง SL เท่ากับ 2 % นั่นคือ 98 บาทก็จะตัดขาดทุน สมมุติว่าเราขาดทุนและเหลือเงินเพียง 98 บาท ครั้งต่อไปเราก็จะต้องตั้ง 2 % ของ 98 บาท ไม่ใช่อัตราคงที่ นั่นคือ 98 – (98x 2 %) หรือก็คือ 1.96 บาทลดลงไป เมื่อมันถึงราคา 96.04 ก็จะปิดทันที อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ การจัดการการเงินวิธีนี้จะทำให้เงินลดลงอย่างช้า ๆ ช้ากว่า วิธีการแรก ทำให้พอร์ททนทานต่อความเสี่ยงและการล้างพอร์ทได้มากว่า เป็นการจัดการการเงินที่เหมาะกับมือใหม่ที่อยู่ในช่วงการเรียนรู้และทดลองการเทรด อย่างไรก็ตามมันมีข้อเสียคือ เมื่อเราเสียแล้ว การที่เราจะทำให้ผลตอบแทนให้ได้กลับไปเท่าเดิมนั้นจะต้องทำผลตอบแทนมากกว่าเดิม เพราะว่ามันเป็นการลด Lot ลงเมื่อขาดทุน เมื่อเราลด Lot ลง ในยามกำไรเราก็จะได้คืนยากด้วย แต่มันก็ทำให้เราล้างพอร์ทยาก วิธีการนี้จึงเหมาะกับมือใหม่อย่างที่ได้กล่าวไว้
ตัวอย่างสุดท้ายของหมวดนี้ คือการจัดการการเงินตามผลการเทรด เช่น ถ้าหากว่า ผลการเทรดครั้งก่อนได้กำไร ก็จะเพิ่มเปอร์เซ็นต์การลงทุน ขณะที่ถ้าขาดทุนก็จะลดสัดส่วนการลงทุนไปนั่นเอง ตัวอย่างเช่น ถ้าลงทุน 100 บาทแล้วกำไร เป็น 105 บบบาทก็จะลงทุนเพิ่มเป็น 3 % โดยเพิ่มขนาด Lot ขึ้น 1 % ทำให้เมื่อได้กำไรมันก็จะได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ขณะที่ขาดทุนก็จะลด % ของขนาด Lot ที่ส่งคำสั่งลดลง ซึ่งถ้าหากเราเกิด winning Streak หรือว่า การกำไรติด ๆ กัน มันก็จะทำให้พอร์ทเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ถ้าขาดทุนพอร์ทของเราก็ไม่ลดลงมากนักเพราะว่า เราลดสัดส่วนลงทุนลงนั่นเอง การเกิด Hot hand fallacy จึงทำให้วิธีการเทรดนี้ได้ผลดีเป็นอย่างมาก แต่ของทุกอย่างย่อมมีข้อเสีย สิ่งที่ควรรู้ก็คือ เราไม่รู้ว่าครั้งต่อไปเราจะกำไรหรือขาดทุน เมื่อเราส่ง lot ใหญ่ขึ้นทำให้การขาดทุนตาถัดไปจำนวนอาจจะเยอะกว่าที่กำไรก่อนหน้ามาเสียอีก เราลองมาดูอีกวิธีการของการจัดการการเงิน คือ การจัดการความเสี่ยง
การจัดการความเสี่ยงโดยใช้การจัดการการเงิน
ในช่วงของการเทรด สิ่งที่เราต้องเผชิญก็คือ ความเสี่ยงของการเทรด บางครั้งเรามั่นใจมากว่า กราฟที่เราเทรดนั้นเราคุ้นเคยกับมันดี ขณะที่บางจังหวะเราไม่แน่ใจเอาเสียเลย สิ่งที่เราทำได้คือ เราสามารถจัดการขนาด Lot ในการส่งคำสั่ง ให้เป็นไปตามความมั่นใจของเรา อย่างนี้เรียกว่าการจัดการความเสี่ยงโดยใช้ความมั่นใจจากประสบการณ์ อย่างไรก็ตามท่านอาจจะรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่จับต้องไม่ได้ เพื่อให้จับต้องได้ ท่านสามารถใช้ระดับ % overbought และ Oversold ในการทดแทนได้ เช่นกัน การจัดการความเสี่ยง และการจัดการการเงินจึงเป็นเรื่องเดียวกัน และทำให้เราได้เปรียบด้วยเหตุนี้
Keywords: การจัดการความเสี่ยง การจัดการการเงิน
ทีมงาน : thaibrokerforex.com