วันนี้เราจะมาพูดถึงการใช้เครื่องมือวัดการแกว่างตัว เครื่องมือสำคัญ 3 เครื่องมือ ได้แก่ Stochastic Indicator เครื่องมือ RSI และ เครื่องมือ William % R 3 เครื่องมือนี้ก็จะเป็นเครื่องมือกลุ่มเดียวกัน คือกลุ่มที่ใช้วัดความผันผวนของกราฟ และเป็นเครื่องมือกลุ่มสุดท้ายก่อนที่เราจะขึ้นไปเรียนกันในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

 
โดยระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเราก็จะพูดถึงเรื่องเครื่องมือประเภท Oscillator และ Momentum Indicator  แต่วันนี้ยังอยู่ที่ เครื่องมือพื้นฐานนี้ไปก่อนครับ ซึ่งเครื่องมือพื้นฐาน 2 ตัวนี้ถือว่าเป็น 2 ตัวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในตลาด Forex เช่นกัน เรามาดูรายละเอียดกันรายเครื่องมือเลยดีกว่า

Stochastic

เครื่องมือ Stochastic Oscillator นั้นไม่ได้เกี่ยวกับกระบวนการ Random Process ของ Markov Theory แต่อย่างใด  ซึ่งเครื่องมือ Stochastic ที่เราจะพูดถึงนี้เป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการแกว่งตัวของราคา โดยมีกรอบการเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 0 – 100 % หลักการใช้ Stochastic นั้นค่อนข้างง่าย ทำให้มันเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยม การใช้งาน Stochastic มีหลักการคือ ถ้าหาก Stochastic เคลื่อนไหวต่ำกว่า Zone 20 % หมายความว่ามันเกิดภาวะ Oversold ให้ทำการตัดสินใจ ส่งคำสั่ง Buy ในทางตรงกันข้าม ถ้าหากราคาเคลื่อนไหวอยู่ในโซนเกิน 80 % หมายความว่า ราคาอยู่ในภาวะ Overbought หรือมีการซื้อมากเกินไป ให้ทำการ Sell ซึ่งกฏง่าย ๆ แค่นี้ก็ไม่น่าจะมีปัญหา เพียงแต่ว่ามันอาจจะไม่ง่ายแบบนี้ทุกครั้ง มันจึงมีการพูดถึงรายละเอียดการใช้งานในบทนี้ครับ

stochastic indicator

ภาพที่ 1 แสดง stochastic indicator

จากภาพข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างของ Stochastic แม้ว่ากราฟจะเรียงตัวสวยงามดี และสัญญาณที่ให้มีความชัดเจน สามารถใช้ในการเทรดได้อย่างแม่นยำ แต่ก็จะมีช่วงที่กราฟสามารถคาดเดาได้ลำบาก โดย ช่วงนั้นเทรดเดอร์ก็จะต้องอาศัยประสบการณ์ในการเทรด ซึ่งเราจะต้องเลือกช่วงเวลา เหมือนกับเสือซุ่มโจมตีเหยื่อ ไม่มีสัตว์ล่าเนื้อตัวไหนที่จะโจมตีเหยื่อตลอดเวลา เราต้องเลือกเวลา เลือกกราฟที่มันเข้าทางเรามากที่สุดนั่นแหละครับ ซึ่งกรณีของเทรดเดอร์นี้ก็เช่นกัน การใช้ indicator ประเภทนี้ก็ต้องเลือกจังหวะให้มาก

RSI

เครื่องมือ RSI หรือ Relative Strength Index ก็คือเครื่องมือวัดความแข็งแกร่งของการเคลื่อนไหวของราคา โดยออกมาเป็นดัชนี อย่างไรก็ตาม เครื่องมือประเภทนี้จะบอกเป็นดัชนีเช่นเดียวกับเครื่องมือ Stochastic ทำให้การใช้งานนั้นก็ไม่ได้แตกต่างกัน คือ มีการกำหนดระดับ Overbought และ Oversold โดยระดับที่กำหนด Overbought และ Oversold นั้นค่อนข้างแตกต่างกัน เนื่องจาก RSI มีความอ่อนไหวต่อการเคลื่อนไหวของราคามากกว่า ดังนั้น ระดับการตั้ง Overbought และ Oversold จึงถูกตั้งไว้ที่ระดับ 90 % และ 10 % ตามลำดับ โดยการเคลื่อนไหวของ Relative Strength Index ที่แตะหรือสัมผัสกับ ระดับราคาดังกล่าว จะสามารถให้สัญญาณเทรดได้ กล่าวคือ เมื่อการเคลื่อนไหวของ RSI สูงกว่า ระดับ 90 % หมายความว่าเกิดสัญญาณ Overbought ให้ส่งคำสั่ง Sell และในทางตรงกันข้าม ถ้าหาก RSI เคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 10 % หมายความว่าเกิดสัญญาณ Oversold ให้ส่งคำสั่ง Buy

โดยรูปประกอบของสัญญาณ RSI เป็นดังนี้

สัญญาณ RSI

ภาพที่ 2 แสดงสัญญาณ RSI

ในภาพสัญญาณ RSI จะเห็นได้ว่าผมแบ่งเป็นวงกลมสองสี วงกลมสีเขียวให้สัญญาณ Buy และวงกลมสีส้มให้สัญญาณ Sell เนื่องจากว่า RSI เป็นสัญญาณที่ให้เร็วการตั้ง Level จึงตั้งเยอะกว่าการให้สัญญาณที่แข็งอย่างเช่น Stochastic สังเกตุในภาพ จะเห็นว่า ผมไม่ได้วงกลมทุกสัญญาณแม้จะเกิดการกลับตัว เราจะต้องเลือกสัญญาณที่มันแรงจริง ๆ เท่านั้น ถ้าขืนเลือกทุกสัญญาณ ก็เท่ากับเราเอาตัวเข้าไปเอี่ยวทุกเหตุการณ์ทั้งเหตุการณ์กลับตัวจริงและกลับตัวหลอก ทำให้เราต้องเผชิญกับความผิดพลาด การเทรดทุกครั้งที่มีการกลับตัวจึงไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้อง

William % R

ตัว William % R นั้นไม่แตกต่างจากการใช้ RSI เลยแม้แต่นิดเดียว ต่างกันแค่ตัวเลข เพราะว่า ใน RSI ตัวเลขสูงสุดเท่ากับ 100 % ขณะที่ R = 0 และจุดต่ำสุดของ RSI เท่ากับ 0 แต่ William % เท่ากับ -100 มันก็แค่เวอร์ชั่นตรงข้ามครับ ส่วนตัวแล้วสำหรับผม ผมคิดว่า William % R นั้นให้ความแม่นยำกว่า RSI นะครับ เพราะว่า การเคลื่อนไหวของ RSI นั้นค่อนข้างที่จะอ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากเกินไป ทำให้เราเจอสัญญาณหลอกบ่อยครั้ง  William % Range จึงเข้ามาตอบโจทย์ตรงนี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เราลองมาดูตัวอย่างกัน

William % Range

ภาพที่ 3 แสดง William % Range

ในภาพจะเห็นว่าผมมาร์คจุดที่ไม่แตกต่างจาก RSI แต่สิ่งที่แตกต่างออกไปคือ William % ส่งสัญญาณเทรดในจุดที่ RSI ไม่ได้ส่งสัญญาณ ซึ่งเดี๋ยวเราก็จะพูดถึงความแตกต่างและเหมือนกันในวีดีโอ พร้อมกันนี้ผมจะแนะนำการตั้งค่า Indicator เล็กก ๆ น้อย ๆ สำหรับ indicator ทั้ง 3 ตัวด้วย ซึ่งรูปแบบการใช้งาน indicator สำหรับวันนี้ก็ถือว่ามีความเหมาะสมและเทรดเดอร์มือใหมม่ก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับระดับประถมศึกษาก็ขอจบรายละเอียดไว้เท่านั้นก่อนครับ

เขียนโดย

Pakornkiat Poonsuk

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon