หนึ่งในอินดิเคเตอร์ยอดนิยมของโลกอย่าง Relative Strength Index (RSI) เป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างยาวนานและใช้กันอย่างแพร่หลายเป็นอย่างมากซึ่งถือว่าเป็นอีกหนึ่งในอินดิเตอร์ประเภท Momentum Oscillator ที่มีความสามารถในการบ่งบอกถึงโมเมนตัมที่แม่นยำรวมไปถึงสามารถบอกเทรนด์ของราคาและจุดกลับตัวได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

ทั้งนี้อย่างไรก็ตามเราก็ควรจะต้องเข้าใจถึงเนื้อหาเชิงลึกไม่ว่าจะเป็นสูตรสมการของอินดิเคเตอร์ หรือ ตัวอย่างการใช้งาน เพื่อให้ทุกท่านสามารถนำไปต่อยอดกับเทคนิคและกลยุทธิ์อื่นๆได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังหัวข้อดังต่อไปนี้

ประวัติความเป็นมาของ Relative Strength Index (RSI)

Relative Strength Index (RSI) ถูกพัฒนาโดย J. Welles Wilder Jr. ผู้ซึ่งเป็นวิศวกรเครื่องกลและนักวิเคราะห์ทางเทคนิคที่มีชื่อเสียงในวงการการเงิน Wilder ได้แนะนำ RSI ต่อสาธารณชนครั้งแรกในปี 1978 ในหนังสือของเขาชื่อ New Concepts in Technical Trading Systems”

รูปภาพที่ 1 ประวัติความเป็นมาของ Relative Strength Index (RSI)

ในหนังสือเล่มนี้ Wilder ได้แนะนำตัวอินดิเตอร์รูปแบบเทคนิคคอลหลายตัวด้วยกันซึ่งหนึ่งในนั้นคือ RSI ที่เป็นหนึ่งในอินดิเตอร์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเลยก็ว่าได้ ทั้งนี้เหตุที่ RSI ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากนั้นเกิดจากความสามารถในการวัดระดับโมเมนตัมของราคา และ ความสามารถในการระบุภาวะที่เกิดการซื้อขายเกินหรือการขายเกินในตลาดจึงทำให้สามารถมองหาจุดกลับตัวได้อย่างแม่นยำเลยทีเดียวครับ ทั้งนี้แน่นอนว่า Wilder ก็ได้พัฒนาอินดิเคเตอร์ที่โดงดังอีกมากมายไม่ว่าจะเป็น ATR, Parabolic หรือ SAR เป็นต้น

สูตรการคำนวณของ Relative Strength Index (RSI)

ลักษณะและรูปแบบการคำนวนของ Relative Strength Index (RSI) ถูกพัฒนาต่อยอดมาจาก Relative Strength (RS) แต่จะมีการพลอตดัชนี (Index) เพิ่มขึ้น ทั้งนี้การคำนวนนวนของ RSI ก็จะถูกแบ่งเป็นสองตัวแปรหลักง่ายๆไม่ซับซ้อนมากดังต่อไปนี้

  • RS หรือ Relative Strength มีสูตรสมการคือ
    • RS = Average Gain (N) / Average Loss (N)
      • ค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้นของราคา ‘N’ วัน หารด้วย ค่าเฉลี่ยการลดลงของราคา ‘N’ วัน (ส่วนใหญ่แล้วใช้ค่า N = 14)
    • สมมุติใช้ค่า N = 14
      • Average Gain (14) = ค่าเฉลี่ยการเพิ่มขึ้น ย้อนหลังจำนวน 14 วัน
      • Average Loss (14) = ค่าเฉลี่ยการลดลง ย้อนหลังจำนวน 14 วัน
    • การวิเคราห์สมการของ RS
      • ยิ่งค่า Average Gain มีค่ามากกว่าจะทำให้ RS มีค่ามากตาม ในขณะเดียวกัน หาก Average Loss มีค่ามากกว่าจะทำให้ค่า RS น้อยตาม
    • RSI หรือ Relative Strength Index มีสูตรสมการคือ
      • RSI = 100 – [100 / (1+RS)]
      • การวิเคราห์สมการของ RSI
        • ในกรณีที่ RS มีค่ามาก หมายถึงมีค่า Average Gain มากกว่า Average Loss จึงส่งผลให้ค่า RSI มีค่ามากตามไปด้วย
        • ในกรณีที่ RS มีค่าน้อย หมายถึงมีค่า Average Gain น้อยกว่า Average Loss จึงส่งผลให้ค่า RSI มีค่าน้อยตามไปด้วย

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าค่า RSI จะมีค่าสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลังว่ามีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ก็จะส่งผลต่ออินดิเคเตอร์โดยตรงดังสมการที่กล่าวมา

การตีความและวิเคราห์ของ RSI ขั้นพื้นฐาน

  • ค่าระหว่าง 0-30: เป็นการบ่งบองถึงปริมาณที่มีการขายมากเกินไป หรือ เรียกว่า Oversold จะแสดงออกมาให้เห็นในกราฟของ RSI ที่ลงไปแตะระยะ 30 หรือต่ำกว่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะนี้จึงทำให้มีโอกาสที่กราฟราคาจะปรับตัวขึ้น
    • ตัวอย่างเช่น หุ้นกำลังถูกขายมากเกินไปจนทำให้ราคาปรับตัวต่ำกว่าที่ควรจะเป็นจึงมีแนวโน้มที่แรงขายจะอ่อนลงและมีแรงซื้อเข้ามาทดแทน (ของถูกใครๆก็ชอบ งั้นซื้อเก็บไว้ก่อนนะ) ทำให้สามารถเกิดการรีบาวน์กลับขึ้นไปได้
  • ค่าระหว่าง 70-100: เป็นการบ่งบองถึงปริมาณที่มีการซื้อมากเกินไป หรือ เรียกว่า Overbought จะแสดงออกมาให้เห็นในกราฟของ RSI ที่ขึ้นไปแตะระยะ 70 หรือสูงกว่านั้น ดังนั้นเมื่อเกิดสภาวะนี้จึงทำให้มีโอกาสที่กราฟราคาจะปรับตัวลง
    • ตัวอย่างเช่น หุ้นกำลังถูกซื้อมากเกินไปจนทำให้ราคาปรับตัวสูงกว่าที่ควรจะเป็นจึงมีแนวโน้มที่แรงซื้อจะอ่อนลงและมีแรงขายเข้ามาทนแทน (แพงเกินไปไม่มีใครซื้อ งั้นลดราคาลงแล้วกัน) ทำให้สามารถเกิดการรีบาวน์กลับลงไปได้
  • ค่าระหว่าง 30-70: ถือว่าเป็นช่วงกลางที่แสดงถึงภาวะที่ตลาดยังไม่มีแนวโน้มชัดเจนหรือมีการซื้อขายเกิดขึ้นอยู่ในเกณฑ์ที่ปกติ ดังนั้นในช่วงระยะนี้จึงไม่สามารถใช้เทคนิคของ Oversold หรือ Overbought ได้ แต่จะใช้เทคนิคอื่นๆแทนซึ่งจะสอนในบทนี้

รวมแนวทางการวิเคราะห์กราฟด้วย Relative Strength Index (RSI)

การใช้งานของอินเคเตอร์ของ RSI ในปัจุจบันนั้นถือว่าสามารถใช้งานได้ค่อนข้างหลากหลายรูปแบบเลยทีเดียวครับเนื่องจาก RSI เป็นอินดิเคเตอร์ที่ถูกพัฒนามาอย่างยาวยาวนานและยังเป็นที่นิยมสำหรับเทรดเดอร์ทั่วโลกอีกด้วย ดังนั้น จึงมีการคิดค้นและทดลองการใช้งานกับอินดี้ตัวนี้ค่อนข้างหลายรูปแบบเลยทีเดียวครับซึ่งจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

การใช้งาน RSI เพื่อหาแนวโน้มของราคา

รูปภาพที่ 2 การใช้งาน Relative Strength Index (RSI) เพื่อหาแนวโน้มของราคา

ขั้นตอนการใช้ RSI เพื่อหาแนวโน้มของราคา

  • เมื่อ RSI มีค่าอยู่เหนือระดับ 50 (เส้นตรงกลาง) ส่วนมากจะมีทิศทางเป็นแนวโน้มขาขึ้น
  • เมื่อ RSI มีค่าอยู่ใต้ระดับ 50 (เส้นตรงกลาง) ส่วนมากจะมีทิศทางเป็นแนวโน้มขาลง

โดยปกติแล้วจะสามารถใช้ในการระบุแนวโน้มย้อนหลังได้เป็นอย่างดี แต่โดยส่วนมากแล้วการใช้งาน RSI ในการระบุเทรนด์นั้นยังถือว่าไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากมีอินดิเคเตอร์ประเภทอื่นที่สามารถทำหน้าที่นี้ได้ดียิ่งกว่า เช่น Moving Average Indicator เป็นต้น

เทคนิคพื้นฐานการ RSI เพื่อหาจุดกลับตัวของแนวโน้มของราคา

รูปภาพที่ 3 เทคนิคพื้นฐานการ Relative Strength Index (RSI) เพื่อหาจุดกลับตัวของแนวโน้มของราคา

ขั้นตอนการใช้ RSI เพื่อหาจุดกลับตัวของแนวโน้มของราคา

  • RSI สูงกว่า 70 บอกสภาวะ Overbought คือ หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังมีการที่ซื้อมากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะปรับฐานหรือกลับตัวลง
  • RSI ต่ำกว่า 30 บอกสภาวะ Oversold คือ หุ้นหรือสินทรัพย์กำลังมีการขายที่มากเกินไปและมีแนวโน้มที่ราคาจะรีบาวน์หรือกลับตัวขึ้น

เทคนิคนี้ถือว่าเป็นจุดแข็งของอินดิเคเตอร์ตัวนี้เลยก็ว่าได้และยังเป็นอีกหนึ่งในความสามารถที่ทำให้ RSI มีชื่อเสียงโด่งดังมาถึงทุกวันนี้เพราะทำให้เราสามารถบอกจุดกลับตัวได้เป็นอย่างดี แต่หากพูดถึงเรื่องของความแม่นยำแล้ว หากโบรกไหนที่ข้อมูลทางด้านปริมาณการซื้อขายที่มีคุณภาพจริงๆ อินดิเคเตอร์อย่าง MFI สามารถตอบโจทย์ได้ดีกว่า RSI อย่างแน่นอน…ไว้จะอธิบายในบทความ MFI ในโอกาสหน้า

การมองหา Divergence RSI เพื่อหาจุดกลับตัว

รูปภาพที่ 4 การมองหา Divergence Relative Strength Index (RSI) เพื่อหาจุดกลับตัว

ขั้นตอนการใช้ RSI มองหา Divergence เพื่อหาจุดกลับตัว

  • จุดกลับตัวในสัญญาน Bearish Divergence RSI
    • กราฟราคามีแนวโน้มเป็นเทรนด์ขาขึ้น
    • RSI มีแนวแนวเป็นเทรนด์ขาลง
    • เป็นสัญญาณของการกลับตัวเป็นเทรนด์ขาลง
  • จุดกลับตัวในสัญญาน Bullish Divergence RSI
    • กราฟราคามีแนวโน้มเป็นเทรนด์ขาลง
    • RSI มีแนวแนวเป็นเทรนด์ขาขึ้น
    • เป็นสัญญาณของการกลับตัวเป็นเทรนด์ขาขึ้น

การมองหา Divergence Relative Strength Index (RSI) ในสถาวะตลาดนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควรแต่ก็ไม่ได้เป็นเพราะความยากในการมอง…แต่เป็นโอกาสในการเกิดสัญญาณเสียมากกว่า แต่ถึงอย่างนั้นก็มีประสิทธิภาพพอสมควรเลยทีเดียว

เทคนิค Pullback to 50 กับการคืนสู่สภาพปกติโดยการใช้ RSI

รูปภาพที่ 5 Pullback to 50 กับการคืนสู่สภาพปกติโดยการใช้ RSI ในการออกออเดอร์ Buy

ขั้นตอนการใช้ เทคนิค Pullback to 50

  • การใช้งานในการออกออเดอร์ Buy
    • มองหาสถาวะที่ตลาดเป็นแนวโน้มขาขึ้น
    • RSI อยู่ในโซนที่มากกว่า 50
    • เส้นกราฟ RSI วิ่งจากบนลงล่าง สัมผัสที่เส้นระดับ 50 จะมีโอกาสย่อตัวลงมาเพื่อขึ้นต่อ สามารถออกออเดอร์ Buy ได้เมื่อมีการทำราคา Higher high
  • การใช้งานในการออกออเดอร์ Sell
    • มองหาสถาวะที่ตลาดเป็นแนวโน้มขาลง
    • RSI อยู่ในโซนที่น้อยกว่า 50
    • เส้นกราฟ RSI วิ่งจากล่างขึ้นบน สัมผัสที่เส้นระดับ 50 จะมีโอกาสย่อตัวขึ้นมาเพื่อลงต่อ สามารถออกออเดอร์ Sell ได้เมื่อมีการทำราคา Lower Low

เทคนิคนี้จะเป็นเทคนิคที่จะใช้งานค่าระดับที่ 50 ซึ่งถือว่าเป็นค่ากึ่งกลางหรือสภาพปกติไม่มีการผลผวนของ RSI เพื่อเป็นแนวรับแนวต้านสำคัญในกรณีที่เราสามารถระบุเทรนด์ได้อย่างชัดเจน

เทคนิค Pullback to Key Level โซนกลับตัวโดยการใช้ RSI

รูปภาพที่ 6 Pullback to Key Level โซนกลับตัวโดยการใช้ RSI ในการออกออเดอร์ Buy

ขั้นตอนการใช้ เทคนิค Pullback to Key Level

  • การใช้งานในการออกออเดอร์ Buy
    • มองหาสถาวะที่ตลาดเป็นแนวโน้มขาขึ้น
    • ทำการตีโซนของค่า RSI ที่มีค่าทะลุลงระดับ 50 ลงไปอย่างน้อย 2-3 จุด (ในค่าที่ใกล้เคียงกัน) และเรียกโซนนี้ว่า Zone Key Level
    • เส้นกราฟ RSI วิ่งจากบนลงล่าง สัมผัสที่ Zone Key Level จะมีโอกาสย่อตัวลงมาเพื่อขึ้นต่อ สามารถออกออเดอร์ Buy ได้
  • การใช้งานในการออกออเดอร์ Sell
    • มองหาสถาวะที่ตลาดเป็นแนวโน้มขาลง
    • ทำการตีโซนของค่า RSI ที่มีค่าทะลุขึ้นระดับ 50 ขึ้นไปอย่างน้อย 2-3 จุด (ในค่าที่ใกล้เคียงกัน) และเรียกโซนนี้ว่า Zone Key Level
    • เส้นกราฟ RSI วิ่งจากล่างขึ้นบน สัมผัสที่ Zone Key Level จะมีโอกาสย่อตัวขึ้นมาเพื่อลงต่อ สามารถออกออเดอร์ Sell ได้

เทคนิคนี้จะมีความใกล้เคียงกับเทคนิคก่อนหน้าเล็กน้อย เพียงข้อแตกต่างคือเราทำการตีโซนของราคาเองโดยไม่ขึ้นอยู่กับระดับที่ต่ำกว่าจุดกึ่งกลาง (เน้นเฉพาะในจุดที่มีการย่อตัวมากๆ) ซึ่งเทคนิคที่ถือว่าใช้งานได้ง่ายและยังสามารถนำไปปรับใช้งานได้กับอีกหลายๆอินดิเคเตอร์เลยทีเดียวไม่มีผิดหรือถูก…อยู่ที่ความพึงพอใจในการใช้งาน

การปรับแต่ง RSI ให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรด: ควรใช้ค่า Period เท่าไร?

การปรับแต่งค่า Period ของ RSI ให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรดของแต่ละคนเป็นสิ่งสำคัญที่สามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์และการตัดสินใจซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพถึงอย่างไรก็ตาม ค่า Period ของ RSI ที่นิยมใช้กันมีหลายค่าด้วยกัน แต่ละค่าก็จะเหมาะสมกับสภาวะตลาดและสไตล์การเทรดที่แตกต่างกันไป ดังนี้

ค่า Period ที่นิยมใช้และการใช้งาน

  1. ค่า Period (14)
  • การใช้งาน: ค่า Period 14 เป็นค่าเริ่มต้นที่ Wilder แนะนำและเป็นค่ามาตรฐานที่นิยมใช้มากที่สุด
  • เหมาะสำหรับ: นักเทรดที่ต้องการค่า RSI ที่เสถียรและไม่ไวเกินไปต่อการเปลี่ยนแปลงของราคา
  1. ค่า Period (7) หรือ (9)
  • การใช้งาน: ค่า Period ที่สั้นลงทำให้ RSI ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากขึ้น
  • เหมาะสำหรับ: นักเทรดระยะสั้น (Day Traders หรือ Scalpers) ที่ต้องการจับสัญญาณการเคลื่อนไหวของราคาในระยะเวลาสั้นๆ เพื่อทำกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคาอย่างรวดเร็ว
  1. ค่า Period (21) หรือ (30)
  • การใช้งาน: ค่า Period ที่ยาวขึ้นทำให้ RSI มีความเสถียรมากขึ้นและลดความผันผวนของสัญญาณ หรือ ตัดสัญญาณหลอกได้มากขึ้น
  • เหมาะสำหรับ: นักลงทุนระยะยาว (Swing Traders หรือ Position Traders) ที่ต้องการมองแนวโน้มใหญ่และตัดสินใจซื้อขายในระยะเวลาที่ยาวขึ้น

ดังนั้น การเลือกค่า Period ที่เหมาะสมจริงๆนั้นจึงขึ้นอยู่กับสไตล์การเทรดและความต้องการของนักลงทุนแต่ละคน เพราะฉะนั้น ควรทดลองใช้ค่า Period ต่างๆ กับกลยุทธิ์ในการเทรดและประเมินผลด้วยตัวเองจึงจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด นอกจากนี้การใช้ค่า Period ที่แตกต่างกันในกราฟเวลา (Time Frame) ต่างๆ อาจช่วยให้สามารถจับสัญญาณการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ดียิ่งขึ้น

กลยุทธิ์ RSI ร่วมกับ MACD 4C และ Crossover EMA

การใช้ RSI ร่วมกับ MACD 4C และ Crossover EMA เป็นกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ตลาดที่ถือว่ามีความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นอินดิเคเตอร์ใช้งานได้ค่อนข้างง่ายและการใช้อินดิเคเตอร์เหล่านี้ร่วมกันจะช่วยเพิ่มความแม่นยำในการระบุสัญญาณการซื้อและขายได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถช่วยในการกำหนด Take Profit (TP) และ Stop Loss (SL) ได้อีกด้วย

อธิบายการใช้ RSI ร่วมกับ MACD 4C และ Crossover EMA ในกลยุทธ์นี้

  • RSI (Relative Strength Index): ใช้ในการระบุภาวะตลาดว่ามีแน้วโน้มไปในทิศทางใด
  • MACD 4C: ใช้ในการระบุความแข็งแรงของเทรนด์และบ่งบอกแนวโน้มที่เปลี่ยนไป
  • EMA (Exponential Moving Average) Crossover: ใช้ในการระบุแนวโน้มของตลาดผ่านการตัดกันของเส้น EMA เพื่อส่งสัญญาณการเข้าออเดอร์

กลยุทธ์การเข้าออเดอร์ Buy และ Sell

รูปภาพที่ 7 การใช้ RSI ร่วมกับ MACD 4C และ Crossover EMA ในการออกออเดอร์ Buy

เงื่อนไขการออกออเดอร์ Buy

  • สัญญาณจาก RSI: ตรวจสอบว่า RSI อยู่ในช่วง ระหว่าง 50 ขึ้นไปมีโมเมนตันไปในทิศทางด้านบน (เป็นการบ่งบอกถึงโมเมตัมขาขึ้นที่แข็งแรง)
  • สัญญาณจาก MACD 4C: ตรวจสอบว่า Histogram อยู่เหนือเส้นระดับ 0
  • Crossover ของ EMA: รอให้เส้น EMA ระยะสั้น (เช่น EMA 12) ตัดขึ้น ผ่านเส้น EMA ระยะยาว (เช่น EMA 26)
  • จุด Take Profit (TP): ตั้ง TP ที่ระดับแนวต้านสำคัญ หรือคำนวณจากอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ต้องการ (เช่น 1:2)
  • จุด Stop Loss (SL): ตั้ง SL ที่ Swing Low ล่าสุด หรือกำหนดจากระดับราคาที่ต่ำกว่าเส้น EMA ระยะยาว (เช่น EMA 26) เล็กน้อย

เงื่อนไขการออกออเดอร์ Sell

  • สัญญาณจาก RSI: ตรวจสอบว่า RSI อยู่ในช่วง ระหว่าง 50 ลงไปมีโมเมนตันไปในทิศทางด้านล่าง (เป็นการบ่งบอกถึงโมเมตัมขาลงที่แข็งแรง)
  • สัญญาณจาก MACD 4C: ตรวจสอบว่า Histogram อยู่ใต้เส้นระดับ 0
  • Crossover ของ EMA: รอให้เส้น EMA ระยะสั้น (เช่น EMA 12) ตัดลง ผ่านเส้น EMA ระยะยาว (เช่น EMA 26)
  • จุด Take Profit (TP): ตั้ง TP ที่ระดับแนวรับสำคัญ หรือคำนวณจากอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทนที่ต้องการ (เช่น 1:2)
  • จุด Stop Loss (SL): ตั้ง SL ที่ Swing High ล่าสุด หรือกำหนดจากระดับราคาที่สูงกว่าเส้น EMA ระยะยาว (เช่น EMA 26) เล็กน้อย

ข้อควรระวังในการใช้ Relative Strength Index (RSI) Indicator

การใช้ RSI (Relative Strength Index) ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคมีข้อควรระวังหลายประการที่นักเทรดควรทราบเพื่อป้องกันการตัดสินใจที่ผิดพลาดและการขาดทุนที่อาจเกิดขึ้น ดังหัวข้อต่อไปนี้

  • สัญญาณลวง (False Signals) RSI อาจให้สัญญาณลวง โดยเฉพาะในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง การตีความ RSI ที่อยู่ในภาวะซื้อเกิน (Overbought) หรือขายเกิน (Oversold) อาจไม่แม่นยำเสมอไป นักเทรดควรใช้ RSI ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ เพื่อยืนยันสัญญาณ
  • การปรับค่า Period การใช้ค่า Period ที่ไม่เหมาะสม อาจทำให้ RSI ให้สัญญาณที่ไม่ถูกต้อง ค่า Period ที่สั้นเกินไปอาจทำให้ RSI ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากเกินไป และให้สัญญาณลวงบ่อย ค่า Period ที่ยาวเกินไปอาจทำให้ RSI ไม่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้ทันเวลา ควรเลือกค่า Period ที่เหมาะสมกับสไตล์การเทรดของตนเอง
  • การพิจารณาภาวะตลาด RSI มีประสิทธิภาพที่มากกว่าในตลาดที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน (Sideways Market) เมื่อเทียบกับตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจน (Trending Market) RSI อาจไม่สามารถระบุจุดกลับตัวได้อย่างแม่นยำ เช่น ในตลาดที่เป็นขาขึ้นอย่างแรง RSI อาจอยู่ในภาวะ Overbought เป็นเวลานานโดยไม่เกิดการกลับตัวก็พบเห็นได้บ่อยครั้ง
  • ไม่ควรพึ่งพา RSI อย่างเดียว การใช้ RSI อย่างเดียวในการตัดสินใจซื้อขายอาจจะมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นควรใช้ RSI ร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆ เช่น MACD, Moving Averages หรือ Bollinger Bands เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ให้มีความแม่นยำมากขึ้น

สรุป

RSI เป็นเครื่องมือทางเทคนิคที่มีประโยชน์อย่างยิ่งในการวิเคราะห์ตลาด Forex ซึ่งมีความสามารถรอบด้านไม่ว่าจะเป็นเทคนิคในการมองหาจุดกลับตัวหรือความสามารถในการบอกโมเมนตัมที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการระบุเทรนด์และความแข็งแกร่งของเทรนด์ได้เป็นอย่างดี

ดังนั้นการจะใช้ RSI ให้มีประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่นั้นควรจะต้องมีการฝึกฝนและการเข้าใจถึงพฤติกรรมของอินดิเคเตอร์ตัวนี้ให้ดีเสียก่อน อีกทั้งยังรวมไปถึงควรที่จะพึ่งพาและใช้งานกลยุทธิ์อื่นๆเข้ามาช่วยเหลือเพิ่มเติมด้วยก็จะสามารถช่วยให้เราเข้าออกออเดอร์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้นเลยทีเดียว

อ้างอิง

  • [1] https://www.investopedia.com/terms/r/rsi.asp
  • [2] https://en.wikipedia.org/wiki/Relative_strength_index
  • [3] https://smartasset.com/investing/what-is-rsi
  • [4] https://www.wallstreetmojo.com/oversold/
  • [5] https://www.investopedia.com/terms/o/oversold.asp
  • [6] https://groww.in/blog/relative-strength-index-rsi

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon