วันนี้เราจะมาเรียนเรื่องรูปแบบกราฟแท่งเทียน Forex กัน โดยจะเริ่มที่ประมาณ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบกราฟเดี่ยวและกราฟคู่ สำหรับรูปแบบกราฟแท่งเทียนนั้นไว้ใช้สำหรับการพยากรณ์การเคลื่อนไหวของราคา โดยใช้กราฟเปล่า ซึ่งไม่มี indicator ในการเทรด ถือว่าเป็นรูปแบบการวิเคราะห์รูปแบบหนึ่ง ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทย เพราะว่า รูปแบบกราฟเปล่าจะไม่มีสัญญาณหลอกในการเทรด ไม่ต้องกังวลว่า สัญญาณที่กรองมานั้นจะหลอกเรา โดยรูปแบบที่จะมาเรียนวันนี้ มีประมาณ 5 – 6 รูปแบบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
รูปแบบกราฟแท่งเทียนแบบเดี่ยว
เป็นลักษณะแท่งเทียนเดียว ดูง่าย มีลักษณะที่เด่นชัดแน่นอน จะอยู่บริเวณปลายสุดของจุดกลับตัว เวลาดูกราฟที่วิ่งจริงให้ดูสีกราฟ เช่น วิ่งดำๆมาแล้วเป็นสีขาว ถ้าเข้าลักษณะ ณ จุดนั้นมักจะเป็นจุดกลับตัว ชื่ออะไรก็แล้วแต่ไม่ต้องสนใจในช่วงแรกๆ เมื่อใช้บ่อยๆจะจำได้เอง หลักการคือประมาณนี้ กราฟนี้ถ้าใครแม่นยำ เวลาเทรดจะได้กำไรมาก เข้าตำรา “Sell ที่ปลาย Buy ที่ก้น” เหมาะกันคนที่ใช้เทคนิคเทรดสั้นหรือคนเทรดแบบเฝ้ากราฟ
Hammer และ Hanging Man
รูปแบบ Hammer หรือ รูปแบบค้อน (หัวขาว จุดกลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น) และ รูปแบบ Hanging Man หรือคนแขวนคอตาย (หัวดำ จุดกลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง) แค่ชื่อก็น่ากลัวไปแล้ว รูปแบบนี้เป็นรูปแบบกราฟแบบเดี่ยว ก็คือ ใช้สัญญาณเพียงแท่งเดียวก็สามารถวิเคราะห์ได้แล้ว ไม่ต้องใช้กลุ่มราคา โดยรูปแบบ Hammer และ Hanging Man เป็นรูปแบบสัญญาณกลับตัวของกราฟราคา
ภาพที่ 1 รูปแบบ Hammer (ซ้าย) แท่งดำลงมาตลอดเจอ Hammer หัวขาวเข้า ก็จะกลับตัวเป็นขาขึ้น ;และ Hangman(ขวา) แท่งขาวขึ้นมาตลอด เมื่อเจอ Hangman หัวดำเข้าก็จะกลับตัวเป็นขาลง
รูปแบบดังกล่าวจะเกิดในกราฟทั้งขาขึ้นและขาลง ดังภาพที่ 1 ซึ่งเมื่อมันเกิดขึ้น มีโอกาสว่าจะเป็นการกลับตัวของทิศทางของเทรนด์ โดยสามารถเทรดตามทิศทางที่มันให้สัญญาณ และที่สำคัญเพื่อป้องกันความผิดพลาด เราก็ควรจะตั้ง Stop loss ไว้เพื่อป้องกันการขาดทุนยาว แล้วไม่กล้าปิด
เกณฑ์ในการดูว่าเป็น Hammer หรือ ไม่ใช่ Hammer หรือ 2 รูปแบบนี้ คือ ลักษณะของไส้เทียนนั้นจะต้องยาวกว่าตัวเทียน และจบที่หัวของมันเป็นปมแบบในภาพ อาจจะมีไส้นิดหนึ่งก็พอยมอรับได้ ซึ่งรูปแบบ Hanging Man ก็เช่นเดียวกัน ก็จะต้องมีไส้เทียนที่ยาวกว่าตัวเทียน และอาจจะมีไส้นิดหนึ่ง ซึ่งการวิเคราะห์รูปแบบ Hammer สามารถทำได้ง่ายมาก
รูปแบบ Hammer กลับหัว และ รูปแบบดาวตก
รูปที่ 2 รูปแบบค้อนกลับหัว (ซ้าย) แท่งดำมาตลอดเมื่อเจอหัวขาวก็กลับตัว ;และ รูปแบบดาวตก (ขวา) แท่งขาวมาตลอดเมื่อเจอหัวดำก็กลับตัว
รูปแบบค้อนกลับหัวและรูปแบบดาวตก (shooting star) นั้นก็ไม่แตกต่างจากรูปแบบแรก เพราะว่า เป็นรูปแบบของกราฟที่จะเกิดการกลับตัวเช่นกัน โดยตัวอย่างจะแสดงการกลับตัวในทิศทางตรงกันข้ามกับ Hammer ซึ่งตัวไส้เทียนแทนที่จะชี้ลงกลับชี้ขึ้น แต่ก็ให้สัญญาณการกลับตัวได้ดีไม่แพ้กัน
การเกิดกราฟ Hammer กลับหัวและดาวตก ก็จะใช้เกณฑ์ในการพิจารณาเช่นเดียวกัน คือ ไส้เทียนนั้นต้องมีความยาวมากกว่าตัวเทียน และด้านหัวอาจจะมีไส้เทียนโผล่มาได้นิดหน่อยไม่มีความเสียหายแต่ประการใด
รูปแบบกราฟแท่งเทียน Forex แบบคู่
ต่อไปเป็นตัวอย่างรูปแบบกราฟแท่งเทียน แบบคู่ ซึ่งหมายความว่าการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน นั้นจะต้องดูอย่างน้อย 2 แท่งประกอบกัน ทำให้โอกาสในการเกิดรูปแบบกราฟแบบนี้ยากเข้าไปอีก ซึ่งรูปแบบกราฟแบบนี้ก็เป็นรูปแบบที่มีความน่าเชื่อถือเพราะว่า โอกาสในการเกิดนั้นน้อยมาก แต่เมื่อเกิดแล้วค่อนข้างแน่นอนว่าจะเป็นไปตามรูปปแบบทีก่ำหนด มาดูกันเลยดีกว่า
รูปแบบ Engulfing
ภาพที่ 3 รูปแบบ Engulfing: ซ้าย Bullish Engulfing – กระทิงกินหมี และ ขวา Bearish Engulfing – หมีกลืนกระทิง
Engulfing Pattern หรือที่ภาษาไทยเรียกว่ารูปแบบ “กลืนกิน” คือเราจะมองเห็นเป็นลักษณะรูป “ปาก” มองดูคล้าย “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก” คือแท่งแรกเล็กกว่า แท่งตามมาเป็นแท่งใหญ่กว่า ซึ่งเท่งใหญ่จะชี้ไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม การกลับตัวของเทรนก็จะเป็นไปตามนั้น รูปแบบ Engulfing นั้นมีทั้ง Bullish และ Bearish คือ
- Bullish Engulfing – กระทิงกินหมี (แท่งดำมาเรื่อยๆ เจอแท่งขาวที่ปากใหญ่กว่า จุดนั้นเป็นจุดกลับตัว) กราฟ Forex อาจจะเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาขึ้น
- Bearish Engulfing – หมีกลืนกระทิง (แท่งขาวมาเรื่อยๆ เจอแท่งดำที่ปากใหญากว่า จุดนั้นเป็นจุดกลับตัว) กราฟ Forex อาจจะเปลี่ยนแนวโน้มเป็นขาลง
ซึ่งรูปแบบทั้ง 2 รูปแบบนั้นจะต้องมีลักษณะคือ
- แท่งที่ 1 มีความยาวน้อยกว่าแท่งที่ 2 และแท่งที่ 2 นั้นยาวกว่า และราคาปิดจะต้องอยู่สูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งแรก ในกรณีที่เป็น Bullish Engulfing
- ขณะที่ Bearish Engulfing ก็จะให้ผลตรงข้ามกัน คือ ราคาปิดอยู่ต่ำกว่า ราคาต่ำสุดของแท่งแรก ดังภาพที่ 3 ซึ่งรูปแบบ Engulfing ก็จะเป็นรูปแบบการกลับตัวเช่นเดียวกัน และสามารถใช้ได้ค่อนข้างได้ผลดีเสียด้วย
* Engulfing จะไกล้เคียงกับ “Sell ที่ปลาย Buy ที่ก้น” จะเหลื่อมๆออกมานิดหนึ่งเพราะในทางการเทรดจริง เราจะเปิด Order ได้ ก็ต่อเเมื่อจบแท่งที่สองที่ชัดเจนก่อน
รูปแบบ Tweezer ของ Top กับ Bottom
ภาพที่ 4 รูปแบบ Tweezer บ่งบอกถึงจุดกลับตัว หลักการดูก็คล้ายกับ Hammer คือ ดำมาเรื่อยๆเจอขาวก็จะกลับตัว ขาวมาเรื่อยๆเจอดำก็จะกลับตัว
รูปแบบ Tweezer (แหนบ) นี้จะมีลักษณะคล้ายกับรูปแบบ Hammer ซึ่งเกิดขึ้นได้ ณ จุดสูงสุดและจุดต่ำสุดของกราฟ ในช่วงที่มีเทรนด์เพราะว่า การเคลื่อนไหวของราคานั้น จะเคลื่อนไหวต่อเนื่องมาและเกิดรูปแบบ Tweezer นี้ในจำนวน 2 แท่งเทียน ติดต่อกัน
ในความเป็นจริงมันบอกอารมณ์ตลาดให้แก่เราได้ว่า อารมณ์ตลาดนั้นไม่สามารถเคลื่อนไหวลงไปต่อได้ จึงดีดกลับขขึ้นมา เงื่อนไขของการวิเคราะห์ โดยใช้ Tweezer นั้น มีหลักเกณฑ์คือ
จะต้องเกิดลักษณะคล้ายกับแท่งเทียน Hammer มีไส้เทียนด้านใดด้านหนึ่งยาวเป็นพิเศษ ลักษณะของแท่งเทียนทั้ง 2 แท่ง คือแท่งแรกและแท่งที่ 2 มีความคล้ายคลึงกัน ตัวไส้เทียนนั้นจะไม่ยาวมากนัก มีขนาดไส้กับแท่งเทียนใกล้เคียงกัน และที่สำคัญที่สุด
- สำหรับขาลงจะเปลี่ยนเป็นขาขึ้น แท่งแรกจะเป็นแท่งขาลง ขณะที่แท่งที่ 2 จะเป็นแท่งขาขึ้น
- ในทางกลับกัน ถ้าหากเทรดอยู่ในเทรนด์ขาขึ้น Tweezer Top จะมีแท่งแรกเป็นขาขึ้นและไส้เทียนอยู่ด้านบน และเมื่อเกิดแท่งที่ 2 จะเป็นแท่งขาลงและไส้เทียนอยู่ด้านบนเช่นเดียวกัน
นอกจากรูปแบบที่ยกตัวอย่างไป 2 รูปแบบแล้ว รูปแบบของกราฟแท่งเทียนที่ใช้ในการวิเคราะห์กราฟเปล่ายังมีอีกหลายรูปแบบ แต่เนื่องด้วยความจำกัด ที่จะต้องมีเนื้อหาอื่นเสริมด้วย ก็อาจจะนำเสนอเป็นตัวอย่างเท่านั้นครับ โดยทุกท่านสามารถหาอ่านเสริมเกี่ยวกับรูปแบบจุดกลับตัวต่าง ๆ ของกราฟแท่งเทียนได้ในอินเตอร์เนทครับ