การเป็นเทรดเดอร์ Forex แบบไหน คือ การเทรดจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันไป ซึ่งในบทความนี้ เรานำเสนอเทรดเดอร์ออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่

1) Scalping Trader

2) Swing Trader

3) Day Trader

4) Position Trade

สำหรับระดับปริญญาตรีนั้น การเทรดยังเป็นสิ่งที่อยู่ในช่วงเริ่มต้น จำเป็นต้องศึกษารูปแบบในการเทรดก่อน เหมือนกับการเลือกอาชีพ หรือเลือกความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง ดังนั้น ถ้าหากคุณจะทำการเทรดและเลือกที่จะเป็นเทรดเดอร์ คุณต้องเลือกก่อนว่าจะเป็นเทรดเดอร์แบบไหน เพราะว่า เทรดเดอร์แต่ละประเภทนั้นมีความสามารถที่แตกต่างกัน

 
 

บทเรียนแรกของปีที่ 3 ระดับปริญญาตรี เนื้อหาช่วงนี้จะเป็นช่วงที่เข้มข้นเป็นพิเศษเพราะว่า ใกล้จะจบการศึกษาระดับปริญญาตรีแล้ว ถ้าหากเราเทียบการศึกษาแล้ว ในโลกแห่งการเทรดจริง ๆ ระดับปริญญาตรีปี 3 ก็ยังไม่ใช่ระดับที่ออกไปหากิน ทำเป็นอาชีพได้ วันนี้บทเรียนของเราเริ่มต้นด้วยประเภทของเทรดเดอร์ที่นักเทรดต้องทำความรู้จัก โดยเริ่มต้นจากสไตล์การเทรดของเทรดเดอร์แต่ละประเภท เพื่อที่จะหาแนวทางในการพัฒนาตัวเองได้

สไตล์การเทรดนั้นสำคัญไฉน

ก่อนที่เราจะไปเรื่องเทรด สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการเทรด คือ เราเป็นเทรดเดอร์สไตล์ไหน เพราะว่าถ้าเราไม่รู้ว่าเราต้องเป็นเทรดเดอร์สไตล์ไหนเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราจะต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร และถ้าหากจะให้ผมเปรียบเทียบ มันก็เหมือนกับการเป็นนักฟุตบอลนั่นแหละครับ ถ้าหากเราไม่รู้ว่าเราเป็นนักฟุตบอลตำแหน่งอะไร เราก็ยังไม่รู้ว่าทักษะแบบไหนที่สำคัญสำหรับเราและเราต้องฝึกอะไรเพิ่ม

สำหรับนักฟุตบอล ในตำแหน่งกองหลัง เราต้องสร้างความแข็งแกร่งของการยืนตำแหน่ง ทักษะการแย่งบอล การตัดสินใจ การอ่านเกมส์ การคาดเดาทางบอล และการตัดจังหวะทำประตูของกองหน้า นั่นคือ สิ่งที่กองหลังทำ แต่ขณะที่กองกลาง ทักษะการแย่งบอล ทักษะการครองบอล ทักษะการผ่านบอล การสร้างสรรค์เกมรุก กลับมีความสำคัญมากกว่า จะเห็นว่าแต่ละตำแหน่งทำหน้าที่แตกต่างกัน ทักษะที่ต้องใช้ก็แตกต่างกันมากมาย

คุณเป็นเทรดเดอร์ Forex แบบไหน: Position Trading
รูปที่ 1 แสดงเหตุการณ์เศรษฐกิจสำหรับ Position Trading

การเทรดเราก็แบ่งลักษณะการเทรดออกเป็น 4 รูปแบบได้แก่

1) การเทรดแบบ Scalping

2) การเทรดแบบ Day Trading

3) การเทรดแบบ Swing Trading

4) การเทรดแบบ Position Trading

มีข้อมูลรายละเอียด ดังนี้

1.1 การเทรดแบบ Scalping

การเทรด Scalping คือ การเทรดที่อาศัยการทำกำไรในระยะเวลาอันสั้นมากๆ ซึ่งอาจจะมีการถือ position ไม่เกิน 1 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านั้น ระบบเทรดนี้เหมาะสำหรับคนที่เฝ้ารอจังหวะในการเทรด การเทรดแบบนี้จะไม่สามารถลุกออกจากหน้าจอได้เลย อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาที่กำหนด แม้ว่าจะกินเวลาแค่ 1 ชั่วโมง แต่ว่าอย่าคิดว่า นี่คือ คุณจะใช้เวลาแค่ 1 ชั่วโมงในการเทรด เพราะว่า คุณต้องนั่งรอการเกิดสัญญาณเทรดอีก มันอาจจะกินเวลา วันละ 3 – 4 ชั่วโมงต่อวัน ในการเทรดได้เลย

สำหรับทักษะที่ต้องมีในการเทรด คือ วินัยในการเทรดที่สูง ต้องรู้จัก Cut loss ต้องรู้จักการบริหารจัดการพอร์ท ต้องรู้จักการควบคุมอารมณ์เวลาเทรด หรือถ้าจะให้เปรียบว่า เทรดเดอร์แบบ Scalping เป็นแบบไหนก็ต้องเรียกว่า เป็นตำแหน่งที่ยากมากที่สุด แต่ถ้าหากประสบความสำเร็จก็จะเป็นตำแหน่งที่ทำรายได้มากที่สุดได้เลย เพราะว่า จังหวะในการทำกำไรเยอะมากเช่นกัน

1.2) การเทรดแบบ Day Trading

สำหรับ Day Trading คือ เป็นการเทรดระหว่างวัน อาจจะได้ยินอีกชื่อหนึ่งคือ Proprietary Trader เป็นการเทรดที่จะไม่เน้นการถือ Position ข้ามคืน ไม่ว่าจะกำไรหรือขาดทุน ก็ต้องปิด Position ทิ้ง เป็นระบบการเทรดที่มีอยู่ทั่วไปในบริษัทกองทุน หรือการเทรดแบบ Day Trading เป็นการเทรดที่ได้รับความนิยมสูงในหมู่นักเทรด หลายคนอยากจะลาออกจากงานมาทำการเทรดแบบนี้เต็มตัว เพราะว่า มันคืองานอิสระได้อย่างหนึ่งเลย แต่อย่างที่บอก อาจดูเหมือนเป็นงานที่ต้องเผชิญกับความกดดันสูงมาก เพราะว่า ถ้าหากทำกำไรไม่ได้ก็อาจจะแย่กันเลยทีเดียว

การเทรดแบบนี้ไม่แตกต่างจากการเทรดแบบแรก เพราะว่าต้องมีวินัย เทรดเป็นระบบมีสถิติรองรับอย่างชัดเจน เทรดเดอร์ต้องเน้นไปที่การฝึกจิตใจเสริมด้วย การเทรดนั้นกินระยะเวลาไม่เกิน 1 วัน มีการจัดการ การวางแผนการเทรดชัดเจน

1.3) การเทรดแบบ Swing Trading

การเทรด Swing คือ เป็นการเทรดระยะกลาง โดยใช้ Time Frame ที่ใหญ่ขึ้นมาอีก โดยระยะเวลาการถือครอง position อาจจะอยู่หลักอาทิตย์จนถึงหลักเดือน โดยที่ไม่ได้ถือหลายเดือนมากนัก คนที่เทรดระบบนี้เป็นคนที่ใช้เวลาน้อยในการเทรด เพราะว่าไม่ต้องรีบเข้า Time Frame ที่เลือกอาจจะเป็น Time Frame Daily หรือว่า Time Frame 4 ชั่วโมงขั้นต่ำ การเทรดแบบนี้ไม่จำเป็นต้องดูกราฟบ่อย เพราะว่าพยากรณ์ 1 ครั้งก็กินระยะเวลาไปหลายแท่งเทียนแล้ว

การเทรดแบบนี้คุณสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ได้มากกว่า เทรดเดอร์ที่เทรดแบบนี้เป็นเทรดเดอร์ที่มีประสบการณ์ มีแผนการชัดเจน ไม่จำเป็นต้องเฝ้าหน้าจอ แต่ว่ามีความรู้สูง รู้จักประยุกต์ใช้หลักการและทฤษฎีการเทรด นอกจากนี้ยังมีความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานเศรษฐกิจ

1.4) การเทรดแบบ Position Trading

การเทรดแบบ Position Trading คือ จะปรากฏให้เห็นในกลุ่ม Hedge Fund และบริษัทที่บริหารจัดการเงินทุนขนาดใหญ่ การเทรดลักษณะนี้ ไม่ได้ถือ Position ระดับ 1 – 2 เดือน แต่อาจจะถือ Position 1 – 2 ปี เลยก็ได้ ต้นทุนที่สำคัญสำหรับการเทรดแบบนี้ คือ Swap หรือต้นทุนค่าธรรมเนียมทุกประเภท การเทรดในระยะยาวอาจจะต้องลดการใช้ Leverage ให้ได้มากที่สุด มีการบริหารจัดการเป็นสินทรัพย์ เทรดในตลาด Spot มากกว่า ขณะที่มี CFD อยู่บ้าง

การเทรดแบบนี้เรียกว่า ครบเครื่องที่สุด เพราะต้องคาดการณ์ยาวไกลกว่า และมีการใช้ความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม แต่ไม่จำเป็นต้องมานั่งเฝ้าหน้าจอทุกวัน คุณต้องมีความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับการบริหารจัดการพอร์ทและจัดการเงินทุนของคุณ

สุดท้าย อะไรที่เป็นตัวกำหนดให้คุณเป็นเทรดเดอร์ประเภทไหน ?

สำหรับเทรดเดอร์อย่างเรา ๆ การเทรด Forex กับ Broker ที่เราเลือกนั้น เราควรจะเทรดให้เหมาะกับสไตล์การดำเนินชีวิต ถ้าหากเราไม่ได้เทรดเป็นอาชีพ หรือว่าบริหารเงินจำนวนมาก เราควรเทรด Scalping  , Day Trading หรือ Swing Trading เพียง 3 รูปแบบนี้ อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณทำงานประจำ คุณอาจจะเทรดแบบ Day Trading ไม่ไหว เพราะต้องเฝ้าหน้าจอทั้งวัน การเทรดแบบ Scalping และ Swing Trading จึงเป็นรูปแบบที่น่าสนใจและได้รับความนิยม ไม่กระทบกับงานประจำ เมื่อคุณเลือกเทรดได้แบบนี้แล้วสิ่งที่คุณต้องทำ คือ เราจะเป็นเทรดเดอร์แบบนี้ให้ดีได้ยังไง เพราะว่า การฝึกแต่ละรูปแบบนั้นมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon