เส้น

การใช้ Indicator ต่าง ๆ : DeMarker Indicator

ในบทความนี้เป็นบทความ Indicator การใช้งานเครื่องมือที่ปรากฏอยู่ใน MT4 โดยอยู่ในหมวดของ Oscillator เครื่องมือที่บทความนำเสนอจัดเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ติดมากับตัวเครื่อง MT4 ตอนติดตั้งอยู่แล้ว เพื่อให้เทรดเดอร์สามารถเข้าใจการใช้เครื่องมือที่ติดตั้งอยู่ได้มากที่สุดและสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการ Trade Forex ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนำเสนอวิธีการใช้งานในรูปแบบที่ใช้การได้จริง จากประสบการณ์ของผู้เขียน เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจในการเทรด

อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ต้องยอมรับก่อนว่า ไม่มีเครื่องมือใดที่มีความสมบูรณ์พร้อมที่จะให้สัญญาณเทรดไดอย่างแม่นยำ Indicator ทุกตัวย่อมมีข้อจำกัดและข้อดีข้อเด่นของตัวมันเองอยู่แล้ว  โดยในบทความนี้เราขอนำเสนอ Indicator ในประเภท Oscillator ที่ชื่อว่า DeMarker Indicator ซึ่งเป็นอีกตัวหนึ่งที่ใช้ในการวัดการแกว่งตัว หรือ ความผันผวนของราคาสินทรัพย์

DeMarker Indicator คืออะไร?

DeMarker Indicator หรือเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่า DeM ซึ่งจะปรากฏบนจอเป็นตัวย่อ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สามารถเปรียบเทียบกรอบราคาต่ำสุดและสูงสุดในช่วงเวลาปัจจุบัน โดยเปรียบเทียบกับช่วงเวลาก่อนหน้า เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบอุปสงค์และอุปมานของการเคลื่อนไหวของราคา ตามสินทรัพย์หรือค่าเงินที่เราใส่เข้าไป  โดยการเปรียบเทียบนี้เราจะพยายามวัดทิศทางของตลาด ตัว Indicator เองนั้นอยู่ในกลุ่ม Oscillator ซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดย Thomas Demark ซึ่งชื่อ DeMarker ก็ตั้งชื่อตามนามสกุลของคนที่คิดค้นขึ้นนั้นเอง  

องค์ประกอบของ DeMarKer Indicator

Indicator DeMarker Indicator นั้นจะช่วยให้เทรดเดอร์สามารถตัดสินใจได้ว่าจะต้องเข้าเทรดในตลาดตอนไหน  หรือว่าจะต้องซื้อหรือขายสินทรัพย์หรือค่าเงินนั้น ๆ ตอนไหน ซึ่งจะสามารถระบุได้จากเทรนด์ของราคา ซึ่งถือได้ว่า Indicator DeMarker Indicator นั้นเป็นเครื่องมือประเภท Leading Indicator เพราะว่า มันจะให้สัญญาณในการเปลี่ยนแปลงเทรนด์ล่วงหน้า Indicator ประเภทนี้ หรือว่า DeMarker นี้มักจะถูกใช้กับเครื่องมือให้สัญญาณตัวอื่น ๆ ซึ่งใช้ตัดสินความแรงของเทรนด์ ในการวิเคราะห์จุดสูงสุด หรือ ต่ำสุดของตลาด รวมทั้งการประเมินความเสี่ยงของตลาดที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม Indicator DeMarker นั้นแม้ว่าจะถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Time Frame Daily เป็นหลัก แต่มันก็สามารถที่จะใช้งานได้กับทุก ๆ Time Frame เพราะว่ามันก็สร้างขึ้นจากราคาในแต่ละ Time Frame นั้น ๆ เช่นเดียวกัน รูปร่างหน้าตาของ DeMarker Indicator มีหน้าตาดังรูปต่อไปนี้

รูปที่ 1 แสดง DeMarker Indicator

ในรูปที่ 1 แสดงรูปของ DeMarker Indicator ซึ่งสามารถใช้งานได้คล้ายคลึงกับ Indicator ที่สามารถบอกการแกว่งตัวอย่างเช่น CCI หรือ Stochastic และ RSI ทั่ว ๆ ไป โดยการคำนวณในการสร้าง DeMarker Indicator นั้นมีสูตรดังต่อไปนี้

1 คำนวณ DeMax = High – ราคา High ก่อนหน้า ถ้า > 0 ให้ค่า DeMax = 0

2 คำนวณ DeMin = ราคา Low ก่อนหน้า – Low ถ้า > 0 หมายความว่า DeMin = 0

3 DeM = MA ของ DeMax/ (MA ของ DeMax+ MA ของ Demin)

ซึ่งการคำนวณนี้เราไม่ต้องทำการคำนวณให้ยุ่งยากอีกต่อไปเพราะว่า โปรแกรม MT4 ได้คำนวณให้เราเสร็จสรรพแล้ว โดยเราสามารถใช้ง่ายได้ง่าย ๆ โดยการกำหนดค่าจำนวนแทท่งเทียนที่เหมาะสมในการคำนวณ โดยทั่วไปแล้ว ค่าที่เป็นค่าเหมาะสม คือ 14 Period เพราะว่า ค่า 9 แท่งที่ใช้ในการคำนวณนั้นดูจะอ่อนไหวเกินไปสำหรับการวัดเทรนด์ทำให้เกิดสัญญาณหลอกค่อนข้างมาก

Indicator ตัวนี้จะค่อนข้างแตกต่างกับการใช้ Indicator ประเภท RSI ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่าเป็น Indicator ที่ดีที่สุดในกลุ่ม Oscillator เพราะว่า DeMarker นั้นจะให้ความสำคัญกับเทรนด์ระยะกลาง ใช้ราคาสูงและราคาต่ำสุดในการคำนวณ แทนที่จะใช้ราคาปิดในการคำนวณจากสูตรดังที่ได้กล่าวไปแล้ว เนื่องจากมันคำนวณจาก ราคา High และ Low ทำให้มัน แกว่งตัวได้สูง เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเทรนด์เพียงเล็กน้อย จึงทำให้ Indicator เปลี่ยนไปได้มาก

การใช้งาน Demarker Indicator

การใช้งาน DeMarker Indicator นั้น ค่อนข้างไม่แตกต่างจาก Indicator ทั่วไป ตัวอย่างเช่น Commodity Chanel Index ที่เราเคยได้นำเสนอไป เพราะตัว Indicator ถูก Set เป็น Level ต่ำสุดและสูงสุดคือ ค่า 0 และ ค่า 1 ซึ่งก็คือ 0 – 100 % นั่นเอง โดย Level ที่ใช้ก็แสดงคล้ายคลึงกับ Stochastic Oscillator คือ เป็นระดับ Overbought และระดับ Oversold ของราคา เราสามารถปรับระดับของมันได้โดยการสร้างระดับให้มันมีความสอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของราคาให้เหมือนกับการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นจริง และที่สำคัญสามารถปรับระดับ Level โดยระดับ Level ที่เหมาะสมที่ผู้เขียนแนะนำคือ ระดับ .2 และระดับ .8 แต่ถ้าหากผู้อ่านอยากจะปรับให้มันมีความแข็งแกร่งและความน่าจะเป็นสูงยิ่งขึ้น ระดับ 0.1 และ ระดับ 0.9 ก็เป็นระดับแนวรับแนวต้านที่แข็งแกร่งเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Indicator ประเภทเทรนด์ในการใช้การตัดสินใจเข้าเทรดร่วมด้วย ตัวอย่างเช่น Moving Average เป็นต้น

 

ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com

เส้น

 

เขียนโดย

Poomipat Wonganun

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chatchawal Nakcharoen