บทเรียนเตรียมอนุบาล : ขนาดตลาดและความผันผวน

ตลาด Forex ไม่เหมือนตลาดหุ้น ตรงที่ไม่มีศูนย์กลางการซื้อขาย เหมือนกับตลาดหุ้นไทย เพราะว่าตลาดเป็นตลาด interbank หรือก็คือตลาดนั้นรันอยู่ในคำสั่งระหว่างธนาคาร โดยเคลื่อนไหวตลอดเวลา 24 ชั่วโมง 5 วันต่อ 1 สัปดาห์ หมายความว่า ตลาด Forex นั้นกระจายอยู่ทั่วโลก ก็คือธนาคารทั่วโลกนั่นแหละ

เพราะว่าเราจะซื้อเงินตราต่างประเทศเราก็สามารถซื้อผ่านธนาคาร ธนาคารนั้นก็ทำการส่งคำสั่งไปในตลาด Electronics ที่ว่านั้น ตราบเท่าที่ทุกคนมี Internet ด้วยเหตุนี้ทำให้ตลาด Forex เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และมีธุรกรรมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ทำให้ราคามีความผันผวน และความผันผวนนี้เอง หรือว่าการเคลื่อนไหวของราคานี้เอง ทำให้การเทรด Forex นั้นน่าสนใจและเป็นที่นิยมในการเทรด

ค่าเงินที่เทรดมากที่สุด

ค่าเงินที่มีการเทรดมากที่สุด

ภาพที่ 1 ค่าเงินที่มีการเทรดมากที่สุด

จากภาพที่ 1 ค่าเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดคือ ค่าเงิน USD ค่าเงิน EUR และ ค่าเงิน JPY ใน 3 อันดับแรก ทำให้ 3 ค่าเงินนี้มีความผันผวนมากที่สุดในการเทรด โดยเฉพาะถ้าหากเราจับคู่เงิน EURUSD หมายความว่าปริมาณการซื้อขายของ 2 ค่าเงินนี้คิดเป็นสัดส่วนเกินครึ่งของการซื้อขายในตลาดทั้งหมด ถึง 62 % สาเหตุก็เพราะว่าส่วนหนึ่งมันเป็นค่าเงินที่ใช้ในการสำรองระหว่างประเทศนั่นเอง ทำให้ค่าเงินดังกล่าวเป็นที่นิยม ซึ่งกว่า 62 % ของเงินสำรองในบัญชีธนาคาร IMF นั้น เป็นเงินกว่า 62 % ขณะที่เงินสำรองมากเป็นอันดับสองได้แก่ค่าเงิน ปอนด์อังกฤษมีสัดส่วนเพียง 4 %

สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

ภาพที่ 2 สัดส่วนเงินสำรองระหว่างประเทศ

เมื่อเป็นอย่างนี้แล้วเทรดเดอร์ส่วนใหญ่จึงมุ่งเป้าไปดูเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาเป็นหลัก เพราะสัดส่วนที่มากทำให้ความสำคัญในการค่าเงิน USD ยิ่งมีมาก

ความผันผวนและการเก็งกำไร

วันนี้เป็นวันแรกที่ผมจะมาแนะนำให้รู้จักกับความผันผวน เพราะว่าที่ผ่านมาหลายคนอาจจะเคยได้ยินจากบทเรียนก่อนหน้าไปบ้างแล้วเรื่องความผันผวน ผมไม่เคยเห็นว่าที่ไหนจะพูดเรื่องนี้จริง ๆ จัง ๆ สักเท่าไหร่ เพราะว่า ส่วนใหญ่แล้วมุมมองของเทรดเดอร์สถาบันและเทรดเดอร์รายย่อยนั้นมองแตกต่างกัน เทรดเดอร์รายย่อยมองแค่ Indicator เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ทำให้ความผันผวนไม่มีความหมายเพราะว่า indicator บางตัวไม่สามารถระบุความผันผวนออกมาได้

แล้วความผันผวนคืออะไร? คำตอบง่าย ๆ เลยก็คือ การแกว่งตัว การเคลื่อนไหว ราคาที่ไม่มีการเคลื่อนไหวก็จะไม่สามารถซื้อขายได้ เพราะเราไม่รู้ว่ามันจะออกทิศทางไหน มันพยากรณ์ได้ลำบากนั่นเอง การเทรดกับความผันผวนจึงเป็นของคู่กัน ลองจินตนาการที่กราฟราคานั้นไม่เคลื่อนไหวมานานมากแล้ว มีคำถามว่า ถ้าเราจะเข้าเทรดแล้วมันดันเคลื่อนไหวมากขึ้นมาหล่ะ เพราะมันไม่เคลื่อนไหวเลย มันก็หมายความว่า เราเสี่ยงเพราะเราไม่รู้ว่ามันจะเคลื่อนไหวตรงไหน แต่ว่าถ้าหากเราเห็นกราฟมันลงอยู่ การเคลื่อนไหวลงนั้นต้องมีจังหวะพักฐานของราคา หรือว่า ดีดกลับของราคา เราสามารถพยากรณ์การดีดกลับหรือพักฐานนั้นอาศัยจังหวะการเคลื่อนไหวกลับตัวนั้นในการเทรด เรียกว่า การใช้ประโยชน์จากความผันผวน

โดยตัวอย่างของความผันผวนของกราฟแสดงได้ดังต่อไปนี้

แสดงความผันผวนของกราฟ

ภาพที่ 3 แสดงความผันผวนของกราฟ

จากภาพข้างต้นจะเห็นความผันผวน โดยเครื่องมือความผันผวน ที่นิยมใช้คือ Indicator Standard Deviation โดยช่วงที่กราฟมีความผันผวนก็คือช่วงที่ Standard Deviation นั้นแกว่งตัวขึ้นสูง ขณะที่เวลากราฟผันผวนต่ำ Standard Deviation เคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำ

ซึ่งในภาพที่ 3 จะเป็นภาพเปรียบเทียบกันระหว่าง กราฟค่าเงิน GBPJPY และค่าเงิน EURUSD  ด้านขวา คือค่าเงิน EURUSD เป็นคู่เงินที่ผัวผวนสูงที่สุดในโลก เพราะว่า 2 ค่าเงินนั้นมีปริมาณซื้อขายรวมกันก็เกิดสัดส่วนกว่าครึ่งตลาด เมื่อเราไปเทียบกับค่าเงิน GBPJPY ซึ่งมีขนาดปริมาณการซื้อขายที่น้อยกว่า ทำให้มันเห็นชัดเจนถึงความต่างของความผันผวน และเมื่อผมได้ใส่ เครื่องมือเข้าไปสักตัวหนึ่ง เช่น เทรนด์ไลน์ ก็จะเห็นว่า มันมีกรอบของราคาในกรอบสีฟ้า คือช่วงเวลาที่กราฟผันผวน ในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้เราเห็นกราฟเคลื่อนไหวในทิศทางมีการแกว่งตัวขึ้นสูง สาเหตุก็อย่างที่บอกไปว่า เมื่อมีคนจำนวนมากซื้อขายค่าเงินนี้ ทำให้หลายคนมีความคิดเห็นต่างกัน หลายคนอาจจะบอกว่า อ๋อ ลงมาเยอะแล้ว และมันควรจะกลับตัวขึ้นไป ขณะที่ขึ้นไปปุ๊บก็มีอีกหลายกลุ่มที่มีความเห็นตรงกันข้าม ทำให้คราคาเคลื่อนไหวเป็นเช่นนั้น ซึ่งการเกิดการเคลื่อนไหวแบบนี้ก็ทำให้เกิดคลื่นของการเคลื่อนไหวของราคา นำไปสู่ทฤษฎีคลื่นต่าง ๆ มากมาย เช่น ทฤษฎีคลื่น Elliot Wave เป็นต้น

ขอบคุณครับ