เส้น

ค่าเงิน GBPUSD

คู่เงิน GBPUSD คือ คู่เงินที่เปรียบเทียบค่าเงินกับค่าเงิน USD โดยบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะ ค่าเงิน GBP หรือ ค่าเงินปอนด์ อังกฤษ แต่ไม่ได้ใช้ในเฉพาะประเทศอังกฤษ ซึ่งใช้ในประเทศ สหรราชอาณาจักร ซึ่งสามารถเรียกสั้น ๆ ว่า ปอนด์ โดย โดยเป็นค่าเงินที่ใช้เป็นทางการของ สหราชอาณาจักร (เวลส์  ไอร์แลนด์  อังกฤษ สก็อตแลนด์) Jersey ,  Guernsey, the Isle of Man, South Georgia and the South Sandwich Islands, British Antarctic Territory, และ Tritan da Cunha โดยทั่วไปแล้วเงินปอนด์จะแบ่งเป็นหน่วยย่อยได้ 100 pence  ค่าเงินเปอนด์ถือได้ว่าเป็นค่าเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดเป็นอันดับ 4 ในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งน้อยกว่า ค่าเงิน ดอลล่าร์สหรัฐ ค่าเงินยูโร และค่าเงินเยน ค่าเงินปอนด์ เป็นหนึ่งในเงินที่ถูกใช้เป็นเงินสำรองระหว่างประเทศมากที่สุดเป็นอันดับสาม คิดเป็นประมาณ 4 % ของเงินสำรองทั้งหมด

ภาพที่ 1 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงแผนที่กลุ่มประเทศสหราชอาณาจักร

ข้อมูลเบื้องต้น

ชื่อเต็มของเงินปอนด์ คือ ปอนด์สเตอลิ่ง  ซึ่งใช้สำหรับอย่างเป็นทางการและใช้เมื่อมันจำเป็น เพื่อใช้บอกความแตกต่างจากค่าเงินอื่นที่มีชื่อใกล้เคียงหรือเหมือนกัน คำว่า ปอนด์ ถือเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ชื่อเงินปอนด์บางครั้งอาจจะใช้คำว่า Sterling หรือ ใช้คำว่า Ster หรือ stg ก็มีบ้าง  อัตราแลกเปลื่ยนเงินปอนด์ ที่เปรียบเทียบกับค่าเงินดลล่าร์สหรัฐฯ นั้นจะมีชื่อเรียกว่า Cable ซึ่งคำนี้มาจากการที่ในช่วงปี 1800  ค่าเงิน GBPUSD จะถูกโอนผ่าน transatlantic cable เลยเรียกชือ่ว่า cable  ซึ่งคนที่เทรด GBP/USD บางครั้งก็เรียกคนเทรดนี้ว่า “Cable dealers”  เงินปอนด์นั้นเคยถูกใช้เป็นมาตรฐานทองคำมาก่อน ในช่วงก่อนสงครามโลก ซึ่งต่อมาภายหลังได้มีการใช้ระบบค่าเงินผันแปร หลังจากที่ทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนและเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจ

ราคาของเงินปอนด์

ราคาของเงินปอนด์ ในรอบหลายทศวรรษที่ผ่านมา อ่อนค่าลงอย่างมากเมื่อเทียบกับค่าเงิน USD ดอลล่าร์ อยู่ที่ประมาณ 1.2524 ดอลล่าร์ต่อ 1 ปอนด์ ซึ่งเดิมที การจะแลกเงินปอนด์ต้องใช้เงินดอลล่าร์ถึง 2 ดอลล่าร์เพื่อที่จะแลกให้ได้ 1 ปอนด์ในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจแฮมเบอร์เกอร์ของสหรัฐอเมริกา

ราคาของเงินปอนด์นั้น ค่อนข้างมีเสถียรภาพอย่างมากก่อนช่วงที่จะมีการใช้เงินยูโรในสภาพยุโรป ภายหลังปี 2000 ตั้งแต่ปี 2001 – 2007 นั้น เงินปอนด์แข็งค่าขึ้นมาก ไปจนจุดสูงสุด 2.11 ดอลล่าร์สหรัฐฯ ต่อ 1 ปอนด์ ในช่วงเดือน พฤศจิกายน 2007 ซึ่งหลังจากนั้นเงินปอนด์อ่อนค่ามาโดยตลอด โดยทำสถิติ ต่ำสุดตั้งแต่ปี 1995 ในปี 2016 ที่ผ่านมานี้เอง การอ่อนค่าของเงินปอนด์นั้นมีหลายสาเหตุ ซึ่งเงินปอนด์เป็นค่าเงินที่เทรดเดอร์นิยมเทรด เนื่องจากเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงค่อนข้างสูง

โดยหน่วยงานที่ทำหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามเงินปอนด์คือ ธนาคารกลางอังกฤษ ซึ่งจากที่หลังจากที่ธนาคารกลางแห่งสหราชอาณาจักรถูกลดบทบาทลง ธนาคารกลางอังกฤษ ได้ถูกแต่งตั้งเป็นผู้กำหนดนโยบายการเงิน เพื่อควบคุมอุปสงค์และอุปทานของค่าเงินปอนด์ของอังกฤษ

ภาพที่ 2 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงค่าเงินปอนด์ในโปรแกรม MT4

แล้วปัจจัยอะไรที่กระทบกับการเคลื่อนไหวของค่าเงินปอนด์มากที่สุด ก็จะมีผลต่อการเทรดมากที่สุด ดังเนื้อหาต่อไปนี้

ปัจจัยที่กระทบกับค่าเงินปอนด์

ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่มีการใช้เงินปอนด์ มีประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ซึ่งสหราชอาณาจักร เป็นเกาะและอังกฤษอยู่ในเกาะนั้น ร่วมกับ สก็อตแลนด์ ไอร์แลนด์เหนือ อังกฤษ และ เวลส์ เศรษฐกิจของอังกฤษ ถือเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในโลก โดยมี GDP ต่อหัวเฉลี่ยที่ 28,100 ปอนด์ ต่อหัว โดยใช้นโยบายตลาดเสรี  โดยมีอุตสาหกรรมที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมเคมี  อุตสาหกรรมอวกาศ เป็นผู้นำด้านเวชภัณฑ์ อาวุธยุทโธปกรณ์  เป็นแหล่งผลิต Software ที่สำคัญของตลาดโลก นอกจากนี้ ตลาดหุ้น London ถือเป็นตลาดหุ้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก และใหญ่ที่สุดในยุโรป จากทิศทางอุตสาหกรรมข้างต้น เราจะมาลงลึกถึงรายงานทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่กระทบกับเงินปอนด์ ดังต่ไปนี้

  1. GDP และ อุตสาหกรรมการผลิต

GDP ถือเป็นตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เพราะว่า เป็นการผลิตของผลิตภัณฑ์ในประเทศ โดยที่ประชากรในประเทศสามารถสร้างผลิตภัณฑ์และมีมูลค่าเท่าไหร่ ซึ่ง GDP จะแปลงความหมายออกมาคล้ายคลึงกับรายได้ ยึ่งสูงหมายความว่าคนในประเทศมีรายได้สูง และการที่มีรายได้สูง ส่งผลต่อการบริโภค การส่งออกและนำเข้าสินค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับอัตราแลกเปลี่ยนโดยตรง ดังนั้น ในภาพจะเห็นว่า ผลกระทบของ GDP จะเป็นข่าวที่มีสัญลักษณ์สีแดง เช่นเดียวกับ อุตสาหกรรมการผลิต เพราะสะท้อนถึงการผลิตสินค้าในประเทศ  ทำให้ข่าวทั้ง 2 ข่าวมีผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนมาก

อย่างไรก็ตาม Construction Output , Good Trade Balance Index of Service Industrial production เป็นสีเหลือง ซึ่งตีความได้ว่า ไม่ส่งผลกระทบต่อค่าเงิน GBP มากนักในรอบนี้

ภาพที่ 3 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงข่าว ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของอังกฤษ และ GDP

  1. ดัชนีราคาผู้บริโภค

Producer  Price Index หรือ ดัชนีราคาภาการผลิต และ Consumer Price Index สะท้อนอำนาจการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ เพราะว่า ราคาสินค้าคือ ต้นทุนของสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นประเทศ อย่าไงรก็ตาม การผลิตและการบริโภค ราคาของผลิตภัณฑ์ แม้จะเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้าเพราะว่า จะเป็นฐษนของราคาสินค้าในการส่งออกและนำเข้าไปด้วย ทำให้ CPI ส่งผลต่อค่าเงินในระดับรุนแรง ซึ่งในภาพที่ 3 แสดงเป็นสัญลักษีสีแดงหมายความถึงผลกระทบต่อค่าเงินสูง

ภาพที่ 4 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงข่าวดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีอื่น ๆ ที่สำคัญ

  1. ยอดขายปลีก หรือ Retail Sales

ภาพที่ 5 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงข่าว ยอดขายปลีกของค่าเงิน GBP

ยอดขายปลีกหรือ Retail Sales หมายถึงยอดขายสินค้าและบริการในประเทศ ยอดขายปลีก กำหนดกำลังซื้อของคนในประเทศ หมายความว่า ถ้ามียอดขายสูงสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ผู้คนกล้าที่จะจับจ่ายใช้สอย รวมทั้งการบริโภค ซึ่ง สินค้าและบริการที่ขาย ก็ย่อมมาจากภาคอุตสาหกรรม รวมทั้ง การนำเข้าจากต่างประเทศ การขึ้นลงและการเปลี่ยนแปลงของยอดขายปลีก ตามรายงานดังกล่าว จะส่งผลต่อค่าเงิน ซึ่งในภาพที่ 5 ระบุการเปลี่ยนแปลง 1.3 % ที่ส่งผลต่อค่าเงิน

  1. ดัชนีรายได้เฉลี่ย อัตราการว่างงาน และ ยอดหนี้หนี้ภาคเอกชน

ดัชนีรายได้เฉลี่ย (Average Earning Index) อัตราการว่างงาน (Unemployment Rate) และ ยอดกู้ยืมสาธารณะ (Public Sector Net Borrowing)  แต่ละตัวมีความสำคัญแตกต่างกันไป ในทัศนะของผู้เขียน อัตราการว่างงานเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญและส่งผลต่อค่าเงินได้มากที่สุดในกลุ่มปัจจัยเหล่านี้ แต่อาจจะมีหลายเหตุผลที่แสดงให้เห็นได้ว่า รายได้เฉลี่ย ตามภาพนั้นส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนเงินปอนด์ได้มากกว่าในโอกาสนี้

ภาพที่ 6 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงข่าว ยอดหนี้ภาคเอกชน และอัตราการว่างงาน

ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว รายได้เฉลี่ยควรจะมีน้ำหนักน้อยว่า อัตราการว่างงาน เพราะถ้าหากอัตราการว่างงานที่สูง ย่อมแสดงถึงการที่ประชาชนขาดรายได้ ย่อมทำให้การบริโภค เงินออมลดลง ซึ่งนั่นเป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมหากอัตราการว่างงานสูงย่อมส่งผลต่อภาคเศรษฐกิจจริงได้มากกว่า อย่างไรก็ตามรายได้เฉลี่ยก็มีความสำคัญ รวมทั้งยอดหนี้สาธารณะก็มีความสำคัญใกล้เคียงกับยอดรายได้

  1. รายงานภาวะเงินเฟ้อ สรุปนโยบายการเงิน และอัตราดอกเบี้ย

รายงานภาวะเงินเฟ้อ ของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE Inflation Report) ถือเป็นรายงานที่มีผลกระทบสูงมากในระดับเดียวกับอัตราดอกเบี้ย GDP และ การว่างงาน ขณะที่ตัวแปรที่สำคัญที่สุดในความเห็นของผู้เขียน คือ อัตราดอกเบี้ย

ภาพที่ 7 ค่าเงิน GBPUSD – แสดงรายงานเงินเฟ้อของอังกฤษ และสรุปนโยบายการเงิน

อัตราดอกเบี้ย ถือเป็นเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการกำหนดอุปสงค์และอุปทานของเงิน อัตราดอกเบี้ย ที่สูงจะจูงใจให้คนฝากเงินมากขึ้น ซึ่งไม่ได้กล่าวถึงเฉพาะคนในประเทศ ถ้าหากอัตราดอกเบี้ยในประเทศสูงกว่าประเทศอื่น ย่อมดึงดูดให้เงินจากประเทศอื่น เข้ามาลงทุนในเงินฝาก พันธบัตร หรือสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ ขณะเดียวกันก็จะทำให้ภาคเศรษฐกิจมีต้นทุนที่สูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ส่งผลรุนแรงต่อค่าเงิน ในภาพเป็นสรุปผลนโยบายการเงิน (Monetary Policy Summary) และ อัตราดอกเบี้ยของธนาคาร (Official Bank Rate) นอกจากนี้ยังมี การแถลงข่าวต่าง ๆ ของผู้ว่าการธนาคารกลาง ต่าง ๆ ก็มีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยน

ในหัวข้อต่าง ๆ ที่ได้ยกตัวอย่าง จะเห็นว่า ข่าวที่มีความสำคัญมาก บางครั้งก็ไม่ได้มีผลการเคลื่อนไหวที่รุนแรงมากนัก ขึ้นอยู่กับว่า เทรดเดอร์หรือนักค่าเงินคาดหวังอย่างไรกับข่าวที่ออกมา หรือว่า ข่าวนั้นได้รับรู้พฤติกรรม และการตัดสินใจของภาครัฐ หรือข้อมูลเศรษฐกิจที่ออกมาไปแล้ว ทำให้ข่าวที่สำคัญมากแต่ก็เคลื่อนไหวไม่มากเช่นเดียวกัน

 

ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com

เส้น

เขียนโดย

Rattapoom Jitjaroen

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon