ค่าเงิน USDJPY
ค่าเงิน USDJPY คือ ค่าเงินที่เป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการ ระหว่างค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐ และเงินเยน ญี่ปุ่น ค่าเงิน ค่าเงิน USDJPY ถือเป็นหนึ่งใน 4 ค่าเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุดในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน interbank Market มันเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมในตลาด Forex และด้วยเหตุที่สภาพคล่องที่สูง ทำให้ Spread ของคู่เงินนี้ต่ำใกล้เคียงกับค่าเงิน EURUSD
การเคลื่อนไหวของค่าเงินญี่ปุ่น คือ ปริมาณธุรกรรมทางภาคเศรษฐกิจจริง และภาคอุสาหกรรมการเงินของประเทศ ภาคเศรษฐกิจจริง ซึ่งเราจะมาดูเศรษฐกิจเบื้องหลังค่าเงิน USDJPY นี้กัน ซึ่งบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะค่าเงินเยนญี่ปุ่นเท่านั้น เพราะว่า ค่าเงินดอลล่าร์นั้น เป็นค่าเงินที่ใช้ในการสำรองระหว่างประเทศ ทำให้ค่าเงินดอลล่าร์แทบจะเป็นเงินสกุลหลักของทุกประเทศไปด้วย ซึ่งการจะบอกว่า ค่าเงินดอลล่าร์เป็นค่าเงินของประเทศสหรัฐฯ เพียงอย่างเดียวนั้นจะทำให้ข้อมูลนั้นไม่สะท้อนความเป็นจริง แม้ว่า เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา จะเป็นตัวผลักดันหลักของการเคลื่อนไหวของค่าเงิน USD ซึ่งรายละเอียดของค่าเงินดอลล่าร์นั้นมีอีกมาก แต่เพื่อให้เข้าใจภาพรวมของค่าเงินญี่ปุ่น และค่าเงิน USDJPY จึงขอกล่าวคร่าว ๆ ไว้เท่านี้
ภาพที่ 1 ค่าเงิน USDJPY – จำลองขอบเขตประเทศญี่ปุ่น
การเคลื่อนไหวของค่าเงิน USDJPY
ภาคเศรษฐกิจ
พื้นฐานของการเคลื่อนไหวค่าเงิน ซึ่งจะมีเพียงภาคเศรษฐกิจจริง และภาคการเงินเท่านั้น โดยภาคเศรษฐกิจจริง ก็คือ การค้าขายระหว่างประเทศ การซื้อข้าว ขายข้าว การส่งออก ยางพาราเป็นต้น นี่คือภาคเศรษฐกิจจริง แต่ถ้าหากเรากล่าวถึงภาคการเงิน คือการเคลื่อนไหวของเงินทุน เช่น การนำเงินลงทุนไปลงทุนในตลาดหุ้นญี่ปุ่น นี่ถือว่าไม่ได้นำไปลงทุนในหน่วยธุรกิจของประเทศ ทำให้ไม่อยู่ในภาคเศรษฐกิจแต่ก็ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของค่าเงิน USDJPY
พื้นฐานของประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมค่าเงิน USDJPY ถึงเป็นที่นิยม ซึ่งตามหลังเพียงแค่ สหรัฐอเมริกา และ ประเทศจริง ในแง่ของ GDP ในปี 2018 และนอกจากนี้ยังเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลกในแง่ของ อำนาจซื้อเปรียเทียบ (Purchasing Power Parity) ปี 2016 จากข้อมูลของธนาคารโลก ประเทศญี่ปุ่นมีหนี้สาธารณะคิดเป็น 230 เปอร์เซ็นต์ของ GDP ภายในประเทศ ซึ่งถือเป็นประเทศที่มีหนี้สาธารณะมากที่สุดในโลก อุตสาหกรรมที่ทำในญี่ปุ่น ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเทคโนโลยี เช่น เครื่องจักรกล มอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อีเล็กทรอนิกส์ เครื่องมืออุตสาหกรรม เครื่องมือในการเกษตร ส่วนทางด้านธุรกิจการเกษตรของประเทศญี่ปุ่น คิดเป็น 13 % ของพื้นที่ทั้งประเทศ สินค้านำเข้าหลักของญี่ปุ่นได้แก่ เครื่องจักรกลบางประเภท เชื้อเพลิงน้ำมัน อาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อวัว หรือเนื้อสัตว์ สารเคมี ผ้าฝ้ายผ้าไหม และวัตถุดิบที่ใช้ป้อนให้กับโรงงานอุตสาหกรรมของประเทศ นั่นคือพื้นฐานของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเทคโนโลยีที่เรารู้จักดีได้แก่ รถยนต์ กล้องถ่ายรูป เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านจำนวนมาก
ภาคบริการ
นอกจากการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของญี่ปุ่นแล้ว ยังมีภาคบริการในญี่ปุ่น ยังถือว่าโดดเด่นไม่แพ้ ประเทศใด ๆ และเป็นผู้นำด้านการเงินในแถบเอเชีย ได้แก่ ธุรกิจธนาคาร ธุรกิจประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจบริการปลีกย่อย ธุรกิจการขนส่ง การสื่อสาร ซึ่งเป็นธุรกิจหลักของประเทศ ซึ่ง มีบริษัทเด่น ๆ ที่เรารู้จักได้แก่ AEON บริษัทสินเชื่อที่อยู่ในตลาดประเทศไทยด้วยเช่นกัน บริษัท Nomura บริษัท Mitsubishi UFJ และ Mitsubishi Estate รวมทั้งสายการบิน Japan Airlines ถือว่าเป็นหนึ่งในสายการบินระดับโลก
ซึ่งนั่นคือลักษณะธุรกิจบริการที่เรารู้จักดีและมีชื่อดังในญี่ปุ่นที่คอยขับเคลื่อนประเทศ แต่ว่าสิ่งหนึ่งที่คอยกำกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงของค่าเงิน คือ ธนาคารกลางญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ดูแลเสถียรภาพของค่าเงินในประเทศ ซึ่งเราจะมาดูกันว่า ปัจจัยทิศทางของตัวแปรใดบ้างที่เกี่ยวข้องกับค่าเงิน เยน อย่างมีนัยสำคัญ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว
นโยบายการเงิน และ อัตราดอกเบี้ย
เป็นที่แน่นอนว่า นโยบายการเงิน และ อัตราดอกเบี้ย นั้นกระทบต่อการเคลื่อนไหวของค่าเงินทุก ๆ ประเทศ ไม่เว้นแม้กระทั่งญี่ปุ่น ซึ่งการลดหรือเพิ่มดอกเบี้ยนั้นส่งผลกับค่าเงินโดยตรงเนื่องจากเป็นปัจจัยที่กำหนอุปสงค์และอุปทานของเงิน เพราะถ้าหากดอกเบี้ยสูงขึ้น ย่อมหมายถึงค่าใช้จ่ายภาคเศรษฐกิจจริงที่มีการกู้ไปลงทุน และมันคือความคาดหวังของภาคบริการทางการเงิน ที่จะทำให้คนออมเงินมากขึ้นเพราะได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น เมื่อปริมาณเงินน้อยลงเพราะคนออมเงินมากขึ้น จึงทำให้ปริมาณเงินลดลง ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ในปัจจุบัน ประเทศญีปุ่นมีการทำ QE หรือ Quantitative Easing และยังทำการลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับภาคธุรกิจ จนถึงขนาดอัตราดอกเบี้ยติดลบก็เคยเกิดขึ้นมาแล้ว
ภาพที่ 2 ค่าเงิน USDJPY – ภาพข่าวนโยบายทางการเงิน
ในช่วงเดือน กรกฎาคม 2018 ธนาคารกลางประเทศญี่ปุ่นมีมติคงอัตราดอกเบี้ยงไว้ที่ระดับ -0.1 % เพื่อสร้างความยืดหยุ่นให้แก่ภาคเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ ผลจากการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำ ทำให้เงินเยนอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งนี่เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถเห็นได้บ่อย ๆ เกี่ยวกับนโยบายทางการเงินและการเคลื่อนไหวของค่าเงิน
ดุลการค้า
ดุการค้า คือ ยอดส่งออกสินค้า หักด้วยยอดนำเข้าสินค้า ถ้าจะให้อธิบายให้ง่าย มันก็เหมือนรายรับรายจ่ายของครอบครัวนั่นแหละครับ การส่งออกก็เหมือนที่บ้านขายของ และการนำเข้าก็คือ ที่บ้านซื้อของ ถ้าหากเราค้าขายสิ่งที่เราต้องทำคือ คงยอดขายของให้มากกว่า ยอดใช้จ่าย
ภาพที่ 3 ค่าเงิน USDJPY – ดุลการค้าระดับผลกระทบของข่าว
เช่นเดียวกับประเทศ ก็เทียบเท่าหน่วยครัวเรือนหนึ่ง ที่ต้องมียอดส่งออกมากกว่านำเข้า ถ้าหากว่า นำเข้ามากกว่าส่งออก็เรียกว่า ขาดดุล และถ้าหากว่า ส่งออกมากกว่านำเข้าก็เรียกว่าได้ดุลกการค้า การค้าจึงสะท้อนการค้าขายระหว่างประเทศและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมื่อเกิดการค้าขายจึงกระทบกับค่าเงิน และอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อนำไปใช้ซื้อสินค้าและบริการระหว่างประเทศ ซึ่งทำให้ยอดดุลการค้า เป็นยอดที่ส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนโดยตรง ในภาพข้างต้น ระดับสีก็จะบอกถึงผลกระทบที่คาดหวังและคาดว่าจะเกิดขึ้นจริง ต่ออัตราแลกเปลี่ยน ถ้าหากสีแดงมาก ๆ ก็จะส่งผลกับอัตราแลกเปลี่ยนในระดับรุนแรง ซึ่งในภาพ Trade Balance หรือ ดุลการค้าส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนในระดับสีส้ม แสดงผลกระทบข่าว ระดับปานกลาง
อัตราการว่างงาน
จริง ๆ ในกลุ่มข่าวที่ผมทำการ highlight ไว้ใน ช่อง 4 เหลี่ยมจะเห็นว่ามี Household spending หรือ การใช้จ่ายภาคครัวเรือน Core CPI หรือดัชนีราคาผู้บริโภค รวมทั้งอัตราการว่างงาน ดังภาพที่ 4
ภาพที่ 4 ค่าเงิน USDJPY – ค่าใช้จ่ายภาคครัวเรือน และข่าวอื่น ๆ
การใช้จ่ายภาคครัวเรือนจะสะท้อน ระบบเศรษฐกิจ ความกังวล ความมั่นใจของผู้บริโภค ที่สื่อผ่านการใช้จ่าย ถ้าหากว่า การใช้จ่ายสูง แสดงถึงการหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจและสภาพคล่องเป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้ยังมีอัตราการว่างงาน ซึ่งเป็ตัวแปรชี้วัดทางเศรษฐกิจที่สำคัญ อย่างไรก็ตามจากที่เห็น จะเห็นว่า อัตราการว่างงานมีผลกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยนในระดับน้อย คือสีเหลือง
ภาพที่ 5 ค่าเงิน USDJPY – รายงานธนาคารกลางญี่ปุ่น
ซึ่งทั้งหมด 4 ข่าวเป็นเพียงตัวอย่างของข่าวที่ส่งผลกระทบกับอัตราแลกเปลี่ยนเท่านั้น ในนั้นมีการพยากรณ์การเคลื่อนไหวว่า กระทบกับค่าเงินมากขนาดไหน สิ่งหนึ่งจะต้องเน้นย้ำเสมอว่า นั่นเป็นความคิดเห็นของทางเว็บ Forexfactory เท่านั้น เพราะว่า ความรุนแรงของการเปลี่ยนแปลง แม้จะเป็นข่าวเดียวกัน ก็จะส่งผลไม่เท่านั้นในเวลาที่ไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ตัวเลขการว่างงาน ในช่วงเกิดวิกฤติเศรษฐกิจย่อมส่งผลกระทบรุนแรงกว่า ตัวเลขการว่างงานในช่วงเวลาปกติ เพราะว่า ความแตกต่างเหล่านี้ไม่สามารถสะท้อนอารมณ์ความรู้สึกของคนในตลดาได้เท่ากัน หรือบางครั้ง ข่าวที่ไม่คิดว่าจะส่งผลต่อราคาหรือการปรับตัวของตลาด ก็ให้ผลตรงกันข้ามได้ ตัวอย่างของ นโยบาย QE ของญี่ปุ่นที่คาดหมายว่าจะออกมาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และอยากให้มีสภาพคล่องในการซื้อขายทั้งตลาดการเงินและภาคอุตสาหกรรม แต่ปรากฏว่า หลังจากข่าวออกไปทำให้ค่าเงินของญี่ปุ่นอ่อนค่าลง และทำให้ตลาดหุ้นตกลงไปพอสมควร ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถคาดไหมายได้ แม้แต่คนที่คอยควบุมปริมาณเงิน ผ่านเครื่องมือทางการเงินหลายรูปแบบ มีทั้งอำนาจ และเครื่องมือก็ตาม ก็ยังไม่สามารถจะทำนายผลของการใช้เครื่องมือ รายงานเศรษฐกิจ ต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนได้
ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com