เส้น

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา :  ความชันของเทรนด์

 

จากบทความก่อนเรามีสมมุติฐานที่ต้องพิสูจน์ 1 สมมุติฐานก่อนที่จะทำการประมาณการ ระยะทางของเทรนด์ คือ การพิสูจน์ว่า ถ้าความชันของเทรนด์ในกรอบโดยใช้ Equidistance วัดนั้นเป็นเรื่องจริง  การจะวัดได้ว่าถ้าความชันสูงทำให้ระยะทางสั้น ต้องโพสดูในกราฟ อย่างง่าย ๆ ไม่ยากเลย

โดยหลักการจะต้องแสดงออกมาในรูปแบบต่อไปนี้

รูปที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ของความชัน กับ จำนวนแท่ง

ในรูปแกนตั้งคือความชัน ถ้าความชันมาก ระยะทางจำนวนแท่งก็จะน้อย ถ้าจำนวนแท่งมากความชันก็จะน้อยตรงกันข้ามกันหมายความว่า ความชันกับจำนวนแท่งมีความสัมพันธ์แบบตรงกันข้าม (ผกผัน)โดยการที่เราจะวัดความชันได้นั้นต้องใช้เครื่องมือสำหรับเครื่องมือนั้นท่านต้องย้อนไปอ่านบทความก่อนหน้า โดยใช้ software picpict ในการวัดความชัน โดยในตัวอย่างนี้เราจะทำการวัดความชันของเทรนด์ให้เพื่อใช้ในการทดสอบ อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงตัวอย่างของการทดสอบสมมุติฐานเท่านั้น เราจะทำเพียงจำนวนตัวอย่างเพียง 20 ตัวอย่าง หรือ 20 เทรนด์เท่านั้น โดยจะทำการบันทึกลง Excel ว่าจำนวน 20 ครั้งนั้น แสดงกราฟอย่างไรใน Excel โดยใช้ค่าเงิน EURUSD ใน Time Frame 1H ซึ่งการวัดจะวัดเฉพาะเทรนด์ที่เกิดขึ้นไปแล้วเท่านั้น เทรนด์ที่เกิดล่าสุดจะไม่ทำการวัด โดยจะเก็บข้อมูล 2 อย่าง คือ ความชันและจำนวนแท่ง แล้วแสดงเป็นกราฟ

เทรนด์ที่ ความชัน จำนวนแท่ง
1 53.62 151
2 44.41 202
3 48.96 168
4 44.86 131
5 50.51 150
6 64.24 100
7 31.12 347
8 51.04 75
9 35.54 196
10 29.40 394
11 37.83 157
12 41.93 279
13 73.47 53
14 50.02 113
15 40.61 225
16 50.72 92
17 33.84 226
18 34.19 322
19 33.00 425
20 57.12 100

ในตารางข้างต้นเราแสดงผลของการบันทึกข้อมูลเทรนด์ย้อนหลัง 20 ครั้ง เพื่อที่จะบอกว่า ถ้าเทรนด์ที่มีความชันของเทรนด์สูงจะมีจำนวนแท่งเทียนในการเคลื่อนไหวสั้นหรือไม่ ตามสมมุติฐานของเรา สิ่งที่เราจะดูก่อนเลยคือ กราฟจะเป็นอย่างที่เราวาดไว้ตอนแรกหรือไม่ โดยการนำค่าที่ได้ไปพล็อตใน excel

รูปที่ 2 แสดงการ plot ความชันและจำนวนแท่ง

จากรูปที่ 2 แสดงให้เห็นเช่นเดียวกับสมมุติฐานของเรา คือ ลักษระการเรียงตัวของจุดลาดจากทางซ้ายมาทางขวา เหมือนกับรูปที่เราตั้งทฤษฎีไว้ ว่า “ ความชันที่ต่ำจะทำให้จำนวนแท่งนั้นสูง ความชันที่สูงจะทำให้จำนวนแท่งที่เคลื่อนไหวนั้นต่ำ (ในรูปผมสลับแกนกับข้างบนแต่ก็ให้ผลไม่ได้แตกต่างกัน) ในความเป็นจริงแล้ว ท่านผู้อ่านควรจะต้องหัดทำด้วยตัวเองและหัดใช้ Excel วิเคราะห์ให้คล่องเพื่อพิสูจน์สมมุติฐานของตัวเอง พิสูจน์ทฤษฎีของตัวเองเหล่านี้ว่าเป็นจริงหรือไม่ โดยไม่ควรใช้ 20 อย่างที่ผมทำให้เป็นตัวอย่าง คุณสามารถใช้จำนวนตั้งแต่ 100 เทรนด์ จนถึง 400 เทรนด์ซึ่งการทำแบบนั้นอาจจะต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ นอกจากนี้สิ่งที่ต้องทำอีกอย่างหนึ่งคือ การดูเทรนด์ใหญ่ เช่น เทรนด์รายวันเป็นอย่างไร และเทรนด์รายชั่วโมงให้ความชันแตกต่างกันอย่างไร การศึกษารายละเอียดที่มากจะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมราคาของกราฟได้ดียิ่งขึ้น

 

จริง  ๆ แล้วสามารถใช้สถิติอื่น ๆ ในการวิเคราะห์จุดต่างนี้ได้ เช่น การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวน (ANOVA) มันคือการวิเคราะห์ว่า ระยะทางเป็นแท่ง กับ ความชัน ณ 2 จุดนั้นมีพื้นที่สัมผัสกัน หรือแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติหรือไม่ อย่างไรก็ตาม การแค่ Plot ลงใน Excel แบบตัวอย่างก็เพียงพอที่จะให้คำตอบ

ในบทความถัดไปสิ่งที่เราจะทำคือ การทำตัวอย่าง การวิเคราะห์สมการเพื่อใช้ทำนายว่า เมื่อเราได้จำนวนแท่งเทียน เราได้ความชัน สิ่งที่เราต้องเก็บต่อไปคือ ความกว้างของกรอบเทรนด์ เมื่อเราเก็บตัวอย่างได้ครบ เราก็จะนำเข้าสมการประมาณ หรือ สมการถดถอยเพื่อดูว่า ถ้าหากความชันของเทรนด์ลดลงจะทำให้เทรนด์มีระยะทางในการประมาณการเบื้องต้น เป็นระยะทางกี่แท่ง และถ้าความกว้างของเทรนด์เพิ่มขึ้นหรือลดลง จะส่งผลต่อระยะทางเป็นจำนวนแท่งอย่างไร? ท้ายที่สุดเราก็จะได้สมการประมาณการมาและใช้ในการพยากรณ์ระยะทางของแท่งเทียน หลังจากที่เราเข้าเทรด

Keywords: จำนวนแท่งเทียน  ความชัน  เทรนด์และความชัน

 

 

ทีมงาน : thaibrokerforex.com

เส้น

เขียนโดย

Rattapoom Jitjaroen

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon