ทฤษฎีพฤติกรรมราคา : ทฤษฎีของตัวเอง 2

เส้น

ทฤษฎีพฤติกรรมราคา : ทฤษฎีของตัวเอง 2

บทความที่แล้วผมพูดถึง 4 อย่างที่สำคัญของการเทรด Forex ในทฤษฎีการล่า  คือ 1 ประเภทของนักล่าที่เราเป็น 2 อาณาเขตและการครอบครองอาณาเขต 3 รู้จักเหยื่อของคุณ 4 วิธีการล่าเหยื่อ ทั้งหมด 4 ประเด็นนี้เป็นเรื่องสำคัญ และต้องกล่าวพร้อมกัน ๆ กัน

ทำไมทฤษฎีการล่าถึงใช้ได้ผล?

เพราะอะไรหน่ะหรือ เพราะว่าทุกคนที่เข้ามาในตลาด Forex ต่างคาดหวังกำไรกันทุกคน  ในตลาด Forex นั้นเป็นสนามแห่งการล่าขนาดใหญ่ที่นักล่าทุกประเภทเข้ามาล่ากันเอง ฉะนั้นสิ่งที่ทุกคนจะต้องทำก่อนเลยก็คือ การครอบครองอาณาเขตให้ได้มากที่สุด อย่างที่ได้กล่าวไว้ตอนต้นว่า ถ้าใครมีอาณาเขตมากกว่าคนอื่น โอกาสที่จะมีพื้นที่ล่ามากกว่าคนอื่นย่อมมีสูง มีสัตว์ในพื้นที่ล่าสูง

รูปที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราดอกเบี้ย กับ ราคา
ที่มา: https://www.fool.com/how-to-invest/2014/07/31/bond-prices-and-interest-rates.aspx

เรื่องการครอบครองอาณาเขตนี้ปรากฏผ่านทฤษฎีทางการตลาดของเศรษฐศาสตร์  เราลองจำลองตลาดโดยการแจก Token หรือเหรียญให้ทุก ๆ คน คนละเท่ากัน ตัวอย่างเช่น ให้ห้องเรียนแห่งหนึ่งมีนักเรียน 20 คน แต่ละคนจะได้เหรียญคนละเท่า ๆ กัน คนละ 100 เหรียญ ตอนแรกทุกคนก็จะไม่ได้สนใจเหรียญนี้เลย เพราะว่าเหรียญที่ให้ไปนั้นไม่มีค่า หรือที่เรียกว่า ไม่มีผลตอบแทน แต่ถ้าเรากำหนดมูลค่าของเหรียญไป เท่ากับเหรียญละ 10 USD หรือก็คือ 1 คนจะมี 1,000 USD นั่นเอง แต่ต่อให้กำหนดมูลค่าของเหรียญก็ยังไม่มีการอยากครอบครองเหรียญ และถ้าบอกว่า มูลค่านั้นสามารถแลกเปลี่ยนได้ เช่น ใครที่อยากได้เหรียญเพิ่มก็ซื้อเหรียญเพิ่ม ขณะที่ใครที่อยากได้เงินจริง ก็ให้ขายเหรียญให้สำหรับคนที่อยากได้

จากตัวอย่างข้างบน จะเห็นว่าถ้ามีกฏให้อนุญาติการแลกเหรียญ จะทำให้มีการขายเหรียญทิ้งทันที เพราะทุกคนได้รับแจกมานั่นเอง ทำให้ต้นทุนของเหรียญเท่ากับ 0 USD ไม่ว่าคนซื้อจะซือ้ราคาเท่าไหร่ก็จะขายได้ทุกราคาไม่แคร์ว่าใครจะได้เท่าไหร่ แต่ก็จะพยายามให้ได้กำไรมากที่สุด สมมุติว่า ใน 20 คนนั้น มีคนขายเหรียญเสีย 15 คน และ มีคนซื้อเหรียญเพื่อเก็บสะสมเป็นงานอดิเรกแค่ 5 คนและไม่ได้สนใจมูลค่ามันเลยแค่เพียงอย่างมีเยอะ ๆ เท่านั้น

หลักจากนั้นไม่นาน ผู้ที่ทำการแจกเหรียญให้กับทั้ง 20 คน ได้ออกกฏใหม่ว่า สำหรับผู้ที่ครอบครองเหรียญ จะสามารถรับดอกเบี้ยได้วันละ 30 USD หรือ 3 % หรือก็คือ เดิมคนที่มี 1000 เหรียญต่อคน ก็จะได้เงิน วันละ 30 USD โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เมื่อมีเงื่อนไขใหม่เช่นนี้ เหรียญจะเป็นที่ต้องการมากขึ้น เรียกว่าเหรียญมีราคาเพราะจะได้ 30 USD เพิ่มนั่นเอง ทำให้ เกิดการซื้อขายเหรียญขึ้นเพื่อหวังเงิน 30 USD นี้ แล้วใครได้เปรียบกันหล่ะ ก็อย่าลืมว่า คนอื่นเขาขายเหรียญทิ้งไปให้ 5 คนหมดแล้ว ฉะนั้น 15 คนที่เหลือเมื่ออยากได้ก็ต้องไปซื้อมาหล่ะ ในเมื่อประกาศมาทีหลังว่าจะได้ผลตอบแทน 30 USD ทำให้ราคาขายเหรียญนั้น ต้องแพงขึ้นแน่ เพราะแค่ถือเฉย ๆ ก็สร้างประโยชน์ได้แล้ว แต่ในตัวอย่างนี้เป็นห้องแลบทางเศรษฐศาสตร์เท่านั้น ในโลกความเป็นจริงก็ไม่แตกต่างกันเลย มันคืออะไร การครอบครองจำนวนเหรียญมันก็คือ อาณาเขตการครอบครองของผู้มีอาณาเขตเยอะนั่นเอง ไม่ต่างกับเจ้าของที่ดินจำนวนมาก ที่ปล่อยเช่าที่ดิน ไม่ต่างจากจำนวนหุ้นที่ผู้ถือหุ้นถือในตลาดหลักทรัพย์ ไม่ต่างกับจำนวนค่าเงินที่เราถือครองอยู่ การถือครองมากด้วยต้นทุนที่ต่ำ (อย่าลืมว่าในตัวอย่างเราแจกฟรี) ย่อมทำให้สร้างความได้เปรียบมหาศาล เมื่อมันมีแรงจูงใจในการให้ผลตอบแทน ความน่าสนใจในการแย่งกันถือครองก็จะเพิ่มขึ้น ในชีวิตจริง มันก็คือ ดอกเบี้ย เงินปันผล ที่มีส่วนในการกำหนดราคา ขณะที่ส่วนต่างราคาก็สร้างแรงจูงใจในการสร้างผลตอบแทนยังไงหล่ะ

เห็นไหมหล่ะครับว่า การครอบครองอาณาเขตสัมพันธ์กับราคาอย่างไร? แล้วในตลาดหุ้นตลาด Forex เขาจะครอบครองอาณาเขตได้มากที่สุดตอนไหน เรื่องนี้ไม่ยากเลย การครอบครองอาณาเขต จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อไม่มีคนอื่นต้องการแล้ว ในฤดูแล้ง พวกสัตว์กินพืชก็จะอพยพไปตามแหล่งน้ำ สิงโตบางตัวก็จะอพยพตามไป ตัวที่อยู่ก็จะมีพื้นที่ในการหากินมากขึ้น โดยที่ไม่ต้องต่อสู้กันให้เหนื่อยเปลืองแรง  เช่นเดียวกันกับทุ่งหญ้าสะวันน่า ในช่วงเวลาวิกฤติเศรษฐกิจ แม่งเม่า รายยุ่ย รายย่อย ล้มตายจำนวนมาก ทุกคนต่างหนีและขายของเอาตัวรอดทำให้ราคาลดลงอย่างรวดเร็ว  ท่านผู้อ่านเคยถามไหมครับ ขณะที่ทุกคนขายทิ้งหนีตายกันจ้าละหวั่น รักษาทุนเอาไว้ก่อน พร้อมทั้ง ท่องปรัชญาของเทรดเดอร์ชื่อดังว่า “อยู่ให้รอดก่อนค่อยทำกำไร” รู้หรือเปล่าครับว่า ใครหน้าไหนฟร่ะมันกล้ามารับซื้อของเราที่เราตกใจกลัวขายให้มันไป???

ก็จะใครซะที่ไหนหล่ะ ไอ้พวกนี้แหละที่มันรอดักซุ่มจังหวะดักเก็บของเรามาอย่างใจเย็น ในยามที่เศรษฐกิจดีเป็นขาขึ้น พวกมันก็จะขายของให้เราเพราะตลาดสงบ ผู้คนรู้สึกปลอดภัยในการลงทุนและคาดหวังผลตอบแทนจากดอกเบี้ย จากเงินปันผลแล้วนั่นเอง ทุ่งหญ้าแห่งการล่าก็ล่ากันซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนี้แหละ สิ่งเหล่านี้ก็จะสะท้อนผ่านราคาที่เราเทรดอยู่ทุกวัน  แล้วมาพบกันใหม่วันพรุ่งนี้ครับ

Keywords: Forex กับการล่า  หลักการ Forex  พฤติกรรมราคา Forex

ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com

เส้น