ทำไมชาร์ต Day ก็เพียงพอที่จะเทรด
ปกติเมื่อมองชาร์ตไม่ว่าจะเป็น Timeframe ไหน ก็จะเห็นโครงสร้างราคาแบบเดิมๆ เกิดขึ้นตลอดซ้ำๆ ไปมาจนกลายเป็นที่มาของการวิเคราะห์แบบ technical analysis และ chart patterns ต่างๆ หลักการของ price move แบบเดียวกัน เคยสังเกตหรือไม่ว่าเมื่อโครงสร้างชาร์ต D1 ทำไมมีผลตามมาเยอะ
ชาร์ต D1 หลักๆ ก็สำคัญต่อรูปแบบการเทรดที่เป็น day trading คำว่า day trading ในที่นี้ก็จะหมายถึงที่เทรดต่ำกว่า timeframe D1 เป็นหลักหมด ก็จะมีเทรดเดอร์เยอะหลายประเภท เช่น scalping traders ที่เทรดไม่กี่บีบ เทรดเดอร์กลุ่มนี้ก็จะเน้นเทรดเก็บระยะสั้นๆ ก็จะใช้ timeframe น้อยๆ เป็นหลัก ขึ้นมาเป็น m15/m30 traders กลุ่มนี้ก็ไม่ถึงกับเลือกเทรดแบบ scalping เพราะมองว่าเสี่ยงมากไปให้เห็นราคาขยับห่างๆ ระยะมากพอค่อยเปิดเทรด และต่อมาเป็น H1/H4 Traders ก็จะเทรดอิงการวิเคราะห์ใช้ timeframe H1/H4 เพื่อเป็นตัวกำหนด โดยหลักการเทรดทั่วๆไป เทรดเดอร์เมื่อเทรดก็จะมีกรอบราคาที่กำหนดเอาไว้ ดังนั้นกรอบราคาสำหรับเทรดเดอร์ 2 กลุ่มหลังที่อิงการวิคราะห์ชาร์ตชั่วโมง (หรืออาจรวม scalping ได้พวกเทรดเดอร์ที่ไม่ยอมออกเมื่อราคาวิ่งสวน) จะเป็น D1 เป็นหลัก ถ้าราคาไม่เปลี่ยน ถ้าพวกเขาถือผิดทาง พวกเขาก็ยังทนเพราะมั่นใจว่าราคาจะกลับมาทางที่พวกเขาเปิดเทรดนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้
ตัวแปรสำคัญระหว่างชาร์ตและต่าง timeframe คือ positions ที่สะสม ถ้าราคาวิ่งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ยิ่งนาน ถ้าดู timeframe ใหญ่เช่น H4 อาจเป็นไม่กี่บาร์เช่น 3 บาร์ แต่พอมา M15 หลายบาร์ขึ้นมานั่นคือภาพแรกที่ต้องเข้าใจเรื่องความต่าง timeframe และบาร์หรือแท่งเทียนที่เกิดขึ้น บาร์หรือแท่งเทียนพวกนี้ยังมี positions ที่เหลือยู่ในตลาดด้วย ที่ไม่ได้ปิดออก
เช่นอย่างชาร์ต AUDUSD เปิดมาแบบนี้อาจไม่เห็นชัดเพราะเราไม่มีอะไรที่บอกว่า long/short positions อยู่ตรงไหนที่จะมายืนยันที่บอก แต่พอท่านใช้ Oanda Orderbook ประกอบที่โบรกเกอร์ ได้เปิดเผยข้อมูลออเดอร์และ postions ที่ลูกค้าเทรด
นี่คือที่บอกว่า positions ที่ยังถืออยู่ในตลาดไม่ได้ปิด แม้ว่าข้อมูลจาก Oanda เป็นแค่บางส่วนของตลาดเพราะ ตลาดฟอเรกไม่ได้เป็นตลาดแบบ centralized trading server หลักการเทรด หลักการออเดอร์ทำงาน เพื่อประกอบการพิจารณาแท่งเทียนเพื่อความเข้าใจการเทรดมากขึ้น ที่บอกว่า positons จะมีผลเยอะเมื่อชาร์ตหลักๆ เช่นที่ยกมาด้านบนเป็นชาร์ต D1 เปลี่ยนไป
จาก Histogram ของ OrderBook ที่แสดงเรื่อง positions ที่ยังเปิดอยู่ในตลาดตาม price level ต่างๆ มากหรือน้อยต่างกันออกไปตามความยาวของ histogram ที่แสดงทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ว่าเทรดเดอร์ชอบเปิดออเดอร์พื้นที่ตรงไหนเมื่อมองชาร์ตเปล่า จุดที่มีการเบรคให้เห็นก่อนก็จะเยอะ เพราะเทรดเดอร์มีการเทรดแบบ 2 อย่างหลักๆ คือเทรดเมื่อเห็นราคาเบรค (breakout traders) หรือเทรดเมื่อเห็นราคาย่อตัวมาจุดที่เบรค (trend traders หรือ pullback traders) ดังนั้นแม้ราคาผ่านไปนานหลายบาร์แล้วก็ไม่ได้บอกว่า positions พวกนั้นปิดไปหมด
อย่างที่กล่าวไว้ด้านบน timeframe ยิ่งใหญ่ขึ้น จำนวนสะสม positions ยิ่งมากขึ้น เลยทำให้ชาร์ตเมื่อมองหรือ วิเคราะห์ timeframe ใหญ่ขึ้น โครงสร้างที่เกิดขึ้นเลยมากมีผลตามมาเยอะขึ้นตาม Day Trading ก็จะมีชาร์ต D1 เป็นหลักหรือกรอบการเทรดของเทรดเดอร์ทั้งทุกกลุ่มที่เทรด ต่ำกว่าชาร์ต D1 ลงไปหมด พอกรอบราคาเปลี่ยนไป เทรดเดอร์ทั้งหมดพวกนี้ก็จะปรับการโต้ตอบเปลี่ยนไปตามด้วย
ดูการเทรดที่เกิดขึ้นก่อนที่ชาร์ต D1 จะมีการเบรคลงมาตามรูป ดูที่เปิดออเดอร์ต่างๆ ที่ชาร์ต H1 จะเห็นว่ามีหลายๆจุดที่เกิดจากการเปิดเข้าเทรดต่างเทรดเดอร์ต่างกลยุทธ์ออกไป สังเกตจุดที่เกิดการเบรคก็จะมี pullback เกิดการเทรดตามมาอีก เมื่อดูแต่ชาร์ตสำหรับ trade setup เช่นอย่างด้านบนเป็น H1 อย่างเดียวท่านอาจลืมที่เป็นกรอบหลักได้คือชาร์ต D1 ด้านขวามือ อย่าลืมความหลากหลายกลุ่มเทรดเดอร์เพราะภาพที่เปิดขึ้นกับชาร์ต D1 มันบอกชัดเจนว่า Sellers เข้ามาคุมตลาด เทรดเดอร์ประเภทต่างๆ ที่ใช้ D1 เป็นกรอบราคาสำหรับเทรดก็จะได้รับข้อมูลนี้หมด
ดูเส้นสีชมพู จะเห็นว่าจากที่เป็นแนวรับสำหรับกรอบ D1 เป็นหลัก ราคาได้เบรคลงอย่างแรงและปิดล่างได้ด้วยในชาร์ต D1 ข้อมูลมาเกิดขึ้นสำคัญต่อเทรดเดอร์ต่างๆ เช่นเมื่อมองชาร์ต D1
ใช่ stop hunt ที่ขาใหญ่ทำการหรือเปล่า ถ้าทำการแล้วราคาลงมาแบบนี้เป็นการยืนยันด้วยหรือเปล่า ยิ่งเมื่อมอง timeframe ย่อยลงไป ยิ่งก็จะมองต่างกันออกไปอีก แต่ที่สำคัญเทรดเดอร์ที่ใช้ D1 เป็นกรอบใหญ่ในการทนรับความเสี่ยง ถ้าราคาวิ่งสวนหรือเกิดอะไรที่กรอบทนรับกระทบเปลี่ยนไปหรือข้อมูลใหม่ที่เกิดขึ้นมั่นใจว่า ราคาจะเปลี่ยนไปไม่ไปทางที่เปิดเทรด รูปแบบการตัดสินใจก็จะเปลี่ยนไปสำหรับเทรดเดอร์ทั้งสองกลุ่ม คือที่รอเข้าและเทรดเดอร์ที่ถือ positions อยู่ในตลาด
กลุ่มแรกที่เดือดร้อนกว่าคือที่ถือ positions อยู่ในตลาด โดยเฉพาะกลุ่มที่ติดลบ ถ้าราคาไปต่อก็จะเดือดร้อนกว่าเดิม เพราะกลุ่มนี้ไม่มีทางเลือกแบบกลุ่มที่รอเข้าเทรดเพราะไม่เดือดร้อนอะไร แค่จะหาว่าเข้าจุดไหนได้ดีกว่ากัน ช่วงเวลา 6 วัน (มองดู 6 บาร์ของชาร์ต D1) สะสม positions มากพอในตลาด market orders จะมาจากเทรดเดอร์ที่จำต้องออกก่อน ก็จะทำให้ชาร์ตเปิดผยข้อมูลใหม่เพิ่มเติมใน timeframe ย่อยแล้วค่อยมาจากเทรดเดอร์ที่รอเข้า เมื่อเทรดเดอร์กลุ่มที่เทรดอ้างอิง D1 เป็นกรอบหันมาออกเป็นหลักก็จะทำให้เกิด market orders ที่มาจากการออกเทรดเป็นหลัก
ดังนี้เมื่อโครงสร้างของ D1 เปลี่ยนไปก็เพียงพอที่จะเปิดโอกาสให้เทรดเพราะ D1 มีเทรดเดอร์หลายกลยุทธ์ที่ใช้เป็นกรอบก็จะกระทบหมด และเปลี่ยนข้อมูลสำหรับเทรดเดอร์ที่รอเข้าด้วย
ทีมงาน : thaibrokerforex.com