เส้น

วิธีการใช้ Market Sentiment เพื่อเทรด

Market setiment ถือว่าสำคัญเพราะจะบอกสถานะแต่ละคู่เงินว่าเป็นอย่างไรตอนนี้ ฝ่ายไหนเป็นฝ่ายคุมตลาดเป็น Buyers หรือ Sellers เพราะข้อมูลตรงนี้สามารถประยุกต์เข้ากับวิธีการเทรดอย่างเช่นเทรดตามเทรน ถ้าเทรนเพิ่งเริ่ม หรือเทรดแบบสวนเทรนเมื่อ Setiment เกิดความไม่สมดุลย์มาก เช่นมีอีกข้างมากกว่า 70 % ก็จะเปิดโอกาสเทรดสวนเทรดเดอร์ที่เทรดใช้ OverBought/OverSold ก็จะดู market sentiment ประกอบ

เดี๋ยวนี้หลายๆ โบรกเปิดเผย market sentiment ออกมาของโบรกตัวเอง เช่นอย่าง Dukascpy , Oanda หรือทุกโบรกที่ใช้ cTrader เพราะ trading platform cTrader มีฟีเจอร์นี้ในตัว หรือถ้าเป็น Metatrader ก็จะมีทูลเสริมประกอบ แล้วแต่ว่าโบรกเกอร์จะให้ฟรีหรือเปล่า ในที่นี้ยกตัวอย่างของ ICMarkets  จะได้ทูลชุดนี้ฟรีสำหรับลูกค้าที่เปิดบัญชีเทรดจริง

Market sentiment แต่ละคู่เงินก็จะบอกสถานะว่ามีการเปิด positions คู่เงินนั้นๆ ทางไหนมากตอนนี้ ดังนั้นเทรดเดอร์เทรดแรกที่สนใจเรื่อง sentiment เทรดตามเทรน และเทรดสวนเทรน หรือ contrarian  traders เพราะ sentiment ถือว่าเป็นตัวบอกหรือเป็น contrarian indicator ก็ว่าได้ ว่าจะได้เวลาเทรดหรือยังเมื่อต้องการเทรดสวน  ตัวอย่างที่จะยกเป็นการใช้สำหรับ contrarian traders

เมื่อใส่อินดิเคเตอร์ประกอบที่บอกสถานะเรื่อง overbought/oversold คือ CCI และ RSI จะเห็นว่าสถานะคู่ EURUSD ตอนนี้ Overbought เพราะอินดิเคเตอร์อ่านตามข้อมูลที่เกิดขึ้น

จากที่อธิบายมาและดู Oanda OrderBook ประกอบ ท่านจะพบว่าที่ยกมา Dukascopy, Oanda, cTrader, Metatrader และ Oanda Orderbook พร้อมตัวเลข Sentiment ที่ลูกศรชึ้ ถ้าอธิบาย market sentiment แต่ละคู่ด้วย Oanda Orderbook จะเข้าใจง่ายคือส่วนที่เป็น  Open Positions ที่เทรดเดอร์เปิดอยู่ในตลาดตอนนี้มีทั้ง Long positions (ตอนเปิดเทรด Buy order) และ short positions (ตอนเปิดเทรด Sell order) เมื่อมองจาก Histrogram จะเห็นว่าสัดส่วนของ short positions ตั้งแต่ 1.1200 ขึ้นไปหนาขึ้นเรื่อยๆ ยิ่งราคามาเทส 1.125 ราคาก็เห็นเปิด short positions เยอะขึ้นไปอีก  positions พวกนี้ติดลบเป็นหลักตอนนี้ เลยทำให้เกิดเป็นสัดส่วนแล้วมีเทรดเดอร์ถือ short positions เป็นหลักหรือมากกว่า long positions ที่กำลังกำไรอยู่เยอะ และ market sentiment จากที่ยกมาไม่ว่าจะเป็นของ Dukascpy, cTrader, Metatrader และ Oanda Orderbook เป็นไปทางเดียวกันหมด ทำให้รู้ว่ารายย่อยเทรดอย่างไร เลยเป็นโอกาสขาใหญ่ที่เปิด long positions สวนตลาดที่มีสัดส่วนน้อยกว่า

หลักการใช้ Sentiment พวกนี้ทั่วๆ ไปก็จะบอกว่าให้ใช้ sentiment เป็นตัวกรอง trading signal/setup ที่เกิดขึ้นก่อนเช่น กรณีเทรดด้วยอินดิเคเตอร์ MACD divergence หรือ MA crossovers เช่นถ้าเทรด trade signal/setup สำหรับ EURUSD บอก Buy แต่เมื่อท่านดู EURUSD sentiment เป็น overbought หรือมีสัดส่วนการเปิด long positions มากตอนนั้น ท่านก็ไม่ควรเปิดเทรด Buy   หรือถ้ากลยุทธ์การเทรด GBPUSD ท่านบอกให้เปิด Sell เมื่อท่านดู GBPUSD sentiment เห็นเป็น overbought ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นไปได้ของการเปิดเทรด Sell คู่ GBPUSD จะเห็นว่าเป็นหลักการสำหรับเปิดเทรดแบบ contrarian traders หรือเทรดเดอร์ที่เทรดสวนเทรน

เช่นการเทรดแบนสวน market sentiment เมื่อเข้าใจว่า sentiment ให้อะไร ลองมาดูคู่ EURJPY ดูภาพด้านบนของ Dukasopy (73.39% 26.61) ถือว่า Overbought หรือข้อมูลของ cTrader

หรือดู Oanda Orderbook ประกอบ

จากที่ยกมาของ Dukascoy, cTrader และของ Oanda Orderbook จะเห็นว่า long positions เยอะตอนนี้คือหมายความว่า ที่ถือกำไรอยู่เยอะตอนนี้ของ cTrader จะเห็นว่าสัดส่วนมากสุดถึง 91% ตามด้วย Dukascoy มี 73.39% และ Oanda Orderbook มี 62.44 % ถือได้ว่า Overbought ลักษณะการที่ sentiment ไปทางเดียวแบบนี้จะเปิดโอกาสการเทรดสวนเทรนหรือที่ contrarian traders ต้องการเห็น ก็จะหาพื้นที่เพื่อกำหนด trade setup ประกอบเพื่อหาพื้นที่เข้าเปิด sell  นอกจากเรื่องอ่าน price levels แล้วเมื่อใช้ Oanda OrderBook ประกอบด้วยจะช่วยให้ท่านหาจุดได้เร็วและแม่นกว่าเดิม ดูด้านขวามือที่บอก Open Positions ฝั่งทาง Buy ในที่นี้คือถือ long positions ที่ติดลบ เพราะอยู่เหนือราคาปัจจุบัน เพราะมีการเข้าเปิดเทรดก่อน มองชาร์ตทางช้ายย้อนกลับมาจะเห็นร่องรอยประกอบกับราคาก็จะเป็นตอนที่ราคาเบรค 123 และราคาเกิด pinbar แล้วเด้งกลับมา ตรงกรอบสีเขียว ระยะห่างถ้าเทียบกับเวลาปัจจุบันที่ราคากลับมาพื้นที่ ระยะเวลาที่ถือ long positions พื้นที่นั้นถือว่านาน ที่เทรดเดอร์พวกนี้แบกความกดดันที่ราคาวิ่งสวนไปถ้าราคาไม่ไปต่อ หลังจากที่ราคามาถึง sell limit ที่หยุดราคาขึ้นมา ถ้าราคาไม่ไปต่อ เช่นเกิด pin bar, engulfing bar หรือสัญญาณอะไรก็ตามที่บอกว่าราคา rejection หรือไม่ไปต่อตรงนี้  เทรดเดอร์พวกนี้จะหันมาออกจากตลาด  และเทรดเดอร์ที่รอเข้าเห็นชาร์ตเปลี่ยนก็จะเข้าตลาดเลยบอกว่า market sentiment ให้ข้อมูล contrarian traders เริ่มสนใจว่าจะเทรดสวนที่ไหนและเมื่อไร และนั้นคือเหตุผลที่เมื่อพวกเขาเทรดสวน ก็จะทำให้ราคาวิ่งลงมาได้ง่าย อาจมีการ stop hunt เพื่อเข้าเทรดก่อน เป็นเรื่องปกติของวิธีการเข้าเทรดของขาใหญ่ ที่สำคัญคือรอให้ price action เปิดเผยก่อนค่อยเข้าเทรด เพราะการเทรดของขาใหญ่มากพอที่จะดันราคาไปจุดที่พวกเขาต้องการ อย่าเปิดเทรดทันทีรอให้ trade setup เกิดขึ้นก่อนค่อยจะใช้ประโยชน์ maket sentiment แบบเทรดสวนแบบนี้ได้ง่าย

 

ทีมงาน : thaibrokerforex.com

 

 

เขียนโดย

Somchai Witthtaya

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon