ว่าด้วยเรื่องของเทรน

เส้น

ว่าด้วยเรื่องของเทรน

                เทรนคือลักษณะที่ราคาเคลื่อนไหวไปทางใดทางหนึ่งอย่างต่อนื่อง เลยทำให้เทรดเดอร์คิดว่าราคาจะไปทางนั้นต่อ เลยหาทางศึกษาหรือกำหนดเทรนแล้วเทรดเพื่อตามเทรน อย่างที่มักจะได้ยินพูดประจำว่า เทรนคือเพื่อนของท่านเวลาเทรด และกลยุทธ์การเทรดส่วนมากจะเน้นเทรดตามเทรนเป็นหลัก

                ต่างเทรดเดอร์ก็มองเทรนต่างกันออกไป เช่น EURUSD เมื่อมองชาร์ต D1 เป็นเทรนลง แต่พอมองชาร์ต M15 เป็นเทรนขาขึ้น  การตีความเรื่องเทรนจะต่างกันออกไปเพราะแต่ละเทรดเดอร์มองต่างกันออกไป แล้วแต่ timeframe ที่มองเป็นหลัก ดังนั้นเรื่อง timeframe ที่ใช้มองจึงสำคัญต่อการกำหนดเทรนของแต่ละเทรดเดอร์ต่างกันออกไป

                เพราะกำหนดเทรนก็จะต่างกันออกไปตามรูปแบบและกลยุทธ์การเทรด เช่นบางเทรดเดอร์เทรด M15 บางเทรดเดอร์เทรด H1 บางเทรดเดอร์ H4 และบางเทรดเดอร์เทรด D1 แต่ละเทรดเดอร์พวกนี้ก็จะมองเทรนต่างกันออกไป แต่วิธีการกำหนดเทรนไม่ต่างกัน ต่างกันที่รูปแบบว่าจะเทรดอย่างไร

                วิธีการอย่างแรกที่ใช้กำหนดเทรนด้วยการใช้ชาร์ตเปล่า ด้วยการดูการพัฒนาการเรื่อง swing highs/lows เป็นหลักในการกำหนด

                เทรนขาขึ้นก็จะประกอบด้วย higher highs ตามด้วย Higher lows เทรนขาลงประกอบด้วย lower  highs ตามด้วย lower lows และถ้าราคาวิ่งในกรอบ ไม่ทำเทรน ก็เป็นราคาวิ่งอยู่ระหว่าง highs และ Lows

                โดยการดูการพัฒนา swing highs/lows ที่เกิดขึ้น เช่นเมื่อเป็นเทรนขาขี้นควรมีการเบรค high ก่อนและ swing low ต้องไม่โดนเบรค และจะสูงขึ้นเรื่อยๆ ตาม swing high ที่เกิดขึ้นใหม่เมื่อ swing low ที่ใกล้สุดโดนเบรคก็เป็นสัญญานว่าเทรนอาจจะเปลี่ยนก็ให้ดูเรื่อง impulsive move ประกอบเพราะเป็นตัวหลักในการกำหนดว่าแต่ละ swing เป็นอย่างไร

                วิธีการที่สองในการกำหนดเทรนที่นิยมกันคือใช้ moving average เช่นถ้าเป็นการกำหนดเทรนระยะยาวก็ใช้ MA 200 เช่นเมื่อราคาอยู่เหนือกว่าเส้น MA200 ก็ถือว่าเป็นเทรนขาขึ้นระยะยาว และ ถ้าต่ำกว่าเส้น MA 200 ก็ถือว่าเป็นเทรนขาลงระยะยาว และถ้าเป็นการกำหนดเทรนระยะสั้นก็ใช้ MA ตัวเลขน้อยลงมา เช่นราคาเหนือกว่าเส้น MA 20 ถือว่าเทรนแข็งมาก แต่ถ้าราคาเหนือกว่าเส้น MA 50 ก็ถือว่าเทรนก็แข็ง

                วิธีการที่สองด้วยการใช้ เช่น moving averaging จะเป็นที่นิยมกันเมื่อรราคากำลังทำเทรน แต่ถ้าตลาดวิ่งอยู่ในกรอบให้ระวังเพราะเทรนไม่เปิดเผย ให้รอดูราคาทำเทรนก่อนค่อยดูประกอบในการเทรดต่อไป

                วิธีการที่สามที่นิยมใช้กันในการกำหนดเทรนคือใช้เส้น trendline เป็นตัวกำหนด หลังจากที่ราคาเบรค high หรือ เบรค low แล้วใช้จุดพวกนี้ลากอย่างน้อย 2 จุดขึ้นไป เพื่อเป็นการกำหนดเทรน  เช่น เทรนขาขึ้นตามรูปด้านบน ถ้าราคายังทำเทรน ราคาต้องทำ higher high ได้  และราคาต้องไม่เบรคจุดที่เป็นตัวกำหนดเทรนที่เป็น trendline  เมื่อราคาเบรค trendline ก็จะให้มองเห็นว่าเทรนจะเปลี่ยนข้าง แต่ละจุดที่เป็นจุดกำหนด swing low สำหรับเทรนขาขึ้นให้แน่ใจว่าเป็นส่วนประกอบของ impulsive move คือมีการทำ higher highs ประกอบเพราะยังบอกว่า buyers ยังอยากเทรดต่อไปทางนั้นจริง ส่วนมากวิธีการใช้เส้น trendline ประกอบก็จะดูเรื่องการพัฒนา swing highs/lows ตามแบบแรกประกอบด้วยจะเห็นชัด เมื่อราคาส่งสัญญาณว่าอยากเปลี่ยนเทรนตรงไหน

                วิธีการที่สี่ ใช้ทูลพวก channel ดูว่าราคายังคงวิ่งอยู่ในกรอบขาขึ้นหรือขาลงหรือเปล่า จริงๆ channel ก็ไม่ต่างจาก trendline เท่าไร แค่ใช้ trendline 2 เส้นประกอบกันเพื่อดูว่าราคายังวิ่งอยู่ในกรอบหรือเปล่า

                หรือวิธีการที่ห้า ใช้ line chart อย่างเดียวเป็นตัวกำหนดเทรนเพราะ line chart เป็นผลจากราคาปิดเท่านั้นที่ต่อเนื่องกัน เลยไม่ต้องมากังวลเรื่องหางบาร์ที่ยาวๆ มักจะทำให้การกำหนดเทรนเป็นเรื่องยาก ดูราคาปิดต่อเนื่องกันว่าราคาปิดทางไหน ต่อเนื่องทางไหนก็ถือว่าเทรนเป็นทางนั้นเป็นหลัก

                ที่ยกมาเป็นวิธีการกำหนดเทรนที่ต่างกันออกไป โดยหลักๆ เมื่อกำหนดเป็นก็จะแบ่งเทรนออกเป็นเทรนระยะยาวหรือระยะสั้นประกอบเข้ามาเป็นการตีกรอบการเทรด ให้เข้ากับรูปแบบการเทรดที่ต่างกันออกไป และมีการแบ่งประเภทของเทรน มี strong trend และ healthy trend และ weak trend  เป็นตัวกำหนดลงไปอีกทีสำหรับแต่ละช่วงการเทรด  

                อย่างที่ยกมาเรื่องใช้ Moving Averaging เป็นตัวกำหนดเทรน  ถ้าเทรนแบบ strong trend แรง ให้ดูว่ายังอยู่เหนือ MA 20 สำหรับเทรนขาขึ้นและต่ำกว่า MA 20 สำหรับเทรนขาลง อาจจะเห็นราคาทำ higher highs หรือ Lower lows เป็นหลัก โอกาสที่ราคาย่อตัวลงมาจะเห็นน้อย ถ้าเทรนแบบแรงแบบนี้กลยุทธ์ที่นิยมกันจะเป็นแบบ breakout

                หรืออย่าง Healthy trend ทำเทรนอยู่ แต่จะเห็นมีการย่อตัวเลยเปิดโอกาสให้เทรด pullback บ่อยได้ตลอดตอนทำเทรน เช่นกรณีของการใช้ MA 50

                หรือ weak trend ถ้าใช้กับ MA 200 ราคาค่อยๆ ทำ pullback แต่อยู่เหนือเส้น MA 200 อยู่เป็นต้น

                จากที่ยกมาประกอบ จะเห็นว่าวิธีการกำหนดเทรนมีหลายแบบแล้วแต่เทรดเดอร์จะใช้กันต่างกันออกไป แต่ที่สำคัญคือเรื่อง timeframe ที่ใช้มองประกอบในการกำหนดเทรนเพราะ timeframe ต่างกันก็จะมองเทรนต่างกันออกไปเลย เลยทำให้รูปแบบการเทรดต่างกันออกไปแล้วแต่ เช่นมี scalping trading, day trading, swing trading และ position trading เทรนวิ่งไปสักระยะก็เปลี่ยน ก็ต้องเข้าใจเพราะราคาไม่อาจวิ่งไปทางเดียวได้ เมื่อเทรนเปลี่ยนก็เปลี่ยนมุมมองเทรนตามไป แล้วปรับกลยุทธ์การเทรดตามกรอบเทรนที่กำหนด ให้พยามเทรดตอนที่ตลาดทำเทรนเป็นหลัก เพราะหมายถึงมีเทรดเดอร์อยากเข้าหรือออกจากการเทรด จะทำให้ราคาเคลื่อนไหวได้ง่าย

 

ทีมงาน : thaibrokerforex.com

เส้น