เทคนิคการซื้อขายด้วยการวิเคราะห์ Volume: Sentiment Analysis
บทความนี้เราจะมาพูดถึงการวิเคราะห์ความแข็งแรงของ Trend หรือแนวโน้มของราคา โดยพิจารณาจากอารมณ์หรือความรู้สึกของคน หรือที่เรียกกันว่า Sentiment Analysis และหนึ่งในวิธีที่เป็นที่นิยมในการวิเคราะห์ทางอารมณ์ ก็คือ การดู Volume การซื้อขาย ควบคู่กับการพยากรณ์ทิศทางราคา หรือ Trend
ความสำคัญของ Volume
อย่างที่นักลงทุนหลาย ๆ คนทราบกันดี Volume คือปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งมักจะปรากฏให้เห็นในรูปแบบแท่งด้านล่างของ Platform ถ้าปริมาณการซื้อขาย หรือ Volume สูง ก็หมายความว่ามีนักลงทุนกำลังซื้อขายในตลาดเป็นจำนวนมาก ในขณะเดียวกันถ้าปริมาณการซื้อขายลดต่ำลง นั่นคือ มีนักลงทุนกำลังซื้อขายในปริมาณที่ลดลง
สำหรับตลาดที่มีการเคลื่อนไหวแบบมีแนวโน้ม คือราคาเคลื่อนที่ไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง การใช้ประโยชน์จาก Volume จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการใช้อินดิเคเตอร์จำพวก Oscillator คือหาระดับราคาที่ Overbought ซื้อมากเกินไป หรือ Oversold ขายมากเกินไป โดยดูจากปริมาณการซื้อขาย ถ้าปริมาณการซื้อขายลดลง นั่นคือความแข็งแรงของแนวโน้มเริ่มลดลง อาจเข้าสู่จุดกลับตัว หรือจุดพักแบบเคลื่อนไหวในกรอบ
รูปภาพที่ 1 ปริมาณการซื้อขายหรือ Volume ปรากฏในส่วนล่างของ Platform พื้นที่สีฟ้าคือค่าเฉลี่ย
โดยทั่วไปแล้ว Volume หรือปริมาณการซื้อขายมักจะถูกใช้เป็นเครื่องมือในการ Support การวิเคราะห์ทางเทคนิค หรือ Technical Analysis โดยจะเป็นตัวยืนยันแนวโน้มว่าขึ้นหรือลงตามที่คาดการณ์ไว้หรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคาถูกกดลงมาอย่างรวดเร็วหลังจากที่แนวโน้มของราคาเป็นแนวโน้มขาขึ้นมาตลอด ซึ่งอาจจะเกิดจากการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อราคา การลดลงอย่างรวดเร็วที่เกิดขึ้นท่ามกลางแนวโน้มขาขึ้นทำให้นักลงทุนไม่สามารถพยากรณ์ได้ว่าสัญญาณนั้นเป็นสัญญาณที่บอกจุดกลับตัว (trend reversal) หรือเป็นเพียงสัญญาณหลอกเท่านั้น สิ่งที่เกิดขึ้นนำมาสู่การประยุกต์ใช้ Volume กับการวิเคราะห์สัญญาณ เพื่อแก้ปัญหาสัญญาณหลอกที่เกิดขึ้น
การนำ Volume ไปใช้กับการวิเคราะห์ความแข็งแรงของแนวโน้ม
การใช้ Volume เพื่อกรองสัญญาณหลอกนั้น จะใช้โดยการเปรียบเทียบระหว่าง Volume ที่เกิดขึ้น กับ Volume เฉลี่ยใน n ช่วงเวลา ถ้าในบริเวณที่ตลาดส่งสัญญาณคล้ายการกลับตัวนั้น ปริมาณการซื้อขายมีสูงมากกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย สัญญาณกลับตัวนั้นมีความน่าเชื่อถือสูง แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้าปริมาณการซื้อขายที่เกิดขึ้นมีน้อยกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย สัญญาณนั้นก็มีโอกาสสูงที่จะเป็นสัญญาณหลอก
ข้อสังเกตจากการใช้ปริมาณซื้อขายในการดูความแข็งแรงของแนวโน้ม
- ในช่วงแนวโน้มขาขึ้น ปริมาณการซื้อ (แท่งเขียว) ต้องมากกว่าปริมาณการขาย (แท่งแดง) และในช่วงแนวโน้มขาลง ปริมาณการขาย (แท่งแดง) ต้องมากกว่าปริมาณการซื้อ (แท่งเขียว)
รูปภาพที่ 2 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างแนวโน้มของราคา กับจำนวนแท่งสีเขียว และสีแดง
- ถ้าราคาปรับตัวสูงขึ้นจากช่วงเวลาก่อนหน้านั้น หรือราคากระโดดขึ้นทั้งๆที่อยู่ในช่วงแนวโน้มขาลง แต่ Volume การซื้อขายลดลงกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย เราอาจจะตีความได้ว่า ตลาดยังไม่เข้าสู่แนวโน้มขาขึ้นที่แท้จริง มีแค่สัญญาณหลอก
รูปภาพที่ 3 ในช่วงขาขึ้นแม้ราคาจะปรับตัวลดลงมา แต่ก็กลับขึ้นไปใหม่
- เช่นเดียวกับข้อ (2) แต่ปริมาณการซื้อขายมีค่าสูงกว่าปริมาณการซื้อขายเฉลี่ย สามารถพยากรณ์ได้ว่าราคาเข้าสู่จุดกลับตัว
- ในกรณีที่เป็นการเคลื่อนไหวแบบมีแนวโน้ม ถ้าปริมาณการซื้อขายลดลง นั่นคือความแข็งแรงของแนวโน้มเริ่มอ่อนกำลังลง และกำลังจะกลับทิศ หรือเข้าสู่การเคลื่อนที่แบบไร้แนวโน้มในอีกไม่ช้า
ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com