กราฟแท่งเทียนคือ (CandleStick)

กราฟแท่งเทียน หรือ CandleStick หรือ เรียกอีกอย่างว่า Japanese Candlestick Chart เป็นรูปแบบหนึ่งของกราฟที่ใช้ในการบรรยายลักษณะการเคลื่อนไหวของราคาสินค้า ราคาหลักทรัพย์ ราคาอนุพันธ์ หรือค่าเงิน ซึ่งแต่ละแท่งนั้นจะแสดง 1 Time Frame โดย Time Frame นั้นสามารถเป็นได้ตั้งแต่ 1 นาที 5นาที 10 นาที หรือ 1 วัน หรือแม้แต่ 1 ปีก็มีได้ ส่วนใหญ่แล้วกราฟระยะสั้นมาก ๆ อาจจะมีในบางครั้งที่โปรแกรมอาจจะมีกราฟ 1 ปี หรือ บางโปรแกรมก็ไม่มี

รูปที่ 1 กราฟแท่งเทียน คืออะไร? – การแท่งเทียนและการอ่านสัญญาณเบื้องต้น

ประวัติของกราฟแท่งเทียน

กราฟแท่งเทียนนั้นถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงศตวรรษที่ 18 โดย Munehisa Homma (มุเนฮิสะ ฮอมมะ) พ่อค้าข้าวคนหนึ่งซึ่งเป็นคนคิดค้นขึ้นมา หลังจากนั้นถูกเปิดเผยและนำมาใช้สู่โลกตะวันตกโดย Steve Nison ในหนังสือชื่อ Japanese Candle stick Charting Techniques  ซึ่งเครื่องมือนี้ยังมีการใช้มายาวนานจึงถึงปัจจุบัน โดยจะใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ที่นิยม เช่น Fibonacci Analysis โดยการใช้ Fibonacci ร่วมกับการวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน ในหนังสือเรื่อง Beyond Candlesticks ผู้เขียน Nison กล่าวว่า “จากความรู้ของผม ดูเหมือนว่า Homma จะไม่ได้ใช้กราฟแท่งเทียน ซึ่งจากการสืบค้น กราฟแท่งเทียน มันถูกคิดค้นขึ้นช่วงต้นยุคเมจิในญี่ปุ่น (ปลายปี ค.ศ. 1800)

ลักษณะของกราฟแท่งเทียน

กราฟแท่งเทียน มีลักษณะเป็นแท่งสีเหลี่ยม คล้ายเทียน จึงเรียกว่ากราฟแท่งเทียน

รูปที่ 2 กราฟแท่งเทียน คืออะไร?  – ตัวอย่างกราฟแท่งเทียน

ภาพข้างต้นเป็นกราฟแท่งเทียนในค่าเงิน EURUSD โดยถ้าหากเป็นแท่งเทียนที่แสดงราคาขึ้น จะเป็นแท่งโปร่ง และถ้าหากว่าเป็นแท่งเทียนที่แสดงราคาลง จะเป็นแท่งทีบ อย่างไรก็ตามแท่งเทียนและลักษณะของแท่งเทียนนั้นขึ้นอยู่กับการตั้งค่า ลักษณะหลักของแท่งเทียน ประกอบด้วย  ราคาปิด ราคาเปิด ราคาสูงสุด และราคาต่ำสุด  โดยที่ถ้าราคาปิดอยู่สูงกว่าราคาเปิด เรียกว่า แท่งเทียนขาขึ้น ขณะที่ราคาปิดอยู่ต่ำกว่าราคาเปิดก็เป็นแท่งเทียนขาลง ส่วนที่แตกต่างระหว่าง ราคาสูงสุด – ต่ำสุดไปจนถึงราคาปิดและราคาเปิด เรียกว่า ไส้เทียน โดยมีภาพประกอบดังต่อไปนี้

รูปที่ 3 กราฟแท่งเทียน คืออะไร?  ตัวอย่างกราฟแท่งเทียน

อย่างไรก็ตาม รูปแบบของแท่งเทียนอาจจะมีหลายรูปแบบ บางครั้งไส้เทียนก็ยาวมาก และราคาปิดและราคาเปิดอยู่ใกล้เคียงกัน ทำให้มีการศึกษากลุ่มแท่งเทียน เพื่อทำนายพฤติกรรมราคาของสินทรัพย์ โดยเรียกว่า รูปแบบกราฟแท่งเทียน Candlestick Pattern  ซึ่งมีรายละเอียดดังจะกล่าวในหมวดต่อไป

รูปแบบกราฟแท่งเทียน

การวิเคราะห์กราฟแท่งเทียน มีทั้งรูปแบบกราฟแบบเดี่ยว ๆ และ รูปแบบกราฟแบบกลุ่มแท่งเทียน ซึ่งสามารถนำไปวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคาได้ โดยรูปแบบที่แตกต่างกันก็จะนำไปสู่ผลการเทรดที่แตกต่างกัน โดยบทความนี้จะยกตัวอย่างเฉพาะที่มีความสำคัญ จดจำได้ง่าย ทั้งรูปแบบแท่งเทียนเดี่ยว ๆ และกลุ่มแท่งเทียนดังต่อไปนี้

     1. รูปแบบ Doji

รูปที่ 4 กราฟแท่งเทียน คืออะไร?  Doji

ในภาพเป็นกราฟแท่งเทียน รูปแบบ Doji โดยดูได้จากในวงกลม จะเห็นว่า รูปแบบ Doji คือรูปแบบที่ราคาปิดและราคาเปิดแทบจะเป็นราคาเดียวกัน และมีไส้ทั้งด้านบนและด้านล่าง การปรากฏขึ้นของรูปแบบ Doji จะสามารถปรากฏขึ้นได้ทั้งกราฟในขาขึ้นและกราฟขาลง  หรือปรากฏอยู่หลายแท่ง ก็อาจจะเกิดขึ้นได้ ดังรูปข้างต้น

การปรากฏขึ้นของรูปแบบ Doji จะทำให้เกิดการกลับตัวของราคา ในวงกลมสีเทา จะเห็นว่า เมื่อเกิดกราฟรูปแบบ Doji ราคาได้เคลื่อนไหวกลับด้านและเปลี่ยนเทรนด์ สาเหตุก็เพราะว่า ในกรณีของตลาดกระทิง ตลาดซื้อเป็นขาขึ้น แต่เมื่อคนซื้อหมดไปและคนขายเริ่มเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดการฉุดกระชากของราคาเป็นไส้เทียน แล้วกลับลงมาปิดที่เราคาเปิด นั่นเพราะว่า คนซื้อพยายามจะซื้อให้มันขึ้นแล้วแต่ว่ามันไม่เป็นผลและเงินหมด ทำให้รูปแบบ Doji อธิบายการกลับตัวของราคา ตามหลักการของอุปสงค์และอุปทานที่มีอยู่ในตลาด

    2.รูปแบบ Engulfing

รูปแบบแท่งเทียนแบบ Engulfing ก็เป็นอีกรูปแบบกราฟที่บอกการกลับตัวของราคา โดยมีลักษณะดังต่อไปนี้

รูปที่ 5 กราฟแท่งเทียน คืออะไร? รูปแบบ Engulfing

รูปแบบ Engulfing ประกอบด้วยแท่งเทียน แท่งแรก ซึ่งอาจจะเป็นแท่งเทียนขาขึ้นหรือขาลงก็ได้ และจะมีแท่งเทียนด้านหลัง ซึ่งจะเป็นแท่งเทียน ขาดขึ้นหรือขาลงก็ได้ แต่ลักษณะแท่งเทียน 2 แท่งที่อยู่ใกล้กันนั้นต้องเป็นคนละสี ตัวอย่างในสี่เหลี่ยมที่ 1 จะเห็นว่า เกิดรูปแบบ Engulfing แบบกลับตัวขาลงขึ้น แท่งแรกเป็นสีเขียวและโปร่งมีไส้ด้านบนและด้านล่าง ขณะที่แท่งที่ 2 เป็นแท่งขาลงมีไส้ด้านบนและด้านล่างเช่นเดียวกัน  โดยในกล่อง 4 เหลี่ยมเป็นตัวอย่างของรูปแบบ Engulfing ข้อสังเกตุหนึ่งที่เห็นได้ชัดได้แก่ แท่งข้างหลัง จะต้องยาวและครอบคลุมราคาด้านหน้า หมายความว่า ทั้งราคา Low ก็ต่ำกว่า และราคา High ก็สูงกว่า ขณะที่ความยาวของแท่งเทียนก็ยาวกว่า แท่งแรก ซึ่งระยะสามารถครอบคลุมการเคลื่อนไหวของแท่งก่อนหน้าได้เลย ทำให้ Engulfing Pattern เป็นรูปแบบของการกลับตัว

จากรูปจะเห็นว่าการที่แท่งด้านหน้าสั้น นั้นหมายความว่า ตลาดเทรนด์ที่ผ่านมานั้นหมดแรง และเมื่อราคาเปิด High และเคลื่อนไหวต่อ แต่เจอแรงขายปะทะ ทำให้ราคาหลุดลงมาอย่างรุนแรง ซึ่งการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรง ทำให้ทิศทางของราคาเปลี่ยนอย่างทันทีทันใด ตามมาด้วยเกิดเทรนด์ของภาวะตรงข้ามกับกราฟที่ผ่านมา

  1. รูปแบบค้อน

รูปแบบค้อน หรือ Hammer Candle เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของกราฟที่แสดงการกลับตัวของราคา โดยที่แท่งเทียน จะมีไส้อยู่ด้านล่างหรือด้านบน ขณะที่ตัวเทียน สั้น และมีขนาดไส้เทียนเมื่อเทียบกับตัวเทียนแล้วมีขนาดยาวกว่า ดังรูปต่อไปนี้

รูปที่ 6 กราฟแท่งเทียน คืออะไร?  รูปแบบ Hammer

จะเห็นว่า รูปแบบค้อนที่ผมยกตัวอย่างนั้นมีหัวค้อนเป็นสีดำ หรือก็คือ หัวค้อนเป็นขาขึ้นทั้งคู่ หัวค้อนนั้นจะเป็นขาขึ้นหรือขาลงก็ได้  แต่การเจอรูปแบบค้อนนั้นหมายถึงการกลับตัวของราคา ในภาพเป็นการกลับตัวจากขาขึ้นเป็ฯขาลงเหมือนกัน แต่ว่า ทิศทางของไส้เทียนนั้นแตกต่างกันอย่างมาก ซึ่ง ทิศทางของไส้เทยนที่แตกต่างกันย่อมมีความหมาย ถ้าไส้เทียนอยู่ด้านบน โอกาสที่จะกลับตัวจะมีสูงมาก เพราะว่าแสดงว่ามีแรงซื้อขึ้นไป ทำให้ไส้เทียนยาว แต่ว่าจู่ ๆ ก็มีแรงขายทำกำไรเข้ามามากเช่นกัน ทำให้เกิดแรงขายและมีไส้เทียนที่ยาวปรากฏมา หมายความว่า ฝ่ายขายเป็นผู้ชนะเมื่อแท่งเทียนนั้นหดลงมาเหลือขนาดนิดเดียว

รูปแบบคอ้นรูปแบบที่ 2 นั้นจะมีการกลับตัวที่สั้นกว่า เพราะว่าเมื่อเกิดรูปแบบค้อนแล้ว ราคาดีดกลับปิดราคา high ได้แสดงว่ามีแรงซื้อจำนวนมากเข้ามาสนับสนุน แต่ว่าก็ไม่อาจจะทานแรงขายระยะสั้นได้ แต่การเคลื่อนไหวลงก็จะไม่เกิดมากนักเพราะว่า รูปแบบค้อนรูปแบบที่ 2 ที่ปรากฏเป็นรูปแบที่ทำให้ราคาขึ้น การกลับตัวจึงกลายเป็นการกลับตัวในระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น

  1. รูปแบบแฮงแมน

รูปแบบกราฟ Hangman หรือคนฆ่าตัวตาย รูปแบบ Hangman เป็นรูปแบบที่คล้ายคลึงกับ Doji และ Hammer ผสมรวมกัน โดยรูปแบบ Hammer จะไม่มีไส้ด้านบน หรือส่วนปลายของค้อน ขณะที่รูป Doji จะอยู่กึ่งกลาง และไส้ด้านบนกับไส้ด้านล่างมีขนาดใกล้เคียงกัน ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบ Hang man เพราะว่า Hang man มีไส้ทังสองด้าน แต่ว่าด้านใดด้านหนึ่งที่มีไส้ยาวกว่าอีกด้านหนึ่ง มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเกมส์แฮงแมนที่เราเล่นตอนเด็ก ๆ

รูปที่ 7 กราฟแท่งเทียน คืออะไร?   รูปแบบ Hang Man

การเกิดรูปแบบ Hangman ทำให้เกิดการกลับตัวเช่นเดียวกับรูปแบบอื่น ๆนั่นเพราะว่า รูปแบบ hangman นั้นสามารถบอกกลับตัวและการอธิบายที่คล้ายคลึงกับรูปแบบ Doji นั่นเป็นเพราะว่า  เมื่อราคากำลังเคลื่อนไหวขึ้นนั้น จู่ ๆ ราคาก็เจอกับแรงขายกระชากลงมา ทำให้เกิดไส้เทียน แต่ก็ยังไม่ลงในทันทีทันใด การที่ไม่ลงทันทีทันใดนี้ มันเกิดผลตามมาในการกลับตัวของเทรนด์ เพราะน้ำหนักของเทรนด์ไม่สามารถไปต่อได้

รูปแบบทั้ง 4 รูปแบบเป็นรูปแบบการกลับตัวเท่านั้น และยังมีรูปแบบอื่น ๆ อีกหลายรูปแบบ บางครั้งอาจจะมีถึงหลักร้อยเลยก็ได้ ซึ่งเทรดเดอร์ที่สนใจก็ไม่จำเป็นที่จะต้องศึกษาทั้งหมด แต่ให้สนใจเฉพาะรูปแบบที่สำคัญเท่านั้น

 

ทีมงาน : thaibrokerforex.com

 

เขียนโดย

Rattapoom Jitjaroen

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon