ทฤษฎีพฤติกรรมราคา : Price Action
Price Action ไม่ได้เป็นทฤษฎี แต่ว่าเป็นการวิเคราะห์แบบหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์ราคา เพื่อใช้ในการสังเกตุความเปลี่ยนแปลงราคาจากลักษณะของกลุ่มแท่งเทียน การใช้กลุ่มแท่งเทียนแสดงลักษณะพฤติกรรมของตลาดและเทรดเดอร์ในตลาดและทำการคาดเดาทิศทางของการเทรด การใช้ Price Action จะไม่มี Indicator ใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ
วันนี้ผมก็เลยหยิบมาขยายความในบทความทฤษฎีพฤติกรรมราคานี้ให้ฟัง เพราะว่าเมื่อก่อนผมก็ได้อ่านและแปลบทความเกี่ยวกับ Price Action ไว้พอสมควร อย่างไรก็ตามผมไม่ได้แนะนำให้ใช้หรือว่าผมใช้มันในการเทรดนะครับ
Price Action
การวิเคราะห์ โดยใช้ Price Action คือ การใช้กลุ่มของกราฟแท่งเทียนในการทำนายพฤติกรรม ซึ่งจะมีชื่อเรียกเฉพาะหลาย ๆ แบบ โดยผมจะพูดถึงรูปแบบบางรูปแบบเนื่องจาก Price Action สมัยใหม่นั้นมีการแตกรูปแบบใหม่ไปเยอะ บางคนเรารูปแบบกราฟต่าง ๆ เช่น Hammer มารวมกับ Price Action ซึ่งตรงบทความนี้จะไม่ขอกล่าวถึง
Outside Bar
รูปที่ 1 Outside Bar
ที่มา: http://swing-trading-strategies.com/outside-bar-forex-trading-strategy/
รูปแบบ Outside Bar ที่เรียกแบบนี้เพราะว่าแท่งสุดท้ายที่ปรากฏอยู่นอกกรอบของของแท่งก่อนหน้า ในรูปที่ 1 จะเห็นว่าแท่งสุดท้ายจะใหญ่กว่ากว้างกว่าทั้ง ราคา High และราคา Low ถึงเรียก Outside Bar เพราะมันหลุดออกมาจากข้างนอกของกรอบราคาก่อนหน้า
การเกิดการหลุดกรอบแบบนี้เพราะว่าราคาหลุดลงต่ำแต่ดีดกลับไปปิดในฝั่งตรงข้าม สัญญาณการดีดกลับนั้นจึงทำให้มัน ใช้เป็นสัญญาณชี้ในด้านถัดไป
Spring
รูปที่ 2 รูปแบบ Spring ตรงลูกศร
ที่มา: https://tradingsim.com/blog/price-action-trading-strategies/
รูปแบบเทรด Spring ก็คือการดีดกลับของราคา ออกจากกรอบการเคลื่อนไหวเดิม เป็นรูปแบบการกลับตัว บอกว่าราคาเปลี่ยนทิศทางแล้ว เพราะว่า ราคานั้นเปิด Low แต่ว่าปิดราคา New High ได้นั่นเอง นอกจากรูปแบบ Spring แล้วยังมี Price Action ในรูปอื่น ซึ่งผมจะแสดงอีกสัก 2 รูปแบบก่อนที่จะว่ากันรายละเอียดของมันว่ามันใช้ได้ในโลกของการเทรดจริงหรือเปล่า
Inside Bar
รูปที่ 3 รูปแบบ Inside Bar
ที่มา: http://priceaction.com/price-action-university/strategies/inside-bar/
การเกิด Inside Bar คือราคาของแท่งถัดไปนั้นเคลื่อนไหวไม่สูงและไม่ต่ำกว่ากราฟช่วงก่อนหน้า รูปแบบของการเกิด Inside Bar มีหลายความหมาย เช่น การเกิด Breakout หลังจากที่เกิด Inside Bar มีทั้งรูปแบบ Bullish และ Bearish
Long Wick
รูปที่ 4 Long Wicked Bar
ที่มา: https://www.udemy.com/one-forex-secret-strategy-of-eurousd-100-proven/
รูปแบบ Long Wick เป็นรูปแบบเกิดการดีดกลับของราคาสวนตรงข้ามทำให้เกิดไส้เทียนยาวขนาดใหญ่เมื่อเทียบเป็นสัดส่วนกับตัวแท่งเทียน ใช้สำหรับการเทรดกลับตัว
จบรูปแบบ Price Action ทั้ง 4 แบบไว้ก่อน ไม่งั้นจะกลายเป็นบทความวิจารญ์ Price Action แต่จะกลายเป็นบทความเรื่อง Price Action แทน จริง ๆ แล้วเนื้อหายังมีอีกเยอะ แต่ว่าเราคงไม่เจาะลึกขนาดนั้นเพราะวัตถุประสงค์คือ จะนำมาใช้เพื่อให้เทรดให้ได้ความแม่นยำสูง เราจึงทำการตรวจสอบทฤษฎีเหล่านี้ว่าแม่นยำเพียงใด ตรวจสอบยังไง
แล้วรูปแบบที่เสนอมานั้นใช้ได้จริงหรือไม่?
ปัญหาของมันคือยังไม่มีใครที่ทำการทดสอบทางสถิติไว้ด้วยซ้ำว่า การเกิดรูปแบบนี้มันจะเกิดอะไรขึ้น แต่เหล่าเทรดเดอร์มักจะบอกว่า เมื่อเกิดรูปแบบ Long Wick จะมีการกลับตัวหรือ Long Wick อีกแบบก็จะทำให้เทรนด์ไปต่อ เวลาอ่านตำรา Price Action แล้วก็พบว่า มันก็ออกได้ทั้งหลายรูปแบบ เดี๋ยวผมจะยกตัวอย่างจากบทความที่เผยแพร่ใน Internet สักบทความว่าเขาใช้ Long Wick ใน Price Action ยังไง จากบทความข้างล่างนี้
“ We can take these ‘messages’ via price action to the next logical step: locating points of emphasis within a single candlestick or a series of candlesticks to find areas of interest for potential trade entries.
Since price action can show us supply and demand, the act of a market showing an elongated wick can highlight reversal potential. Let’s look at an example below.”
รูปที่ 5 แสดงการใช้ Wick ใน Price action
ในรูปที่ 5 จะเห็นว่าเขาเสนอว่าให้ใช้ Wick เพื่อบอกการกลับตัว แล้วใช้ร่วมกับแนวรับแนวต้านด้วย ความรู้เหล่านี้หรือทฤษฎีเหล่านี้ฟังแล้วเหมือนจะมีเหตุมีผล แต่ว่าเป็นหลุมพรางให้เทรดเดอร์หน้าใหม่ที่เข้ามาในตลาดแล้วต้องเอาวิธีเหล่านี้ไปลองผิดลองถูก กับเงินจริง ๆ แล้วหวังว่ามันจะช่วยทำกำไรได้ สุดท้ายปรากฏว่ามันไม่ได้กำไร เพราะไม่มีใครมาพิสูจน์ให้ดู แล้วคุณจะพิสูจน์หรือเปล่าหล่ะ? หรือว่าปล่อยไปตามที่เขาเขียนมาว่าอย่างไรก็ว่าอย่างนั้นแหละ ลองมาดูตัวอย่างของผมในกราฟ MT4 จริง ๆ ของ Wick กันว่าเป็นจริงอย่างเขาว่าไหม ว่า Wick ทำให้เกิดการกลับตัว
รูปที่ 6 แสดงรูปแบบการเกิด Wick
ผมกำหนดแนวรับแนวต้านจากราคา High Low จากการดีดกลับ 3 ครั้งก่อนหน้า คือจุดที่ก่อนวงกลมสีแดงวงแรก และเกิด Wick ที่วงกลมสีแดง แต่วงกลมสีเหลือง เกิด Wick แล้วน่าจะกลับตัวแต่มันลงต่อ นั่นก็เห็นแล้วว่า ถ้าเราทำสถิติออกมา 500 ครั้งจริง มันจะได้ 95 % ที่จะเกิดกลับตัวรึเปล่าก็ไม่รู้
หลายคนบอกว่า ผมขีดเส้นแนวรับแนวต้านไม่ตรง ถ้าอย่างนั้นเราก็คงมีมุมมองที่แตกต่างกันดังนั้นทฤษฎีนี้ก็ไม่เหมาะสำหรับทุกคนและไม่คงที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามความพอใจว่ามันจะดีเพียงเพราะเราโทษตัวเอง อย่าลืมว่าในความเป็นจริง เราไม่รู้ว่าราคาข้างหน้าเป็นอย่างไร ถ้าหากว่าเรารู้แค่อดีตจุดที่เราอยากจะขีดเส้นแนวรับแนวต้าน ไม่รู้ว่าราคาในอนาคตเป็นยังไง มันอาจจะไม่ตรงกันได้ นั่นเพราะเราลำเอียง เข้าข้างตัวเองบ้างเข้าข้างตลาดบ้าง แต่ถ้าทฤษฎีไหนที่ทำให้มันยากในการขีดเส้นแค่แนวรับแนวต้านหล่ะก็ ก็บอกได้ว่า ทฤษฎนั้นไม่ได้ดีพอที่เราจะใช้งานมันจริง ๆ หรอก
Keywords: Price Action, การใช้ Price Action, รูปแบบของ Price Action
ทีมงาน : thaibrokerforex.com