การวิเคราะห์ Forex เป็นส่วนสำคัญในการทำกำไร และถือเป็นจุดชี้วัดตัวกำไรขาดทุนตัวหนึ่งที่สำคัญ เพราะว่า การวิเคราะห์คาดการณ์ที่ดีทำให้เราสามารถทำกำไรได้เลย ขณะที่การวิเคราะห์ที่ผิดพลาด สามารถทำให้เรากลายเป็นเทรดเดอร์ที่ขาดทุนได้เลยเช่นกัน
-
การวิเคราะห์พื้นฐาน
ภาพที่ 1 แสดงตัวอย่างข่าวเศรษฐกิจ
การวิเคราะห์พื้นฐานในตลาดการเงินมีมาอย่างยาวนาน ซึ่งการวิเคราะห์พื้นฐานของตลาดการเงินนั้นจะเกี่ยวข้องกับปัจจัยที่เป็นพื้นฐานของกลไกการทำงานของตลาด เช่น ถ้าหากในตลาดหุ้น การวิเคราะห์พื้นฐานหมายถึง การวิเคราะห์มูลค่าของกิจการ ซึ่งรวมทั้งแต่ การวิเคราะห์งบ การวิเคราะห์กลยุทธ์ในการบริหารจัดการ ของธุรกิจ ซึ่งไม่แตกต่างกับการวิเคราะห์ของตลาด Forex หลายคนอาจจะท้วงว่า การวิเคราะห์งบการเงินในตลาด Forex นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า Forex ไม่มีบริษัทรองรับ อันนี้ต้องลองดูมุมการวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจมหภาคกันก่อน ดังต่อไปนี้
ถ้าหากว่างบการเงินของ Forex มันคือ การวิเคราะห์ งบการเงินของประเทศ ประเทศ ก็ไม่แตกต่างจากบริษัท บริษัทเพียงบริษัทหนึ่งที่ดำเนินกิจการขายสินค้าและบริการ หรือแรงงานเช่นเดียวกัน คนทุกคนในประเทศคือ สมาชิกในบริษัท พนักงานบริษัท บางคนขายแรงงาน ขายทักษะความรู้ให้กับต่างประเทศ บางบริษัทขายผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างสำหรับประเทศไทย ประเทศไทยมีผลิตภัณฑ์ หลักเป็นสินค้าอีเล็กทรอนิกส์ การส่งออกผลิตภัณฑ์รถยนต์ อะไหล่รถยนต์ ซึ่งเป็นสินค้าประเทศไทย เราขายแรงงาน ให้กับบริษัทที่ผลิตสินค้าเหล่านี้ นอกจากนี้เรายังขายสถานที่ท่องเที่ยว เมื่อเรามีผลิตภัณฑ์ที่แน่นอน เราจะวัดมันอย่างไร ก็วัดจากการนำเข้าและส่งออกสินค้าไงครับ เพราะว่า การนำเข้าและส่งออกก็คือ การซื้อของมาทำสินค้าและก็ส่งสินค้าไปขาย ก็เหมือนกับการประกอบกิจการบริษัทนั่นแหละครับ ฉะนั้นถ้าหากประเทศทำได้ดี เรามีกำไร มียอดบัญชีเกินดุล ก็ทำให้เรามีฐานะการเงินดี การลงทุนย่อมดีไปด้วย มันทำให้ใครก็อยากจะมาลงทุน ซึ่งด้วยปัจจัยเหล่านี้ มันก็สามารถสะท้อนผ่าน ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจต่าง ๆ เช่น GDP หรือ Balance of Trade ข่าวอัตราดอกเบี้ย ตัวเลขการจ้างงาน การประชุมนโยบายการเงิน
-
การวิเคราะห์ทางเทคนิค
ภาพที่ 2 ตัวอย่างการวิเคราะห์ทางเทคนิค
การวิเคราะห์ทางเทคนิค ดูเหมือนจะเป็นศาสตร์ลึกลับสำหรับผู้มาใหม่ในตลาด จริง ๆ แล้วการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้นค่อนข้างตรงไปตรงมา มันอาศัยการพยากรณ์ราคา โดยใช้หลักการต่าง ๆ โดยมีพื้นฐานทฤษฎี และสร้างวิธีการคำนวณขึ้นมา เช่น การใช้ราคาเฉลี่ยเป็นราคาฐานในการคำนวณ เป็นต้น ถ้าจะให้ผมแบ่ง เครื่องมือทางเทคนิค สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ ๆ คือ การวิเคราะห์ที่อาศัยพฤติกรรมราคาในอดีต และ การวิเคราะห์ที่อาศัยหลักการอื่น ๆ ดังต่อไปนี้
- การวิเคราะห์โดยอาศัยพฤติกรรมราคาในอดีต การวิเคราะห์โดยอาศัยหลักพฤติกรรมราคาในอดีต มีความเชื่อว่า ตลาดนั้นจะเกิดพฤติกรรมซ้ำเดิม เพราะว่าพฤติกรรมตลาดนั้นก็คือพฤติกรรมของคน ซึ่งคนก็มักจะทำพฤติกรรมซ้ำ ๆ ทำให้การทำนายราคานั้นจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบของการเคลื่อนไหว ที่จะมีความคล้ายคลึงกับกราฟที่เคยเกิดขึ้นในอดีต ตัวอย่างของหัวข้อนี้ได้แก่ การใช้ indicator เช่น RSI Moving Average หรือ Stochastic ซึ่งเป็นเครื่องมือที่มีชื่อเสียง
- การวิเคราะห์โดยอาศัยหลักการอื่น ๆ การวิเคราะลักษณะนี้ จะอาศัยรูปแบบอื่น ๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับหลักการของการเอาราคาที่เกิดขึ้นมาคำนวณ แต่อาศัยเรื่องของรูปร่างของราคา อาศัยเรื่องของจุดต่ำสุดสูงสุด การวิเคราะห์รูปร่างของกลุ่มราคา กลุ่นนี้จะเป็นกลุ่มหนึ่งที่นิยมใช้ เช่น การวิเคราะห์ Elliot Wave หรือทฤษฎีคลื่น โดยเชื่อว่า การเคลื่อนไหวของราคานั้นมีรูปแบบที่แน่นอน อีกตัวอย่างหนึ่งได้แก่ การวิเคราะห์โดยใช้ Fibonacci Number ซึ่งเป็นจุดและตำแหน่งของการเคลื่อนไหวของราคาตามทฤษฎี เป็นต้น
-
การวิเคราะห์อารมณ์ตลาด
การวิเคราะห์ อารมณ์ตลาด หมายถึง การวิเคราะห์ดูความรู้สึก อารมณ์ของตลาด ดูจากทิศทางราคาและความรู้สึก การจับความรู้สึกที่จับต้องได้ยาก แต่อาศัยหลาย ๆ อย่าง บางครั้งก็อาศัยกราฟ บางครั้งก็อาศัยพื้นฐานเศรษฐกิจ เช่น ช่วงนี้ประชาชนรู้สึกกว่า เศรษฐกิจไม่ดี ค่าเงินก็จะอ่อนค่าไปด้วย เป็นต้น หรือแม้แต่หลาย ๆ คนอาจจะได้ยินคำว่า Gut Feeling หรือความรู้สึก การใช้ Sense ในการเทรด ซึ่งถือว่าเป็นอีกศาสตร์รูปแบบหนึ่ง
ภาพที่ 3 ตัวอย่างการใช้ความรู้สึก
จากตัวอย่าง 3 ด้านดังกล่าว เราจะกล่าวถึงรายละเอียดแบบถี่ยิบในการสอนในคอร์สนี้ โดยอยู่บทเรียนกลาง ๆ ตั้งแต่ระดับมัธยม ไปจนถึง ระดับมหาวิทยาลัย โดยเนื้อหาก็จะพูดถึงกรอบหลักการ 3 ด้านนี้เป็นหลักครับ