A screen shot of a computer screen

Description automatically generated

หนึ่งในคำศัพท์หนึ่งที่มักจะมีความหมายในเชิงลบและเป็นอีกหนึ่งในข้อควรระวังที่อันตรายอันดับต้นๆสำหรับมือใหม่ … Overtrade โอเวอร์เทรด!! … สำหรับหรับวงการ Forex อย่างเราๆแล้วคงจะคุ้นชินกับคำว่าโอเวอร์เทรดมานักต่อนัก อีกทั้งยังพูดกันอย่างแพร่หลายว่าเป็นหนึ่งในการเทรดที่อันตราย

…แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงการโอเวอร์เทรดในแง่ของนักเทรดมืออาชีพกันบ้างครับ ว่าแท้จริงแล้วการโอเวอร์เทรดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิด รวมไปถึงข้อชี้แนะต่างๆซึ่งจะทำให้เราสามารถเทรดได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจำกัดความเสี่ยงได้อย่างมืออาชีพเลยทีเดียว

ฉบับย่อ

  • โอเวอร์เทรด คือ การออกออเดอร์โดยมีผลรวมของค่าล็อตเป็นจำนวนมากโดยไม่ได้คำนึงถึงจำนวนการออกออเดอร์
  • การมาติงเกล หรือ การออกออเดอร์แบบกริด ที่มักจะมีการออกออเดอร์ถี่ๆหรือหลายไม้ในสภาวะที่มีการเทรดผิดทางโดยไม่กำหนด SL ก็คือเป็นการโอเวอร์เทรด เช่นเดียวกัน

Overtrade คืออะไร

Overtrade หรือ โอเวอร์เทรด คือการเทรดหรือการซื้อขายสินทรัพย์โดยมีลักษณะที่ออกล็อตที่มากเกินไป ทั้งนี้ก็มีอยู่หลายวิธีด้วยกันไม่ว่าจะเป็นการออกออเดอร์แบบขาดความยับยั้งชั่งใจหรือต้องการทำกำไรในระยะเวลาสั้นๆให้ได้กำไรสูงลิ่วโดยทำการออกออเดอร์เดียวที่มีจำนวนล็อตมากเกินความพอดี หรือ ขาดความรู้และประสบการณ์ในการเทรดในการออเดอร์หลายๆไม้ในระยะเวลาที่ไร่เรี่ยกัน ถึงแม้จะออกล็อตต่อไม้ที่ไม่มากเท่าไร แต่พอนำมารวมกันแล้วก็ถือว่าเยอะพอๆกับออกล็อตเยอะจำนวนมากเพียงออเดอร์เดียว

A person in front of a computer

Description automatically generated

รูปที่ 1 Overtrade หรือ โอเวอร์เทรด คืออะไร

เพราะเหตุนี้การโอเวอร์เทรดนั้นจะสามารถสังเกตได้จากดูผลรวมของล็อตเป็นหลัก ดังนั้นแล้วไม่ว่าจะทำการออกออเดอร์น้อยหรือมากหากมีผลรวมของล็อตโดยรวมนั้นมีจำนวนมากก็ถือว่าเป็นการโอเวอร์เทรดทั้งนั้น

…เพียงแต่การที่จะระบุว่าเป็นการโอเวอร์เทรดหรือไม่ก็จำเป็นจะต้องดูหลายๆปัจจัยด้วยกันไม่ว่าจะเป็นกลยุทธิ์ที่ใช้ในการเทรด การวางจุด Stoploss / Take Profit หรือ แม้กระทั่งต้องเทียบกับเงินของพอร์ตนั้นๆด้วย ซึ่งจะเกิดคำถามขึ้นมาต่อว่า “แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าต้องออกล็อตเท่าไรถึงจะไม่ใช่การโอเวอร์เทรด?” โดยทางเราจะขอยกตัวอย่างการเทรดปกติกับการโอเวอร์เทรดให้เห็นภาพดังตัวอย่างการเทรดง่ายๆดังต่อไปนี้

ตัวอย่างการออกออเดอร์แบบ Overtrade

ในหัวข้อนี้จะเป็นตัวอย่างการเทรดโดยการใช้ระบบหรือกลยุทธิ์การเทรดที่เหมือนๆกันรวมไปถึงจะมีเงินในพอร์ตหรือบัญชีที่เท่ากันอยู่ที่ 100 USD จะแตกต่างกันเพียงแค่พอร์ตหนึ่งออกล็อตเพียง 0.1 Lot อีกพอร์ตออกล็อตมากถึง 1 Lot ซึ่งจะขออธิบายกลยุทธิ์การเทรดง่ายๆดังต่อไปนี้

A screenshot of a computer

Description automatically generated

รูปที่ 2 ตัวอย่างการออกออเดอร์แบบ Overtrade

จากกราฟราคาดังกล่าวคู่สกุลเงิน EURUSD มีการทำราคาหรือกราฟไปในทิศทางขาขึ้นเมื่อได้ทำการตีแนวรับแนวต้านแล้วจึงสรุปได้ว่าจะทำการออกออเดอร์ Buy ที่จุดหมายเลขที่ 1 โดยจะทำการวาง Stop loss ไว้ที่ Low ก่อนหน้า จุดหมายเลขที่ 2 และทำการคิดอัตราส่วน RR ให้เท่ากับ 1 : 1 จึงสามารถทำให้กำหนดจุด Take Profit ได้ที่ จุดหมายเลขที่ 3 ตามลำดับซึ่งจะมีระยะทางเท่าๆกันอยู่ที่ 34 Pip

ดังนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นของพอร์ตที่ 1 คือ เมื่อออก Lot เท่ากับ 0.1 จึงทำให้สามารถทนต่อการที่จะเสี่ยงขาดทุนโดยคิดเป็นเงินโดยประมาณได้เท่ากับ 34pip x 1 = 34 USD ซึ่งคิดเป็น 34% จากเงินในพอร์ต แสดงว่าถึงแม้จะมีการชน Stop loss ที่ตั้งไว้ก็ยังสามารถที่จะรักษาเงินในบัญชีไว้ได้อยู่ แต่ถึงกระนั้นหลังจากที่ได้มีการ Buy เกิดขึ้นกราฟจะทำการย่อตัวเพียงเล็กน้อยก่อนที่จะขึ้นไปทำกำไรตามจุด Take Profit ที่ได้วางแผนไว้

สิ่งที่เกิดขึ้นของพอร์ตที่ 2 คือ เมื่อออก Lot เท่ากับ 1 จึงทำให้สามารถทนต่อการที่จะเสี่ยงขาดทุนโดยคิดเป็นเงินโดยประมาณได้เท่ากับ 34pip x 10= 340 USD ซึ่งคิดเป็น 340%….นั้นหมายถึงหากท่านออกล็อตเท่านี้แผนการเทรดที่ท่านจะใช้จะไม่สามารถใช้ได้เนื่องจากความเป็นจริง SL สามารถทนได้เพียง 100 USD เท่านั้นเท่ากับทุนในพอร์ต ดังนั้นการคำนวนล็อตจึงเป็นอีกหนึ่งในความสำคัญต่อการเทรดเป็นอย่างมากและยังเป็นของคู่กันกับกลยุทธิ์การเทรดเลยทีเดียวครับ

และในกรณีเดียวกันกับพอร์ตที่ 1 หลังจากที่ได้มีการ Buy เกิดขึ้นกราฟจะทำการย่อตัวเพียงเล็กน้อย…แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือในการย่อครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะย่อเพียงเล็กน้อยก็ตามแต่เมื่อมันมีระยะทางมากกว่า 10 pip จึงทำให้พอร์ตที่ 2 เกิดการล้างพอร์ตในทันที ดังนั้นนี่จึงเป็นตัวอย่างที่ดีมากๆในการเปรียบเทียบของการออกล็อตที่ไม่ได้สัมพันธ์กับกลยุทธ์ในการเทรดนั่นเอง

หมายเหตุ : EURUSD มูลค่าการเคลื่อนที่ต่อ Pip จะเท่ากับ 1 Lot ต่อ 10 USD

ลักษณะหรือรูปแบบการเทรดแบบ Overtrade

จากตัวอย่างการออกออเดอร์แบบโอเวอร์เทรดดังหัวข้อที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการที่เราออกล็อตไม้เดียวเป็นจำนวนมากทีเดียว โดยไม่ได้คำนึงถึงเงินในพอร์ตหรือกลยุทธิ์ที่ใช้ในการเทรดเลยจะทำให้เราสามารถขาดทุนหรือเสี่ยงที่จะล้างพอร์ตได้อย่างง่ายดายโดยระยะเวลาอันสั้น…แต่ถึงกระนั้นก็ยังมีการออกออเดอร์อีกหลายแบบที่หากเราไม่รู้จักมันมากพอก็ถือว่าเป็นการโอเวอร์เทรดอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นเราจะขออธิบายการโอเวอร์เทรดในรูปแบบต่างๆได้ดังนี้

Overtrade แบบออก ล็อต จำนวนมากในคราวเดียว

การออกล็อตจำนวนมากในคราวเดียวโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงเงินในพอร์ตหรือกลยุทธ์นี้ถือว่าเป็นการโอเวอร์เทรดแบบ Basic ดังที่ได้ยกตัวอย่างไปแล้วนั้นตามรูปภาพในหมายเลขที่ 2 ที่ผ่านมา…แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ทำให้มือใหม่พลาดในการออกออเดอร์แบบโอเวอร์เทรดนั้นก็มีปัจจัยหลายอย่างเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นความสามารถของ Leverage ที่ทำให้เราสามารถทำกำไรได้จากเงินทุนเพียงเล็กน้อยโดยคาดหวังว่าจะสามารถกอบโกยกำไรได้ในระยะสั้น

อีกทั้งยังขาดประสบการณ์และความรู้โดยสุดท้ายก็ตกไปเป็นเม่าน้อยให้กับตลาดใหญ่อย่างไม่ทันตั้งตัว และยังรวมไปถึงขาดการฝึกซ้อมและมั่นใจกับกลยุทธิ์ในการเทรดมากจนเกินไปผนวกเข้ากับอารมณ์และความโลภจึงทำให้เกิดการล้างพอร์ตไปในที่สุด

ออกออเดอร์จำนวนมากแบบถี่ๆ หรือ ออกออเดอร์ในลักษณะ Grid

การออกออเดอร์นั้นมีรูปแบบที่หลากหลายและการออกออเดอร์จำนวนมากแบบถี่ๆ หรือ ออกออเดอร์ในลักษณะกริด(Grid) นี้ก็คือเป็นการออกออเดอร์ที่ค่อนข้างมีความนิยมเป็นอย่างมาก ณ ปัจจุบัน อันเนื่องมาจากความสามารถในการถัวเฉลี่ยความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นทำให้สามารถเกลี่ยออเดอร์กระจายออกเป็นกริดดังรูปภาพดังต่อไปนี้

A graph on a white surface

Description automatically generated

รูปที่ 3 ออกออเดอร์จำนวนมากแบบถี่ๆ หรือ ออกออเดอร์ในลักษณะ Grid

จากรูปด้านบนนี้เป็นตัวอย่างการออกออเดอร์แบบแบบถี่ๆซึ่งจะมีลักาณะคล้ายกริดหรือตารางโดยส่วนมากจะมีระยะห่างในการออกออเดอร์ที่เท่ากันรวมไปถึงจำนวนล็อตที่เท่าๆกัน โดยความสามารถนี้ให้นิยามอย่างง่ายกว่าสามารถที่จะถัวเฉลี่ยความเสี่ยงโดยจะเพิ่มโอกาสทำกำไรให้มากขึ้นแล้วและยังสามารถไปประยุกต์ใช้งานกับการ Hedging เพื่อลดความเสี่ยงในการขาดทุนได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้เนื้อหาในการออกออเดอร์แบบกริดนั้นยังมีเนื้อหาอีกมากมายและหากมีโอกาสก็จะนำมาเล่าให้ฟังแบบเข้มข้น

เพียงแต่ในกรณีที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นจะเห็นได้ว่าการออกออเดอร์ในลักษณะนี้จะมีการออกล็อตที่ไม่มากแต่จะออกไม้เป็นจำนวนมาก สุดท้ายจึงทำให้ผลรวมของล็อตทั้งหมดนั้นมีจำนวนมากและแทบจะไม่ได้ต่างกับการออกล็อตมากไม้เดียวเท่าไร และในกรณีที่เราออกออเดอร์ผิดทางและดันเกิดการ เปลี่ยนเทรนด์ไปอย่างแข็งแรงซึ่งหากไม่มีการกำหนดจุด Stop loss ที่ดีพอก็จะทำให้สามารถเกิดการล้างพอร์ตได้เช่นเดียวกัน

ออกออเดอร์ในลักษณะ martingale

การออกออเดอร์ในลักษณะ martingale นั้นจะว่าไปแล้วก็ยังคงมีความคล้ายคลึงกับระบบกริดเล็กน้อย ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับการใช้งานระหว่างระบบกริดและ martingale มาใช้ร่วมกันจึงทำให้สามารถลดทอนความเสี่ยงได้เป็นอย่างดีดังตัวอย่างในรูปด้านล่าง

A graph on a white surface

Description automatically generated

รูปที่ 4 ออกออเดอร์ในลักษณะ martingale

เพียงแต่ในหัวข้อนี้จะขอพูดถึงระบบการออกออเดอร์ในลักษณะ martingale ให้ฟังแบบคร่าวๆเท่านั้นคือ การที่เราทำการเพิ่มล็อตเข้าไปจากออเดอร์เดิมโดยหวังว่าเมื่อมีการกลับตัวของกราฟเมื่อใด จะทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงในการขาดทุนและเพิ่มกำไรให้เราได้ในเพียงระยะทางอันสั้น ซึ่งหลักการนี้จะออกไปทางการพนันโดยให้เหตุผลอ้างอิงจากความน่าจะเป็นเทียบกับการโยนเหรียญเสี่ยงทายว่าไม่มีทางที่จะโยนเหรียญละออกหัวหรือก้อยเพียงอย่างเดียว….

แน่นอนว่ามันควรใช้หลักการอื่นเข้ามาลดทอนความเสี่ยงด้วย ซึ่งสามารถใช้ความคู่กับอินดิเตอร์ต่างๆได้เป็นอย่างดีและแน่นอนว่าหากมีโอกาสก็จะขอมาเล่าให้ฟังแบบถึงพริกถึงขิงเช่นเดิม…แต่จากกรณีดังกล่าวจะเห็นว่าเมื่อเราทำการมาติงเกลโดยการคูณล็อตเข้าไป 2 เท่า โดยหวังว่าจะมีการกลับตัวมากพอที่จะทำให้เราทำกำไรได้ แต่ถึงอย่างไรก็ตามหาก ณ ขณะนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงเทรนด์แบบสมบูรณ์ก็ยากที่จะทำให้เรากลับมาทำกำไรอีกครั้งแถมยังไม่พออาจจะเสี่ยงขาดทุนจากผลรวมค่าล็อตอันมหาศาลหรือที่เรียกว่าโอเวอร์เทรดอีกด้วย

Overtrade ผิดหรือไม่?

โอเวอร์เทรดนั้นเป็นการเทรดโดยการออกล็อตเป็นจำนวนมากก็จริง แต่ท้ายสุดแล้วสิ่งที่ถูกหรือผิดไม่ใช่การโอเวอร์เทรดแต่อย่างใด…แต่ต้องถามในกรณีกลับกันว่า กลยุทธิ์ที่ใช้อยู่นั้นแท้จริงแล้วผิดหรือไม่? ตัวอย่างรูปที่ 2 การโอเวอร์เทรดนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างไรหากเรามีการสร้างกลยุทธิ์ที่เราสามารถรับความเสี่ยงที่ยอมรับได้รวมไปถึงกลยุทธิ์การ Martingale ดังรูปต่อไปนี้

A graph on a white surface

Description automatically generated

รูปที่ 5 Overtrade ผิดหรือไม่

จะเห็นได้ว่าการมาติงเกลสามารถสร้างกำไรให้เราได้เช่นกันหากเรามีกลยุทธ์และมีความมั่นใจแน่นอนว่าถึงแม้ตอนนี้จะมีการออกออเดอร์ที่ผิดทางและยังคงมีการมาติงเกลไปเรื่อยๆ ซึ่งในจังหวะหนึ่งที่เรามันใจว่าจะมีการกลับตัวอย่างแน่นอน ก็จะทำให้เราสามารถทำกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการควบคุบความเสี่ยงในการ Stop Loss ในจุดที่เรายอมรับได้ถึงแม้จะมีการขาดทุนขึ้นมาก็ถือเป็นความเสี่ยงที่เราเต็มใจยอมรับ “High Risk High Return”

สรุป

โอเวอร์เทรดคือการออกล็อตเป็นจำนวนมากโดยที่ไม่ได้คำนึงถึงจำนวนไม้ที่เกิดขึ้นแต่จะคำนึงถึงผลรวมในการออกล็อตเป็นหลัก ถึงแม้ว่าจะมีการออกล็อตจำนวนน้อยก็ตามแต่หากมีการออกออเดอร์เป็นจำนวนมากก็ไม่ได้มีความแตกต่างกันและยังถือเป็นการโอเวอร์เทรดเช่นเดียวกันนั่นเอง…แต่อย่างไรก็ตามการโอเวอร์เทรดนั้นไม่ได้เป็นสิ่งที่ผิดแต่อย่างใด หากเรามีกลยุทธิ์ในการเทรดที่สามารถยอมรับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นได้แล้วนั้นถือเป็นการเทรดที่มีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon