ทฤษฎีพฤติกรรมราคา : ทฤษฎี Dow
รูปที่ 1 Dow Theory
ที่มา: https://www.marketwatch.com/story/dont-dis-the-dow-theory-just-because-its-over-100-years-old-2018-03-27
ในบรรดาทฤษฎีทั้งหมดที่จะกล่าวเกี่ยวกับพฤติกรรมราคา ทฤษฎี Dow อาจจะเป็นทฤษฎีที่มีเหตุมีผลมากที่สุดก็เป็นได้ ทฤษฎี Dow เกิดจากประสบการณ์ การสังเกตุและเรียนรู้ ทฤษฎี Dow หรือ Dow Theory ถือกำเนิดโดยนักเขียนและบรรณาธิกการ ชื่อ Charles H. Dow เขามีชีวิตช่วงปี ค.ศ. 1851-1902 เป็นผู้ก่อตั้งวารสาร The Wall Street Journal ทฤษฎี Dow จะเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของราคา ซึ่ง ทฤษฎี Dow จะมีองค์ประกอบหลัก 6 องค์ประกอบ ได้แก่
- The market discounts everything
- There are three kinds of market trends
- Primary trends have three phases
- Indices must confirm each other
- Volume must confirm the trend
- Trend persist until a clear reversal
The market discounts everything
ทฤษฎี Dow จะใช้ได้บนสมมุติฐานตลาดที่มีประสิทธิภาพ (efficient markets hypothesis) ตลาดมีประสิทธิภาพ คือ ภาวะที่ไม่มีใครใช้ประโยชน์จากข่าวสาร จากข่าววงใน และตลาดสะท้อนผลของกิจการออกมาหมดแล้ว ตัวอย่างเช่น ผู้บริหาร นักลงทุนรายย่อย รายใหญ่นั้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับการจ่ายปันผลของหุ้น การประกาศผลกำไรนั้นแทบจะพร้อมกัน ทำให้ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบทำให้ราคานี้ไม่มีผลกับการเคลื่อนไหวของราคา
There are three kinds of market trends
ทฤษฎี Dow บอกว่าเทรนด์ในตลาดมีอยู่ 3 ประเภท คือ เทรนด์ใหญ่ และในเทรนด์ใหญ่จะมีเทรนด์เล็ก กว่าเรียกว่า Secondary trend ถ้าจะตีความว่าเป็นเทรนด์รองก็ไม่ผิด หรือการพักฐาน เช่น ถ้าราคาขึ้น การพักฐานลงก็ถือเป็นเทรนด์รอง แต่หลักการนับเทรนด์หลักเทรนด์รองใน Dow Theory นั้นใช้ระยะเวลาเป็นหลัก โดยเทรนด์หลักใช้เวลามากกว่า 1 ปีขึ้นไป ส่วนเทรนด์รองใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์ไปจนถึง 3 เดือน ขณะที่เทรนด์ประเภทสุดท้ายนั้นจะเป็นการแกว่งตัวสั้น ๆ ที่กินเวลาน้อยกว่า 3 สัปดาห์ การตีความเหล่านี้ที่ค่อนข้างตายตัวทำให้มันประสบปัญหาเป็นส่วนใหญ่
Primary trends have three phases
เทรนด์หลัก หรือ Primary trend ยังแบ่งออกเป็นอีก 3 เฟส ดังนี้ แบ่งเป็นดังนี้คือ การสะสมกำลัง (accumulation) คนเข้ามามีส่วนร่วม เป็นช่วงที่ 2 นั่นคือมีการที่ราคาเคลื่อนไวหขึ้นทำให้ดึงความสนใจของคนอื่นได้ ช่วงที่ 3 คือ excess phase ก็คือช่วงที่เทรนด์ใกล้ถึงจุดจบ จริง ๆ แล้วหลักการข้อนี้เป็นหลักการที่มีเหตุผลอยู่เบื้องหลังที่ค่อนข้างชัดเจนและนำไปใช้ได้ ปัญหาของมันมีอย่างเดียวคือ ไม่รู้ว่าตอนนี้เราอยู่ในเฟสไหนเนี่ยแหละ
Indices must confirm each other
ตัวดัชนีอื่น ๆ ต้องสามารถยืนยันการเกิดเทรนด์ได้ ตัวอย่างของทฤษฎี Dow คือ Dow Jones Industrial Average และ Dow Jones Transportation Average (DJTA) ถ้ามันขึ้นทั้งคู่ก็หมายความว่าเทรนด์ขาขึ้นกำลังมาและเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกัน หลักการข้อนี้เป็นจริงในกรณีที่ตลาดยังให้อารมณ์ตลาดที่สอดคล้องกันเท่านั้น ซึ่งมีบางเหตุการณ์ที่ตลาดไม่ได้เคลื่อนไหวสอดคล้องกัน นั่นคือ ตลาดที่แข่งขันสมบูรณ์มาก ๆ แต่ว่าหลักการนี้ทฤษฎีราคาของผมนั้นสามารถอธิบายได้ นั่นทำให้ผมกล้าพูดได้ว่าทำไมทฤษฎี Dow ถึงเป็นทฤษฎีที่ใกล้เคียงความเป็นจริงทฤษฎีหนึ่ง
Volume must confirm the trend
ต้องมีปริมาณการซื้อขายยืนยันเทรนด์เป็นเหตุผลที่ข้าง ๆ คู ๆ มากสำหรับคนที่จะใช้ปริมาณการซื้อขายในการยืนยันเทรนด์ เพราะมันเป็นสิ่งที่ต้องเป็นเช่นนั้นอยู่แล้ว เมื่อเวลาราคาขึ้นปริมาณการซื้อขายก็สูงขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าวันถัดไปมันจะสูงขึ้นด้วย ปริมาณการซื้อขายอาจจะขึ้น ๆ ลง ๆ ก็ได้ แต่ถ้าเรารอสังเกตุว่าให้มันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกวัน ทุกวัน หมายความว่าเราก็คงได้นั่งเฝ้ามองดูเทรนด์มันขึ้นมาแล้วระยะหนึ่ง แล้วเราจะไม่มีคำถามหรือว่า “นี่เราจะเข้าซื้อที่จุดที่แพงที่มันขึ้นมาหลายวันแล้วหรือเปล่า” นี่แหละปัญหาของคนที่ใช้ Volume ในการยืนยันเทรนด์
Trend persist until a clear reversal
เทรนด์จะยังคงเกิดต่อไปจนเกิดรูปแบบการกลับตัวที่ชัดเจน แน่นอนว่า มันก็ต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่เราเห็นรูปแบบการกลับตัวแล้วมันจะเกิดประโยชน์อะไรหล่ะ เพราะเราไม่สามารถเข้าเทรดได้อยู่ดีเพราะว่าเทรนด์มันก็จบไปแล้ว ครั้นจะไปเข้าเทรดจุดกลับตัว หรือพักฐานมันก็ไม่รู้จะกินเวลานานมากเท่าไหร่ ทำให้เราเสี่ยงที่จะตัดสินใจ
เป็นไปได้ไหมที่จะใช้มันในการเทรด
รูปที่ 2 ผลกระทบจาก Dow Theory ต่อตลาด
ที่มา: https://blog.tradesmartonline.in/have-you-ever-heard-about-dow-theory-in-stock-market-have-a-glimpse-of-it-on-our-blog/
จากหลักการของทฤษฎี Dow ข้างต้นทั้งหมด 6 ข้อ เป็นไปได้ไหมที่จะใช้มันในการเทรด ก็เป็นอย่างที่ได้อธิบายไปว่า ทฤษฎีบางข้อมันดูสวยหรูแต่มันสังเกตุได้หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นไปแล้ว เมื่อเรารู้ว่ามันเกิดขึ้นไปแล้วเราจะใช้ประโยชน์จากมันยังไง คนที่ดูดวงจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต จะว่ายังไงก็ได้มันเกิดไปแล้ว แต่พอเรานำมาใช้ในอนาคต มันก็เป็นปัญหาอยู่วันยังค่ำ
อย่างไรก็ตาม ทฤษฎี Dow มีบางข้อที่มีสมมุติฐานน่าสนใจในการนำไปใช้ แม้ผู้เขียนจะไม่ได้พัฒนาวิธีการเทรดจากทฤษฎีนี้ แต่วิธีการคิดกลับมีความใกล้เคียงกัน ถ้าหากติดตามบทความไปเรื่อย ๆ จะได้เห็นทฤษฎีราคาที่ผมใช้ ซึ่งสามารถประมาณการได้และสอดคล้องกับความเป็นจริงมากกว่า สามารถนำมาใช้ตามหลักการได้มากกว่าที่มีนำเสนออยู่ในตลาด ในส่วนของทฤษฎี Dow คงบอกได้ว่าเป็นทฤษฎีที่มีความเป็นไปได้สูงในบางข้อขององค์ประกอบแต่จะให้ใช้หลักการนี้ไปเสียหมดคงไม่ดีเท่าไหร่ เพราะตลาด Forex แตกต่างจากตลาดหุ้นตรงที่ตลาดมีความเป็นอิสระสูงปราศจากการแทรกแซงเพราะว่า มันมีขนาดใหญ่มาก ๆ นั่นเอง
Keywords: Dow Theory หลักการของทฤษฎี Dow การใช้ทฤษฎี Dow ใน Forex
ทีมงาน : www.thaibrokerforex.com