เกาะเคย์แมนไม่ได้มีดีแค่ทะเลสวย น้ำใส หรือ รีสอร์ทหรูหราเท่านั้น แต่ ณ เกาะแห่งนี้ยังมีหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินที่น่าสนใจอย่าง Cayman Islands Monetary Authority (CIMA) ที่ทำหน้าที่เป็น ผู้คุ้มกฎ เกมการเงินคนสำคัญของเกาะนี้อีกด้วย

ใบอนุญาต CIMA คืออะไร

License CIMA คือ ใบอนุญาต หรือ ใบที่เป็นดั่งเครื่องหมายว่า สถาบันการเงินนั้น ๆ สามารถเปิดและดำเนินกิจการในเขตของเกาะเคย์แมนได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งใบอนุญาตนี้จะออกโดย CIMA เท่านั้น

กระบวนการออก License รวมถึงการประเมินความเหมาะสม, ความสามารถของกรรมการและเจ้าหน้าที่อาวุโสจะทำตามขั้นตอนของ CIMA อย่างเข้มงวด มันจึงส่งผลให้ CIMA เป็นหน่วยงานที่น่าเชื่อถือในระดับสากลครับ

บทบาทและหน้าที่ของ CIMA

ในหัวข้อนี้คำว่า “บทบาท” หมายความว่า ภารกิจหลักหรือความรับผิดชอบที่ CIMA ต้องทำเพื่อให้การกำกับดูแลและควบคุมสถาบันการเงินเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ คำว่า “หน้าที่” คือ การดำเนินงานเฉพาะทางที่ CIMA ต้องทำเพื่อให้บรรลุผลตามบทบาทที่กำหนดไว้ ครับ ดังนั้นเราดู บทบาท และ หน้าที่ ของ CIMA กัน!

บทบาทของ CIMA

  • กำกับดูแล และ ควบคุม: ทาง Regulator จะเข้ามามีบทบาทในการดูแล และ ควบคุมให้สถาบันการเงินภายใต้การดูแลของเขาทำกิจการที่อยู่ในกฎระเบียบ ไม่นอกกรอบ
  • การจัดการเงิน: อีกหนึ่งบทบาทของ Regulator คือ ต้องรับผิดชอบการถอนเงินตราของหมู่เกาะเคย์แมน รวมไปถึงจัดการทุนสำรองเงินตราด้วย
  • ผูกมิตรกับชาติอื่น: ทาง Regulator จะคอยให้ความช่วยเหลือแก่หน่วยงานต่างชาติเสมอ ทั้งนี้เป็นการดีต่อความสัมพันธ์ของเคย์แมนและชาติอื่น ๆ
  • เป็นที่ปรึกษาที่ดี: ที่ผ่านมา CIMA ได้ให้คำแนะนำที่ดีแกรัฐบาลเกี่ยวกับการเงินมาโดยตลอดซึ่งทำให้เศรษฐกิจของเคย์แมนไปต่อได้ด้วยดีครับ

หน้าที่ของ CIMA

  • ออกใบ License และ คอยตรวจสอบ: ทาง Regulator มีอำนาจที่จะให้ License หากผู้สมัครสามารถผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ไปได้ และมีอำนาจในการตรวจสอบความถูกต้องของสถาบันภายใต้การดูแลครับ
  • การป้องกันการฟอกเงิน: สถาบันทางการเงินที่อยู่ภายใต้ CIMA จะต้องทำตามมาตรการนี้อย่างเข้มงวดครับ ไม่งั้นอาจจะทำให้เสียชื่อเสียของเคย์แมนได้ แถมยังเป็นภัยต่อเศรษฐกิจในเคย์แมนอีกด้วย
  • การส่งเสริมความมั่นคง: ทาง Regulator จะคอยให้ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ ของเคย์แมนเพื่อทำให้คนของพวกเขามีทักษะในด้านการเงิน การทำแบบนี้อาจจะส่งผลให้ชาวเคย์แมนมีโอกาสทางการเงินมากขึ้นครับ
  • จัดการความเสี่ยง: อันนี้จะเป็นการควบคุมสถาบันการเงินไม่ให้ทำอะไรที่เสี่ยงมากเกินไป เช่น การออกโปรโมชั่นแปลก ๆ รวมไปถึงการอนุญาตให้นักลงทุนใช้ Leverage ที่มากเกินไปด้วยครับ

รูปที่ 1 สรุปหน้าที่หลักของ Regulator CIMA

CIMA กำกับดูแลใครบ้าง

Regulator ชั้นนำแบบนี้ก็ต้องรับภาระหน้าที่หนักอยู่แล้วเนอะ เป็นเรื่องธรรมดา ดังนั้นเขาจึงต้องกำกับดูแล

  • โบรกเกอร์ Forex และ CFDs: อันนี้สิ่งที่ Regulator ต้องจับตาดูครับ เพราะโบรกเกอร์เถื่อนมีเยอะเหลือเกิน และมีหลาย ๆ คนที่ต้องหมดเงินเพราะใช้โบรกเกอร์เถื่อน
  • ธนาคาร: แน่นอนครับว่าสถาบันการเงินใหญ่ ๆ อย่าง ธนาคาร ก็ไม่รอจากสายตาของ Regulator ครับ
  • บริษัททรัสต์: ทาง CIMA จะคอยตรวจสอบเสมอ ๆ ครับว่า สินทรัพย์ของผู้บริโภคจะอยู่ในบริษัททรัสต์ดีแค่ไหน ถ้าฉ้อโกงล่ะก็เห็นดีกัน
  • การจัดการบริษัท: บริษัทการเงินอื่น ๆ ก็เป็นหน้าที่ของ CIMA ครับที่ต้องคอยตรวจสอบอยู่เรื่อย ๆ เพราะถ้าละเลยอาจจะมีคนลักไก่ได้
  • บริษัทประกันภัย: อันนี้ตัวเบี้ยวเงินลูกค้าเลย แต่ถ้าบริษัทประกันภัยไหนไม่ยอมจ่ายเงินให้ลูกค้า หรือ มีการบิดเงินประกันล่ะก็ โดนลงดาบแน่
  • กองทุนรวม: กองทุนใด ๆ ก็ไม่รอดครับโดยเฉพาะกองทุนรวม เพราะเขาต้องเป็นคนจัดการสินทรัพย์ให้ลูกค้า ถ้าดันไปบริหารเงินด้วยความเสี่ยงเกินมาตรฐานล่ะก็ โดนแน่ ๆ

รูปที่ 2 สรุปแล้ว CIMA กำกับดูแลสถาบันการเงินไหนบ้าง

ครอบคลุมกลุ่มคนในประเทศไหนบ้างล่ะ

โครงสร้างการกำกับดูแลของ CIMA ถูกออกแบบมาเพื่อให้ดูแลระบบการเงินของเกาะเคย์แมนครับ แต่ถ้าคุณเป็นบุคคลธรรมดาที่เดินเล่นริมชายหาด กินน้ำมะพร้าวเย็น ๆ สบาย ๆ CIMA ไม่ได้มายุ่งกับคุณแน่นอน! เพราะหน้าที่หลักของเขาคือการดูแลบริษัทใหญ่ ๆ ที่ทำธุรกิจอยู่ในเกาะนี้เท่านั้น

ใบอนุญาต CIMA น่าเชื่อถือไหม

เรื่องของความน่าเชื่อถือของ License CIMA ก็ไม่ถือว่าแย่ครับ แม้เขาจะถูกจัดให้อยู่ใน Regulator Rank C หรือ Tier 3 แต่เมื่อเทียบกับตัว Top ของวงการอย่าง FCA ที่อยู่ Rank A แล้วความเคร่งในเรื่องของกฎระเบียบก็พอ ๆ กันครับ

เงื่อนไขในการรับใบอนุญาต Forex ของ CIMA

สำหรับคนที่อยากเข้าร่วมกับ CIMA นะครับ คุณจะต้องผ่าน 5 ด่านนี้ไปให้ได้ซึ่งไม่ยากเลยจริง ๆ แถมต้นทุนต่ำด้วย

  1. เตรียมเงินค่าลงทะเบียน 1,000 KYD และค่าคอมมิชชั่นรายปี 10,000 KYD (1 KYD = 1 USD)
  2. เตรียมบัญชีงบดุลของบริษัทเอาไว้ให้พร้อม ที่สำคัญไปจัดการเรื่องภาษีซะก่อนด้วย
  3. ส่งรายงานการเงินให้ทาง CIMA ตรวจสอบพร้อมรายงานการฟอกเงิน
  4. ต้องมีคณะกรรมการบริษัทที่ยื่นขอ License ที่มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้บริหารอย่างน้อย 5 ปี
  5. ทำตามข้อกำหนดมาตร AML หรือ มาตรการป้องกันการฟอกเงิน ซึ่งเขาจะดูจากนโยบายของบริษัทด้วยครับ

วิธีตรวจสอบใบอนุญาต CIMA ยังไง

  1. เข้าไปที่ Website ของ CIMA -> Click
  2. กรองชื่อโบรกเกอร์ลงในช่อง “Enter Name” -> กด ฉันไม่ใช่โปรแกรมอัตโนมัติ -> กด Submit

รูปที่ 3 วิธีการเช็ค License CIMA

ตัวอย่างการลงโทษของ CIMA

CIMA สายโหด ปรับ Intertrust ทะลุ 200 ล้านบาท เหตุไม่สนกฎหมายฟอกเงิน (AMLRs)

เรื่องมันมีอยู่ว่า… Intertrust Corporate Services (Cayman) Limited บริษัทใหญ่โตโดน CIMA สั่งปรับเป็นจำนวนเงิน CI$4,232,607 หรือราว 150 ล้านบาทไทย จากความผิดฐานละเลยการป้องกันการฟอกเงิน (ไม่ตรวจสอบลูกค้า, ที่มาของเงิน, เอกสารประกอบธุรกิจ, การระบุตัวตนเจ้าของที่แท้จริง และอื่นๆ)

แต่ Intertrust ไม่ยอมครับ ใครจะยอมเสีย 150 ล้านบาทกันง่ายๆล่ะคร้าบ มาถึงขั้นนี้แล้ว..ต้องสู้ให้สุด ไปหยุดที่ศาลเท่านั้น จนสุดท้ายแพ้คดี แถมยังโดนค่าดำเนินการเพิ่มอีกดอก จุกๆ สรุปจบที่ต้องจ่าย CI$5,000,000 (ทะลุ 200 ล้านบาทไทยไปเลย) เรียกว่างานนี้ CIMA เอาจริง ปรับจริง โหดจริง ไม่มีไว้หน้าใครครับ เหตุเกิดเมื่อปี 2022 นี้เอง

ซึ่งทาง CIMA ก็มีการจัดทำ Administrative Fines เป็นคอลเลชั่นรวมฮิตค่าปรับให้เห็นกันแบบชัดๆ ใครอยากรู้ว่า Broker ไหนโดนปรับกันไปเท่าไหร่บ้าง ข้อหาอะไร ตามไปส่องกันได้นะครับ

ตัวอย่าง 7 โบรกเกอร์ Forex ภายใต้การดูแลของ CIMA

  1. Vantage
  2. IC Markets
  3. ATC Brokers
  4. ThinkMarkets
  5. forex.com
  6. EBC Financial
  7. multibankfx

รายชื่อโบรกเกอร์ทั้งหมด สามารถดูได้ที่ลิ้งก์นี้เลยครับ

สรุป

ที่เกาะเคย์แมนแห่งนี้ ไม่ได้มีดีแค่ทะเลใสๆ หาดทรายขาวๆ เท่านั้นนะ! แต่ยังมี CIMA ผู้คุมเกมการเงินที่ดูแลธนาคาร, โบรกเกอร์ Forex และบริษัทประกันภัย เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปตามกฎอย่างเคร่งครัด แม้ว่าจะอยู่ใน Rank C หรือ Tier 3 แต่ CIMA ก็ยังถือว่าน่าเชื่อถือได้ด้วยการควบคุมที่เข้มงวดสุดๆ! ใครอยากได้ใบอนุญาต ต้องผ่านด่านหลายชั้น แถมต้องมีงบพร้อม และทำตามมาตรการ AML ไม่งั้นโดนตัดทิ้งแน่นอน!

อ้างอิง