วันนี้เป็นบทสรุปของกราฟแท่งเทียน เพราะว่า หมดแล้วเกี่ยวกราฟแท่งเทียน ที่ผมให้คือแนวคิด ไอเดีย เกี่ยวกับกราฟแท่งเทียน ไม่ได้หมายความว่า รูปแบบของกราฟแท่งเทียนจะมีเพียงเท่านั้น แต่ว่า รูปแบบอื่น ๆ และการใช้งาน ท่านสามารถหาได้จากเว็บไซต์ หรือใน Google ก็สามารถหาได้ง่าย โดยที่ไม่ต้องไปจดจำมากนัก

 
โดยมากผมจะไม่สอนให้เทรดเดอร์ที่ผมฝึกจำกับรูปแบบ แต่ว่าให้หัดใช้ให้คล่อง คำว่าใช้ให้คล่องนี้หมายความว่า จริง ๆ แล้วเวลาเรานำไปใช้นั้นมันจะมีไม่กี่รูปแบบที่เราถนัดและเป็นรุปแบบเฉพาะที่เราเข้าใจได้ง่าย ดังนั้น ถ้าหากเราจำ มันก็ไม่เข้าหัวเท่าไหร่ แต่ถ้าเราใช้เราจะจับรายละเอียดของมันได้มากกว่า เนื่องจากว่ามันต้องมีองค์ประกอบย่อยอื่น ๆ ในการพิจารณาด้วยเช่นกัน

บทสรุปกราฟแท่งเทียน

ผมเคยพูดไปแล้วเกี่ยวกับ คำพูดของ Bruce Lee ว่า “ผมไม่กลัวคนเตะได้ 1 หมื่นท่า แต่ผมกลัวคนที่เตะท่าเดียว 1 หมื่นครั้ง” มันมีสุภาษิตไทย จากไหนก็ไม่ทราบ ที่บอกว่า “รู้อะไรให้รู้แต่อย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” คือทำอะไรสักอย่างไปเลย แล้วเก่งให้ไม่มีใครเทียบ ก็จะสามารถอยู่เหนือกกว่าคนอื่นได้ ในวันนี้ก่อนที่จะสรุปเรื่องกราฟแท่งเทียน ก่อนจะปิด Class ไป ผมขอทิ้งไว้สัก 1 เรื่อง คือ การใช้กราฟแท่งเทียน ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ

ที่ผ่านมาเราเรียนรู้เรื่องแนวรับแนวต้านไปแล้ว และเราได้เรียนรู้เรื่องกราฟแท่เงทียนด้วย โดยรูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การเรียนรู้และการพลิกแพลงประยุกต์ใช้ก็เป็นส่วนสำคัญในการเทรด ในตัวอย่างนี้ผมจะยกตัวอย่างการใช้กราฟแท่เงทียน ร่วมกับแนวรับแนวต้าน

เทคนิคแบบนี้จะสามารถเพิ่มความแม่นยำในการเทรดให้เราและสามารถสร้างความมั่นใจในการเทรด โดยเป็นการวางแผนการเทรดที่ชัดเจนและสามารถป้องกันความเสียหายได้ชัดเจน โดยเรามาดูวีการใช้ รูปแบบกราฟแท่งเทียนพร้อมกับแนวรับแนวต้านดังต่อไปนี้

แนวรับแนวต้านและกราฟแท่งเทียน

ภาพที่ 1 แสดงแนวรับแนวต้านและกราฟแท่งเทียน

ในรูปจะเห็นว่าผมได้ขีดเส้นแนวต้านไว้ ราคา ซึ่งเป็นกราฟ EURUSD ของ Time Frame 4H โดยแนวรับแนวต้านนี้ควรจะลากมาจากจุดก่อนหน้าเสียด้วยซ้ำ แต่เนื่องจากว่า ให้เข้าใจง่ายก็เลยลากจุดที่เห็นได้ชัดดีกว่า ในวงกลมแรกด้านซ้ายสุด จะเห็นว่า เป็นกลุ่มของกราฟแท่งเทียน ที่มี Hammer กับ Shooting Star เกิดขึ้นตรงจุดนั้น จุดที่ผมจะเน้น คือ การเกิดรูปแบบการกลับตัวที่บริเวณแนวรับและนวต้าน มันหมายความว่า มีแนวโน้มสูงมากที่มันจะเกิดการกลับตัวของราคา  ณ ระดับแนวต้านนั้น ซึ่งการเกิดรูปแบบ Hammer หรือ Shooting Star อาจจะเกิดได้หลายจุดก่อนหน้าจุดแนวต้านนี้ แต่ถ้าเราเลือกที่จะเทรด เช่นว่า จะเลือกตั้งกฏการเทรด ที่เกิดรูปแบบกราฟแท่งเทียนกลับตัว บริเวณแนวต้าน แล้วจึงค่อยเทรด ทำให้เราเจอสัญญาณเทรดหลอกน้อยมากมาเพราะว่า เกณฑ์ของเราจะช่วยกรองความแม่นยำเพิ่มขึ้น

จุดที่  2 เช่นเดียวกันตรงกลาง จะเห็นการเกิด Shooting Star หลังจากที่ราคาชนแนวต้าน ซึ่งหลังจากไม่นานประมาณ 1 แท่งราคาก็พุ่งลง แต่ไม่ได้หมายความว่า รูปแบบการเกิดการกลับตัวจะต้องเป็นรูปแบบ Shooting Star เท่านั้น รูปแบบไหนก็สามารถเกิดการกลับตัวได้ อย่างไรก็ตาม พึงสังเกตุไว้ด้วยว่า การกลับตัวของกราฟแนวต้าน ที่แนวต้านเดียวกันนี้ ค่อย ๆ ลดระดับลงมาเรื่อย ๆ นั่นคือสิ่งที่เราต้องสังเกตุ ขณะที่อีกอย่างหนึ่ง ไม่มีอะไรที่จะเป็นไปอย่างที่เราคิดตลอดไป ดังนั้น เมื่อเกิดการกลับตัวที่แนวต้านบ่อย ๆ แบบนี้ สิ่งที่ผมจะทำคือ การปรับลดความเสี่ยงของแต่ละครั้งลงไป  เช่น การลด Lot ในการเทรด เพื่อให้การเทรดนั้นปลอดภัยมากขึ้น เรากำไรครั้งแรกแล้ว กำไรครั้งที่ 2 แล้ว ครั้งที่ 3 เราอาจจะต้องลด Lot ลง จำนวนหนึ่งขณะที่เพื่อให้ Risk Reward เท่าเดิม เราสามารถใช้เทคนิคการปรับระยะทางในการทำกำไรเพิ่มขึ้นทำให้  Reward ของเราไม่ลดลงนั่นเอง

สิ่งหนึ่งที่ผมทำให้เห็นคือ การปรับใช้ Techniques ในการเทรดต่าง ๆ เช่น การปรับ Stop loss การปรับ Take Profit การใช้แนวรับแนวต้าน ไม่เพียงเท่านั้น เรายังสามารถใช้เครื่องมืออื่น ๆ ที่เราจะได้เรียนหลังจากนี้ในการเทรด ครับ เช่น การใช้ Fibonacci Level กับ รูปแบบกราฟแท่งเทียน การใช้ Stochastic กับกราฟแท่งเทียน หรือการใช้ pattern ต่าง ๆ ใช้ร่วมกันทำให้การวิเคราะห์ทางเทคนิคของเรามีโอกาสที่จะทำกำไรได้มากขึ้น ไม่จำกัดเพียงแค่ การใช้เครื่องมือเพียงอย่างเดียว แล้วสุดท้ายจบด้วยผลขาดทุนแล้วบอกว่าเทคนิคนี้ไม่เวิร์ค

เขียนโดย

Pakornkiat Poonsuk

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chatchawal Nakcharoen