Capital Markets Authority (CMA) คือ หน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงิน รวมไปถึงสถาบันการเงินของประเทศเคนย่าครับ โดยเขาจะคอยเล่นบทสำคัญ ๆ หลายอย่าง และเป็นดั่งกำแพงที่แข็งแรง ซึ่งมันจะปกป้องจากกลุ่มแก๊งที่จะเอาเปรียบคนอื่นทางการเงินครับ

ใบอนุญาต CMA คืออะไร

License CMA คือ ใบอนุญาตให้สถาบันการเงินนั้น ๆ สามารถดำเนินกิจการในประเทศเคนยาได้ ซึ่งใบนี้จะถูกออกได้เฉพาะ CMA เท่านั้น เนื่องจากเขาเป็นหน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินในตลาดเคนย่าครับ

แล้วใบนี้มันมีความสำคัญยังไงบ้าง? ในทางปฏิบัติแล้ว License CMA มีความสำคัญมากครับ เพราะมันเป็นดั่งเครื่องหมายยืนยันว่าสถาบันการเงินที่ได้รับการออกใบอนุญาตนี้มีความโปร่งใส, ปฏิบัติตามกฎระเบียบ, และมีความมั่นคงทางการเงินตามมาตรฐานครับ ดังนั้น ใบอนุญาตนี้จะสร้างความน่าเชื่อถือให้กับบริษัทที่ดำเนินงานในตลาดทุนของเคนยา

บทบาทและหน้าที่ของ CMA

จริง ๆ แล้ว Regulator ก็คล้าย ๆ กับ ผู้คุมเกม ในโลกของการเงินนั่นแหละครับ โลกการเงินไม่มีคนคุ้มให้ผู้เล่นอยู่ในกรอบกติกา มันคงจะวุ่นวายน่าดูเชียว ดังนั้นเรามาดูบทบาทและหน้าที่หลัก ๆ ของทาง CMA กันครับ

  • ออก License ให้: Regulator มีหน้าที่ออกใบอนุญาตให้แกสถาบันการเงินที่ผ่านการลงทะเบียน เหมือนให้บัตรผ่านเข้าสนามรบการเงินครับ ใครอยากเล่นก็ต้องขออนุญาตก่อนนะ CMA จะตรวจสอบอย่างเข้มงวด ใครไม่ผ่านก็อดเล่น ซึ่งกว่าจะผ่านขั้นตอนการสมัครและตรวจสอบไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ เลย
  • ดูแลตรวจสอบ: หากสถาบันการเงินใดผ่านการตรวจสอบ จนสามารถครอบครอง License ได้แล้ว ก็ใช่ว่าจะจบนะครับ เพราะทาง Regulator เขาจำเป็นต้องคอยตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอตามระเบียบของเขาครับ
  • คุ้มครองนักลงทุน: หนึ่งในหน้าที่หลัก CMA คือ การคุ้มครองนักลงทุน หรือ เทรดเดอร์นี่แหละครับ ถามว่าคุ้มครองยังไง? เขาก็จะคุ้มครองด้วยการบังคับใช้กฎหมายและดำเนินคดีกับผู้ที่ฉ้อโกงให้ยังไงล่ะครับ
  • จัดทำนโยบายและให้คำปรึกษา: ทาง Regulator จะคอยร่างนโนบาย, และให้คำแนะนำกับรัฐบาลว่าควรปรับปรุงอะไรบ้างครับ
  • ความร่วมมือระดับสากล: อันนี้จริง ๆ แล้ว Regulator ต่างๆจะประสานงานกับสถาบันต่างชาติอยู่เสมอ CMA ก็เช่นกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ จะได้พัฒนาให้ดีขึ้นไปอีก

รูปที่ 1 สรุปหน้าที่หลักของ CMA

CMA กำกับดูแลใครบ้าง?

CMA ดูแลผู้เล่นหลากหลายในสนามการเงินของเคนยา ครอบคลุมทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการเงินเลยก็ว่าได้ ซึ่งเราสามารถแบ่งกลุ่มที่อยู่ภายใต้การดูแลของ CMA ได้ดังนี้ครับ

  • ตัวกลางทางการตลาด: ยกตัวอย่างเช่น ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์, สำนักฝากหลักทรัพย์, บริษัทโบรกเกอร์หุ้น หรือสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายและการชำระบัญชีหลักทรัพย์
  • บุคคลที่ได้รับอนุญาต: อันนี้นับรวมบริษัทที่ได้รับอนุญาตด้วยครับ เช่น ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการกองทุน หากไม่มีใบอนุญาตจาก CMA ก็เท่ากับว่า “หมดสิทธิ์เล่น” ในเกมนี้!
  • ผู้ออกหลักทรัพย์: บริษัทและองค์กรที่ออกหลักทรัพย์เพื่อเสนอขายให้แก่ประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการเปิดขายหุ้นหรือการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทที่ออกหุ้น IPO นั้นแหละครับ
  • กองทุนรวม: อันนี้ไม่นับรวมพวกกองทุน Forex ที่เขาประกาศกันปาว ๆ นะครับ
  • โบรกเกอร์ Forex และ CFDs: ทาง Regulator ยังคุมเข้มโบรกเกอร์ออนไลน์ที่ให้บริการเทรด Forex และ CFDs ครับ

ครอบคลุมกลุ่มคนในประเทศไหนบ้างหล่ะ?

CMA (Capital Markets Authority) จะทำหน้าที่ในเขตอำนาจของประเทศที่ตั้งอยู่ ซึ่ง CMA ของเคนยา เขาก็จะกำกับดูแลกิจกรรมตลาดทุนในประเทศเคนยา แต่เดี๋ยวก่อน!! มี CMA อีกที่นะ อยู่ไกลถึงซาอุดีอาระเบีย และเป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนเหมือนกันด้วย แถมชื่อก็คล้ายๆกันอีก “แค่ไม่มีตัวs” คือ Capital Market Authority แต่ถึงชื่อจะเหมือน แต่ก็ไม่ได้มีหน้าที่อะไรเกี่ยวข้องกันนะครับ และวันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่ CMA เคนยา ครับผม 😀

ใบอนุญาต CMA น่าเชื่อถือไหม?

ก็ต้องบอกว่าใบอนุญาต CMA น่าเชื่อถือในระดับที่ดีเลยครับ  ถึงจะไม่ได้อยู่ในระดับท็อปสุด เพราะอยู่ใน Group B หรือ Tier 2 แต่ก็ถือว่าเชื่อถือได้ โดยเฉพาะในประเทศที่หน่วยงานนี้กำกับดูแลอย่างเคนยา เหตุผลก็เพราะ CMA มีมาตรฐานการกำกับที่เข้มงวด คุ้มครองผู้บริโภคดี และมีความโปร่งใสในตลาดการเงินครับ

รูปที่ 2 CMA เป็น Regulator ที่น่าเชื่อถือมากเป็นอันดับต้น ๆ เลยนะ

เงื่อนไขในการรับใบอนุญาต Forex ของ CMA

ถ้าใครอยากเปิดโบรกเกอร์ Forex ในเคนยา คุณอาจจะต้องผ่านด่านที่กำหนดโดย CMA ซะก่อนครับ ซึ่งขั้นตอนจะมีอะไรบ้างนั้น เดี๋ยวเรามาดูสรุปกันเลย

  • โครงสร้างบริษัท: คุณต้องจดทะเบียนบริษัทแบบ จำกัด ในเคนยา และมีคณะกรรมการบริหารที่ดูแลการดำเนินงานของโบรกเกอร์
  • ทุนจดทะเบียน: คุณต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 50 ล้านชิลลิงเคนยา (ประมาณ 13 ล้านบาท) สำหรับใบอนุญาตแบบ dealing และ 30 ล้านชิลลิงเคนยา (ประมาณ 7 ล้านบาท) สำหรับใบอนุญาตแบบ non-dealing และต้องคงเงินทุนนี้ไว้ตลอดการดำเนินงานครับ สามารถดูได้ที่ Licensing Checklists แล้วเลือก Online Forex Brokers ครับ
  • สถานที่ตั้ง: โบรกเกอร์ต้องมีสำนักงานที่มีความปลอดภัยและเข้าถึงได้ ซึ่งต้องได้รับการอนุมัติจาก Regulator
  • เตรียมทีมบริหารให้พร้อม: ต้องมีทีมบริหารที่มีประสบการณ์ในการเทรด Forex และพนักงานเต็มเวลาอย่างน้อย 3 คน
  • เทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานต้องแข็งแรง: ระบบและเทคโนโลยีต้องแข็งแรงเพียงพอเพื่อให้มั่นใจว่าการเทรดมีความปลอดภัยและเชื่อถือได้ครับ
  • ทำตามกฎหมายป้องกันการฟอกเงิน: ต้องมีโปรแกรมป้องกันการฟอกเงินที่เข้มงวด พร้อมระบบตรวจสอบธุรกรรมและการระบุตัวตนลูกค้า
  • ซื้อประกันภัย: ต้องมีการประกันภัยที่เพียงพอ เช่น ประกันภัยจากการฉ้อโกงเพื่อป้องกันความเสียหาย
  • ทำตามกฎหมาย: โบรกเกอร์ต้องทำตามกฎหมายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับตลาดทุนในเคนยา
  • ค่าธรรมเนียมการสมัคร: ต้องชำระค่าธรรมเนียมการสมัคร 10,000 ชิลลิงเคนยา (ประมาณ 6,700 บาท) ซึ่งไม่สามารถขอคืนได้
  • เตรียมเอกสารให้ครบ: Regulator อาจตรวจสอบประวัติของผู้สมัครและคณะกรรมการครับ เมื่อผ่านการอนุมัติแล้ว โบรกเกอร์ Forex ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดในการรายงานและการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ เช่น รายงานโครงสร้างความเป็นเจ้าของ การเงิน และระบบการเทรด เพื่อให้ใบอนุญาตยังคงใช้ได้ครับ!

วิธีตรวจสอบใบอนุญาต CMA ยังไง

  1. เข้าไปที่ Website ของ CMA -> Click
  2. กรองชื่อโบรกเกอร์ หรือ หมายเลขใบอนุญาต ลงในช่อง Search -> จากนั้นกด Search

รูปที่ 3 ตัวอย่างวิธีการเช็คใบอนุญาตของ CMA 

ตัวอย่างโบรกเกอร์ Forex ไหนบ้างที่ถูก CMA ลงโทษ

เท่าที่ผมหาข้อมูลเจอ พบเพียง 1 โบรกเกอร์ที่เขาถูก Regulator ลงโทษ (ใครเจออีกก็มาบอกกันด้วยนะ) โดยโบรกเกอร์ดังกล่าวคือ EGM Securities และสาเหตุที่เขาถูกลงโทษเนื่องจาก เขาดันไปตุกติกในส่วนของการการดำเนินงาน online ในบางข้อ ทำให้ทาง CMA ออกมาแจ้งเตือนให้ปรับ ซึ่งโบรกก็ไม่ได้สนใจที่จะแก้ไข ทาง CMA ก็จัดเต็มให้ซะเลย

และยังมีกรณีอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Forex Broker เช่น  ION Investment Group โดนปรับไป 14 ล้านบาท เพราะไปเข้าซื้อ Broadway Technology Holdings ซึ่งโดนห้ามแล้วก็แอบมาทำงานร่วมกันแบบลับๆอีก (ต้องอธิบายก่อนว่า ทั้ง ION และBroadway เนี่ย เขาเป็นบริษัทที่ทำระบบเทรดหุ้นให้พวกธนาคารใหญ่ๆใช้กัน) พอ ION ซื้อ Broadway ไป CMA ก็เริ่มกังวลว่าลูกค้าจะไม่มีตัวเลือก จะเป็นการผูกขาดการค้ากันครับ

10 โบรกเกอร์ Forex ภายใต้การดูแลของ CMA

  1. Exness
  2. Pepperstone
  3. GMI Markets
  4. Admiral Markets
  5. CXM Direct
  6. VT Markets
  7. HFM (HotForex Markets)
  8. FP Markets
  9. IC Markets
  10. Windsor Markets Kenya

ตรวจสอบได้ที่ List of Licensees

สรุป

CMA เป็นหน่วยงานกำกับดูแลตลาดการเงินของเคนยา มีบทบาทในการออกใบอนุญาต ตรวจสอบ และคุ้มครองนักลงทุนในตลาดทุน ใบอนุญาต CMA มีความน่าเชื่อถือในระดับดี แม้จะไม่ใช่ระดับท็อปสุด แต่ถ้าใครคิดจะมาโกงก็ยากหน่อยนะ แต่!!! จะมีอีกใบอนุญาตหนึ่งที่ชื่อคล้ายๆกันเลย คือ CMA ของซาอุฯ ก็มีบทบาทสำคัญไม่แพ้กันเลย ไว้มีโอกาสจะมาเล่าให้ฟังถึงความเข้มแข็งของหน่วยงานกำกับดูแลตลาดทุนในอีกซีกโลกหนึ่งนะครับ

อ้างอิง

  1. https://www.imanet.org/ima-certifications/cma-certification
  2. https://www.becker.com/blog/cma/cma-benefits-top-reasons-to-become-a-cma
  3. https://cma.org.sa/en/Awareness/Pages/Regulations.aspx
  4. https://www.cma.or.ke/about-us/
  5. https://cma.org.sa/en/RulesRegulations/FAQ/Pages/faq5.aspx
  6. https://cma.org.sa/en/RulesRegulations/Pages/default.aspx
  7. https://www.cma.rw/index.php?id=16
  8. https://cmarcp.or.ke/images/Docs/2018/cmahandbook.pdf
  9. https://cma.org.sa/en/Awareness/Pages/Regulations.aspx