ถ้าพูดถึงดูไบ คุณจะคิดถึงอะไรกันครับ หลาย ๆ คนอาจนึกถึงตึกระฟ้าสูงเสียดฟ้ากับอาบังมหาเศรษฐีและวิวหรูหราใช่ไหมครับ จริง ๆ แล้วดูไบมีอะไรที่มากกว่านั้นครับ โดยเฉพาะสิ่งที่ทำให้ให้ดูไบเป็นศูนย์กลางระดับโลก อย่าง Dubai Financial Services Authority (DFSA) ที่คอยคุมเกมส์การเงินอยู่นั่นเอง

ใบอนุญาต DFSA คืออะไร

ใบอนุญาต DFSA คือ License ที่ออกโดย DFSA ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) ทางการเงินในเขตดูไบ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ครับ.. ซึ่ง License นี้มีความสำคัญมาก ๆ สำหรับสถาบันการเงิน หรือ โบรกเกอร์ Forex ที่ต้องการเปิดในเขตดูไบครับ

อย่างไรก็ตาม DFSA ไม่ใช่ องค์กรของรัฐโดยตรง แต่พวกเขาเป็นองค์กรอิสระที่จัดตั้งโดยรัฐบาลของดูไบเท่านั้นเองครับ ซึ่งทาง DFSA เองก็มีบทบาทหน้าที่หลากหลายด้วยกันขึ้นอยู่กับบริบทครับ

บทบาทและหน้าที่ของ DFSA

หน้าที่ของ DFSA มีเยอะจริง ๆ ครับ อาจจะไม่แตกต่างกับ Regulator ค่ายอื่น ๆ มากนัก แต่เราสามารถรวบรัดออกมาเป็น 5 ข้อ หลัก ๆ ประมาณนี้ครับ

  • ออกใบอนุญาต: จริง ๆ หน้าที่นี้หลาย ๆ คนน่าจะพอเดาได้ครับ เพราะทาง Regulator ต้องเป็นผู้ออก License ให้อยู่แล้ว เพราะหากไม่มี License กำกับเท่ากับว่าคุณเป็นโบรกเกอร์เถื่อนนะ ความน่าเชื่อถือก็จะไม่มีครับ แต่การที่จะออก License ได้ก็ต้องมีขั้นมีตอนครับ
  • กำกับดูแลและตรวจสอบ: ในเคสต่อมาคือหากคุณผ่านการตรวจสอบและได้ใบ License มาแล้ว สิ่งต่อไปที่ทาง Regulator จะทำคือ เขาจะคอยตรวจสอบคุณเสมอ ๆ นั่นเอง ถ้ามีตรงไหนไม่เข้าท่าล่ะก็ โดนลงดาบแน่ ๆ
  • ปกป้องนักลงทุน: ทาง Regulator เขาจะคอยปกป้องนักลงทุน หรือ เทรดเดอร์ ด้วยการออกกฎระเบียบที่เป็นธรรม คอยตรวจสอบความผิดปกติทางการเงินของเหล่าโบรกเกอร์ หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ ครับ (ฮีโร่ชัด ๆ)
  • บังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบ: นอกจากนี้ทาง Regulator ยังเป็นเหมือน ผู้พิพากษา ที่บังคับใช้กฎหมายการเงินต่าง ๆ ลงโทษพวกที่ทำผิดอีกด้วย
  • ส่งเสริมความโปร่งใสและมาตรฐานระดับสากล: ทาง Regulator เองจะคอยผลักดันให้ตลาดการเงินของดูไบมีความเป็นมาตรฐานสากลอยู่เสมอ ทำให้เป็นที่น่าเชื่อถือและสามารถเรียกนักลงทุนต่างชาติมาลงทุนในประเทศได้เยอะขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นการนำเงินนอกเข้ามาหมุนเวียนในประเทศ ท้ายที่สุด ผลดีก็ตกอยู่ที่ประเทศครับ

รูปที่ 1 แสดงการสรุปหน้าที่หลักของ DFSA

สรุปแล้ว DFSA เป็นทั้งผู้คุม ผู้ตัดสิน และฮีโร่ของเขตการเงิน ถ้าจะเปรียบเทียบง่ายๆ ถ้า DIFC (Dubai International Financial Centre) เป็นสนามเด็กเล่น แล้ว DFSA ก็เป็นเหมือนคุณครูใหญ่ที่คอยดูแลความเรียบร้อยในสนามนั้น ทำให้ทุกคนเล่นกันอย่างยุติธรรมและปลอดภัย จนใครๆก็สนใจ อยากเข้ามากันมากขึ้นนั่นเองครับ

DFSA กำกับดูแลใครบ้าง

ทาง Regulator เขาก็ดูแลครอบคลุมทั้งหมดครับ ใครอยากทำธุรกิจการเงินใน DIFC ต้องมีใบอนุญาตจาก DFSA ก่อน

  • โบรกเกอร์ Forex: ทุกบริษัทที่ให้บริการซื้อขายสกุลเงินในเขต DIFC ต้องปฏิบัติตามกฎของ DFSA
  • ธนาคารและสถาบันการเงิน: ธนาคารใด ๆ ที่ต้องการให้บริการทางการเงินในเขตนี้ จะต้องได้รับการตรวจสอบและใบอนุญาตจาก DFSA
  • บริษัทประกันภัย: ใครที่อยากให้บริการประกันภัยใน DIFC ก็ต้องอยู่ในขอบเขตการควบคุมของ DFSA เช่นกัน
  • กองทุนรวมและการลงทุน: ไม่ว่าจะเป็นกองทุนเล็กหรือใหญ่ ถ้าอยากเล่นในสนาม DIFC ต้องผ่านการกำกับดูแลของ DFSA ทุกกองทุน
  • บริษัทจัดการทรัพย์สิน: บริษัทที่ให้บริการจัดการทรัพย์สินและลงทุนต้องเล่นตามกติกาของ DFSA อย่างเคร่งครัด

ครอบคลุมกลุ่มคนในประเทศไหนบ้างล่ะ

คำตอบคือ DFSA ไม่ได้ครอบคลุมแค่คนในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) เท่านั้น แต่ยังดูแล นักลงทุนและบริษัทจากทั่วโลก ที่เข้ามาทำธุรกิจในเขต DIFC ครับ

“ไม่ว่าคุณจะมาจากยุโรป, เอเชีย, อเมริกา, หรือออสเตรเลีย ถ้าคุณมาเล่นในเกมการเงินของดูไบ คุณต้องเล่นตามกฎของ DFSA เท่านั้น!”

ใบอนุญาต DFSA น่าเชื่อถือไหม

License จาก DFSA แม้จะอยู่ในระดับ Rank B หรือ Tier 2 แต่เมื่อเทียบกับหน่วยงานกำกับดูแลชั้นนำระดับโลก เช่น FCA หรือ ASIC ที่อยู่ใน Tier 1 ก็ถือว่า มีความน่าเชื่อถือมาก ด้วยเหตุผลหลักๆ 3 ข้อนี้เลย

  • มีมาตรฐานที่เข้มงวด: เนื่องจากนโยบายของทางDFSA ค่อนข้างที่จะเข้มงวด อีกทั้งมีการลงโทษจริงอีกด้วย
  • มีกฎระเบียบที่โปร่งใส: เน้นความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล มั่นใจได้ว่าจะได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้องครับ
  • คุ้มครองนักลงทุน: นอกจากนี้ เขายังคอยคุ้มครองนักลงทุนยามที่ถูกสถาบันการเงินเล่นตุกติกอีกด้วย นับว่าเลิศมากอะ

รูปที่ 2 สรุปความน่าเชื่อถือของ Regulator ดูไบ

เงื่อนไขในการรับใบอนุญาต Forex ของ DFSA

อยากได้ใบอนุญาต Forex จาก DFSA เหรอ? จะต้องทำยังไงบ้าง? มาดูกันครับ (ไม่ยากเลยเพราะมีแค่ 8 ด่านเอง)

  • ตั้งบริษัทในเขต DIFC ก่อนนะ
  • เตรียมเงินอย่างน้อย 500,000 AED หรือ 137,000 USD เป็นค่าลงทะเบียน
  • ต้องมีออฟฟิศจริงๆ ในดูไบนะ ไม่ใช่แค่ที่อยู่บนกระดาษ
  • ต้องมีพนักงาน หรือ ทีมงาน ตัวจริงเสียงจริง
  • ทำตามนโยบาย การต่อต้านการฟอกเงิน (AML) และ ต่อต้านการสนับสนุนการก่อการร้าย (CTF)
  • มีกรอบการทำงานที่ได้มาตรฐาน รวมไปถึงการมีเทคโนโลยี IT ที่ทันสมัย
  • จะต้องมีประกันภัยที่ครอบคลุมเหมาะสม
  • เอกสารประกอบการสมัครต้องครบ เช่น แผนธุรกิจ, รายงานการเงินที่ผ่านการตรวจสอบ, ประวัติของผู้บริหาร, และ หลักฐานที่อยู่ ทุกอย่างต้องเป๊ะ!

การขอใบอนุญาตนี้อาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 12 เดือน เพราะต้องผ่านการตรวจสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดย DFSA จะดูทั้งแผนธุรกิจ, การเงิน, และมาตรการปฏิบัติตามกฎระเบียบ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ DFSA – Fees Module ทาง DFSA จัดทำไว้ค่อนข้างดีเลยทีเดียวครับ

วิธีตรวจสอบใบอนุญาต DFSA ยังไง

  1. เข้าไปที่ Website ของ DFSA -> Click
  2. กรองชื่อโบรกเกอร์ลงในช่อง What are you searching for? จากนั้นกด Search ครับ

รูปที่ 3 ตัวอย่างขั้นตอนการตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ที่ได้รับใบอนุญาตจาก DFSA

โบรกเกอร์ Forex ไหนบ้างที่ถูก DFSA ลงโทษ

เท่าที่ทราบนะครับจะมีโบรกเกอร์ที่ถูกลงโทษอยู่ประมาณ 2 โบรกเกอร์ครับ โดยตัวอย่างมีดังนี้ครับ

  • E*Trade: โบรกเกอร์นี้เขาถูกปรับประมาณ $300,000 เนื่องจากละเมิดกฎเกี่ยวกับการป้องกันการฟอกเงิน
  • Alessandro Faro Trading Limited: โบรกเกอร์นี้เขาถูกลงโทษเนื่องจากละเมิดกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจในเขตการเงิน DIFC โดย Alessandro Faro Trading ถูกปรับเป็นเงิน $25,200 (หลังจากได้รับการลดหย่อนแล้ว)
  • ในเว็บไซต์เองก็มีการจัดทำ Decision Notices & Regulatory Actions เป็นหน้าเว็บที่แสดงรายชื่อสถาบันการเงินที่ถูกลงโทษ คือเปิดเผยข้อมูลให้สาธารณะเห็นกันจะๆไปเลย ใครทำผิดอะไรก็รู้กันหมด แสดงถึงความโปร่งใสในการทำงานของ DFSA ได้ดีมากๆ เหมือนเป็นการบอกให้ทุกคนรู้ว่า “เราจริงจังนะ ใครทำผิดกฎมีบทลงโทษแน่นอน” ทำให้สถาบันการเงินต่างๆ ไม่กล้าทำอะไรไม่ดี เพราะรู้ว่า DFSA จับตาดูอยู่ตลอด และใครที่กำลังจะลงทุนหรือทำธุรกรรมกับสถาบันการเงินในดูไบ ก็สามารถเข้าไปเช็กประวัติได้เลยว่าบริษัทนั้นๆ เคยมีปัญหาอะไรมาก่อนหรือเปล่า? สบายใจหายห่วงครับผม

โบรกเกอร์ Forex ภายใต้การดูแลของ DFSA

ปัจจุบันมีอยู่หลายโบรกเกอร์ที่อยู่ภายใต้การดูแลของ DFSA ครับ แต่ตัวอย่างโบรกเกอร์ Forex ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ DFSA ได้แก่:

  1. XTB
  2. Pepperstone
  3. Saxo Bank
  4. Swissquote
  5. CMC Markets
  6. XM
  7. HFM (HOTFOREX)
  8. Tickmill
  9. Axi

DFSA เค้าเปิดเผยข้อมูลให้เราตรวจสอบสถาบันการเงิน กันได้แบบง่ายๆเลยครับ ใครอยากรู้ว่าโบรกเกอร์ไหนเคยมีประวัติเสียหาย หรือทีมงานเป็นใคร ก็เข้าไปดูได้เลย สะดวกสุดๆ

สรุป

DFSA เป็นผู้คุมเกมการเงินในเขต DIFC ของดูไบ ใครอยากทำธุรกิจการเงินในเขตนี้ต้องผ่านการตรวจเข้มจาก DFSAซะก่อน ไม่ใช่ว่าแค่มีเงินแล้วจะทำได้เลย ต้องมีบริษัท, สำนักงานในดูไบ, ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 500,000 AED และต้องทำตามกฎการเงินอย่างเคร่งครัด

License จาก DFSA ถึงจะไม่ได้อยู่ใน Tier 1 แต่ก็ยังน่าเชื่อถือเพราะมีกฎเข้มและลงโทษจริง ใครไม่ทำตามก็โดนหนัก อย่าง E*Trade โดนไป 300,000 USD เพราะละเมิดกฎการฟอกเงินครับ ถ้าใครสนใจดูรายละเอียดลึกๆ ก็สามารถดู Business Plan ของ DFSA ได้นะครับ ดูดีมีความเป็นมืออาชีพสูงเลยครับ

อ้างอิง