การเทรดในตลาด Forex หรือการลงทุนในสินทรัพย์ใดๆ มักจะมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการขาดทุนอยู่เสมอ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบความเสี่ยงได้จากตัวชี้วัดต่างๆและหนึ่งในตัวชี้วัดที่สำคัญมากเลยในวันนี้ก็คือเจ้า “Drawdown” โดยบทความนี้จะอธิบายและไปทำความรู้จักกับมันสักหน่อยว่ามันคืออะไร มีการคำนวนอย่างไร และใช้งานแบบไหน
รูปที่ 1 รูปภาพแสดงตัวอย่างการเกิด Drawdown แต่ละประเภทจากผลการ Backtest ของ EA ตัวหนึ่ง
Drawdown คืออะไร?
Drawdown หรือ DD คือการลดลงของมูลค่าบัญชีจากจุดสูงสุด (Peak) ไปยังจุดต่ำสุด (Trough) โดยปกติแล้ว จะถูกวัดในรูปแบบเปอร์เซ็นต์เพื่อดูว่ามีการขาดทุนมากน้อยเพียงใดในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์หรือนักลงทุนเข้าใจความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับพอร์ตการลงทุนของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้นแต่ทั้งนี้ก็ยังถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกันซึ่งจะอธิบายในส่วนถัดไป
- ความหมาย: Drawdown คือการลดลงของยอดเงินในพอร์ตการลงทุนหลังจากการขาดทุนที่เกิดขึ้น ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท
- วิธีคำนวณเบื้องต้น: คำนวณจากจุดสูงสุด (Peak) ถึงจุดต่ำสุด (Trough) ของมูลค่าพอร์ต ขึ้นอยู่กับประเภทของ Drawdown ชนิดนั้นๆ
- ประเภทของ Drawdown 3 ประเภทหลักๆ คือ
- Absolute Drawdown: คือผลขาดทุนมากที่สุดที่เคยเกิดขึ้นนับจากเงินทุนเริ่มต้น
- Maximum Drawdown: จุดขาดทุนต่อเนื่องสูงสุด นับจากผลต่างระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุด
- Relative Drawdown: จุดขาดทุนต่อเนื่องสูงสุด ณ จุดๆหนึ่งของ balance
- ความสำคัญ: ใช้เป็นเครื่องมือในการวัดความเสี่ยงของพอร์ตการลงทุน
- ความสัมพันธ์กับความเสี่ยง: ยิ่ง Drawdown สูง ยิ่งหมายถึงความเสี่ยงสูงในการลงทุน
ประเภทของ Drawdown
ประเภทของ Drawdown สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ได้แก่ Absolute Drawdown, Maximum Drawdown และ Relative Drawdown แต่ละประเภทมีความหมายและการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ในแง่ของการวัดความเสี่ยงในการเทรดซึ่งแน่นอนว่าจุดประสงค์ในการใช้งานนนั้นย่อมแตกต่างกันออกไปด้วย ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
รูปที่ 2 รูปภาพแสดงตัวอย่างการคำนวนของ Absolute Drawdown เทียบกับกราฟที่เกิดขึ้น
Absolute Drawdown คือ
- Absolute Drawdown หมายถึง จำนวนเงินที่ขาดทุนจากยอดเงินเริ่มต้นของพอร์ตจนถึงจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง โดยที่มันบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่พอร์ตการเทรดของคุณต้องเผชิญตั้งแต่เริ่มต้นการลงทุน ตัวเลขนี้นั้นจะแสดงให้เห็นว่าคุณขาดทุนไปมากแค่ไหนจากยอดที่คุณฝากเริ่มต้น
- สูตรการคำนวณ: Absolute Drawdown = Initial Deposit − Lowest Point
- ลักษณะ: Absolute Drawdown เป็นการวัดการขาดทุนจากยอดเงินฝากเริ่มต้นถึงจุดต่ำสุดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง
- จุดเด่น: วัดว่ามีการขาดทุนจากเงินทุนเริ่มต้นเท่าไหร่
- ความสำคัญ: ใช้เพื่อดูว่าเทรดเดอร์ได้ขาดทุนจากเงินที่ลงทุนไปในตอนเริ่มต้นเท่าไหร่ และเป็นตัวบ่งบอกถึงความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนตั้งแต่เริ่มต้น
- ตัวอย่างการใช้งาน: สมมติว่าคุณเริ่มต้นลงทุนในพอร์ตด้วยเงิน $10,000 หลังจากที่เทรดไปสักระยะ ยอดเงินในพอร์ตลดลงไปที่จุดต่ำสุดที่ $8,500 ซึ่งหมายความว่าคุณขาดทุน $1,500 จากยอดเงินเริ่มต้น
รูปที่ 3 รูปภาพแสดงตัวอย่างการคำนวนของ Maximum Drawdown เทียบกับกราฟที่เกิดขึ้น
Maximum Drawdown คือ
- Maximum Drawdown เป็นการลดลงของยอดพอร์ตการลงทุนจากจุดสูงสุดถึงจุดต่ำสุดในช่วงเวลาหนึ่งที่มากที่สุด มันแสดงให้เห็นถึงการขาดทุนสูงสุดที่เคยเกิดขึ้นในประวัติการเทรดและเป็นตัววัดที่บ่งบอกถึงขีดความเสี่ยงสูงสุดที่พอร์ตการลงทุนเคยประสบ ความสำคัญของ Maximum Drawdown คือช่วยให้นักลงทุนเห็นภาพว่าพอร์ตเคยเจอกับความเสี่ยงรุนแรงเพียงใด
- สูตรการคำนวณ: Maximum DD=[(Peak Value−Trough Value)/Peak Value]×100%
- ลักษณะ: Maximum Drawdown วัดการขาดทุนที่มากที่สุดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งจากยอดสูงสุดไปถึงจุดต่ำสุด
- จุดเด่น: เน้นที่การลดลงสูงสุดของพอร์ตในระหว่างการเทรด โดยไม่สนใจว่าเกิดขึ้นเมื่อไหร่
- ความสำคัญ: แสดงให้เห็นถึงการลดลงที่มากที่สุดของพอร์ตในช่วงเวลาการลงทุน ซึ่งช่วยให้เทรดเดอร์รู้ว่าเคยเผชิญความเสี่ยงสูงสุดที่ระดับใด
- ตัวอย่างการใช้งาน: สมมติว่าคุณเริ่มต้นการเทรดด้วยเงินในพอร์ต $10,000 และในช่วงเวลาหนึ่ง มูลค่าพอร์ตของคุณเพิ่มขึ้นไปถึง $12,000 (ยอดสูงสุด) แต่หลังจากนั้น พอร์ตของคุณประสบกับการขาดทุนต่อเนื่องจนมูลค่าลดลงต่ำสุดที่ $9,000 เมื่อแทนสมการเข้าไปในสูตร Maximum Drawdown เท่ากับ 25% ซึ่งหมายความว่าในช่วงเวลานั้น พอร์ตของคุณขาดทุนไป 25% จากยอดสูงสุดที่เคยทำได้
รูปที่ 4 รูปภาพแสดงตัวอย่างการคำนวนของ Relative Drawdown เทียบกับกราฟที่เกิดขึ้น
Relative Drawdown คือ
- Relative Drawdown คือการวัดเปอร์เซ็นต์การขาดทุนจากยอดพอร์ตที่สูงสุดในช่วงเวลาหนึ่ง มันจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดสูงสุดไปถึงยอดต่ำสุดในขณะนั้น ซึ่งช่วยให้สามารถประเมินประสิทธิภาพของระบบการเทรดได้ว่ามีความเสี่ยงสูงเพียงใดเมื่อเทียบกับกำไรสูงสุดที่เคยทำได้
- สูตรการคำนวณ: Relative DD = (Maximum Drawdown/Peak Value)×100%
- ลักษณะ: Relative Drawdown วัดเปอร์เซ็นต์ของการลดลงของพอร์ตจากยอดสูงสุดไปยังจุดต่ำสุดในช่วงเวลาหนึ่ง
- จุดเด่น: เปรียบเทียบการขาดทุนในเชิงเปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับยอดสูงสุดของพอร์ต
- ความสำคัญ: เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพและความเสี่ยงที่สัมพันธ์กันระหว่างการทำกำไรและการขาดทุนในระบบการเทรด
- ตัวอย่างการใช้งาน: สมมติว่าคุณเริ่มต้นการเทรดด้วยเงินในพอร์ต $10,000 และในช่วงเวลาหนึ่ง มูลค่าพอร์ตของคุณเพิ่มขึ้นไปถึง $12,000 (ยอดสูงสุด) แต่หลังจากนั้น พอร์ตของคุณลดลงไปถึง $10,500 ซึ่งถือเป็นยอดต่ำสุดที่เกิดขึ้นหลังจากการเพิ่มขึ้น เมื่อแทนสมการเข้าไปในสูตร Relative Drawdown คือ5% ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขาดทุนในรูปของเปอร์เซ็นต์จากจุดยอดสูงสุดที่เคยทำได้จนถึงยอดต่ำสุดในช่วงเวลานั้น
วิธีการนำ Drawdown ไปใช้ประโยชน์
- การประเมินความเสี่ยงของระบบการเทรด
Drawdown นั้นใช้ในการวัดระดับความเสี่ยงของระบบการเทรด โดยดูจากการขาดทุนสูงสุดที่เคยเกิดขึ้น ระบบที่มี Maximum Drawdown สูง หมายถึงความเสี่ยงในการขาดทุนมากกว่าระบบที่มี Drawdown ต่ำ การใช้ข้อมูลนี้จะช่วยให้เทรดเดอร์ตัดสินใจเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงที่ตนเองสามารถยอมรับได้นั่นเอง - การกำหนดขนาดพอร์ตและการวางแผนการจัดการทุน
Drawdown สามารถช่วยกำหนดขนาดการลงทุนและวางแผนการจัดการเงินทุนได้อย่างมีระบบ เช่น หากพบว่า Maximum Drawdown ของระบบเทรดอยู่ที่ 20% เทรดเดอร์สามารถวางแผนจัดสรรเงินทุนเพิ่มเติมให้สามารถทนต่อ Drawdown นั้นได้โดยไม่ส่งผลต่อพอร์ตโดยรวมได้ - การประเมินความสามารถในการทำกำไรของระบบ
การดูสัดส่วนระหว่าง Relative Drawdown และผลกำไรที่ทำได้ จะช่วยให้เทรดเดอร์ประเมินได้ว่าระบบเทรดนั้นคุ้มค่ากับความเสี่ยงหรือไม่ ระบบที่มี Drawdown ต่ำแต่ทำกำไรได้สูงจะถือว่ามีความเสี่ยงต่ำแต่มีประสิทธิภาพในการทำกำไรสูง เป็นต้น - การฟื้นตัวจากการขาดทุน
การเข้าใจ Drawdown ช่วยให้เทรดเดอร์วางแผนการฟื้นตัวจากการขาดทุนได้ ตัวอย่างเช่น หากมี Maximum Drawdown เกิดขึ้น การวิเคราะห์ว่าต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่จึงจะสามารถกลับมาสู่ยอดเงินสูงสุดเดิมได้ จะเป็นประโยชน์ในการวางแผนการลงทุนได้เป็นอย่างดีครับ - การเปรียบเทียบกลยุทธ์การเทรด
Drawdown เป็นตัววัดที่ดีในการเปรียบเทียบกลยุทธ์การเทรดหลายๆ ระบบ เทรดเดอร์สามารถดูว่าแต่ละกลยุทธ์มีการขาดทุนสูงสุดเท่าไหร่และใช้ Drawdown ในการประเมินว่ากลยุทธ์ใดมีความเสี่ยงน้อยกว่าและเหมาะสมกับวัตถุประสงค์การลงทุนของตน - การควบคุมความเสี่ยงในการเทรดระหว่างการใช้งานจริง
ในการเทรดจริง การติดตาม Drawdown เป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันไม่ให้เกิดการขาดทุนเกินกำหนด เทรดเดอร์สามารถตั้งค่า Stop Loss หรือจำกัดการเทรดหาก Drawdown เกินค่าที่กำหนดไว้ได้เช่นกัน - การสร้างความมั่นใจและปรับปรุงกลยุทธ์
การวิเคราะห์ Drawdown ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเทรดเดอร์ว่าระบบการเทรดของพวกเขานั้นได้ทำงานอย่างมีเสถียรภาพ และหากพบว่า Drawdown มีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เทรดเดอร์สามารถปรับปรุงกลยุทธ์หรือเพิ่มมาตรการลดความเสี่ยงได้นั่นเอง
สรุป
การใช้ Drawdown เป็นเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงที่ช่วยในการบอกถึงจุดขาดทุนจึงเหมาะแก่การนำไปวางแผนการลงทุนเป็นอย่างมาก ดังนั้นแล้วเทรดเดอร์สามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อประเมินระบบการเทรด ควบคุมความเสี่ยงในการเทรดจริงได้ และเปรียบเทียบกลยุทธ์การเทรดต่างๆ เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดในการทำกำไรพร้อมกับลดการขาดทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง