วันนี้ก่อนขึ้นไประดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เราใกล้จะจบเนื้อหาพื้นฐานตอนมัธยมศึกษาตอนปลายนี่แหละครับ ก่อนจะขึ้นเรามาดูเนื้อหา 2 ส่วนก่อน คือ Elliot Wave และ Harmonic Price Pattern ทั้ง 2 รูปแบบก็ถือว่าเป็นการใช้วิธีการเทรดแบบหนึ่งเกี่ยวกับรูปแบบของราคา ๆ โดยกำหนดสมมุติฐานของราคาให้มีรูปแบบที่ชัดเจน โดยเราจะมาว่ากันที่ Elliot Wave ก่อนดังนี้
Elliot Wave
สำหรับ Elliot Wave เราก็คงไม่ต้องมาพูดพล่ามทำเพลงเกี่ยวกับทฤษฎีให้มากมาย เพราะว่า เนื้อหานี้เราพูดถึงการใช้งาน และการทำกำไรจากเครื่องมือล้วน ๆ เรามาดูที่รูปแบบของคลื่นกันก่อนเลย
ภาพที่ 1 เป็นภาพ Elliot Wave ขาขึ้น
ในภาพที่ 1 สมมุติฐานของคนใช้ Elliot Wave คือ ลักษณะคลื่นของการเกิดคลื่นนั้นจะมีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน ในรูปก็จะมี คลื่นประมาณ 5 ช่วงคลื่น การนับคลื่นของ Elliot Wave มีความสำคัญอย่างมาก และรูปแบบจะต้องนับให้ได้แบบที่กำหนดในทฤษฎี ตัวอย่างในภาพก็เป็นขาขึ้น ซึ่งเรียกว่า Impulse Wave ต่อไปเรามาดูตัวอย่างทฤษฎีคลื่น Elliot Wave ที่เป็นขาลงกันบ้าง ในขาลงคลื่นนั้นเรียกว่า Corrective Wave การใช้คำว่า Corrective ก็คือ การใช้ในกรณีที่มันพักตัวนั่นเอง มันจึงเป็นกรอบของการพักตัวของราคาหลังจากที่มันขึ้นมาติดต่อกัน ดังภาพต่อไปนี้
ภาพที่ 2 Corrective Wave
ในภาพก็จะเห็นว่า มีการนำเอาคลื่นที่เป็น Impulse มาประกอบกับ Corrective Wave ก็จะได้รูปร่างของ Elliot Wave เราจำรูปร่างแบบนี้ไว้แล้วไปในกับกราฟที่เกิดขึ้นจริง
ก่อนที่จะไปใช้ในกราฟที่เทรดจริง ผมก็จะอธิบายข้อจำกัดของมันก่อนว่า Elliot Wave นั้นจะเกิดการเกิดพฤติกรรมราคาในรูปแบบที่กำหนดในรูปที่ 2 ซึ่งผมก็ไม่มีความถนัดเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม ก็พอจะเคยใช้อยู่บ้าง แต่ต้องทำความตกลงกันก่อน ปัญหาของคลื่นนั้น คลื่นจะไม่ได้มีรูปร่างเหมือนกับที่กำหนดในภาพที่ 2 ก็เพราะว่า การนับคลื่นลูกที่ 1 ซึ่งทำให้คลื่นลูกที่ 2 และคลื่นที่ตามมามีปัญหาลักษณะลูกคลื่นไม่เหมือนกัน
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างที่ยกกันในกราฟจริง สักหน่อยครับ ดังนี้
ภาพที่ 3 แสดง การใช้ Elliot Wave
จากภาพด้านบน จะเห็นว่า ขนาดกราฟมันจะไม่ได้ส่วนกันทุกครั้ง สีเหลืองคือ impulsive Wave และ Corrective Wave มีขนาดที่ใหญ่กว่า ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับมุมมองอีกนั่นแหละครับว่า ใครจะเห็นอย่างไร ผมก็เห็นแบบนี้แหละครับ เนื่องจากต้องบอกก่อนว่าผมไม่มีความชำนาญ Elliot Wave เลย เอาง่าย ๆ ก็อาจจะเป็นเพราะว่ามันจับต้องไม่ได้ครับ ส่วนใหญ่จะใช้ก็สามารถใช้ได้ ตราบเท่าที่ท่านสามารถทำกำไรได้ ก็สามารถใช้ได้เลย
เดี๋ยวผมขอกล่าวถึงกราฟที่ 2 ก็คือ รูปแบบ Harmonic Price Pattern ก่อนครับ เพื่อให้สามารถใช้ได้จริงเดี๋ยวดูวีดีโอที่ผมใช้ในการนำเสนอในการนับคลื่นอีกทีหนึ่งก็ได้ครับ
Harmonic Price Pattern
รูปแบบ Harmonic Price Pattern ในบทเรียนนี้เราจะพูดถึงรูปแบบ ABCD รูปแบบ Three Drive รูปแบบ Crab รูปแบบ Bat และรูปแบบ Butterfly
รูปแบบ ABCD
รูปที่ 1 รูปแบบ ABCD
รูปแบบ ABC จะเป็นรูแบบบอกจุดกลับตัว โดยที่มันจะคลื่นเป็นคลื่นขึ้นไป ตามสัดส่วนที่กำหนด โดยจุดสำคัญของรูปแบบนี้คือ สัดส่วน Fibonacci 1.272 และ 0.618 ซึ่งถ้าหากใครยังงงว่า Fibonacci คืออะไร ลองหาอ่านได้ครับผมได้เขียนไปหมดแล้ว จะต้องได้สัดส่วนกันครับ สำหรับรูปแบบนี้
รูปแบบ Three Drive
ภาพที่ 5 รูปแบบ Three Drive
รูปแบบ Three Drive ก็เหมือนกัน สำหรับการใช้งาน จะต้องวัดสัดส่วน Fibonacci ในการเทรด เพราะถ้าหากไม่ได้เป็นไปตามที่กำหนด ทำให้การพยากรณ์การเคลื่อนไหวราคานั้นมีความยากลำบากในการเทรดมาก สาเหตุที่มันถูกเรียกว่า รูปแบบ Three Drive คือ มันมีคลื่น 3 คลื่นนั่นเอง รูปแบบนี้ก็เกิดขึ้นในทิศทางตรงกันข้ามกันได้
รูปแบบ สัตว์ 3 ชนิด
ต่อไปเป็นรูปแบบ สัตว์ 3 แบบที่เป็นที่นิยม อาจจะสับสนหน่อยแต่หัวใจของมันคือการวัดระดับ Fibonacci ครับ มีรูปแบบ 3 รูปแบบดังต่อไปนี้
ภาพที่ 6 รูปแบบสัตว์ 3 ชนิด ได้แก่ ปู ค้างคาว และผีเสื้อ
รูปแบบสัตว์ทั้ง 3 แบบ มความแตกต่างกันเพียงจุดเดียวคือ ความชันขอององศา และลักษณะของสัดส่วนของ Fibonacci Level ที่ต้องให้ความสนใจ ผมเลยทำการรวบรูปแบบมาให้ดูเพื่อเปรียบเทียบกัน ในภาพที่ 6 ก็จะเป็นรูปแบบที่บอกการกลับตัวตลาดหมีทั้งสิ้น ซึ่งความต่างของมัน จะเห็นว่ารูปแบบค้างคาว กับ รูปแบบผีเสื้อมันคล้ายกันมากแค่กลับด้านเท่านั้นเอง ขณะที่สัดส่วนนั้น จะมีความต่างกัน ซึ่งการที่เราจะใช้รูปแบบเหล่านี้ได้ต้องเข้าใจ Fibonacci ประกอบครับ หลักการของ Fibonacci มันเป็นเรื่องของสัดส่วนเพราะว่ามันได้จากการหารกันนั่นเอง
ส่วนตัวแล้วต้องออกตัวก่อนว่า ผมไม่ถนัดเลยครับเรื่องรูปแบบ Elliot Wave และ Harmonic Pattern เพียงแต่พอรู้หลักการเท่านั้น เนื่องด้วยมันจับต้องได้ยากครับเลยไม่มได้ใช้ จึงนำมาเป็นบทเรียนที่คั่นเวลาก่อนที่จะไปเนื้อหาที่สำคัญครับ