ถ้าคุณเป็นนักเทรดมือใหม่ที่กำลังมองหาเครื่องมือช่วยวิเคราะห์แนวโน้มของราคาในจลาด Forex แล้วนั้น เส้น EMA คือหนึ่งในตัวช่วยที่คุณไม่ควรมองข้ามเลยนะครับ เพราะมันเป็นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาล่าสุดได้อย่างรวดเร็ว จึงเหมาะสำหรับการติดตามแนวโน้มตลาดในทุกสถานการณ์ โดยในบทความนี้ เราจะพาคุณไปรู้จักกับ EMA แบบเจาะลึก ตั้งแต่ความหมาย หลักการทำงาน ไปจนถึงเคล็ดลับการนำไปใช้งานจริงกัน

เส้น EMA คืออะไร?

รูปที่ 1 ตัวอย่างการแสดงผลของ EMA (Exponential Moving Average) บทแพลตฟอร์ม TradingView

ความหมายของ EMA (Exponential Moving Average)

  • เส้น EMA หรือ Exponential Moving Average คือ เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ในการติดตามแนวโน้มของราคา 
  • EMA เป็นเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ให้ความสำคัญกับข้อมูลล่าสุดมากกว่าข้อมูลในอดีต 
  • EMA ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วกว่าเส้นค่าเฉลี่ยแบบทั่วไปอย่าง SMA

อธิบายความแตกต่างระหว่าง EMA และ SMA

  • SMA (Simple Moving Average)
    • เส้นค่าเฉลี่ยแบบธรรมดา (SMA) จะคำนวณโดยนำราคาปิดของช่วงเวลาต่าง ๆ มารวมกัน แล้วหารด้วยจำนวนวันที่ใช้ 
    • เช่น ค่าเฉลี่ย 10 วันจะใช้ราคาปิดของ 10 วันที่ผ่านมา และให้ค่าน้ำหนักเท่ากันกับทุกวัน
    • SMA เหมาะกับการวิเคราะห์ภาพรวมในระยะยาว
  • EMA (Exponential Moving Average)
    • เส้น EMA ต่างจาก SMA ตรงที่ให้ “น้ำหนัก” กับข้อมูลราคาล่าสุดมากกว่า
    • ทำให้เส้น EMA ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาในปัจจุบันได้รวดเร็วกว่ามาก
    • EMA เหมาะสำหรับตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น การเทรดระยะสั้น

จุดเด่นของ EMA ที่ช่วยให้การวิเคราะห์แม่นยำมากขึ้น

  1. ตอบสนองเร็ว EMA เน้นน้ำหนักข้อมูลปัจจุบัน ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มได้เร็วกว่าการใช้ SMA
  2. ช่วยจับสัญญาณกลับตัว ด้วยความไวต่อราคาปัจจุบัน EMA สามารถช่วยบ่งบอกจุดกลับตัวของแนวโน้มได้ทันเวลา
  3. เหมาะกับตลาดที่มีความผันผวน EMA ช่วยนักเทรดตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดที่รวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  4. ใช้งานง่ายและยืดหยุ่น สามารถปรับระยะเวลาให้เหมาะสมกับกลยุทธ์การเทรดของแต่ละคน เช่น EMA 9, 20 หรือ 50 วัน

จึงสามารถสรุปได้ว่า EMA เป็นเส้นค่าเฉลี่ยที่เหมาะสำหรับนักเทรดที่ต้องการการตอบสนองที่รวดเร็วและแม่นยำในสภาพตลาดที่มีความเคลื่อนไหวสูงนั่นเองแหละครับ

หลักการทำงานของเส้น EMA (Exponential Moving Average)

การคำนวณเส้น EMA หรือ Exponential Moving Average 

การคำนวณเส้น EMA มีความซับซ้อนกว่าเส้น SMA เล็กน้อย เนื่องจากมันให้น้ำหนักกับข้อมูลราคาล่าสุดมากกว่า แต่ก็สามารถเข้าใจได้ไม่ยากเมื่อแยกเป็นขั้นตอน ดังนี้

  • สูตรการคำนวณ EMA
    • EMA= Pn + EMAn-1 (1-a)
  • เมื่อ
    • EMAn คือ EMA ของช่วงเวลาที่ต้องการ
    • Pn คือ ราคาปิด ณ ช่วงเวลาที่ต้องการ
    • EMAn1 คือ EMA ณ ช่วงเวลาก่อนหน้า 1 วัน
    • คือ Smoothing Factor คำนวณจาก 2/(T+1)
    • คือ ช่วงเวลาที่ใช้มาคำนวณ Smoothing Factor

ทำไม EMA ถึงตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็ว

สาเหตุที่ทำให้ EMA ถึงตอบสนองได้รวดเร็วนั้นถือว่ามีหลายปัจจัยด้วยกัน คือ 

  1. การให้น้ำหนักกับข้อมูลล่าสุดมากกว่า EMA ไม่ให้น้ำหนักราคาเท่า ๆ กันทุกช่วงเวลา แต่เน้นที่ราคาปัจจุบันมากกว่า ทำให้สามารถสะท้อนการเปลี่ยนแปลงของราคาในตลาดได้ทันที
  2. ลดความล่าช้า (Lag) ในขณะที่ SMA มีการตอบสนองที่ช้ากว่าเพราะถัวเฉลี่ยข้อมูลทุกช่วงเวลาอย่างเท่าเทียม EMA ช่วยลดความล่าช้าโดยการเพิ่มความสำคัญของข้อมูลที่เพิ่งเกิดขึ้น
  3. เหมาะสำหรับตลาดที่ผันผวน ตลาด Forex หรือสินทรัพย์ที่มีความผันผวนสูงต้องการเครื่องมือที่สะท้อนราคาได้เร็ว และ EMA คือหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้นักเทรดมองเห็นแนวโน้มที่กำลังเปลี่ยนแปลงได้ก่อนใครนั่นเองครับ

ตัวอย่างการใช้เส้น EMA กับการใช้งานในตลาด Forex

รูปที่ 2 ตัวอย่างการตัวอย่างการใช้เส้น EMA กับการใช้งานในตลาด Forex บนแพลตฟอร์ม TradingView

ใช้ EMA เพื่อหาแนวโน้ม (Trend)

เส้น EMA เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยนักเทรดระบุแนวโน้มของตลาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ทำการสังเกตว่า

  • หากราคาอยู่ เหนือเส้น EMA หมายความว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาขึ้น (Uptrend)
  • หากราคาอยู่ ต่ำกว่าเส้น EMA หมายความว่าตลาดอยู่ในแนวโน้มขาลง (Downtrend)

ตัวอย่างการวิเคราะห์แนวโน้มราคาด้วย EMA

  • ใช้ EMA 50 เพื่อดูแนวโน้มในระยะกลาง
    • หากราคาอยู่เหนือ EMA 50 อย่างต่อเนื่อง แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น
    • หากราคาหลุดต่ำกว่า EMA 50 อาจบ่งบอกถึงการเริ่มต้นของแนวโน้มขาลง
  • ใช้ EMA 200 เพื่อดูแนวโน้มในระยะยาว
    • นิยมใช้สำหรับการยืนยันการเปลี่ยนแปลงของแนวโน้มใหญ่

ใช้ EMA เป็นแนวรับ-แนวต้าน (Support/Resistance)

เส้น EMA ยังสามารถทำหน้าที่เป็น แนวรับและแนวต้าน (Support/Resistance) ได้อีกด้วยนะครับโดยสังเกตว่าราคามักจะ

วิธีดูการกลับตัวหรือการยืนยันแนวโน้ม

  • ในแนวโน้มขาขึ้น
    • หากราคาแตะเส้น EMA (เช่น EMA 20 หรือ EMA 50) แล้วเด้งกลับขึ้นไป แสดงถึงความต่อเนื่องของแนวโน้มขาขึ้น
  • ในแนวโน้มขาลง
    • หากราคาแตะเส้น EMA แล้วถูกกดกลับลงมา แสดงถึงความต่อเนื่องของแนวโน้มขาลง
  • การกลับตัว
    • หากราคาทะลุเส้น EMA พร้อมปริมาณการซื้อขายเพิ่มขึ้น (Volume) อาจบ่งบอกถึงการกลับตัวของแนวโน้มได้

EMA สามารถใช้งานร่วมกับเครื่องมืออื่นๆได้ 

เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ นักเทรดมักจะใช้ EMA ควบคู่กับเครื่องมืออื่น เช่น

  1. การใช้ EMA กับ MACD (Moving Average Convergence Divergence)
    • MACD แสดงความสัมพันธ์ระหว่างเส้น EMA สองเส้น (เช่น EMA 12 และ EMA 26)
    • สัญญาณตัดกันของ MACD และเส้น Signal มักใช้เพื่อยืนยันแนวโน้มที่ EMA แสดง
  2. การใช้ EMA กับ RSI (Relative Strength Index)
    • EMA ใช้เพื่อดูแนวโน้มหลัก ในขณะที่ RSI ใช้เพื่อวัดความแข็งแกร่งของแนวโน้ม
    • ตัวอย่าง หากราคาอยู่เหนือ EMA (แนวโน้มขาขึ้น) และ RSI อยู่ในโซน Overbought ให้ระวังการกลับตัว เป็นต้น

สรุป

EMA คือเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ให้น้ำหนักกับข้อมูลราคาล่าสุดมากกว่าข้อมูลในอดีต ช่วยให้นักเทรดมองเห็นแนวโน้มของตลาดและการเปลี่ยนแปลงราคาได้รวดเร็วกว่า SMA ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า ทำไม EMA จึงสำคัญสำหรับนักเทรด

  • ตอบสนองไวต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาด ช่วยให้จับสัญญาณแนวโน้มได้เร็วขึ้น
  • เหมาะกับตลาดผันผวน ใช้ได้ดีใน Forex หรือการเทรดระยะสั้น
  • ใช้งานได้หลากหลาย ใช้หาแนวโน้ม แนวรับ-แนวต้าน หรือวางกลยุทธ์ร่วมกับเครื่องมืออื่น เช่น MACD หรือ RSI

ดังนั้นแล้วสำหรับมือใหม่ EMA ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการเรียนรู้การวิเคราะห์ทางเทคนิค และยังสามารถช่วยให้คุณปรับตัวกับการเทรดในตลาดที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วได้นั้นเองครับ

ข้อมูลแหล่งอ้างอิง

  1. BabyPips. (n.d.). Exponential moving average. Retrieved from https://www.babypips.com/forexpedia/exponential-moving-average
  2. Investopedia. (n.d.). How do I use the exponential moving average (EMA) to create a Forex trading strategy? Retrieved from https://www.investopedia.com/ask/answers/122314/how-do-i-use-exponential-moving-average-ema-create-forex-trading-strategy.asp

 

เขียนโดย

Pakornkiat Poonsuk

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon