The Financial Conduct Authority (FCA) คือ หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของสหราชอาณาจักร (United Kingdom: UK) โดยเขาจะทำหน้าที่เป็นตำรวจการเงิน ที่คอยคุ้มครองผู้บริโภค หรือ นักลงทุนรวมไปถึงเทรดเดอร์ที่ใช้บริการโบรกเกอร์ต่าง ๆ, ธนาคารต่าง ๆ, ประกันภัย, แลสถาบันทางการเงินอื่น ๆ ครับ

ใบอนุญาต FCA คืออะไร

ใบอนุญาต หรือ License ของ FCA เป็นเสมือน “ตราประทับความน่าเชื่อถือ” ของโบรกเกอร์ หรือ สถาบันการเงินต่าง ๆ ครับ เพราะมันสะท้อนให้เห็นว่าโบรกเกอร์นั้นได้ผ่านการตรวจสอบแล้วว่าทำงานโปร่งใส ปฏิบัติตามกฎเพื่อปกป้องเงินของนักลงทุน เช่น การแยกเงินลูกค้าออกจากเงินบริษัท, การรายงานทางการเงินอย่างชัดเจน, และการปฏิบัติตามกฎการป้องกันการฟอกเงิน

FCA เป็นองค์กรของรัฐหรือป่าว?

FCA ไม่ได้เป็นองค์กรของรัฐโดยตรงครับ แต่เขาเป็น องค์กรอิสระ ที่ได้รับอำนาจจาก รัฐบาล UK ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ผ่านกระทรวงการคลัง (HM Treasury) ซึ่งพวกเขาก็มีการประชุมอัปเดตกันทุกปีเลยครับ ออกมาเป็น Perimeter Report หลักๆก็จะพูดถึงขอบเขตการกำกับดูแลของFCA,  การให้บริษัทต่างชาติที่ให้บริการทางการเงินเข้ามาใน UK ได้ โดยที่ไม่ต้องขออนุญาตจากFCA,  และอัปเดตความคืบหน้าของแผนงานต่างๆ พูดง่ายๆก็คือเขามีอำนาจในการตรวจสอบและควบคุมตลาดการเงินใน UK ได้อย่างเต็มที่นั่นเองครับ

บทบาทและหน้าที่ของ FCA

บทบาทหน้าที่สำคัญของ FCA จะเป็นในเรื่องของการรักษาเสถียรภาพของตลาดการเงินใน UK ครับ ซึ่งมันสามารถแตกรายละเอียดปลีกย่อยออกมาได้ประมาณนี้ครับ

  • คุ้มครองผู้บริโภค: ทาง FCA จะคอยตรวจสอบสถาบันการเงินต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างยุติธรรมและโปร่งใส หากเขาตรวจเจอว่ามีการฉ้อโกง หรือ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม หรือ ขัดแย้งกับระเบียบที่เขาวางเอาไว้ เขาก็สามารถลงโทษได้ครับ
  • ควบคุมสถาบันการเงิน: FCA ค่อนข้างให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ เพราะจำเป็นต้องรักษาสมดุลสถานะภาพทางการเงินของประเทศหรือเขตที่เขาปกครองไม่ให้มันแย่มากจนเกินไปครับ
  • ส่งเสริมการแข่งขันที่เป็นธรรม: อันนี้ทาง FCA พยายามผลักดันให้เกิดการซื้อขายอย่างเป็นธรรม กล่าวคือ อยากให้ราคามันควรจะเป็นกลาง ๆ ครับ ไม่ขายแพงเกินกว่าคุณภาพ นอกจากนี้เขายังคอยดูคุณภาพสินค้าอื่น ๆ ด้วยนะ
  • รักษาเสถียรภาพทางการเงิน: ในส่วนนี้ทาง FCA เขาจะทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ อีกทีครับ เช่น Prudential Regulation Authority (PRA) และ Bank of England เพื่อที่จะรักษาความสมดุบการค้าและตลาดการเงิน นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ที่จะกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากเกินไปครับ
  • บังคับใช้กฎหมาย: FCA มีอำนาจจากภาครัฐฯ ในการใช้กฎหมายทางการเงินได้เต็มที่ รวมถึงการปรับเงิน การเพิกถอนใบอนุญาต หรือการดำเนินคดีในกรณีที่สถาบันการเงินละเมิดกฎระเบียบครับ

FCA ไม่ได้ทำหน้าที่แค่ควบคุมนะครับ เขาพยายามสร้างบาลานซ์ระหว่างการส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆเข้ากับความปลอดภัยในตลาดการเงิน ด้วย การพัฒนากฎระเบียบอย่างต่อเนื่อง ทำให้ FCA เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักร และมีความน่าเชื่อถืออย่างมากเลยครับ

รูปที่ 1 สรุปหน้าที่หลักของ FCA

ระเบียบเบื้องต้นของ FCA

หน่วยงาน FCA ได้จัดตั้งชุดกฎระเบียบและแนวทางที่ครอบคลุมเพื่อควบคุมอุตสาหกรรมบริการทางการเงินเอาไว้ครับ โดยระเบียบเหล่านี้จะบันทึกเอาไว้ในเอกสารที่เราเรียกว่า FCA Handbook ซึ่งมันจะเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญสำหรับบริษัทที่ได้รับการดูแลจาก FCA ครับ และประเด็นสำคัญ ๆ มีดังนี้ครับ

  • FCA Handbook: ผู้ที่ต้องการให้ FCA กำกับดูแลจะต้องศึกษา FCA Handbook อย่างละเอียด ซึ่งภายในคู่มือนี้จะให้รายละเอียดต่าง ๆ เช่น กฎการจดทะเบียนในสหราชอาณาจักร (UK Listing Rules), กฎระเบียบการออกหนังสือชี้ชวน (Prospectus Regulation Rules), และคำแนะนำการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure Guidance)
  • ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนด: อันนี้แน่นอนอยู่แล้วครับว่า หากเราไปชกในสังเวียนไหน เราย่อมต้องเล่นตามกติกาของสังเวียนนั้น ๆ ซึ่งทาง FCA ก็เช่นกันครับ หากไปอยู่ในการควบคุมของเขาแล้วจะต้องเล่นตามกติกาเขา ไม่อย่างนั้นอาจจะโดยลงโทษได้ครับ
  • ต้องยอมรับ Dual Regulation: อันนี้หมายความว่า ทาง FCA จะไม่ได้เข้ามาดูแลคุณแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่จะให้ทาง PRA เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลด้วย เสมือนมีพ่อสองคนนั่นแหละครับ ดังนั้นคุณจำเป็นต้องเล่นตามกติกาของทาง PRA ด้วยนั่นเอง
  • Update ข้อมูลสม่ำเสมอ: อันนี้ทาง FCA จะมีการอัปเดตข้อมูลเกี่ยวกับกติกาเป็นประจำ ซึ่งเป็นหน้าที่ของคุณผู้สมัครที่จะต้องเป็นคนติดตามข่าวสารเหล่านี้ และทำการจ่ายค่าสมาชิกตามที่เขากำหนดอีกด้วย

รูปที่ 2 สรุป ระเบียบเบื้องต้นของ FCA

FCA กำกับดูแลใครบ้าง?

พวกเขากำกับดูแลสถาบันการเงิน ประมาณและบริการทางการเงินหลายประเภทใน UK รวมแล้วกว่า 42,000 บริษัทครับ ซึ่งจะครอบคลุมกลุ่มต่าง ๆ ดังนี้

  • ธนาคาร
  • โบรกเกอร์ Forex และ CFD
  • บริษัทประกันภัย
  • บริษัทจัดการกองทุนรวมและกองทุนเฮดจ์ฟันด์
  • ที่ปรึกษาทางการเงิน
  • ผู้ให้บริการสินเชื่อและบัตรเครดิต
  • แพลตฟอร์มการซื้อขายออนไลน์และตลาดหลักทรัพย์

FCA คุ้มครองใครบ้างหล่ะ? คนไทยเกี่ยวด้วยไหม?

FCA จะมีผลกับกลุ่มคนในสหราชอาณาจักร (UK) เท่านั้น! แต่ก็มีบางกรณีที่คนไทยอาจได้รับความคุ้มครองด้วยนะครับ!!

ใครบ้างที่ FCA คุ้มครองเต็มที่?

  • คนที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร
  • คนที่ใช้บริการทางการเงินจากบริษัทที่ได้รับอนุญาตจาก FCA ในสหราชอาณาจักร

อ้าว…แล้วคนไทยหล่ะ?

  • ต้องบอกก่อนว่า ปกติแล้วจะไม่ได้รับความคุ้มครองโดยตรงจาก FCA ครับ
  • แต่คนไทยอาจได้รับความคุ้มครองจาก FCA ในกรณีเหล่านี้
  1. ลงทุนผ่านโบรกเกอร์ในอังกฤษที่ FCA รับรอง: ถ้าบริษัทนั้นล้มละลาย เราอาจมีสิทธิ์ได้รับ ค่าชดเชยจาก FSCS (Financial Services Compensation Scheme)
  2. โดนโบรกเกอร์ที่ FCA รับรองเอาเปรียบ: หากคนไทยได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ไม่เป็นธรรมของโบรกเกอร์ที่ได้รับอนุญาตจาก FCA ก็สามารถร้องเรียนต่อ Financial Ombudsman Service (FOS) ได้เลยครับ ด้วยมาตรฐานของ FCA เขาไม่ยอมปล่อยผ่านเรื่องนี้ง่าย ๆแน่นอนครับ

ใบอนุญาต FCA น่าเชื่อถือไหม

License จาก FCA มีความน่าเชื่อถือมากในวงการการเงินระดับโลกครับ เนื่องจากเขาได้รับการยอมรับจากหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ทั่วโลก และถูกจัดให้เป็น Regulator Rank A หรือ Tier 1 ครับ ส่งผลให้ใบอนุญาต FCA เป็นเครื่องหมายของความน่าเชื่อถือและความปลอดภัยสำหรับนักลงทุนครับ

รูปที่ 3 ตัวอย่างผลการค้นหา License จาก FCA ซึ่งวิธีการทำอยู่ในหัวข้อด้านล่างจ้า

เงื่อนไขในการรับใบอนุญาต Forex ของ FCA

จริง ๆ แล้วเงื่อนไขมีค่อนข้างเยอะมากครับ แต่ผมจะหยิบยกข้อหลัก ๆ มาให้ได้อ่านกันประมาณนี้นะครับ

  • ค่าใช้จ่ายโดยรวม: ผู้ที่สนใจใบอนุญาตเต็มรูปแบบสำหรับโบรกเกอร์ Forex ต้องมีเงินทุนขั้นต่ำ 750,000 ปอนด์ขึ้นไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจและความเสี่ยงของธุรกิจนั้น ๆ ครับ
  • การป้องกันการฟอกเงิน หรือ AML: ทางผู้สมัครจะต้องทำตามระเบียบ AML อย่างเข้มงวด รวมถึงการตรวจสอบตัวตนของลูกค้า (Know Your Customer หรือ KYC) และการรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัย
  • การแยกบัญชีลูกค้า: อันนี้คงเป็นข้อปฏิบัติพื้นฐานที่หลาย ๆ Regulator ชั้นนำต้องมีครับ คือ ผู้สมัครจะต้องแยกเงินของลูกค้า ออกจาก เงินของบริษัท
  • ความโปร่งใสในการดำเนินงาน: ผู้สมัครจะต้องเปิดเผยข้อมูลการเงินต่อ FCA อย่างโปร่งใส นั่นหมายความว่าทาง FCA จะต้องตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน รวมไปถึงที่ไปที่มาของเงินด้วยครับ
  • ต้องปฏิบัติตามมาตรฐาน MiFID II: อันนี้เขานับว่าเป็นมาตรฐานการกำกับดูแลทางการเงินของทางยุโรปครับ ดังนั้นไม่แปลกที่ผู้สมัครต้องทำตาม
  • การตรวจสอบและรายงานต่อ FCA: ข้อนี้ทางผู้สมัครจะต้องรายงานข้อมูลต่าง ๆ ให้ทาง FCA ได้รับทราบเพื่อรอการตรวจสอบการเงินครับ

เงื่อนไขเหล่านี้อาจจะดูเคร่งเอามาก ๆ แต่นับว่าเป็นเรื่องที่ดีต่อผู้บริโภคอย่างเรา ๆ ครับ เพราะการที่บริษัท หรือ โบรกเกอร์ใดที่ได้รับ License จาก FCA ก็นับว่าเป็นโบรกเกอร์ที่มีความมั่งคงและน่าเชื่อถืออยู่ในระดับโลกครับ

วิธีตรวจสอบใบอนุญาต FCA ยังไง

  1. เข้าไปที่ Website ของ FCA -> Click
  2. กรองชื่อโบรกเกอร์ที่ช่อง “Enter a name or reference number” -> จากนั้นกดติ๊กไปที่ Firms -> จากนั้นกด “Search”
  3. ตรวจสอบความถูกต้องของโบรกเกอร์ที่สนใจครับ

รูปที่ 4 วิธีค้นหา License ของโบรกเกอร์ Forex จาก FCA

ประวัติ หรือ ข่าว ระหว่าง FCA กับ โบรกเกอร์

ตัวอย่าง 4 โบรกเกอร์ที่เคยถูกทาง FCA ลงโทษครับ โดยรายละเอียดมีประมาณนี้ครับ

  1. FXCM UK: ช่วงปี 2024 ทางโบรกเกอร์ถูกปรับเงิน 4 ล้านปอนด์ (ประมาณ 174 ล้านบาท) เนื่องจากเขาดันไปกำทำไรแบบไม่เป็นธรรมจากลูกค้า และมีความไม่โปร่งใสต่อ FCA ครับ (ปิดบังข้อมูลนั้นแหละครับ)
  2. FXTB (Forex TB Ltd.): ทางโบรกเกอร์ถูกปรับประมาณ 276,100 ปอนด์ เนื่องจาก FXTB มีการตุกติกลูกค้าใน UK และมีการกระทำที่ละเมิดระเบียบของเขา ทาง FCA จึงสั่ง FXTB หยุดให้บริการแก่ลูกค้าใน UK และยกเลิก License ไปตั้งแต่ปี 2023
  3. BGC broker และ GFI Securities: ในปี 2022 ทาง BGC ถูกปรับรวม 4.7 ล้านปอนด์ เนื่องจากถูกทาง FCA จับได้ว่ามีการทุจริตทางการเงินและไม่สามารถบริหารความเสี่ยงได้ดีพอตามระเบียบของ Market Abuse Regulation (MAR)
  4. Interactive Broker UK: ในปี 2024 ทางโบรกเกอร์ถูกปรับไปประมาณ 1 ล้านปอนด์ เนื่องจากเขามีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมความเสี่ยงตามกฎของ FCA ครับ

จากตัวอย่างผลการค้นหาใน Enforcement เราจะเห็นว่า FCA มีการลงโทษบริษัทต่างๆ ในหลากหลายข้อหากันเลยครับ เช่น

  • การปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างไม่เป็นธรรม: Forex TB Limited ถูกปรับเนื่องจากข้อหานี้
  • การสื่อสารข้อมูลที่ทำให้เข้าใจผิด: TFS-ICAP Ltd. ถูกปรับเนื่องจากข้อหานี้
  • การไม่สามารถควบคุมธุรกิจการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: Barclays Bank Plc ถูกปรับเนื่องจากข้อหานี้

โบรกเกอร์ Forex ภายใต้การดูแลของ FCA

มีโบรกเกอร์ Forex หลายแห่งที่อยู่ภายใต้การควบคุมของ FCA ซึ่งล้วนเป็นโบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือสูงและได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวด นี่คือตัวอย่างโบรกเกอร์ที่ได้รับใบอนุญาตจาก FCA ครับ:

  • Pepperstone
  • Axi
  • Tickmill
  • FXpro
  • Activtrades
  • Exness
  • CMC Markets
  • XM
  • GMI Markets
  • Eightcap

สรุป

FCA ก็คือ “ตำรวจการเงิน” ของ UK! ถ้าโบรกเกอร์ไหนอยากทำธุรกิจในสหราชอาณาจักร ก็ต้องผ่านการตรวจสอบจาก FCA ก่อนเลย ถ้าไม่ผ่านกติกาหล่ะ? โดนลงดาบทันที! ตัวอย่างโบรกเกอร์ที่โดนจัดหนักมีทั้ง FXCM UK โดนปรับ 4 ล้านปอนด์ เพราะแอบทำอะไรลับๆล่อๆ, Interactive Brokers UK โดนไป 1 ล้านปอนด์ เพราะระบบไม่ดีพอ ถ้าโบรกเกอร์ไหนได้รับใบอนุญาตจาก FCA ก็มั่นใจได้เลยว่ามีความมั่นคงและปลอดภัยมากครับ!

อ้างอิง