Financial Services Agency (FSA) หน่วยงานกำกับดูแลทางการเงินของญี่ปุ่น ที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างความมั่นคงและความน่าเชื่อถือให้กับตลาดการเงินญี่ปุ่น

FSA ทำหน้าที่ตรวจสอบและควบคุมดูแลโบรกเกอร์ Forex และสถาบันการเงินต่างๆ อย่างเข้มงวด เพื่อสร้างความมั่นคงและความน่าเชื่อถือให้กับตลาดการเงินญี่ปุ่น

FSA JAPAN คืออะไร

ใบอนุญาต Financial Services Agency หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้น ว่า FSA จริงๆแล้วมันคือ “ใบเบิกทาง” ให้กับบริษัทการเงินในญี่ปุ่น ทั้งโบรกเกอร์ Forex และสถาบันการเงินต่าง ๆ ให้สามารถทำธุรกิจในวงการการเงินได้แบบถูกกฎหมาย ซึ่ง FSA นี่ไม่ใช่หน่วยงานที่ทำงานแบบขอไปทีนะ เขากำกับดูแลเข้มงวดสุดๆเลยล่ะครับ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับการคุ้มครอง และเพื่อทำให้ตลาดการเงินมีความมั่นคงไม่สะดุดล้มหัวทิ่มไปซะก่อน

รูปที่ 1 Financial Services Agency หรือที่เรามักจะเรียกกันสั้น ว่า FSA จริงๆแล้วมันคือ “ใบเบิกทาง” ให้กับบริษัทการเงินในญี่ปุ่น ทั้งโบรกเกอร์ Forex และสถาบันการเงินต่าง ๆ

ปกติแล้วแล้ว FSA ทำอะไรบ้างล่ะ?

  1. กำกับดูแลโบรกเกอร์และสถาบันการเงินทุกประเภท เหมือนกับผู้คุมกฎแห่งโลกการเงิน
  2. คอยปกป้องผู้บริโภคไม่ให้ถูกหลอก ถูกโกง ใครมากลเม็ดเด็ดพรายก็ไม่รอด
  3. เสริมความมั่นคงให้ตลาดการเงินญี่ปุ่น เพื่อให้การเทรดและการลงทุนปลอดภัยยิ่งขึ้น
  4. ดูแลให้ทุกคนทำตามกฎ ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ ถ้าทำผิดก็เจอเข้ม ๆ แน่นอนครับ

ดังนั้งจึงเรียกได้ว่า FSA นี่แหละเป็นตัวจริงเรื่องการเงินในประเทศญี่ปุ่น ใครมีใบอนุญาตจาก FSA นี่คือผ่านมาตรฐานระดับสูงของโลกการเงินแล้วล่ะครับ

บทบาทหน้าที่ของ Financial Services Agency ต่อโบรกเกอร์ Forex

ถ้าเปรียบเทียบ FSA หรือ Financial Services Agency ของญี่ปุ่นเป็นตำรวจการเงินก็คงไม่ผิดมากนักครับ เพราะงานหลักของเขาคือควบคุมโบรกเกอร์ Forex ให้อยู่ในร่องในรอย ใครคิดจะเล่นลูกไม้กับตลาดเงินญี่ปุ่นต้องเจอ FSA จัดหนักแน่นอน! มาดูบทบาทเจ๋ง ๆ ของ FSA กันดีกว่าครับ

รูปที่ 2 Financial Services Agency บทบาทหน้าที่หนึ่งในนั้นคือการคือควบคุมโบรกเกอร์ Forex ให้อยู่ในร่องในรอยไม่ว่าจะเป็นออกใบอนุญาต ตรวจสอบ คุ้มครองนักลงทุน เป็นต้น

FSA ทำอะไรให้โบรกเกอร์ Forex ต้องสะดุ้งบ้าง?

  • ออกใบอนุญาตให้โบรกเกอร์: อยากเปิดโบรกเกอร์ในญี่ปุ่นเหรอ? ไม่ใช่ว่าจะเปิดกันง่าย ๆ นะ! ต้องผ่านด่าน FSA ก่อน ใบอนุญาตนี้ไม่ใช่แค่กระดาษใบเดียวนะครับ แต่คือสัญลักษณ์ว่าคุณคือโบรกเกอร์ที่ผ่านการตรวจเข้มข้นระดับโลก!
  • ตรวจสอบการทำงาน: FSA ไม่ได้ปล่อยให้โบรกเกอร์ทำงานแบบลอยตัว พวกเขาจะตรวจสอบทุกย่างก้าว เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกคนต้องเล่นตามกฎ ไม่งั้นมีโทษแน่
  • คุ้มครองผู้บริโภค: FSA นี่เหมือนฮีโร่ที่ปกป้องนักเทรดล่ะครับ คอยดูให้โบรกเกอร์เปิดเผยข้อมูลจริง ไม่หลอกลวงใคร ใครที่คิดจะโกงนักลงทุนก็เตรียมตัวโดนเล่นงานได้เลยครับ
  • รักษาเสถียรภาพตลาด: บทบาทใหญ่ของ FSA ก็คือทำให้ตลาด Forex ในญี่ปุ่นมั่นคง ไม่มีการปั่นตลาด หรือเสี่ยงวิกฤต ทุกอย่างต้องโปร่งใสและยุติธรรมตรงไปตรงมา

ดังนั้น โบรกเกอร์ในญี่ปุ่นที่ได้ใบอนุญาตจาก FSA ถือว่าผ่านเกณฑ์แบบสุด ๆ จะเทรดกี่ครั้งก็สบายใจได้เลยว่ามีการคุมเข้มทุกฝีก้าว ถึงแม่เราจะไม่คุ้นตากับโบรกเกอร์สัญชาติญี่ปุ่นเลยก็ตาม ดังนั้นเราไปดูกันครับว่าโบรกเกอร์ของญี่ปุ่นที่มีใบอนุญาตของ FSA มีโบรกใดบ้างและพอจะคุ้นหูกันบ้างรึปล่าว

โบรกเกอร์ที่อยู่ภายใต้การกำกับของ FSA:

  1. Rakuten Securities: หนึ่งในโบรกเกอร์ที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ให้บริการการซื้อขาย Forex ที่มีความมั่นคงและปลอดภัยที่ค่อนข้างสูงครับ
  2. Monex Group: โบรกเกอร์ชื่อดังที่อยู่ภายใต้การดูแลของ FSA โดยมีบริการการซื้อขาย Forex และผลิตภัณฑ์การเงินอื่น ๆร่วมด้วย
  3. DMM FX
  4. GMO Click Securities
  5. AvaTrade
  6. ThinkMarkets
  7. Dukascopy
  8. forex.com

สามารถดูรายชื่อทั้งหมดได้ที่ Financial Instruments Business Operators ทาง FSA Japan แยกหมวดหมู่ของบริษัทต่างๆมาให้แล้วครับ

Financial Services Agency กำกับดูแลใครบ้าง

นอกจากโบรกเกอร์ Forex แล้วอันที่จริง Financial Services Agency ก็ทำการกับกำดูแลเกี่ยวกับด้านตลาดการเงินอื่นๆอีกมากมายนะครับไม่ว่าเป็นหน่วยงาน องค์กร หรือ บริษัท ดังนั้นเราไปดูสรุปกันครับว่า FSA นั้นครอบคลุมกำกับดูแลอะไรบ้างมากน้อยแค่ไหน

รูปที่ 3 Financial Services Agency กำกับดูแลทั้ง โบรกเกอร์ Forex สถาบันการเงิน และ บริษัทลงทุนและอสังหาริมทรัพย์

FSA ดูแลใครบ้าง?

  • โบรกเกอร์ Forex: โบรกเกอร์ใดๆ ที่อยากเปิดบริการในญี่ปุ่นต้องผ่านการตรวจเข้มจาก FSA ก่อนเสมอครับ เรียกว่าไม่ได้ใบอนุญาตจาก FSA ก็อย่าหวังจะได้ทำธุรกิจการเงินในแดนปลาดิบ
  • สถาบันการเงิน: ธนาคาร, บริษัทประกันภัย หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ ก็ต้องยอมให้ FSA คุมเข้ม เพื่อให้แน่ใจว่าการบริการนั้นยุติธรรมและปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริงๆ
  • บริษัทลงทุนและอสังหาริมทรัพย์: FSA ไม่ได้ปล่อยให้ธุรกิจการเงินด้านอื่น ๆ ลอยนวล โดยเฉพาะเรื่องการปล่อยกู้ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

วิธีร้องเรียนกับ Financial Services Agency

แน่นอนว่าถ้าคุณอยากร้องเรียนกับ Financial Services Agency หรือ FSA ของญี่ปุ่น อย่าเพิ่งเครียดครับมันไม่ได้ยากอย่างที่คิด ดังนั้นเรามาดูวิธีที่ทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้นกันดีไหมครับ แถมยังสนุกได้อีกต่างหาก เอ้า ลุยกันเลย!

ขั้นตอนการร้องเรียนกับ FSA ผ่านเว็บไซต์

  1. เตรียมข้อมูลให้พร้อม
    ก่อนอื่น เตรียมทุกอย่างให้พร้อม! ไม่ว่าจะเป็นรายละเอียดของเรื่องที่คุณอยากร้องเรียน เช่น ชื่อโบรกเกอร์ ปัญหาที่เจอ และหลักฐานที่คิดว่าเด็ดสุด ๆ เก็บให้ครบทุกเม็ดนะครับ
  2. กรอกข้อมูล
    ตรงนี้ล่ะ มาถึงขั้นตอนจริงจังกันแล้ว! กรอกข้อมูลที่เตรียมมาให้ครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็นชื่อคุณ ข้อมูลติดต่อ รายละเอียดปัญหาที่เจอ อย่าลืมเช็กให้ชัวร์ก่อนกดส่งด้วยจะดีมากครับ โดยสามารถส่งเอกสารได้สองช่องทางดังต่อไปนี้

    • ทางไปษณีย์ : Financial Services Agency ,The Central Common Government Offices No. 7, 3-2-1 Kasumigaseki, Chiyoda-ku, Tokyo, 100-8967 Japan
    • ทางอีเมล : equestion@fsa.go.jp (แนะนำวิธีนี้ง่ายดีครับ)
  3. กดส่ง!
    พอกรอกทุกอย่างเสร็จแล้วก็ถึงเวลาของการ “คลิก” ปุ่มส่ง บนอีเมล แค่นี้คุณก็เสร็จสิ้นการร้องเรียนเรียบร้อยแล้วก็รอให้ FSA ติดต่อกลับมา อย่าลืมเช็กอีเมลหรือเบอร์โทรที่คุณให้ไว้ด้วยล่ะครับ

สรุป

บอกเลยว่าใบอนุญาตจาก Financial Services Agency (FSA) ของญี่ปุ่นนี่น่าเชื่อถือสุดๆ ไปเลยล่ะครับถ้าเทียบก็เหมือนกับการได้ตราประทับ “ผ่านมาตรฐานระดับเทพ” จากหน่วยงานการเงินที่เข้มงวดสุด ๆ ของประเทศญี่ปุ่น! ใครได้ใบนี้ไป การันตีได้เลยว่าบริษัทการเงินหรือโบรกเกอร์เจ้านั้นต้องปฏิบัติตามกฎแบบเคร่งครัดอย่างแน่นอน แถมยังมีมาตรฐานสูงเวอร์ จะลงทุนหรือเทรดก็สบายใจได้ เพราะ FSA ไม่ปล่อยให้ใครโกงง่าย ๆ แน่นอนครับ

อ้างอิง

  • [1] https://www.fsa.go.jp/en/
  • [2] https://www.dowjones.com/professional/risk/glossary/regulatory-bodies/financial-services-agency-japan/
  • [3] https://en.wikipedia.org/wiki/Financial_Services_Agency