ตำราฉบับง่ายกับระบบกำไรโดยอินดิเคเตอร์ที่มีชื่อว่า Ichimoku Kinko Hyo หรือที่รู้จักกันในชื่อของ “ระบบ ก้อนเมฆ” ซึ่งเป็นหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในวงการการเทรดอย่างตลาด Forex

โดยที่ Ichimoku มีความสามารถในการระบุแนวรับแนวต้านและบอกเทรนด์ได้อย่างแม่นยำเป็นอย่างมาเลยครับ และแน่นอนว่าในบทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการใช้งาน Ichimoku Kinko Hyo อย่างละเอียดพร้อมทั้งแชร์ไอเดียในการใช้งานร่วมกับอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆให้ได้รับชมกันอีกด้วยนั่นเอง

ความเป็นมาของและความหมายของ Ichimoku Kinko Hyo

Ichimoku Kinko Hyo นั้นถูกคิดค้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดย Goichi Hosoda ซึ่งใช้เวลายาวนานถึง 30 ปีเลยทีเดียวในการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์ จากนั้นก็ได้นำออกมาเผยแพร่ให้ได้ใช้งานกันในช่วงราวๆ ทศวรรษที่ 1960 ซึ่งจะมีรายละเอียดปรีกย่อยดังหัวข้อต่อไปนี้ครับ

รูปที่ 1 ความเป็นมาของและความหมายของ Ichimoku Kinko Hyo

  • Ichimoku Kinko Hyo มีชื่อเต็มว่า Ichimoku Kinko Hyo indicator
  • ในภาษาไทยนิยมเรียกว่า “ระบบก้อนเมฆ” เนื่องจากรูปร่างของอินดิเคเตอร์มีลักษณะคล้ายก้อนเมฆ
  • ถูกคิดค้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1930 โดย Goichi Hosoda
  • Goichi Hosoda ใช้เวลายาวนานถึง 30 ปีในการพัฒนาให้มีความสมบูรณ์
  • ได้นำออกมาเผยแพร่ให้ได้ใช้งานกันในช่วงราวๆ ทศวรรษที่ 1960
  • เป็นอินดิเคเตอร์ที่ใช้งานค่อนข้างง่าย และมีความแม่นยำค่อนข้างสูงเมื่อทำไปปรับใช้กับกับอินดิเคเตอร์อื่นๆ เช่น MACD หรือ Bollinger Bands เป็นต้น
  • มีความสามารถในการช่วยระบุแนวรับแนวต้านและบอกเทรนด์ได้แม่นยำ โดยเฉพาะเมื่อใช้พิจารณาในหลายๆไทม์เฟรม

ส่วนประกอบของและสูตรการคำนวนของ Ichimoku Kinko Hyo

รูปที่ 2 ส่วนประกอบของ Ichimoku Kinko Hyo

Ichimoku Kinko Hyo ประกอบด้วย 5 เส้นหลักๆด้วยกัน โดยแต่ละเส้นมีความหมายและวิธีการคำนวณรวมไปถึงมีวิธีกานใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้:

  1. Tenkan-sen (Conversion Line): เส้นของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะสั้น
  • สูตรคำนวณ:(9(9-period high + 9-period low) / 2
  • ความหมาย: คล้ายคลึงกับเส้น MA แบบ Fast EMA มีความสามารถในการบอกโมเมนตัมในระยะสั้น
  1. Kijun-sen (Base Line): เส้นของการเคลื่อนไหวของราคาในระยะกลาง
  • สูตรคำนวณ:(26(26-period high + 26-period low) / 2
  • ความหมาย: คล้ายคลึงกับเส้น MA แบบ Slow EMA มีความสามารถในการบอกโมเมนตัมในระยะกลาง
  1. Senkou Span A และ Senkou Span B: เส้นขอบของก้อนเมฆ
  • Senkou Span A (Leading Span A): เส้นขอบของก้อนเมฆด้านบน
    • สูตรคำนวณ: (Conversion Line + Base Line) / 2
    • ความหมาย: เป็นส่วนหนึ่งของก้อนเมฆที่ใช้ในการบอกเทรนด์
  • Senkou Span B (Leading Span B): เส้นขอบของก้อนเมฆด้านล่าง
    • สูตรคำนวณ: (52-period high + 52-period low) / 2
    • ความหมาย: เป็นส่วนหนึ่งของก้อนเมฆที่ใช้ในการบอกเทรนด์
  • การตีความหมายของ Senkou Span
    • Senko Span A > B จะเท่ากับ Up Kumo จะบอกถึงราคามีแนวโน้มขาขึ้น
    • Senko Span B > A จะเท่ากับ Down Kumo จะบอกถึงราคามีแนวโน้มขาลง
    • เมฆก้อนแคบ ผันผวนน้อย / เมฆก้อนใหญ่กว้าง ผันผวนมาก
  1. Chikou Span (Lagging Span): เส้นที่แสดงราคาปิดของกราฟแท่งเทียนย้อนหลัง
  • สูตรคำนวณ: Close plotted 26 days in the past (เมื่อใช่ค่าเท่ากับ 26)
  • ความหมาย: ใช้ในการยืนยันสัญญาณการครอสโอเวอร์ของเส้น Tenkan-sen และ Kijun-sen

วิธีการใช้งาน Ichimoku Kinko Hyo เบื้องต้น

รูปที่ 3 พื้นฐานในการใช้ Ichimoku Kinko Hyo บอกเทรนด์หรือแนวโน้มของราคาขาขึ้น

พื้นฐานในการใช้ Ichimoku บอกเทรนด์

การบอกเทรนด์ขาขึ้น

  1. กราฟแท่งเทียนโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ Up kumo
  2. เส้น Tenkan-sen ตัดกับ Kijun-sen และโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ
  3. เส้น Chikou Span อยู่เหนือกราฟแท่งเทียนและเหนือเมฆ
  4. เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Up Kumo (Senkou Span A > B)

การบอกเทรนด์ขาลง

  1. กราฟแท่งเทียนโผล่ลงไปใต้เมฆ Down kumo
  2. เส้น Tenkan-sen ตัดกับ Kijun-sen และโผล่ลงไปใต้เมฆ
  3. เส้น Chikou Span อยู่ใต้กราฟแท่งเทียนและใต้เมฆ
  4. เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Down Kumo (Senkou Span B > A)

การบอกเทรนด์ประเภท Side way

  1. กราฟแท่งเทียนอยู่ภายในเมฆ แสดงถึงช่วงที่ตลาดอยู่ในสภาวะ Sideway หรือไม่มีแนวโน้มชัดเจน (ไม่ควรเข้าเทรดเป็นอย่างมาก)

การประยุกต์ใช้Ichimoku Kinko Hyo ในการมองหาแนวรับและแนวต้าน

รูปที่ 4 พื้นฐานในการใช้ Ichimoku บอกแนวต้านจากก้อนเมฆ Down kumo

แนวรับจาก Ichimoku

  1. แนวรับจากเส้น Kijun-sen:
  • เส้น Kijun-sen มักจะทำหน้าที่เป็นแนวรับที่แข็งแกร่งในช่วงที่ราคาอยู่เหนือเส้นนี้
  • หากราคาลดลงมาถึงเส้น Kijun-sen แล้วเกิดการดีดตัวขึ้น แสดงว่าเส้นนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับ
  1. แนวรับจากเส้น Chikou Span:
  • เส้น Chikou Span มักจะทำหน้าที่เป็นแนวรับในช่วงที่ราคาปัจจุบันอยู่เหนือเส้นนี้
  • หากราคาลดลงมาถึงเส้น Chikou Span แล้วเกิดการดีดตัวขึ้น แสดงว่าเส้นนี้ทำหน้าที่เป็นแนวรับ
  1. แนวรับจากก้อนเมฆ Up kumo (นิยมใช้มากที่สุด)
  • แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น โดยมีเมฆ (Up Kumo) ทำหน้าที่เป็นแนวรับ

แนวต้าน Ichimoku

  1. แนวต้านจากเส้น Kijun-sen:
  • เส้น Kijun-sen มักจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านที่แข็งแกร่งในช่วงที่ราคาอยู่ใต้เส้นนี้
  • หากราคาขึ้นมาถึงเส้น Kijun-sen แล้วเกิดการดีดตัวลง แสดงว่าเส้นนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
  1. แนวต้านจากเส้น Chikou Span:
  • เส้น Chikou Span มักจะทำหน้าที่เป็นแนวต้านในช่วงที่ราคาปัจจุบันอยู่ใต้เส้นนี้
  • หากราคาขึ้นมาถึงเส้น Chikou Span แล้วเกิดการดีดตัวลง แสดงว่าเส้นนี้ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน
  1. แนวต้านจากก้อนเมฆ Down Kumo (นิยมใช้มากที่สุด)
  • แสดงถึงแนวโน้มขาลงโดยมีเมฆ ( Down Kumo) ทำหน้าที่เป็นแนวต้าน

วิธีการตั้งค่า Ichimoku ให้เหมาะกับการเทรดระยะสั้นและระยะยาว

ถึงแม้ว่าค่าพารามิเตอร์ดั้งเดิมของ Ichimoku นั้นจะถูกตั้งค่าออกมาให้มีความเหมาะสมอยู่แล้ว แต่ทั้งนี้กลยุทธ์ที่ใช้งานการในแทรดของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันออกไป ดังนั้นผมเลยขอแนะนำการตั้งค่าพารามิเตอร์สำหรับการเทรดระยะสั้นและระยะยาวดังต่อไปนี้

  • ค่าพารามิเตอร์ สำหรับการเทรดระยะสั้น:
    • Tenkan-sen: ลดค่าลงเหลือ 5-7 วัน (จากค่าปกติ 9 วัน)
    • Kijun-sen: ลดค่าลงเหลือ 15-20 วัน (จากค่าปกติ 26 วัน)
    • Senkou Span B: ลดค่าลงเหลือ 30-40 วัน (จากค่าปกติ 52 วัน)
  • ค่าพารามิเตอร์ สำหรับการเทรดระยะยาว:
    • Tenkan-sen: เพิ่มค่าขึ้นเป็น 12-15 วัน
    • Kijun-sen: เพิ่มค่าขึ้นเป็น 30-40 วัน
    • Senkou Span B: เพิ่มค่าขึ้นเป็น 60-80 วัน

จากค่าดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเมื่อเพิ่มค่าพารามิเตอร์มากขึ้นก็จะทำให้เหมาะสำหรับการการเทรดระยะยาวได้มากขึ้นและจะลดสัญญาณหลอกได้ดี แต่ในทางกลับกันก็อาจจะส่งผลให้บอกสัญญาณให้ช้าขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้นแล้วการปรับค่าพารามิเตอร์นี้ควรทำการทดสอบย้อนหลัง (Backtest) กับคู่เงินหรือสินทรัพย์ที่ต้องการเทรด เพื่อหาค่าที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกลยุทธ์การเทรดของแต่ละคนด้วยนั่นเอง

ไอเดียการใช้งาน Ichimoku ร่วมกับอินดิเคเตอร์ MACD

เงื่อนไขการ Buy Ichimoku ร่วมกับอินดิเคเตอร์ MACD

รูปที่ 5 เงื่อนไขการ Buy Ichimoku ร่วมกับอินดิเคเตอร์ MACD

  1. กราฟแท่งเทียนโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ:เมื่อกราฟแท่งเทียนอยู่เหนือเมฆ (Up Kumo) แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น
  2. เส้น Tenkan-sen ตัดกับ Kijun-sen และโผล่ขึ้นมาเหนือเมฆ: เส้น Tenkan-sen ตัดขึ้นเหนือเส้น Kijun-sen และทั้งสองเส้นอยู่เหนือเมฆ แสดงถึงสัญญาณ Bullish
  3. เส้น Chikou Span อยู่เหนือกราฟแท่งเทียนและเหนือเมฆ: เส้น Chikou อยู่เหนือกราฟแท่งเทียนและเมฆ แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้นที่แข็งแรง
  4. เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Up Kumo (Senkou Span A > B): Senkou Span A อยู่เหนือ Senkou Span B แสดงถึงแนวโน้มขาขึ้น
  5. สัญญาณ Histogram ของ MACD อยู่เหนือระดับ 0: Histogram ของ MACD อยู่เหนือระดับ 0 แสดงถึงโมเมนตัมขาขึ้น
  6. การเข้าไม้ Buy: รอจนกว่ากราฟราคาย่อลงมาและทำราคาปิดเหนือ Tenkan-sen หรือ Kijun-sen อีกครั้งให้ทำการเปิด ให้ทำการเปิดไม้ Buy
  7. ตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ Swing Low ล่าสุด และ ตั้งจุด Take Profit ไว้ที่ระดับ Risk-Reward Ratio (RR) 1:1

เงื่อนไขการ Sell Ichimoku ร่วมกับอินดิเคเตอร์ MACD 4C

รูปที่ 6 เงื่อนไขการ Sell Ichimoku ร่วมกับอินดิเคเตอร์ MACD

  1. กราฟแท่งเทียนโผล่ลงไปใต้เมฆ: เมื่อกราฟแท่งเทียนอยู่ใต้เมฆ แสดงถึงแนวโน้มขาลง
  2. เส้น Tenkan-sen ตัดกับ Kijun-sen และโผล่ลงไปใต้เมฆ: เส้น Tenkan-sen ตัดลงใต้เส้น Kijun-sen และทั้งสองเส้นอยู่ใต้เมฆ แสดงถึงสัญญาณ Bearish
  3. เส้น Chikou Span อยู่ใต้กราฟแท่งเทียนและใต้เมฆ: เส้น Chikou Span อยู่ใต้กราฟแท่งเทียนและเมฆ แสดงถึงแนวโน้มขาลงที่แข็งแรง
  4. เกิดก้อนเมฆเป็นชนิดของ Down Kumo (Senkou Span B > A): Senkou Span B อยู่เหนือ Senkou Span A แสดงถึงแนวโน้มขาลง
  5. สัญญาณ Histogram ของ MACD อยู่ใต้ระดับ 0: Histogram ของ MACD อยู่ใต้ระดับ 0 แสดงถึงโมเมนตัมขาลง
  6. การเข้าไม้ Sell: รอจนกว่ากราฟราคาจะย่อตัวและปิดใต้ Tenkan-sen หรือ Kijun-sen อีกครั้ง ให้ทำการเปิดไม้ Sell
  7. ตั้งจุด Stop Loss ไว้ที่ Swing High ล่าสุดตั้งจุด Take Profit ไว้ที่ระดับ Risk-Reward Ratio (RR) 1:1

การวิเคราะห์กลยุทธ์ Ichimoku ร่วมกับ MACD Histogram

การใช้ Ichimoku ร่วมกับ MACD Histogram เป็นการผสมผสานระหว่างการวิเคราะห์แนวโน้มและโมเมนตัม ซึ่งมีข้อดีดังต่อไปนี้:

  1. เพิ่มความแม่นยำ: การใช้สองอินดิเคเตอร์ช่วยยืนยันสัญญาณการเข้าและออกจากตลาด ทำให้ลดโอกาสการเกิดสัญญาณหลอกที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
  2. การระบุแนวโน้ม: Ichimoku มีความสามารถในการระบุแนวโน้มได้ดี โดยเฉพาะเมื่อกราฟแท่งเทียนอยู่เหนือหรือใต้เมฆ
  3. การยืนยันโมเมนตัม: MACD Histogram ช่วยยืนยันโมเมนตัมของตลาด ทำให้สามารถเข้าและออกจากตลาดได้อย่างมั่นใจมากขึ้น

ข้อควรระวังการใช้งาน Ichimoku

  • ไม่ควรใช้ Ichimoku ในช่วงที่กราฟราคาอยู่ภายในเมฆ เนื่องจากความแม่นยำในการบอกข้อมูลค่อนข้างน้อย
  • ควรใช้กลยุทธ์นี้ร่วมกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆ และการจัดการความเสี่ยงที่ดี

สรุป

Ichimoku Kinko Hyo เป็นอินดิเคเตอร์ที่มีความสามารถในการระบุแนวโน้มและแนวรับแนวต้านได้อย่างแม่นยำ ดังนั้นการใช้งาน Ichimoku ร่วมกับ MACD Histogram จึงสามารถช่วยเพิ่มความแม่นยำในการเทรดได้เป็นอย่างดีเลยล่ะครับ แต่อย่างไรก็ตาม ควรใช้กลยุทธ์นี้ร่วมกับการวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่นๆผสมเติมแต่งเข้าไปด้วยพร้อมกับการฝึกฝนและการทำ Backtest อยู่เสมอจะทำให้ตอบโจทย์ได้อย่างดีเยี่ยมเลยทีเดียวครับ

อ้างอิง

  • [1] https://www.babypips.com/learn/forex/ichimoku-kinko-hyo
  • [2] https://admiralmarkets.com/education/articles/forex-indicators/ichimoku-kinko-hyo-indicator
  • [3] https://www.litefinance.org/blog/for-beginners/best-technical-indicators/ichimoku-cloud-indicator-in-forex-explained/
  • [4] https://www.babypips.com/forexpedia/ichimoku-kinko-hyo