ในตลาด Forex นั้น เทรดเดอร์ต่างตามหาความมั่งคั่งที่อยู่ใต้ทะเลลึก แต่ก็ต้องเผชิญกับความเสี่ยงที่ไม่มีที่สิ้นสุด เปรียบเสมือนชาวประมงที่ออกล่าปลามากุโร่ในท้องทะเลกว้างใหญ่ที่เต็มไปด้วยคลื่นลมและอันตราย เทคนิคการเทรดต่าง ๆ ก็เหมือนกับเรือประมง หากเราเลือกเรือที่ดีและควบคุมมันได้อย่างชำนาญ มันจะช่วยลดความเสี่ยงจากทะเลที่แปรปรวนได้มากพอสมควร

Moving Average Convergence Divergence (MACD) เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่น่าหลงใหลและทรงพลังในวงการ Forex ดังนั้นมันจึงถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในแวดวงเทรดเดอร์ บทความนี้เราจะพาคุณผู้อ่านไปเจาะลึกถึงที่มาที่ไปของ MACD และ วิธีการใช้ MACD อย่างมืออาชีพ

MACD คืออะไร?

Moving Average Convergence Divergence (MACD) คือ อินดิเคเตอร์ที่พัฒนาต่อยอดมาจาก Moving Average (MA) ซึ่งเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้ในวงการการวิเคราะห์ทางเทคนิค โดยชื่อของอินดี้ตัวนี้ เราจะเห็นได้ว่ามันถูกต่อท้ายด้วย “Convergence” และ “Divergence” ครับ

ทำไมจึงเป็นแบบนั้น… เนื่องจากในเชิงเทคนิคแล้ว “Convergence” จะหมายถึงการที่เส้นราคาเคลื่อนเข้าหากัน ในขณะที่ “Divergence” นั้นหมายถึงการที่เส้นราคาเคลื่อนออกจากกัน แล้วเขาพยายามจะบอกอะไรเรากันแน่? เดี๋ยวมาดูกันครับ

MACD ถูกพัฒนาขึ้นโดย Gerald Appel ในช่วงปี 1970s โดยมีแนวคิดเบื้องต้นจากการนำค่า Moving Average มาใช้ในการคำนวณแบบ Exponential หรือที่เรารู้จักกันในปัจจุบันว่า Exponential Moving Average (EMA)

ปกติแล้ว MACD จะใช้ค่า EMA สองค่าในการวิเคราะห์ ได้แก่ EMA(12) และ EMA(26) โดยคำนวณค่าความแตกต่างหรือระยะห่างของเส้นราคา ซึ่งทำให้เกิดแนวคิด Convergence และ Divergence ขึ้นมา

รูปที่ 1 แสดงแนวคิดการทำงานของ MACD indicator ที่มีต้นกำเนิดจากเส้น EMA period 12 และ period 26

MACD ถูกจัดอยู่ในกลุ่มอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillators ซึ่งเทรดเดอร์มักใช้ในการวิเคราะห์หาแนวโน้มของตลาด และตรวจสอบโมเมนตัมครับ

ส่วนประกอบและการคำนวณของ MACD

ในส่วนของการแสดงผลนั้น ทาง MACD indicator จะแสดงผลผ่าน indicator window โดยที่จะมีองค์ประกอบคือ

  • MACD Line
    • MACD Line คือ เส้นที่จะไม่ปรากฏบน output ของ indicator window แต่เส้นนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อคำนวณหา MACD Histogram
    • สมการ คือ MACD = EMA (12) – EMA (26)
  • Signal Line
    • Signal Line คือ เส้นที่บ่งชี้ค่าเฉลี่ยของราคาอันถูกคำนวณจาก EMA ด้วยการใช้ Period 9 ซึ่งปกติเส้นนี้จะใช้เพื่อหาจุดเข้าซื้อขายครับ
    • สมการ คือ Signal Line = EMA (9) ของ MACD
  • Histogram
    • Histogram คือ แท่งบ่งบอกความเป็นเทรนได้ โดยหากมีค่ามากกว่า 0 หมายความว่า มีความเป็นไปได้ที่ตลาดจะเป็นขาขึ้น ในขณะที่หากมีค่าลบก็มีความเป็นไปได้ที่จะเป็นขาลง
    • สมการ คือ MACD Line – Signal Line

รูปที่ 2 แสดงตัวอย่างจริงส่วนประกอบหลักของ MACD indicator

การตีความและการใช้งาน MACD

  • การใช้ MACD ในการระบุแนวโน้ม
    • ในสถานการณ์ปกติ เรามักจะดูค่า MACD histogram ในการระบุแนวโน้ม โดยหากค่านี้มีค่าเป็น บวก หมายความว่า ตอนนี้อาจจะเป็นแนวโน้มขาขึ้น
    • ในขณะที่ หากเป็นแนวโน้มขาลง ค่า MACD Histogram มักจะแสดงให้เราเห็นเป็นค่า ลบ เสมอครับ
    • ข้อควรระวัง: เรายังเห็น False signal จาก indicator ตัวนี้และมันยังคงเป็น indicator ประเภทที่ต้องเจอ Lagging event อยู่เสมอ ซึ่งแทบจะไม่ต่างกับ EMA เลย เพราะอย่างไรเสีย MACD ก็มีพื้นฐานมาจาก EMA ครับ
  • สัญญาณซื้อ-ขายจาก MACD Histogram และ Signal Line
    • หากเราใช้ MACD indicator แบบเดี่ยว ๆ เพื่อทำการเข้าซื้อขายล่ะก็ ให้เราดูจังหวะที่ Signal Line ตัดขึ้น เส้น 0 ซึ่งเป็นเส้นที่เรา Add เพิ่มเข้าเพื่อให้ดูง่ายขึ้น จากนั้นให้เราเล็งจนกว่า Histogram สองแท่งล่าสุดจะเป็นค่า บวก -> จากนั้นให้เข้า Buy ได้เลย
    • ในขณะที่การหาจังหวะเข้า Sell เราจะทำตรงกันข้ามกับ Buy โดยสิ้นเชิง ดังนั้นเส้น Signal Line ควรจะวิ่งตัดลง เส้น 0 และ Histogram สองแท่งล่าสุดจำเป็นต้องมีค่าเป็น ลบ จึงจะสามารถเข้า Sell ได้ครับ

รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างการหาสัญญาการเข้าซื้อขายด้วย MACD indicator เพียงอย่างเดียว

  • การวิเคราะห์ Divergence
    • ในแวดดวง forex นั่น คำว่า Divergence หมายถึง สัญญาณการกลับตัวของกราฟราคา ซึ่งเป็นไปได้ว่าจะเกิดจากความขัดแย้งระหว่าง ทิศทางของราคา กับ ทิศทางของ indicator ซึ่งหลักการโดยทั่วไปจะจำแนกได้ 2 แบบดังนี้
    • Regular Divergence: เขาจะเกิดขึ้นเมื่อราคา และ indicator เคลื่อนที่ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน ยกตัวอย่างเช่น ถ้าราคามีการเพิ่มสูงขึ้น แต่ค่า indicator กลับลดลง มันอาจจะตีความได้ว่าเป็นสัญญาณของการกลับตัวครับ
    • Hidden Divergence: เกิดขึ้นเมื่อราคาทำ higher low หรือ จุดต่ำที่สูงขึ้น แต่ค่า indicator กลับทำ lower low หรือ จุดต่ำที่ต่ำลง เหตุการณ์แบบนี้บ่งบอกถึงแนวโน้มที่แข็งแกร่ง และมีโอกาสที่กราฟจะเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดิมครับ

รูปที่ 4 ตัวอย่างการค้นหา Hidden Divergence ด้วยการใช้ MACD indicator ด้วยหลักการที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งเราจะเห็นได้ครับว่า Hidden divergence มีการยืนยันแนวโน้มขาขึ้นมากถึง 2 รอบเลย โดยรอบแรกอาจจะยังไม่ชัดเจนแต่ถ้าใครหาจังหวะเข้า Buy ตั้งแต่สัญญาณแรกก็กินยาว ๆ ไปเลยครับ

วิธีตั้งค่า MACD ขั้นพื้นฐาน

วิธีการตั้งค่าพื้นฐานทั่วไปไม่ยากครับ โดยขั้นแรกให้เราเรียกใช้งาน MACD indicator ก่อน โดยสามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้ครับ

  • เลือก insert ตรง Tools bar > Indicators > Oscillators > MACD
  • ตั้งค่าเดิม ๆ โรงงานก็ได้ หรือ จะตั้งแบบไม่ใช่ของโรงงานก็ได้ครับ ซึ่งมันสามารถปรับได้ 3 parameters ได้แก่ Fast EMA, Slow EMA, และ Signal SMA หรือ MACD SMA เป็นต้น

กลยุทธ์การเทรดด้วย MACD แบบ Trend Following

  • เราจะใช้การตั้งค่าแบบเดิม ๆ จากโรงงานครับ นั้นคือ Fast EMA = 12, Slow EMA = 26, และ Signal SMA = 9
  • Step 1: ให้เรามองหาแนวรับที่สำคัญ (ในการณี Buy)
  • Step 2: ให้เรารอ Signal Line ตัดขึ้น Zero Line และ/หรือ Signal Line อยู่เหนือ MACD Histogram
  • Step 3: ให้เข้า Buy โดยปรับ Take profit (TP) และ Stop Loss (SL) ให้เหมาะสม โดยเราอาจจะต้องทำการ Backtest ย้อนหลังเอาว่าควรจะมีระยะ TP SL เท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ซึ่งตรงนี้เองจะต้องทำเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาพอ และไม่ทำให้เกิดการ Overfitting
  • Step 4: ให้คำนวณ Lot size โดยการคำนวณตรงนี้จะเป็นการช่วยเราบริหารความเสี่ยงของเงินยในพอร์ตเราได้เป็นอย่างดีครับ และการคำนวณดังกล่าว เรามักจะใช้สมการนี้ครับ Lot size = (Account Balance * %Risk) / (SL in pips * Pips value)
    • Account Balance คือ จำนวนต้นทุนของเรา ณ ขณะ นั้น เช่น $100, $500, $1,000 เป็นต้น
    • %Risk คือ เปอร์เซ็นความเสี่ยงที่เราต้องการควบคุมต่อการเทรด 1 ครั้ง เช่น 1%, 2%, 3% เป็นต้น ซึ่งเวลาเราจะนำไปเข้าสมการ เราจะทำให้มันอยู่ในรูปของ fraction ก่อนโดยการนำไป หาร 100 ครับ
    • SL in pips คือ ระยะของ SL ในหน่วย Pips
    • Pips value คือ ค่าที่บอกเราถึง กำไร หรือ ขาดทุน เท่าไหร่ ในหน่วน usd/pip ซึ่งสำหรับ standard lot ของคู่เงินหลักแล้วจะมีค่าเท่ากับ $10/pip ครับ

รูปที่ 5 แสดงตัวอย่างการเข้าซื้อด้วยกลยุทธ์การเทรดแบบ Trend Following ซึ่งใช้เพียง MACD indicator แบบ Stand-alone

ข้อควรระวังในการใช้ MACD

การใช้งาน MACD ในการเทรดนั้นถึงแม้ว่าจะมีประโยชน์มาก แต่เขาก็มีข้อควรระวังที่เราจำเป็นต้องรู้เช่นกันครับ โดยข้อควรระวังนี้จะมีผลดีต่อเทรดเดอร์ตรงที่ว่า มันจะช่วยลดความเสี่ยงอะไรหลาย ๆ ได้ ซึ่งข้อควรระวังมีดังนี้

  • สัญญาณหลอก (False Signals)
    • False signal คือ สัญญาณหลอกจาก indicator ที่สะท้อนได้ถึงความขาดความแม่นยำในการเทรด เช่น MACD ชี้ให้เห็นว่าควรเข้า Buy จุดนี้ แต่พอเอาเข้าจริงแล้ว มันไม่ใช่จุดเข้าที่ดี จึงส่งผลให้ราคาวิ่งไปชน SL จนขาดทุนไป
    • โดยสัญญาณหลอกเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุครับ ไม่ว่าจะเป็นความผันผวนของตลาดที่ความเสี่ยงสูง, การเกิด Sideway, การเกิดข่าวสำคัญ ๆ ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจโลก เป็นต้น
  • การใช้งานในตลาดที่มีความผันผวนสูง
    • ในช่วงที่ตลาด forex เกิดความผันผวนสูง MACD อาจให้สัญญาณที่ไม่ค่อยแม่นยำนัก แต่เราอาจจะพบสาเหตุนี้ได้น้อยหากเราเทรดกันบน Time Frame H1-D1 ครับ
  • MACD เป็น Lagging indicator
    • หลาย indicator มักเป็นแบบนี้ครับ เพราะเขาคำนวณ Output จากชุดข้อมูลราคาในอดีตอยู่แล้ว ทำให้มันล่าช้าเป็นปกติ ซึ่งก็มีวิธีแก้ไขอยู่บ้าง

ข้อควรระวังของ MACD หลัก ๆ ก็น่าจะมีเท่านี้ ซึ่งเนื้อหาต่อไปนี้ จะเป็นการเข้าสู่การใช้ MACD แบบมืออาชีพมากขึ้นตามลำดับครับ

เคล็ดลับการใช้ MACD ให้ได้ผล

อย่างที่เกริ่นถึงข้อควรระวังไปแล้ว เราหันมาดูเรื่องของเคล็ดลับใน การใช้งาน MACD กันดีกว่า โดยหลัก ๆ ก็มีอยู่แค่ 3 ข้อเท่านั้น ได้แก่

  • ใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น ๆ: การทำแบบนี้จะช่วยให้เราเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์แนวโน้มได้ดีมากขึ้น
    • ยกตัวอย่างเช่น การใช้ EMA ร่วมกับ MACD ก็ถือเป็นเทคนิคที่ดีในการเทรดครับ จริง ๆ จะใช้ตัวอื่นร่วมก็ได้ครับ ไม่ว่าจะเป็น RSI, BB เป็นต้น ใช้ได้หมดเลย (ท้ายบทความจะมาแจกกลยุทธ์แจ๋ม ๆ ครับ)
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานในตลาดที่ไม่มีแนวโน้มชัดเจน
    • ต้องบอกงี้ครับว่า จุดอ่อนของ MACD คือช่วงจังหวะที่ตลาดเกิด Sideway แต่จะใช้ดีช่วงที่จะเปลี่ยนเทรนนั่นเองครับ ซึ่งมันค่อนข้างที่จะไม่เหมาะกับการเทรด ทองคำใน Time Frame เล็ก ๆ ซักเท่าไหร่ เนื่องจากพฤติกรรมกราฟของทองคำใน Time frame เล็ก ๆ มันจะเกิดการ Swing อยู่เป็นระยะ ๆ
  • ใช้ในกรอบเวลาที่เหมาะสม
    • การใช้ MACD indicator ให้ได้ดีนั้น นอกจากที่เราจะต้องเทรดกับคู่เงินที่มีพฤติกรรมการเคลื่อนที่ของราคาแบบ Sideway แล้ว เราจะต้องใช้ Time frame ที่เหมาะสมด้วย ซึ่งตรงนี้เองมักจะแตกต่างกันไปในแต่ละคู่เงินครับ แต่โดยปกติแล้วมันมักจะเสถียรใน M30 ขึ้นไปนั่นเอง

ไอเดียการเทรด XAUUSD ด้วย MACD

เอาล่ะครับ เรามาดูกลยุทธ์การเทรดทองคำกันดีกว่า โดยการเทรดในบทความนี้จะมุ่งเน้นไปที่ Time frame ใหญ่ ๆ อย่าง H4 ครับ เนื่องจากเป็นความผันผวนจะมีน้อยกว่าใน Time frame เล็ก ๆ ครับ

เนื่องจาก MACD indicator เป็นอินดี้ที่ยังสามารถพบ False signal ได้อยู่ ซึ่งเราจะหลีกเลี่ยงเหตุการณ์แบบนี้ด้วยการใช้ indicator ตัวอื่นร่วมด้วยครับ ดังนั้นกลยุทธ์นี้จะใช้ indicator 2 ตัว และมีการ Steup ดังนี้ครับ

  • MACD indicator
    • Fast EMA = 50
    • Slow EMA = 200
    • MACD SMA = 9
    • Apply to = close
    • Add zero-line ใส่ในระบบ
  • MA indicator
    • MA method = Exponential
    • Period ของ EMA เส้นที่ 1 = 50
    • Period ของ EMA เส้นที่ 2 = 200

รูปที่ 6 แสดงตัวอย่างการตั้งค่า MACD indicator และ MA indicator สำหรับเทรดทองคำ

หลักการของเงื่อนไขในการเข้าซื้อขายมีประมาณนี้ครับ… ในกรณีขา Buy ให้เรารอจังหวะ EMA(50) ตัดขึ้นเหนือ EMA(200) ก่อน จากนั้นรอให้ราคาปิดของแท่งเทียนก่อนหน้าอยู่ใต้ EMA(50) แต่ไม่เกิน EMA(200) ครับ เมื่อผ่านไปสอง step นี้แล้วให้เรารอจังหวะให้ราคาปิดของแท่งเทียนอยู่เหนือ EMA(50) ซึ่งลักษณะแบบนี้เราเรียกว่าการเกิด Pull back นั่นเอง

จากนั้นให้เรามาดูที่ MACD Histogram ครับ โดยตัว Histogram จะต้องอยู่เหนือเส้นระดับ 0 และให้เส้น Signal Line มากกว่า 0 ด้วย จึงจะทำการเข้า Buy ได้นั่นเอง

ในกรณีขา Sell เราจะทำตรงกันข้ามกับขา Buy ครับ โดยเราจะรอให้ รอ EMA(50) ตัด EMA (200) ลงไปด้านล่างก่อน แล้วรอให้เกิดการ Pull Back กลับขึ้นมา จากนั้นให้เราไปดู MACD histogram ครับ ซึ่งเราต้องรอให้ Histogram และ Signal Line วิ่งตัดลงด้านล่างก่อนแล้วจึงทำการเข้า Sell ครับ

ในส่วนของการตั้ง TP SL นั้น เราจะกำหนด Risk/Reward Ratio อยู่ที่ 1:1 หรือ 1:2 ครับ โดย SL จะอยู่ที่ Swing Low ล่าสุด ในกรณีขา Buy และ SL จะอยู่ที่ Swing High ล่าสุดในกรณีขา Sell ครับ

สรุปเงื่อนไขการเข้า Buy

  • EMA (50) ตัด EMA (200) ขึ้นไปด้านบน
  • กราฟแท่งเทียนทำราคาปิดอยู่ใต้ EMA (50) แต่ไม่เกิน EMA (200)
  • กราฟแท่งเทียนต่อไปทำราคาปิดอยู่เหนือ EMA (50)
  • MACD Histogram > 0
  • SL ที่ Swing Low ล่าสุด
  • R/R Ratio = 1:1 หรือ 1:2

สรุปเงื่อนไขการเข้า Sell

  • EMA (50) ตัด EMA (200) ลงไปด้านล่าง
  • กราฟแท่งเทียนทำราคาปิดอยู่เหนือ EMA (50) แต่ไม่เกิน EMA (200)
  • กราฟแท่งเทียนต่อไปทำราคาปิดอยู่ใต้ EMA (50)
  • MACD Histogram < 0
  • SL ที่ Swing Hight ล่าสุด
  • R/R Ratio = 1:1 หรือ 1:2

รูปที่ 7 แสดงตัวอย่างการเข้า Buy ด้วยกลยุทธ์เทรดทอง และ การใช้งาน MACD ร่วมกับ EMA

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่เพื่อน ๆ จะนำกลยุทธ์ไปใช้งาน ผมอยากให้ลองทำ Backtest ด้วยตนเองก่อนเสมอครับ เนื่องจากมันจะช่วยคัดกรองว่าเรามีโอกาสทำกำไรได้มากน้อยแค่ไหนหากใช้กลยุทธ์นี้ และช่วยเพิ่มความมั่นใจในการเทรดของเราได้ดีอีกด้วย

ข้อด้อยของกลยุทธ์นี้คือ โอกาสในการเข้าซื้อขายมีค่อนข้างน้อยเลยครับ เพราะกว่าที่จะเกิดให้ครบเงื่อนไขนี้มักจะใช้เวลาระดับนึงเลย และการที่เราดูแต่เพียง Histogram แต่ไม่ดูตัวเส้น Signal Line นั้นอาจจะถูก indicator หลอกเอาได้ครับ

การประยุกต์ใช้ MACD ในวงการ EA forex

หลักจากการที่เราต้องมาเฝ้ารอหาจังหวะเทรดที่หลาย ๆ ครั้งกว่าจะได้เปิดคอมมาดู สัญญาณเทรดมันก็ผ่านไปแล้ว หรือ หากยังไม่เกิดสัญญาณเทรดก็ต้องรอไปอีกนาน ดังนั้นมันจะดีมาก ๆ หากให้คนอื่นมาทำหน้าที่นี้แทนเรา

EA forex หรือ Robot เทรดเป็นอะไรที่ค่อนข้างตอบโจทย์นี้เลยครับ ตัวผมเองจึงทำการสร้าง EA ที่ใช้เทรดขึ้นมาทดแทน ซึ่งก็ถือว่าใช้ได้ดีในระดับหนึ่งเลย

หลักการทำงานของ EA ตัวนี้ผมใช้เพียง MACD indicator เพียงตัวเดียวเท่านั้น ทว่าการยืนยันสัญญาณเข้าซื้อขาย ผมจะใช้มากถึง 3 ครั้งขึ้นไป จึงทำให้ผลออกมาข้างค่อนน่าพึงพอดีใจในระดับหนึ่ง

ในส่วนของการปิดกำไรนั้นผมจะไม่ใช้ SL กับ TP โดยตรง แต่จะเลือกปิดกำไรจากการกำหนด Target Money ครับ โดยระบบเทรดแบบนี้ก็สามารถทำกำไรได้ค่อนข้างดีในระดับหนึ่ง

ผลการทำ Backtest เป็นระยะเวลากว่า 3 ปีพบว่า Profit factor มีมากถึง 3.92 โดยที่มี Relative Drawdown เพียง 14.60% เท่านั้นเอง EA ตัวนี้มีอัตราการชนะมากถึง 88% แต่ข้อเสียของการไม่ตั้ง SL คืออการที่ถูกลากจน Port แตกครับ ดังนั้นเราจึงได้ทำการสร้างระบบ Cut Loss มาทดแทนนั่นเอง

รูปที่ 8 ตัวอย่างการนำ MACD มาเขียน EA forex แล้วทำการ Backtest ด้วยชุดข้อมูลที่ดีที่สุดในตลาด

สรุป

การใช้งาน MACD มีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อวิเคราะห์หาแนวโน้ม การวิเคราะห์หา Divergence การใช้เพื่อเป็นจุดเข้าซื้อขายที่ดี ซึ่งข้อดีของมันคือความใช้ง่ายและมีสมการที่ไม่ซับซ้อน

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของ MACD ก็ยังคงมีอยู่ ซึ่งนั่นก็หนีไม่พ้นเรื่องของความล่าช้าของข้อมูล ทำให้ Output ที่แสดงออกมาสามารถเกิด False signal ได้ นอกจากนี้การหา Parameters ที่เหมาะสมยังจำเป็นต้องทำเพื่อให้มันเหมาะสมกับพฤติกรรมของกราฟนั่น ๆ ที่เราเทรด

กลยุทธ์การเทรดด้วย MACD มีหลากหลาย ซึ่งความใช้ควบคู่กับ indicator ตัวอื่น ๆ ด้วยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเทรดของเราเอง นอกจากนี้ปัจจุบันเรายังพบว่า MACD ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเขียน EA forex หรือ ระบบเทรดอัตโนมัติ ซึ่งมันดีมาก ๆ สำหรับคนที่ไม่ค่อยมีเวลามานั่งเทรดเองครับ

คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

การใช้งาน MACD ในตลาดต่าง ๆ

  • Q: สามารถใช้ MACD ในตลาดอื่น ๆ นอกเหนือจาก Forex ได้หรือไม่?
  • A: เราสามารถใช้ MACD ได้ในตลาดหุ้น, ตลาดคริปโต และตลาดอื่น ๆ ที่มีการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ได้

การตั้งค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม

  • Q: ควรตั้งค่าพารามิเตอร์ของ MACD อย่างไร?
  • A: การตั้งค่ามาตรฐานของ MACD คือ 12, 26, และ 9 วัน แต่เทรดเดอร์สามารถปรับค่าตามสไตล์การเทรดและความต้องการของตนเองได้ครับ เช่น
    • การเทรดระยะสั้นอาจใช้ค่าที่สั้นลง ยกตัวอย่างเช่น 6, 13, และ 5 วัน

การใช้งาน MACD ในการเทรดระยะสั้น

  • Q: MACD เหมาะกับการเทรดระยะสั้นหรือไม่?
  • A: MACD สามารถใช้ในการเทรดระยะสั้นได้ แต่เทรดเดอร์ควรปรับพารามิเตอร์ให้เหมาะสมและใช้ร่วมกับ indicator อื่น ๆ เพื่อยืนยันสัญญาณการเทรดจ้า

อ้างอิง

  1. https://www.investopedia.com/terms/m/macd.asp
  2. https://www.investopedia.com/ask/answers/122414/what-moving-average-convergence-divergence-macd-formula-and-how-it-calculated.asp
  3. https://www.investing.com/academy/analysis/macd-definition-uses/
  4. https://www.fpmarkets.com/sc/th-th/education/trading-courses/course-3-beginner/the-moving-average-convergence-divergence-macd-an-introduction
  5. https://fbs.eu/en/analytics/guidebooks/macd-moving-average-convergence-divergence-319
  6. https://www.thaiforexbroker.com/macd/
  7. https://sentimentrader.com/blog/ultimate-guide-to-macd

เขียนโดย

Somchai Witthtaya

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon