บทความนี้จะเป็นบทความฉบับสมบูรณ์ที่ทางเรา Thaibrokerforex ได้ตั้งใจทำขึ้นมาให้ผู้อ่านได้ลงลึกถึงข้อมูลของ Moving Average (MA) ครับ โดยภายในบทความเราจะไล่เรียงกันตั้งแต่ประวัติความเป็นมา, MA ในแต่ละประเภท, สมการที่ใช้คำนวณ MA ในรูปแบบต่างๆ, เทคนิคการใช้ MA ในการเทรด, และข้อควรระวัง ครับ
เราเชื่อว่า ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเทรดของเทรดเดอร์แน่ ๆ เพราะค่อนข้างที่จะครอบคลุมและสามารถนำไปใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการบริหารความเสี่ยงในการลงทุนได้ดีอีกด้วย ดังนั้นเราอยากให้เทรดเดอร์ได้ลองอ่านจนจบแล้วสนุกไปกับการเทรด การลงทุนไปด้วยกันครับ
ประวัติความเป็นมาของ Moving Average (MA)
Moving Average หรือ เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ เป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่เก่าแก่ที่สุดตัวหนึ่งเลย ซึ่งเทรดเดอร์เองก็ใช้กันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อวิเคราะห์ตลาดการเงินตลาดหุ้น รวมไปถึงตลาด Forex เจ้า MA ตัวนี้ก็เอาอยู่หมัดจริงๆ
MA มีประวัติการพัฒนามาอย่างยาวนาน หากเราจะไล่ดูกันจริงๆ อาจจะต้องมองย้อนอดีตไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ที่เจ้า MA ได้ถือกำเนิดมาครั้งแรก และมันได้เติบโตผ่านการพัฒนาของผู้เชี่ยวชาญหลายท่าน ซึ่งเราจะขอสรุป Timeline ของมันประมาณนี้ครับ
รูปที่ 1 ประวัติความเป็นมาของ Moving Average (MA)
จุดกำเนิดแนวคิด
- แนวคิดของการใช้ค่าเฉลี่ยเคลื่อน (MA) ที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีมานานแล้วในวงการคณิตศาสตร์และสถิติ
- ในช่วงทศวรรษ 1900 นักวิเคราะห์การเงินเริ่มนำแนวคิดนี้มาประยุกต์ใช้กับตลาดหุ้น
การพัฒนาและเผยแพร่
- ในปี 1901 นักคณิตศาสตร์ชื่อ Karl Pearson ได้เขียนบทความเกี่ยวกับการใช้MA ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
- ในทศวรรษ 1920-1930 มีการเริ่มใช้ MA อย่างแพร่หลายในการวิเคราะห์ตลาดหุ้น
- Richard Donchian ได้นำเสนอแนวคิดการใช้ MA ในการซื้อขายในช่วงทศวรรษ 1950
ผู้มีส่วนสำคัญในการพัฒนา Moving Average
แม้จะไม่มีบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่าเป็น “ผู้คิดค้น” MA โดยตรง แต่มีนักวิเคราะห์ และนักลงทุนหลายท่านที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาและเผยแพร่แนวคิดนี้ได้แก่:
- Karl Pearson – นักคณิตศาสตร์ผู้เขียนบทความเกี่ยวกับค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ในปี 1901
- Richard Donchian – ถือเป็นบิดาแห่งการเทรดตามแนวโน้มสมัยใหม่ ได้นำเสนอการใช้ MA ในการซื้อขายในช่วงทศวรรษ 1950
- J. Welles Wilder Jr. – ผู้พัฒนา indicators หลายตัวรวมถึง RSI ได้มีส่วนในการพัฒนาการใช้ MA ร่วมกับ indicators อื่นๆ
- Gerald Appel – ผู้คิดค้น MACD (Moving Average Convergence Divergence) ในปี 1979 ซึ่งใช้ MA เป็นพื้นฐานในการพัฒนา MACD indicator
วิวัฒนาการของ Moving Average
- เริ่มจากการคำนวณด้วยมือในยุคแรกๆ (ตอนนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ การเทรดจึงเป็นไปอย่างช้า ๆ การคำนวณมือจึงไม่ใช่อุปสรรค์อะไร)
- ต่อมายุคสมัยได้พัฒนาเข้าสู่การใช้คอมพิวเตอร์ที่สามารถเราช่วยคำนวณได้ โดยยุคดังกล่าวจะอยู่ในช่วงทศวรรษ 1960-1970
- ปัจจุบันมีการใช้งานอย่างแพร่หลายในโปรแกรมวิเคราะห์ทางเทคนิคและแพลตฟอร์มการเทรดออนไลน์ เช่น MT4 ,MT5 และ TradingView เป็นต้น
MA กลายเป็นเครื่องมือพื้นฐานสำคัญในการวิเคราะห์ทางเทคนิค และยังคงได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากความเรียบง่ายและประสิทธิภาพในการวิเคราะห์แนวโน้มของตลาดมี่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพเป็นอย่างมาก รวมไปถึงวิธีการใช้งานที่ค่อนข้างเรียบง่ายและตรงไปตรงมา อีกทั้งยังถือว่าเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับเทรดเดอร์ผู้เริ่มต้นใหม่เลยทีเดียวครับ
อินดิเคเตอร์ Moving Average (MA) คืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร
MA มีลักษณะเป็นเส้นเดี่ยวๆ ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาหุ้นหรือสินทรัพย์อื่นๆ โดยการคำนวณนี้จะเป็นการคำนวณจากค่าเฉลี่ยของราคาใดๆ ในช่วงเวลาที่กำหนด (ส่วนมากจะใช้ราคาปิด)
MA สามารถช่วยลดความผันผวนของข้อมูลราคาและทำให้เห็นแนวโน้มที่ชัดเจนขึ้นได้ ซึ่งมีนเหมาะสำหรับผู้ที่ยังตีเทรนด์ไลน์ยังไม่คล่อง..ถือว่าเข้ามาช่วยเหลือได้มากเลยทีเดียว นอกจากนี้ MA ยังมีประโยชน์อีกหลายอย่าง เช่น
ประโยชน์ของ Moving Average
รูปที่ 2 ประโยชน์ของ Moving Average ในการระบุแนวโน้มและส่งสัญญานการเข้าออกออเดอร์
1. MA สามารถหาแนวโน้มของตลาดได้
- แนวโน้มขาขึ้น (Uptrend): เมื่อราคาหุ้นหรือคู่สกุลเงินอยู่เหนือเส้น MA เป็นการบ่งบอกว่า ณ ขณะนั้น ราคามีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
- แนวโน้มขาลง (Downtrend): เมื่อราคาหุ้นหรือคู่สกุลเงินอยู่ต่ำกว่าเส้น MA เป็นการบ่งบอกว่า ณ ขณะนั้น ราคามีแนวโน้มลดลง
- ในกรณี Sideway ราคาจะมีการตัดขึ้นและตัดลงกับเส้น MA บ่อยครั้งและนี้จึงเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ อินดิเคเตอร์ชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้งานในตลาดที่เป็นเทรนด์เป็นหลัก
2. MA สามารถใช้เพื่อตีแนวรับ แนวต้าน ได้
- เส้น MA สามารถทำหน้าที่เป็นแนวรับ (Support) หรือแนวต้าน (Resistance) ที่สำคัญได้นะ ซึ่งเทรดเดอร์สามารถใช้ในการตัดสินใจในการออกออเดอร์ Buy/Sell หรือ จะทำการตั้งจุด SL (ตำแหน่งราคาที่ยอมให้มีการขาดทุน) หรือ TP (ตำแหน่งราคาที่ตั้งใจว่าจะทำกำไร) ก็ได้เช่นกัน
3. MA สามารถใช้เป็นตัวกำหนดจุดเข้า Order ผ่านการใช้เทคนิค Cross Over ได้
- สัญญาณซื้อ (Buy Signal): เมื่อเส้น MA ระยะสั้นตัดขึ้นเหนือเส้น MA ระยะยาว (Golden Cross)
- เช่น EMA(12) ตัดขึ้นเหนือ EMA(26)
- สัญญาณขาย (Sell Signal): เมื่อเส้น MA ระยะสั้นตัดลงต่ำกว่าเส้น MA ระยะยาว (Death Cross)
- เช่น EMA(12) ตัดลงใต้ EMA(26)
- หมายเหตุ: ควรใช้คู่กับกลยุทธ์และอินดิเคเตอร์อื่นๆควบคู่กันไปด้วยเพื่อลดการเกิด False signal
4. สามารถลดความผันผวนของราคาได้
- MA ช่วยลดความผันผวนของข้อมูลราคา ทำให้เราสามารถเห็นแนวโน้มที่แท้จริงได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- ช่วยให้สามารถมองเทรนด์ที่เกิดขึ้นได้ง่าย และ ปรับเปลี่ยนความไวต่อการผันผวนได้ง่ายเช่นกัน
- หมายเหตุ: ควรทดลองตั้งค่า Period ให้เหมาะสมกับกลยุทธ์และคู่เงินนั้นๆด้วย
5. สามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ ได้เป็นอย่างดี
- MA สามารถใช้ร่วมกับอินดิเคเตอร์อื่น ๆ เช่น MACD, RSI เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์และตัดสินใจ
- ตัวอย่างเช่น ใช้ Cross EMA เป็นสัญญาณในการออกออเดอร์ และใช้ Average True Range (ATR) ในการปิดออเดอร์ เป็นต้น
6. การตั้งค่าและปรับแต่งได้ง่าย
- เทรดเดอร์สามารถเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมกับกลยุทธ์การลงทุนของตนได้ง่ายตามสภาตลาดในแต่ละคู่เงินหรือช่วงเวลา เช่น MA 50 วัน, MA 200 วัน เป็นต้น
- การปรับแต่งช่วงเวลานั้นสามารถเปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆ เช่น คู่สกุลเงินที่ใช้เทรด ,ช่วงเวลาที่ใช้งาน และกลยุทธ์ที่นำไปปรับใช้กับอินดิเคเตอร์ต่างๆ เป็นต้น
รวมประเภทของ Moving Average (MA) พร้อมสูตรคำนวน
Simple Moving Average (SMA)
รูปที่ 3 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Simple Moving Average (SMA) บนแพลตฟอร์ม TradingView
- SMA เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่ายที่สุด คำนวณโดยการนำราคาปิดในช่วงเวลาที่กำหนดมารวมกันแล้วหารด้วยจำนวนช่วงเวลา ขยายความคือ จะใช้ค่าของราคาใดๆ นำมาบวกกันแล้วหารด้วยจำนวนที่นำมาบวก โดยมีความหมายเดียวกันกับค่าเฉลี่ยทั่วๆ ไป
- สูตรการคำนวณ
- SMA = (P1 + P2 + … + Pn) / n
- โดย P คือราคาใดๆ (ส่วนมากใช้ราคาปิด) และ n คือจำนวนช่วงเวลา
- ข้อดี
- ง่ายต่อการคำนวณและทำความเข้าใจ
- ให้น้ำหนักเท่ากันกับทุกราคาในช่วงเวลาที่กำหนด
- ข้อเสีย
- ตอบสนองช้าต่อการเปลี่ยนแปลงราคา ทำให้มีการส่งสัญญาณช้ากว่า EMA
- อาจให้สัญญาณล่าช้าในตลาดที่มีความผันผวนสูง
- การตั้งค่า Period ที่นิยม
- SMA 10 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะสั้น เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการจับแนวโน้มระยะสั้น
- SMA 50 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะกลาง เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะกลางและการยืนยันแนวโน้ม
- SMA 200 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะยาว เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะยาวและการยืนยันแนวโน้มหลัก
Exponential Moving Average (EMA)
รูปที่ 4 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Exponential Moving Average (EMA) บนแพลตฟอร์ม TradingView
- EMA เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ที่ให้น้ำหนักมากกว่ากับราคาล่าสุด ทำให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคาได้เร็วกว่า SMA
- เมื่อสังเกตจากสมการแล้วพบว่า EMA จะให้ความสำคัญกับค่าเฉลี่ยในระยะใกล้มากกว่าซึ่งการคำนวณแบบนี้จะเป็นการลดปัญหาบางส่วนของ SMA ที่มีการให้ความสำคัญของทุกค่าเท่าๆ กัน
- สิ่งที่ทำให้ EMA แตกต่างจาก SMA คือเขาจะใช้วิธีการคำนวณในลักษณะของ Exponential
- สูตรการคำนวณ
- EMAn = aP(n) + EMA(n-1)(1-a)
- P(n) = ราคาปิด ณ ช่วงเวลาที่ต้องการ
- EMA(n-1) = EMA ช่วงเวลาการหน้าหนึ่งวัน
- a = Smoothing Factor คำนวนจาก 2/T+1 โดยที่ T คือช่วงเวลาที่ใช้ในการคำนวน
- ข้อดี
- ตอบสนองเร็วต่อการเปลี่ยนแปลงราคาล่าสุด
- เหมาะสำหรับการเทรดระยะสั้นและตลาดที่มีความผันผวน
- ข้อเสีย
- อาจให้สัญญาณหลอกได้ง่ายในช่วงที่ตลาดผันผวนมากๆ
- การคำนวณซับซ้อนกว่า SMA ทำให้เข้าใจในสมการยาก
- การตั้งค่า Period ที่นิยม
- EMA 12 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะสั้น เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะสั้นและการเทรดระยะสั้น
- EMA 26 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะกลาง เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะกลางและการยืนยันแนวโน้ม
- EMA 50 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะยาว เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะยาวและการยืนยันแนวโน้มหลัก
Weighted Moving Average (WMA)
รูปที่ 5 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Weighted Moving Average (WMA) บนแพลตฟอร์ม TradingView
- WMA เป็นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ซึ่งให้น้ำหนักแตกต่างกันกับราคาในแต่ละช่วงเวลา โดยให้น้ำหนักมากกับราคาล่าสุดและลดลงตามลำดับ
- แนวคิดจะมีความคล้ายคลึงกับ EMA ในส่วนของการให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดมากกว่า เพียงแต่จะไม่ได้มีฟังชันเกี่ยวกับ Exponential มาเกี่ยวข้องครับ
- สูตรการคำนวณ
- WMA = (nP1 + (n-1)P2 + … + 2Pn-1 + Pn) / (n + (n-1) + … + 2 + 1)
- โดย P คือราคาปิด และ n คือจำนวนช่วงเวลา
- ข้อดี
- ให้ความสำคัญกับราคาล่าสุดมากกว่า SMA แต่น้อยกว่า EMA
- ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงราคาได้ดีกว่า SMA
- ข้อเสีย
- การคำนวณซับซ้อนกว่า SMA
- อาจไม่เป็นที่นิยมเท่า SMA หรือ EMA
- การตั้งค่า Period ที่นิยม
- WMA 10 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะสั้น เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะสั้น
- WMA 20 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะกลาง เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะกลางและการยืนยันแนวโน้ม
- WMA 50 วัน: ใช้สำหรับการวิเคราะห์ระยะยาว เหมาะสำหรับการจับแนวโน้มระยะยาวและการยืนยันแนวโน้มหลัก
การเปรียบเทียบการใช้งาน Moving Average แต่ละประเภท
รูปที่ 6 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Moving Average (MA) ทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ SMA,EMA และ WMA บนแพลตฟอร์ม TradingView
- ความไวต่อการเปลี่ยนแปลงราคา: EMA > WMA > SMA
- ความซับซ้อนในการคำนวณ: EMA > WMA > SMA
- ความเหมาะสมกับการเทรดระยะสั้น: EMA > WMA > SMA
- ความเหมาะสมกับการเทรดระยะยาว: SMA > WMA > EMA
- ความเสี่ยงในการให้สัญญาณหลอก: EMA > WMA > SMA
- ความนิยมในการใช้งาน: SMA = EMA > WMA
- ความเหมาะสมกับตลาดที่มีความผันผวนสูง: EMA > WMA > SMA
- ความง่ายในการทำความเข้าใจ: SMA > WMA > EMA
ดังนั้น การจะเลือกใช้ MA ประเภทใดขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างครับ เช่น กลยุทธ์การเทรด ระยะเวลาการลงทุน และลักษณะของตลาด เทรดเดอร์ควรทดลองใช้และปรับแต่งให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรดของตนเอง ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีอินดิเคเตอร์ตัวใดที่ดีกว่ากัน เพราะสุดท้ายจะขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานและกลยุทธ์ในการเทรดนั่นเองครับ
วิธีตั้งค่า Moving average พื้นฐานบนแพลตฟอร์ม TradingView
รูปที่ 7 ตัวอย่างการตั้งค่า หรือ เรียกใช้งาน Moving average พื้นฐานบนแพลตฟอร์ม TradingView
- เปิดโปรแกรมบน TradingView
- สังเกตุที่มุมบนตรงกลาง อินดิเคเตอร์ -> พิมพ์ชื่อ Moving average …-> เลือกอินดิเคเตอร์ที่ต้องการ Moving average Simple
- ทำการดับเบิลคลิกที่เส้น Moving average Simple เลือก -->ข้อมูล
- ความยาว (Period) คือ การระบุจำนวนวันที่จะใช้ในการเก็บข้อมูลของอินดิเคเตอร์
- แหล่งกำเนิด (Apply to) คือประเภทของราคาที่จะนำมาคำนวนส่วนมากจะคิดที่ราคาปิด หรือ Close
- Method คือ การเลือกประเภทของ MA เช่น SMA หรือ EMA เป็นต้น
ไอเดียการเทรดด้วยกลยุทธ์ Three Crossover EMA
กลยุทธ์ Three Crossover EMA เป็นวิธีการวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ใช้ Exponential Moving Average (EMA) 3 เส้นที่มีระยะเวลาแตกต่างกัน โดยทั่วไปมักใช้ EMA 5, 20 และ 50 ในการวิเคราะห์ สำหรับการใช้งานใน XAUUSD (ทองคำ) บน Timeframe 1 ชั่วโมง ซึ่งจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
รูปที่ 8 ตัวอย่างหน้าตาของ กลยุทธ์การใช้งาน Three Crossover EMA บนแพลตฟอร์ม TradingView การตั้งสัญญาณการเข้าออเดอร์ Buy
การตั้งสัญญาณการเข้าออเดอร์ Buy และ Sell
สัญญาณซื้อ (Buy Signal)
- EMA 5 ตัดขึ้นเหนือ EMA 20 และ EMA 50
- EMA 20 อยู่เหนือ EMA 50
- ราคาปัจจุบันอยู่เหนือ EMA 5
สัญญาณขาย (Sell Signal)
- EMA 5 ตัดลงต่ำกว่า EMA 20 และ EMA 50
- EMA 20 อยู่ต่ำกว่า EMA 50
- ราคาปัจจุบันอยู่ต่ำกว่า EMA 5
การตั้งจุด Stop Loss (SL) และ Take Profit (TP)
สำหรับ Buy Trade:
- SL: ตั้งไว้ที่ Swing Low ล่าสุด หรือใต้ EMA 20
- TP: ตั้งที่ระยะ 1.5-2 เท่าของระยะห่างระหว่างจุดเข้า (Entry) และ SL
สำหรับ Sell Trade:
- SL: ตั้งไว้ที่ Swing High ล่าสุด หรือเหนือ EMA 20
- TP: ตั้งที่ระยะ 1.5-2 เท่าของระยะห่างระหว่างจุดเข้า (Entry) และ SL
การวิเคราะห์กลยุทธ์ Three Crossover EMA
หลักการของกลยุทธ์
- ใช้ EMA 3 เส้นเพื่อยืนยันแนวโน้มในหลายระยะเวลา
- EMA 5 แสดงแนวโน้มระยะสั้น, EMA 20 แสดงแนวโน้มระยะกลาง, และ EMA 50 แสดงแนวโน้มระยะยาว
- การตัดกันของ EMA ทั้ง 3 เส้นช่วยยืนยันการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มที่จะช่วยลดสัญญาณหลอกได้ถึง 3 ชั้น
แนวคิดในตลาด Forex สำหรับ XAUUSD ที่ TF H1:
- ความผันผวนสูง: XAUUSD มักมีความผันผวนสูง ดังนั้นการใช้ EMA 3 เส้นช่วยกรองสัญญาณหลอกได้ดีกว่าการใช้ EMA เพียงเส้นเดียว
- ความไวต่อข่าวเศรษฐกิจ: ทองคำมักตอบสนองต่อข่าวเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว การใช้ EMA ที่มีความไวสูง (EMA 5) ช่วยให้จับการเคลื่อนไหวได้เร็ว
- แนวโน้มระยะยาว: EMA 50 ช่วยในการระบุแนวโน้มหลักของทองคำ ซึ่งมักมีแนวโน้มชัดเจนในระยะยาว
- การยืนยันแนวโน้ม: การที่ EMA ทั้ง 3 เส้นเรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบ (5 > 20 > 50) หรือ (5 < 20 < 50) เป็นการยืนยันแนวโน้มที่แข็งแกร่ง
- การปรับตัวให้เข้ากับความผันผวน: ในช่วงที่ตลาดมีความผันผวนสูง อาจพิจารณาเพิ่มระยะห่างของ SL และ TP เพื่อรองรับการเคลื่อนไหวของราคาที่รุนแรง
- การระวังในช่วงข่าวสำคัญ: ควรระมัดระวังการเข้าเทรดในช่วงที่มีการประกาศข่าวเศรษฐกิจสำคัญที่ส่งผลต่อทองคำ เช่น อัตราดอกเบี้ย หรือตัวเลขการจ้างงาน เป็นต้น
- การใช้ร่วมกับ indicators อื่น: อาจพิจารณาใช้ร่วมกับ indicators อื่น เช่น RSI หรือ Stochastic เพื่อยืนยันสัญญาณและลดความเสี่ยงของสัญญาณหลอก
กลยุทธ์ Three Crossover EMA นี้เหมาะสำหรับการเทรด XAUUSD ใน Timeframe 1 ชั่วโมง เนื่องจากสามารถจับแนวโน้มได้ดีและมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับตัวตามความผันผวนของตลาดทองคำ
อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์ควรทดสอบและปรับแต่งกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดและสไตล์การเทรดของแต่ละคน และนี้เป็นเพียงแค่ตัวอย่างแนวคิดในการปรับใช้งาน EMA เบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งแน่นอนครับว่าผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ และพัฒนากับกลยุทธ์ของท่านเองได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
ข้อควรระวังในการใช้ Moving Average indicator (MA)
ข้อควรระวังในการใช้ Moving Average indicator (MA) มีหลายประการที่นักลงทุนควรคำนึงถึง ซึ่งทางผู้เขียนอธิบายและสรุปง่ายๆ ดังต่อไปนี้:
- การให้สัญญาณล่าช้า (Lag)
- MA เป็น lagging indicator ที่คำนวณจากข้อมูลในอดีต จึงอาจให้สัญญาณล่าช้ากว่าการเคลื่อนไหวของราคาจริง
- ในตลาดที่มีความผันผวนสูง อาจทำให้เข้าเทรดช้าเกินไปและพลาดโอกาสทำกำไรดังนั้นจึงต้องเลือกประเภทของ MA ให้เหมาะสมกับสภาวะตลาดเช่น การเลือกใช้ EMA ในสภาวะที่ตลาดมีความไวต่อการเปลี่ยนแปลง เป็นต้น
- สัญญาณหลอก (False Signals)
- ในช่วงที่ตลาดเคลื่อนไหวแบบ Sideways หรือไม่มีทิศทางชัดเจน MA อาจให้สัญญาณซื้อขายที่ผิดพลาดบ่อยครั้ง
- การตัดกันของ MA อาจเกิดขึ้นหลายครั้งโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มจริงซึ่งทำให้เรามีโอกาสขาดทุนได้อย่างมาก ซึ่งสามารถแก้ไขโดยการใช้งานอินดิเคเตอร์ตัวอื่นๆเข้ามาช่วยในการระบุสภาวะของเทรนด์ เช่น ADX เป็นต้น
- การเลือกช่วงเวลา (Period) ที่ไม่เหมาะสม
- การใช้ Period ที่สั้นเกินไปอาจทำให้เกิดสัญญาณหลอกบ่อยครั้ง
- การใช้ Period ที่ยาวเกินไปอาจทำให้พลาดโอกาสในการเข้าเทรด
- การพึ่งพา MA เพียงอย่างเดียว
- ไม่ควรใช้ MA เป็นเครื่องมือเดียวในการตัดสินใจซื้อขาย
- ควรใช้ร่วมกับ indicators อื่นๆ และการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานอื่นๆร่วมด้วยไม่ว่าจะเป็นสภาวะตลาด หรือ เศรษฐกิจผ่านเว็บ Forex Factory เป็นต้น
- การไม่คำนึงถึงสภาวะตลาด
- MA อาจจะไม่มีประสิทธิภาพในบางสภาวะตลาดของตลาดตามที่เคยได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการนำอินดิเคเตอร์อื่นๆเข้ามาช่วยเหลือ
- การละเลยการจัดการความเสี่ยง
- การเข้าเทรดตามสัญญาณ MA โดยไม่มีการกำหนด Stop Loss อาจนำไปสู่การขาดทุนที่รุนแรง
- การใช้ MA ที่ไม่เหมาะสมกับ Timeframe
- การใช้ MA ระยะยาวใน Timeframe สั้น หรือ MA ระยะสั้นใน Timeframe ยาวอาจให้ผลลัพธ์ที่ไม่แม่นยำนัก
- การไม่ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของตลาด
- ตลาดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา การใช้ MA แบบเดิมโดยไม่ปรับเปลี่ยนอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงครับ
- การละเลยปัจจัยภายนอก
- MA ไม่คำนึงถึงปัจจัยภายนอกเช่น ข่าวเศรษฐกิจหรือเหตุการณ์สำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อราคา
- การใช้ MA ที่ซับซ้อนเกินไป
- การใช้ MA หลายเส้นหรือการผสมผสาน MA หลายประเภทอาจทำให้เกิดความสับสนและยากต่อการตัดสินใจ
- การไม่ทดสอบย้อนหลัง (Backtesting)
- การนำ MA ไปใช้โดยไม่ทดสอบประสิทธิภาพย้อนหลังอาจทำให้ไม่ทราบถึงข้อจำกัดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น
การใช้ MA อย่างมีประสิทธิภาพต้องอาศัยความเข้าใจในข้อจำกัดและการประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการจัดการความเสี่ยงและการวิเคราะห์ปัจจัยอื่นๆ ในการประกอบการตัดสินใจด้วยถึงจะสามารถดึงศักยภาพของอินดิเคเตอร์ออกมาได้ดีที่สุด
สรุป
Moving Average (MA) เป็นเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่สำคัญในตลาดการเงิน ช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มราคาและสร้างสัญญาณซื้อขาย อีกทั้งยังมีหลายประเภทด้วยกัน เช่น SMA, EMA และ WMA เป็นต้น โดยแต่ละแบบก็จะมีวิธีคำนวณและการใช้งานที่แตกต่างกันไป
นอกจากนี้ MA ยังสามารถใช้ร่วมกับ indicators อื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวิเคราะห์ได้อยากไม่ยากเย็นนัก ถึงแม้จะมีข้อจำกัดบางประการ แต่ MA ก็ยังคงเป็นเครื่องมือที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั้งในด้านการวิเคราะห์และตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
อ้างอิง
- [1] https://corporatefinanceinstitute.com/resources/equities/moving-average
- [2] https://www.oanda.com/us-en/learn/indicators-oscillators/filtering-out-the-noise-moving-averages/
- [3] https://en.wikipedia.org/wiki/Moving_average
- [4] https://www.strike.money/technical-analysis/ema
- [5] https://www.fidelity.com/learning-center/trading-investing/technical-analysis/technical-indicator-guide/sma
- [6] https://www.fidelity.com/learning-center/trading-investing/technical-analysis/technical-indicator-guide/wma
- [7] https://fxopen.com/blog/en/what-is-a-weighted-moving-average-and-how-do-you-calculate-it/