บทคัดย่อ

ตลาด Sideway: เป็นสภาวะอย่างหนึ่งของตลาด ไม่ขึ้น ไม่ลง ยังไม่เลือกข้าง มี 3 ลักษณะคือ เคลื่อนที่ในกรอบ สามเหลี่ยมปากแคบ และสามเหลี่ยมปากอ้า

เมื่อเจอตลาดไซด์เวย์: สามารถเทรดได้ภายในกรอบ หรือรอโอกาสให้กราฟทะลุกรอบค่อยเข้าเทรด

ทุกครั้งที่เกิดไซด์เวย์: มีนัยสำคัญซ่อนอยู่ ตลาดหุ้นและตลาด Forex มีเหตุผลในการเกิดที่แตกต่างกัน

Sideway คืออะไร?

Sideway (ไซด์เวย) คือสภาวะหนึ่งของตลาด ที่ไม่ขึ้น ไม่ลง อยู่ตรงกลาง ไหลออกข้าง ด้วยหลายเหตุปัจจัย มีรูปแบบการเทรดค่อนข้างยาก ใช้เก็งกำไรได้ในช่วงเวลาสั้น ๆ

เป็นสภาวะตลาดที่ไร้ทิศทาง ยังไม่เลือกข้าง มีแรงทั้งสองฝั่งกำลังสู้กันอยู่ จนกระทั่งจะมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ และราคาไหลไปยังทิศทางนั้น

เป็นรูปแบบที่พบได้บ่อย ค่อนเทรดข้างยาก เพราะเทรดเดอร์จะไม่มีทางรู้ได้เลยว่า สภาวะไร้ทิศทางนี้จะจบลงเมื่อไหร่

เป็นเกมการต่อสู้ทางจิตวิทยา ที่ตลาดกำลังปั่นอารมณ์คน ให้คนที่รอไม่ได้ก็ถอดใจออกไปก่อน

ทำไมจึงเกิด Sideway

ภาพอธิบายถึงสาเหตุที่เกิดขึ้นของไซด์เวย์ มีเหตุผลมากมายที่เทรดเดอร์รายย่อยอย่างเรา อาจจะคาดไม่ถึง แต่ถึงอย่างไรรูปแบบกราฟที่ออกมา เกิดขึ้นได้ไม่กี่แบบเท่านั้น

ตลาดไซต์เวย์ มีมากมายหลายทฤษฎีที่ตั้งข้อสังเกตว่า การที่ตลาดนิ่งๆ คือการที่รายใหญ่กำลังสะสมพลัง เก็บของ ก่อนที่จะเลือกทิศทาง เพราะในโลกแห่งการลงทุน มีคนได้ก็จะต้องมีคนเสีย มีคนซื้อก็จะต้องมีคนขาย จึงจะต้องค่อย ๆ เก็บหรือปล่อยของให้ได้ปริมาณที่ต้องการ

ก่อนที่จะออกคำสั่งซื้อขายสุดท้าย ที่จะสามารถขับเคลื่อนตลาดไปยังทิศทางที่ต้องการ เพื่อล่อเม่าให้ไล่ราคาไปต่อ จนถึงจุดที่พอใจ จึงจะปล่อยของเพื่อทำกำไรอีกครั้ง

ไซต์เวย์ในตลาด Forex

ตลาด Forex คือการซื้อขายสกุลเงินต่างประเทศ โดยใช้สกุลหนึ่งไปซื้ออีกสกุลเงินหนึ่ง พูดง่าย ๆ ก็คือจับคู่สกุลเงิน ไม่มีประเทศใด ต้องการให้ค่าเงินอ่อนหรือแข็งค่านาน ๆ จึงจะต้องมีนโยบายอย่างใดอย่างหนึ่งในการควบคุมการอ่อนหรือแข็งค่า มีการกำหนดนโยบาย การแทรกแซงค่าเงิน เพื่อควบคุมเสถียรภาพและเศรษฐกิจ ให้เป็นไปตามกลไกลโดยไม่ส่งผลกระทบมากจนเกินไป

เมื่อสกุลเงินแข็งค่า เจอกับแข็งค่า หรืออ่อนค่า เจอกับอ่อนค่า หรือแต่ละสกุลนิ่ง ๆ ตลาดก็จะเป็นไซด์เวย์ หรือไร้ทิศทางนั่นเอง

ลักษณะของ Sideway มีอะไรบ้าง

ตลาดไซด์เวย หรือตลาดไร้ทิศทาง หลายคนอาจจะมองว่ามีรูปแบบเดียว นั่นก็คือไร้ทิศทาง แต่เมื่อลองพิจารณาความเป็นไปได้ และกราฟในอดีตที่เคยเกิดขึ้นมา จะมีด้วยกัน 3 ลักษณะดังต่อไปนี้

ภาพแสดงรูปแบบของไซด์เวย์ เคลื่อนที่ในกรอบ เคลื่อนที่เป็นสามเหลี่ยมปากอ้า และเคลื่อนที่เป็นสามเหลี่ยมปากแคบ ที่เกิดขึ้นได้ทั้งช่วงพักตัว และก่อนเปลี่ยนแนวโน้ม ขึ้นอยู่ว่าจะทะลุกรอบไปยังด้านใด

1. เคลื่อนที่ในกรอบ

กราฟหรือราคา ไม่ขึ้นไม่ลงเป็นแนวโน้ม แต่เคลื่อนที่ขึ้นลงภายในกรอบเท่านั้น โดยมีแนวต้านและแนวรับเป็นกรอบราคา ไหลออกข้างไม่มีสิ้นสุด จนกระทั่งจะมีแรงฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ผลักดันให้เบรคเอาท์กรอบราคาออกไป ก่อนที่จะมีการกลับมาเทสแนวรับแนวต้าน แล้วกลับไปต่อ จึงจะเป็นการยืนยันว่าสิ้นสุด การเป็นไซด์เวย์

2. เคลื่อนที่ปากอ้า

เกิดขึ้นได้ในทุกช่วงของตลาด และเกิดขึ้นบ่อยในการพักตัวเพื่อไปต่อ คือกราฟจะค่อย ๆ ขึ้นลง และขยายกว้างออกไปเรื่อย ๆ ถ้าเป็นช่วงพักตัวจะเรียกว่า สามเหลี่ยมปากอ้า รอจนกระทั่งราคาเหวี่ยงทะลุกรอบอย่างชัดเจน และมีโอกาสกลับมาเทสเส้นแนวรับแนวต้านและไปต่อ เป็นการยืนยันว่าไซด์เวย์ ในรูปแบบของสามเหลี่ยมปากอ้า สิ้นสุด

3. เคลื่อนที่ปากแคบ

บางที่เรียกว่า สามเหลี่ยมปากปิด ธง หรือใด ๆ ก็ตาม ในที่นี้จะเป็นรูปแบบไซด์เวย์ ที่เกิดขึ้นได้ในช่วงพักตัวหรือกลับตัวได้ใช่เดียวกัน มีลักษณะเป็นการเหวี่ยงของราคา ก่อนที่จะค่อย ๆ บีบตัวให้กรอบของราคาค่อย ๆ แคบลง เป็นลักษณะสามเหลี่ยม ก่อนที่จะมีการทะลุกรอบบนหรือกรอบล่าง เสมือนเป็นเส้นแนวรับแนวต้านออกไป ก่อนที่จะมีการย้อนกลับมาเทส แล้วไปต่อนับว่าเป็นจุดสิ้นสุดของตลาดไซด์เวย์

ไซด์เวยกับการพักตัว

ตลาดลักษณะนี้ เกิดขึ้นย่อมมีนัยสำคัญเสมอ เพราะราคาไม่ได้วิ่งเป็นเส้นตรง มีผู้คนซื้อขายเก็งกำไรตลอดเวลา มีแรงซื้อขายสู้กันไม่หยุดหย่อน จึงเป็นสาเหตุที่กราฟจะต้องมีการพักตัวเพื่อไปต่อ

ภาพแสดงให้เห็นถึงสภาวะตลาดที่เป็นไซด์เวย์ ในไทม์เฟรมเล็กอาจจะอยู่ในช่วงของพักตัวของไทม์เฟรมใหญ่ ถ้าดูไทม์เฟรมประกอบกัน จะทำให้เห็นแนวโน้มที่กราฟจะทะลุกรอบไปยังด้านใดด้านหนึ่ง

ภาพใหญ่อาจจะเป็นการพักต่อเพื่อไปต่อ

ในการเกิดขึ้นของแนวโน้ม จะมีภาพใหญ่และถูกซ้อนด้วยภาพเล็กเสมอ ในไทม์เฟรมเล็ก เมื่อเห็นกราฟกำลังเป็นไซด์เวย์ ในภาพใหญ่ก็อาจจะเป็นเพียงช่วงพักตัว ก่อนที่จะไปต่อในยังแนวโน้มเดิม

ภาพเล็กเป็นไซด์เวย์ ไร้ทิศทาง

แม้ในไทม์เฟรมใหญ่ จะมีแนวโน้มที่ชัดเจน เป็นช่วงพักตัว แต่ในไทม์เฟรมเล็ก อาจจะเป็นไซด์เวย์หรือการเหวี่ยงตัวขนาดใหญ่ก็เป็นได้

ดังนั้น ถ้าเทรดในไทม์เฟรมเล็ก ๆ เมื่อตลาดไร้ทิศทาง บางคนก็อาจจะหัวเสีย แต่การดูไทม์เฟรมใหญ่กับไทม์เฟรมเล็กประกอบกัน จะทำให้เห็นแนวโน้มที่แท้จริง ที่ตลาดกำลังเคลื่อนไปทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

Sideway ในตลาดหุ้นและตลาด Forex

ตลาดไซด์เวย์และตลาดหุ้น แม้กราฟจะมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน แต่นัยสำคัญนั้นต่างกัน

ภาพแสดงข้อแตกต่างระหว่างตลาดหุ้นและตลาด Forex แม้รูปแบบกราฟจะคล้าย ๆ กัน แต่นัยสำคัญย่อมแตกต่างกัน เพราะมีปัจจัยพื้นฐานไม่เหมือนกัน การเกิดขึ้นของตลาดไซด์เวย์ จึงมีเหตุผลที่แตกต่างกัน

  • ตลาดหุ้น: ในช่วงที่เกิดขึ้นตลาดตลาดไซด์เวย์ อาจจะเป็นช่วงที่รายใหญ่ กำลังเก็บของหรือทะยอยซื้อหุ้นตัวนั้น ๆ เข้าพอร์ต จนกระทั่งมีปริมาณตามกำหนดแล้ว จึงได้กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ราคาพุ่งทะลุกรอบ เพื่อล่อเม่าให้มาติด ก่อนที่จะถึงในระดับราคาที่ต้องการ จะค่อย ๆ ปล่อยของหรือทะยอยขายออก และทุบราคาก้อนสุดท้ายในที่สุด
    • รูปแบบของกราฟไซด์เวย์ แม้ไม่แตกต่างกัน แต่นัยสำคัญที่ซ่อนอยู่ แตกต่างกัน
  • ตลาด Forex: ไม่มีประเทศใด ต้องการให้สกุลเงินอ่อนหรือแข็งค่านาน ๆ จึงต้องมีการกำหนดนโยบาย แทรกแซง ให้ด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ในการควบคุมค่าเงิน ตลาด Forex ไม่อาจจะมีมูลค่าเติบโตได้เหมือนหุ้น ตลาดจึงเป็นไซด์เวย์เสียส่วนใหญ่ เพราะการสู้กันของค่าเงินทั้งสองสกุล
    • แต่นั่นเป็นเพียงภาพใหญ่ แต่ในไทม์เฟรมย่อย ๆ จะมีแนวโน้มและไซด์เวย์ซ่อนอยู่เสมอ

วิธีเทรดเมื่อเจอตลาด Sideway

การทำกำไรในช่วงที่ตลาดไร้ทิศทาง ขึ้นอยู่กับเทคนิคและประสบการณ์ในแต่ละบุคคล บางคนอาจจะหลีกเลี่ยงเทรดเฉพาะมีเทรนด์เท่านั้น หรือบางคนก็อาจจะเทรดในทุก ๆ สภาวะตลาด ก็ทำได้เช่นกัน

1. เทรดเมื่อมีเทรนด์

มีวิธีการเทรดมากมาย สำหรับเทรดเดอร์ที่เลือกเทรดเฉพาะตลาดที่มีเทรนด์หรือแนวโน้มชัดเจน และหลีกเลี่ยงเทรดในช่วงที่ ราคาไหลออกข้าง หรือไร้ทิศทาง การไม่เทรดก็เป็นกลยุทธ์หนึ่งในการรักษาเงินทุน หากไม่แน่ใจว่าเทรดแล้ว จะมีโอกาสชนะได้หรือไม่

2. เทรดตลาดไซด์เวย์

เป็นโอกาสของคนที่มองเห็นโอกาส แม้บางคนจะไม่เทรด แต่ถ้าเข้าใจตลาดว่า มีโอกาสขับเคลื่อนไปยังทิศทางใด ก็จะสามารถหาโอกาสเทรดทำกำไรได้เสมอ

  • ราคาเคลื่อนที่ในกรอบ: หลายคนคุ้นชิ้นกับการเทรดภายในกรอบ แม้มีแนวโน้มหรือไม่มีก็ตาม เพียงราคาเคลื่อนที่ในกรอบ ก็สามารถเทรดได้เช่นกัน เมื่อแนวรับแนวต้าน หรือรอบราคามีการยืนยันแล้วว่าเป็นแนวรับแนวต้านที่มีนัยสำคัญ

ภาพตัวอย่างการเทรดตลาดไซด์เวย์ ลักษณะที่กราฟเคลื่อนที่ภายในกรอบ สามารถเข้าเทรดได้ทั้ง Buy และ Sell

  • เมื่อราคาชนกรอบบนหรือแนวต้าน และมีสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่งยืนยัน สามารถเข้า Sell ได้ โดยตั้งเป้าหมายกำไรไว้ที่ แนวรับ
  • เมื่อราคาชนกรอบล่างหรือแนวรับ และมีสัญญาอย่างใดอย่างหนี่งยืนยัน สามารถเข้า Buy ได้ โดยตั้งเป้าหมายกำไรไว้ที่ แนวต้าน
  • เป็นการเก็บกำไรสั้น ๆ ภายในกรอบ โดยตลาดที่เป็นไซด์เวย์
  • ควรมีสัญญาณยืนยัน: มากกว่า 1 สัญญาณ เช่น ใช้อินดิเคเตอร์ยืนยันการเข้า Buy หรือ Sell
  • รูปแบบสามเหลี่ยมปากอ้า: เป็นรูปแบบที่ราคาเหวี่ยงและลงอย่างรุนแรง แต่การเทรดด้วยตลาดลักษณะนี้ จะไม่เทรดภายในกรอบ แต่จะรอหาจังหวะให้ราคาทะลุกรอบ แล้วกลับมาเทสแนวรับ จึงจะสามารถเทรดได้ การเทรดลักษณะนี้ สามารถถือออเดอร์ยาว ๆ ไปจนกว่า จะมีสัญญาณสิ้นสุดอย่างใดอย่างหนึ่ง

ภาพตัวอย่างการเทรดด้วยสามเหลี่ยมปากอ้า ลักษณะไซด์เวย์ที่เหวี่ยงขึ้นและลงอย่างรุนแรก จนประทั่งทำการเบลคเอาท์ไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง สามเหลี่ยมปากอ้านี้เป็นรูปแบบแพทเทิร์นที่เกิดขึ้นบ่อย เป็นหนึ่งในไซด์เวย์เช่นเดียวกัน

  • รูปแบบสามเปลี่ยมปากแคบ: เป็นรูปแบบที่ราคาค่อย ๆ บีบตัวเข้าหากัน จนกระทั่งราคา จะละเบิดทะลุกรอบฝั่งใดฝั่งหนึ่ง และรอราคากลับมาเทสก่อนไปต่อ นั่นคือจุดเข้าเทรด สามารถถือออเดอร์ยาว ๆ หรือจนกว่าจะมีปัจจัยใดที่จะทำให้ราคาไม่ไปต่อ

ภาพตัวอย่างของสามเหลี่ยมปากแคบ เป็นหนึ่งในแพทเทิร์นที่เกิดขึ้นได้บ่อยเช่นกัน เกิดขึ้นได้ทั้งช่วงพักตัวและก่อนกลับตัว ลักษณะไซด์เวย์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย เมื่อไหร่ก็ตามที่กราฟบีบตัวเข้าหากัน รอเวลาที่กราฟจะทำการเบลคเอาท์ไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง จะทำให้สามารถเข้าออเดอร์ได้ตั้งแต่ต้นเทรนด์

ตลาดไซด์เวย์ที่เกิดขึ้น แม้จะไม่จำเป็นต้องเทรดในช่วงที่เป็นไซด์เวย์ อาจจะรอให้ตลาดจบ แล้วเทรดก่อนเริ่มเทรดน์ใหม่ หรือเป็นการเทรดตั้งแต่ต้นเทรด ก็นับว่าใช้ได้ เพียงเข้าใจตลาดว่าเกิดขึ้นอย่างไร และจะจบอย่างไร ก็หาสัญญาณในการเข้าเทรดได้เสมอ

สรุป

ตลาด Sideway (ไซด์เวย) คือช่วงเวลาหนึ่ง ที่ตลาดไร้ทิศทาง หรือยังไม่มีปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะหนุนให้ราคาทะลุกรอบ หรือเคลื่อนที่เป็นแนวโน้มได้

อาจจะเป็นช่วงที่ รายใหญ่ กำลังสะสมของ หรือเป็นช่วงที่ตลาดไม่มีปัจจัยใด ๆ หนุน หรือกำลังต่อสู้กันด้วยแรงซื้อและแรงขาย ยังไม่มีแรงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะ จึงทำให้ราคาค่อนข้างนิ่ง หรือวิ่งแค่เพียงในกรอบ

เมื่อราคาทะลุกรอบ หรือมีแรงใดที่เหนือกว่าอีกแรง เป็นปัจจัยให้ตลาดเคลื่อนที่เป็นแนวโน้มได้ ในเวลาต่อมา…