SMA หรือ Simple Moving Average เป็นหนึ่งในเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในวงการเทรดและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาด Forex, หุ้น และสินทรัพย์การเงินอื่นๆ

SMA ถูกใช้ในการช่วยวิเคราะห์แนวโน้มของราคาตลาด และเป็นตัวชี้วัดที่เทรดเดอร์มือใหม่จนถึงมืออาชีพเลือกใช้ เนื่องจากมันง่ายต่อการเข้าใจและใช้งานจริง ๆ ครับ

ในบทความนี้ ผมจะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับ SMA หรือ Simple Moving Average แบบเนื้อๆรวมไปถึงวิธีการคำนวณ การใช้งาน และประโยชน์ของมันในเชิงลึกครับ

SMA หรือ Simple Moving Average คืออะไร?

  • Simple Moving Average หมายถึง ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่อย่างง่าย ซึ่งคำนวณจากค่าเฉลี่ยของราคาปิด (หรือราคาที่ต้องการวิเคราะห์) ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด ตัวอย่างเช่น หากคุณใช้ SMA period 10 หมายความว่าคุณจะนำราคาปิดของ 10 แท่งเทียนล่าสุดมาคำนวณค่าเฉลี่ยเพื่อหาค่าของ SMA นั่นเอง
  • SMA จะทำให้ข้อมูลราคามีความ “ราบเรียบ” และช่วยลดความผันผวนระยะสั้น ทำให้เทรดเดอร์สามารถมองเห็นแนวโน้มโดยรวมของตลาดได้ง่ายขึ้นจริงๆ

วิธีการคำนวณ SMA

การคำนวณ SMA นั้นง่ายมาก และตรงไปตรงมาด้วย โดยใช้สมการดังนี้:

SMA = ราคาปิดทั้งหมดในช่วงเวลา / ช่วงเวลาที่กำหนด (Period)

ตัวอย่าง:
หากคุณต้องการคำนวณ SMA 5 วันของราคาปิด 5 วันล่าสุด:

  • วันที่ 1: ราคา 100
  • วันที่ 2: ราคา 102
  • วันที่ 3: ราคา 101
  • วันที่ 4: ราคา 105
  • วันที่ 5: ราคา 107

SMA = (100 + 102 + 101 + 105 + 107) ÷ 5 = 103

การใช้งาน SMA ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค

SMA ถูกใช้ในหลากหลายวิธีเพื่อช่วยในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาและจุดกลับตัวในตลาด ต่อไปนี้คือการใช้งานหลักของ SMA:

1. การหาแนวโน้ม (Trend Identification)

  • หากราคาอยู่ เหนือเส้น SMA หมายถึงแนวโน้มขาขึ้น (Bullish markets)
  • หากราคาอยู่ ต่ำกว่าเส้น SMA หมายถึงแนวโน้มขาลง (Bearish markets)

รูปที่ 2 วิธีการดูแนวโน้มอย่างง่ายด้วยเส้น SMA เพียงเส้นเดียว

2. การหาสัญญาณซื้อขาย (Trading Signals)

  • Golden Cross: เกิดขึ้นเมื่อ SMA ระยะสั้น (เช่น 50 period) ตัดขึ้นเหนือ SMA ระยะยาว (เช่น 200 period) ให้ทำการเข้า Position Long
  • Death Cross: เกิดขึ้นเมื่อ SMA ระยะสั้น ตัดลงต่ำกว่า SMA ระยะยาว ให้เข้า Position Short

3. การใช้ SMA เป็นแนวรับและแนวต้าน (Support and Resistance)

  • เส้น SMA สามารถทำหน้าที่เป็นแนวรับและแนวต้านตามแนวโน้มของตลาด 
  • ตัวอย่างเช่น ในตลาดขาขึ้น ราคาอาจปรับตัวลงมาทดสอบเส้น SMA ก่อนที่จะดีดตัวขึ้น

ข้อดีของ SMA

  1. ใช้งานง่าย: SMA เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่ไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับเทรดเดอร์ทุกระดับ
  2. ช่วยลดความผันผวน: SMA ช่วยลดสัญญาณรบกวน (Noise) ในตลาดระยะสั้น (ในบางกรณีนะจ๊ะ)
  3. ใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นได้ดี: สามารถใช้ SMA ร่วมกับตัวชี้วัดอื่น เช่น RSI หรือ MACD เพื่อเพิ่มความแม่นยำ อันนี้เรื่องจริงเลย ไม่เชื่อลองไปค้นหา กลยุทธ์การเทรดดูนะ ส่วนมากใช้ MA ร่วมทั้งนั้น หรือ Indy บางตัวก็ให้ค่า MA เป็นค่าตั้งต้นในการคำนวณต่อ

ข้อเสียของ SMA

  1. ตอบสนองช้า: SMA มีความล่าช้า (Lagging Indicator) ซึ่งอาจทำให้ตามแนวโน้มในตลาดไม่ทันในบางครั้ง
  2. อ่อนไหวต่อราคาสุดท้าย: ค่าของ SMA อาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของราคาล่าสุดอย่างรวดเร็ว

ตัวอย่างการเข้า Position Long 

  • รอจนกว่าเส้น EMA ทั้งสาม (20, 50, และ 100) จะจัดเรียงตัวเรียบร้อยเป็นลำดับชั้น โดยเริ่มจากบนลงล่างอย่างเป็นระเบียบ – EMA 20 อยู่บนสุด ตามด้วย EMA 50 และ EMA 100 ที่ฐานล่างสุด
  • เฝ้าดูว่ากราฟราคาจะเคลื่อนขึ้นไปอยู่เหนือเส้น EMA ทั้งสาม เมื่อราคามีการปิดตัวต่ำกว่า EMA 20 แต่ยังคงอยู่เหนือ EMA 50 จากนั้นให้จับตาต่อไปจนกว่าราคาจะกลับมาปิดเหนือเส้น EMA 20 อีกครั้ง
  • เมื่อเกิดสัญญาณตามที่กล่าวมา ให้ทำการเปิดสถานะ Buy ทันที พร้อมวางจุด Stop Loss (SL) ไว้ใต้จุด Swing Low ล่าสุด เพื่อป้องกันความเสี่ยง ส่วน Take Profit (TP) ให้ตั้งเป้าหมายโดยอิงกับอัตราส่วนความเสี่ยงต่อผลตอบแทน (Risk-Reward Ratio) ที่ 1:1 เพื่อสร้างโอกาสทำกำไรที่สมดุลและปลอดภัย

รูปที่ 2 ตัวอย่างกลยุทธ์การใช้เส้น EMA 3 เส้น

เปรียบเทียบ SMA กับ Moving Average ประเภทอื่น

นอกจาก SMA แล้ว ยังมี Moving Average ประเภทอื่น เช่น EMA (Exponential Moving Average) ที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของราคามากกว่า เนื่องจาก EMA ให้น้ำหนักกับข้อมูลล่าสุดมากกว่า SMA [คลิ๊กเพื่ออ่าน MA แบบอื่น ๆ รับรองโคตรมันส์]

EA Forex หรือ Robot Trade ที่ใช้หลักการของ MA

ปัจจุบัน EA Forex หรือ Robot Trade ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้การซื้อขายในตลาดการเงินเพราะมันทั้งสะดวกและแม่นยำมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง EA ที่ใช้หลักการวิเคราะห์ด้วย MA ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่ง่ายแต่ทรงพลัง สำหรับบทความนี้ เราจะอธิบายการทำงานของ EA Forex ที่ใช้ MA จากแพลตฟอร์ม MQL5.com มา 1 ตัวครับ

Moving Average Trend Scanner MT4

Moving Average Trend Scanner MT4 เป็นแดชบอร์ดที่ช่วยให้เทรดเดอร์สามารถติดตามและระบุแนวโน้มของตลาดได้จากกราฟเดียว โดยสแกนการจัดเรียงของเส้น MA สามเส้น ในเครื่องมือสามารถเล่นได้สูงสุดถึง 28 คู่เงิน และใน 9 Timeframes

คุณสมบัติหลักของ Moving Average Trend Scanner MT4:

  • ปรับแต่งเส้นค่า MA ระยะสั้น กลาง และยาวได้ตามต้องการ
  • ใช้งานได้กับทุกเครื่องมือทางการเงิน เช่น คู่สกุลเงิน CFD โลหะมีค่า และสกุลเงินดิจิทัล
  • มีตัวเลือกในการกรองสัญญาณโดยพิจารณาระยะห่างขั้นต่ำระหว่างเส้นค่า MA เพื่อหลีกเลี่ยงการจัดเรียงที่เกิดขึ้นก่อนเวลาอันควร
  • แสดงหมายเลขแท่งเทียนที่เส้นค่า MA ระยะสั้นตัดกับเส้นค่า MA ระยะกลางบนปุ่มแดชบอร์ด
  • มีตัวเลือกในการกรองสัญญาณด้วยดัชนี RSI และ ADX
  • สามารถตั้งค่าช่วงเวลาของเส้นค่า MA ที่แตกต่างกันสำหรับแต่ละช่วงเวลาได้
  • โหมดสแกนลึกเพื่อสแกนสัญลักษณ์ทั้งหมดใน Market Watch สำหรับการจัดเรียงเส้นค่า MA ในช่วงเวลาที่เลือก
  • มี 3 โหมดการแจ้งเตือน:
    1. สัญลักษณ์และช่วงเวลาเดียว
    2. หลายช่วงเวลาของสัญลักษณ์เดียว
    3. หลายสัญลักษณ์สำหรับช่วงเวลาเดียว
  • ตรวจสอบสัญญาณได้อย่างรวดเร็วบนกราฟเดียวโดยการคลิกที่ปุ่มสัญญาณ
  • ตั้งค่าและจัดเรียงสัญลักษณ์ได้ง่ายตามลำดับที่ต้องการ
  • การแจ้งเตือนผ่านป๊อปอัพ อีเมล และโทรศัพท์สำหรับสัญลักษณ์และช่วงเวลาที่เลือก

รูปที่ 3 ตัวอย่าง EA ที่ใช้หลักการ MA จ้า

สรุป

SMA หรือ Simple Moving Average เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สำคัญในโลกของการวิเคราะห์ทางเทคนิค ด้วยความเรียบง่ายและความสามารถในการวิเคราะห์แนวโน้มของราคา SMA จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและมืออาชีพ

อย่างไรก็ตาม การใช้งาน SMA ควรทำร่วมกับการวิเคราะห์อื่นๆ และเข้าใจข้อจำกัดของมัน เพื่อเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจซื้อขายได้อย่างแม่นยำมากขึ้น

แหล่งอ้างอิงข้อมูล

 

เขียนโดย

Pakornkiat Poonsuk

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon