บทคัดย่อ

  • Time Frame: คือกรอบเวลาของกราฟ ที่แสดงข้อมูลการเคลื่อนไหวของราคา ที่เทรดเดอร์และนักลงทุนใช้ในการวิเคราะห์ ราคาขึ้นลงตามช่วงเวลาของกราฟนั้น ๆ
  • วิเคราะห์หลาย Time Frame: โดยเริ่มจากภาพใหญ่ เพื่อให้เห็นความเคลื่อนไหวของกราฟในภาพรวม ก่อนที่จะย่อลงไปในภาพเล็ก และหาสัญญาณเข้าซื้อขาย
  • เลือกใช้ Time Frame: ให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ในการเทรด สัญญาณเกิดขึ้น Time Frame ไหน ใช้ Time Frame นั้นในการตัดสินใจ

Time Frame คืออะไร

Time Frame คือ กรอบเวลาของกราฟที่ใช้แสดงข้อมูลของราคา ตามช่วงเวลาในขณะนั้น เช่น Time Frame Day นั่นคือการแสดงข้อมูลหรือความเคลื่อนไหวของราคา ในระยะเวลา 1 วัน (แท่งเทียน 1 แท่งเท่ากับ 1 วัน)

  • คำจำกัดความของ Time Frame: ข้อมูลราคาแสดงตามช่วงระยะเวลาหรือกรอบเวลา ที่เทรดเดอร์สามารถเลือกใช้ตามช่วงเวลาตามที่ต้องการ
  • ประเภทของ Time Frame: เริ่มตั้งแต่ระดับนาที ไปจนถึงเดือน Time Frame ที่นิยมใช้
    • ระยะสั้น (1 นาที, 5 นาที)
    • ระยะกลาง (1 ชั่วโมง, 4 ชั่วโมง)
    • ระยะยาว (รายวัน, รายสัปดาห์)
    • สามารถใช้หลาย ๆ ช่วงเวลาประกอบกัน (Multi-Timeframe)

ในการเทรด สามารถเลือกได้ตามที่ต้องการ แต่การเลือกใช้ Time Frame ให้เหมาะสมกับสไตล์การเทรด เป็นได้ทั้งกลยุทธ์ และความเหมาะสมด้านจิตวิทยา ย่อมส่งผลดีกับการเทรด

ความสำคัญของการเลือก Time Frame ที่เหมาะสม

ภาพหัวข้อ ความสำคัญของการเลือก Time Frame ที่เหมาะสม ที่จะส่งผลกระทบทางใดทางหนึ่งกับการเทรด เช่น กลยุทธ์ การจัดการความเสี่ยง จิตวิทยาในการเทรด และเครื่องมือ

  • ผลกระทบต่อกลยุทธ์การเทรด: กลยุทธ์ที่ดี ไม่ใช่ดีกับทุกคน แต่การเลือกให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ และระยะเวลาที่ต้องการ จะช่วยให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเหมาะสมกับการเทรด
  • การจัดการความเสี่ยง: Time Frame ที่เหมาะสม จะนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เหมาะสมเช่นกัน เพราะระยะห่างจากจุดเข้า ไปจนถึงจุดตัดขาดทุนหรือ SL ย่อมมีระยะที่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาที่ใช้ และสัมพันธุ์กับความเสี่ยง จัดการได้อย่างเหมาะสม
  • จิตวิทยาในการเทรด: ระบบเหมือนกัน ใช่ว่าจะมีผลลัพธ์ในการเทรดได้เหมือนกัน เพราะเทรดเดอร์แต่ละคน จะมีจริต นิสัย ความอดทนที่แตกต่างกัน ถ้าทนรอได้หรือมีเวลาในการเทรดน้อย อาจจะพิจารณาเป็น Time Frame หรือถ้าต้องการเทรดเร็ว ทำกำไรเร็ว อาจจะใช้ Time Frame ที่เล็กลง
  • ความเหมาะสมกับเครื่องมือ: ไม่มีเครื่องมือตัวไหน ที่จะช่วยให้สามารถเทรดได้ในทุก ๆ Time Frame เพราะแต่ละเครื่องมือจะถูกออกแบบมาจาก Time Frame ใด Time Frame หนึ่งเท่านั้น เช่น ระบบเทรด Ichimoku (อิชิโมกุ) จะใช้ได้ดีใน TF Day หรือ  EA หลาย ๆ ตัวจะใช้ได้ดีใน TF H1 เท่านั้น

ดังนั้น การเลือกให้เหมาะสมกับกลยุทธ์ ความเสี่ยง จิตวิทยา และเครื่องมือจะยิ่งช่วยเพิ่มโอกาส หรือเปอร์เซ็นต์ชนะตลาดได้มากกว่า

การเลือก Time Frame ตามสไตล์การเทรด

ภาพการเลือก Time Frame โดยแบ่งตามสไตล์การเทรด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเทรดเดอร์หรือนักลงทุน ที่จะต้องทดลองและเลือกที่เหมาะสมกับสไตล์และกลยุทธ์การเทรดที่เป็นตัวเอง

  • Scalping: การเทรดสั้นมาก ๆ โดยใช้ TF M1, M5, M15 เข้าไวออกไว เก็บกำไรไวไม่ถือค้าง ลักษณะตีหัวเข้าบ้าน ได้กำไรปั๊บปิดทำกำไรทันที ต้องมีเวลาเฝ้ากราฟตลอดที่มีการเข้าออเดอร์ จะทิ้งไม่ได้เป็นอันขาด
  • Day Trading: เทรดภายในวัน จบในวัน ไม่ถือข้ามคืน สามารถใช้ TF M30, H1, H4, D1 จบภายในแท่งก็สามารถทำได้ แต่กฎเหล็กคือ การไม่ถือข้ามวัน ทุกการเทรดจะต้องจบให้ได้ภายใน 1 วันเท่านั้น เวลาดูกราฟอย่างน้อย 2 ครั้งต่อ 1 TF
  • Swing Trading: เทรดระยะกลาง เล่นเป็นรอบสวิง สามารถใช้ TF H1, H4, D1 โดยหาจุดที่ดีที่สุดในสวิงนั้น ๆ และหาจุดออกที่ดีที่สุดในสวิงนั้น ๆ เช่นกัน โดยสามารถถือออเดอร์ข้ามคืนได้ แต่ไม่ข้ามสัปดาห์ ใช้เวลาดูกราฟ 1-2 ครั้งต่อ 1 TF
  • Trend Trading: เป็นการเทรดระยะกลางถึงระยะยาว เน้นเทรดในไทม์เฟรมใหญ่ ไม่เน้นเฝ้ากราฟ เล่นเป็นรอบเทรนด์ หรือรอบของการเปลี่ยนแนวโน้ม โดยการหาจังหวะเข้าต้นเทรนด์และออกที่ปลายเทรนด์ สามารถใช้ได้ตั้งแต่ TF H1, H4, D1, W1, MN ใช้เวลาเพียง 1-2 ครั้งต่อ 1 TF

วิธีการวิเคราะห์กราฟด้วยหลาย Time Frame

Multi-Timeframe หรือการวิเคราะห์กราฟด้วยหลาย ๆ Time Frame เพื่อให้เห็นพฤติกรรมราคา ในหลากหลายมุมมอง สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นกลยุทธ์ในการเทรดได้ แนวทางในการนำไปใช้หลาย ๆ ไทม์เฟรม มีดังต่อไปนี้

  • การวิเคราะห์หลายไทม์เฟรม: โดยเริ่มจากไทม์เฟรมใหญ่ แล้วย่อลงไปเล็ก เพื่อให้เห็นมุมมองกว้าง ๆ ว่ากราฟกำลังทำอะไร เคลื่อนที่ไปยังทิศทางไหน ก่อนที่จะหาจังหวะเข้าเทรดในไทม์เฟรมเล็ก ๆ
  • การยืนยันสัญญาณการเทรด: Price Action รูปแบบแท่งเทียนกลับตัวใน TF D1 แล้วย่อลงไปใน TF M30 รอจังหวะกลับตัวเพื่อเป็นการยืนยันจุดเข้าเทรด
  • ใช้เป็นกลยุทธ์: ดูกราฟใน Time Frame ใหญ่ แล้วหาจุดกลับตัวใน Time Frame ที่เล็กกว่า เช่น ใน Time Frame ใหญ่เป็นแนวโน้มขาขึ้น และกำลังพักต่อ เมื่อย่อลงมาใน Time Frame ที่เล็กกว่าเป็นแนวแนวโน้มขาลง และกำลังจะกลับตัวเป็นแนวโน้มขาขึ้นตามแนวโน้มใหญ่

ตัวอย่าง

ภาพตัวอย่าง การวิเคราะห์ใน TF D1 เพื่อดูมุมมองในภาพกว้าง ก่อนที่จะย่อกราฟลงมาใน TF M30 เพื่อดูความเคลื่อนไหวอย่างละเอียด ก่อนที่จะหาสัญญาณและจังหวะในการเข้าในเวลาต่อมา โดยทั้งสอง Time Frame จะเป็นไปทิศทางเดียวกัน

  • TF D1: เป็นภาพใหญ่ เพื่อให้เห็นทิศทางของกราฟ จากในภาพยังคงเป็นแนวโน้มขาลง เมื่อราคาหลุดแนวรับ จึงมีโอกาสที่จะลงต่อ
  • TF M30: เมื่อย่อกราฟลงไป Time Frame ที่เล็กกว่า จะเห็นราคาเกิดการพักตัวอีกครั้ง หลุดแนวรับในในภาพเล็ก แต่ยังไม่ลงต่อในทันที โดยรอสัญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นรูปแบบแท่งเทียน จึงจะทำกำการเข้าออเดอร์ Sell

เครื่องมือและอินดิเคเตอร์ที่ใช้ร่วมกับ Time Frame ต่าง ๆ

อินดิเคเตอร์ คือเครื่องมือที่เทรดเดอร์ ใช้นำมาประกอบการวิเคราะห์ ซึ่งแต่ละตัวจะมีแนวคิด มุมมอง และวิธีการวิเคราะห์ที่แตกต่างกัน แต่สิ่งที่มีคล้าย ๆ กันนั่นก็คือ การนำเอาราคาปิดของราคา มาคำนวนและสร้างขึ้นเป็นเส้น หรือรูปแบบที่ต้องการ เพื่อให้ง่ายต่อการนำข้อมูลนั้น ๆ มาใช้

เมื่อนำมาใช้แตกต่าง Time Frame ข้อมูลที่ได้ก็จะแตกต่างออกไป ตัวอย่างเช่น

ภาพตัวอย่าง การใช้อินดิเคเตอร์ และ Time Frame จากในตัวอย่างคือการใช้เส้น EMA หรือค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ใน Time Frame D1 แต่เมื่อทำการเปลี่ยน ค่าเฉลี่ยก็จะเปลี่ยนตาม โดยยึดจากแท่งเทียนย้อนหลังนั่นเอง

  • Moving Averages: เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ สามารถเลือกใช้ได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับแนวคิดหรือไอเดียในการเทรด เช่น EMA5, EMA16, EMA21 ถ้าใช้ใน TF D1 นั่นหมายถึงแทนค่าเฉลี่ย 5 วัน, 16 วัน, 21 วัน ย้อนหลัง หรือเทียบกับกราฟแท่งเทียน 1 แท่งต่อ 1 วัน
  • Time Frame: ที่เล็กกว่า D1 เส้นค่าเฉลี่ยย่อมมีการปรับเปลี่ยนตาม จากเดิมใน TF D1 คือ 1 แท่งต่อวันย้อนหลัง ถ้าใช้ TF H1 เท่ากับ 1 แท่ง หรือ 1 ชั่วโมงย้อนหลัง เช่น EMA5, EMA16, EMA21 เท่ากับ 5 แท่งหรือ 5 ชั่วโมงย้อนหลัง 16 แท่งหรือ 16 ชั่วโมงย้อนหลัง และ 21 แท่งหรือ 21 ชั่วโมงย้อนหลัง

เมื่อใช้ Time Frame ที่แตกต่าง เครื่องมือต่าง ๆ หรืออินดิเคเตอร์ที่อ้างอิงจากราคา ย่อมมีการปรับเปลี่ยนตาม Time Frame ที่ใช้

ข้อผิดพลาด ที่ควรหลีกเลี่ยงในการเลือก Time Frame

  • การเปลี่ยน Time Frame โดยไม่มีแผน: การเปลี่ยนหรือเลือกใช้ ควรมีแผนการเทรดหรือกลยุทธ์การเทรดที่เหมาะสม เช่น วางแผนการเทรดเอาไว้ โดยรอสัญญาณจาก H1 แต่การย่อลงไปใน TF ที่เล็กกว่า อาจจะทำให้สับสน ทำให้ความเชื่อมั่นในระบบที่วางเอาไว้ดีแล้ว มีการคลาดเคลื่อนหรือมีข้อผิดพลาดได้
  • ไม่สอดคล้องกับกลยุทธ์การเทรด: กลยุทธ์การเทรดที่เหมาะสมกับสไตล์การเทรดของตัวเอง เช่น เทรดในระยะกลาง แต่ดูกราฟที่เล็กเกินไป อาจจะทำให้เกิดอารมณ์หรือตลาดปั่นหัวได้ง่าย เพราะยิ่ง Time Frame เล็กเท่าไหร่ ย่อมมีโอกาสผิดพลาดได้มากเท่านั้น
  • Time Frame ที่มีนัยสำคัญ: แม้กลยุทธ์การเทรด จะเป็นสไตล์ใดก็ตาม ควรให้น้ำหนักไปยัง Time Frame ใหญ่ก่อน เพราะเป็นภาพรวมของเทรดเดอร์ส่วนใหญ่ จะทำให้เห็นมุมมองในภาพกว้าง แต่หลายคนกลับเลือกเชื่อ Time Frame ที่เล็กลง

ข้อแนะนำสำหรับการเลือก Time Frame ในการเทรด Forex

  • การทดลองและปรับตัว: โดยการเลือกจากเวลา และความเหมาะสมในการดูกราฟ ว่าสามารถดูกราฟได้บ่อยมากน้อยแค่ไหน โดยใช้หลัก 2 ครั้งในแต่ละ Time Frame คือถ้าเลือกใช้ TF H4 ภายใน 4 ชั่วโมงนี้จะต้องสามารถดูกราฟได้ 2 ครั้ง
  • การฝึกฝนและการเรียนรู้ต่อเนื่อง: จะยิ่งช่วยเพิ่มทักษะและความมั่นใจ บ่อยครั้งที่สัญญาณเทรด อยู่ใน Time Frame ที่แตกต่างจากเดิม ถ้าฝึกฝนมากพอ ก็สามารถเทรดได้เช่นกัน
  • ใช้หลาย ๆ Time Frame ประกอบกัน: ในภาพใหญ่จะทำให้เห็นมุมมองที่กว้าง และในภาพน้อยเป็นสัญญาณในการเข้าที่แหลมคม สามารถพัฒนาเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมกับตัวเองได้

สรุป

การเลือก Time Frame ที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญในการเทรด Forex ที่ประสบความสำเร็จ การทำความเข้าใจและปรับใช้ Time Frame ให้สอดคล้องกับสไตล์การเทรดของตนเอง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำกำไรและลดความเสี่ยงในการลงทุนได้

ในแต่ละ Time Frame ย่อมมีนัยสำคัญที่แตกต่างกัน รวมถึงการใช้ร่วมกับเครื่องมือต่าง ๆ เช่น อินดิเคเตอร์ แต่ใช่ว่าทุกอินดิเคเตอร์จะเหมาะกับทุก ๆ ไทม์เฟรม

ดังนั้น ควรทดสอบ ฝึกฝน แต่ละกลยุทธ์ให้เหมาะสมจนเกิดสถิติที่ดี และผลลัพธ์ในการเทรด ก็จะได้ผลดีขึ้นด้วยเช่นกัน