หลักการเทรดแนว supply/demand คือพยายามหาว่า unfilled orders อยู่ตรงไหน ด้วยการหาว่า imbalance หรือความไม่สมดุลย์ที่เกิดขึ้นด้วยราคาวิ่งไปแรงๆ (strong rally) หรือลงอย่างรวดเร็ว (sharp dorp) บอกว่าความไม่สมดุลย์เกิดขึ้นตรงไหน แล้วค่อยเพิ่มตัวกรองไปที่ต้นตอของ demand/supply เข้าไปอีกทีหนึ่งเพื่อเพิ่มความเป็นไปได้

                ดังนั้นการเทรดแนว supply/demand เมื่อพูดง่ายๆ ถ้ามองชาร์ตเปล่าให้มองหาบาร์ยาวๆ ที่ราคาเคลื่อนไปทางเดียวกันเป็นหลัก ต้นตอที่ทำให้เกิดการขึ้นหรือลงยาวๆ เรียกว่าเป็นพื้นที่ demand/supply zone ที่หลักการเทรดแนวนี้บอกว่าก็จะมี unfilled orders เหลืออยู่ตอนที่ราคาวิ่งออกไป เนื่องจากออเดอร์ฝั่งตรงข้ามไม่พอ โอกาสการเทรดแนวนี้ก็จะให้หาโอกาสเทรดตอนที่ราคากลับมาพื้นที่ครั้งแรก หรือเรียกว่า First-Time-Back (FTB) retracement เป็นหลัก การกลับมาครั้ง  2 หรือ 3 ก็เทรดได้ ต่ต้องดูตัวแปรอื่นประกอบ ไม่เหมือนการเทรดตอนกลับมาครั้งแรกที่มีความเป็นไปได้สูง

                หลักการของการเทรด supply/demand  คือเทรดความไม่สมดุลย์ที่เปิดเผยออกมา Demand บอกว่า buyers เป็นฝ่ายชนะ Supply บอวกว่า sellers เป็นฝ่ายชนะก็จะมีแบบ Reversal กลับเทรนและ Continuation หรือไปต่อ แบบสวนก็มี Drop-Base-Rally เป็น Demand, Rally-Base-Drop เป็น supply และแบบตามเทรนหรือไปต่อก็จะมี Rally-Base-Rally เป็น Demand และ Drop-Base-Drop เป็น Supply

                รูปแบบของ demand/supply หาศึกษาได้ทั่วๆ ไปที่จะให้ข้อสังเกตในที่นี้คือเรื่องของ Base หรือที่บอกว่าเป็นต้นตอ ของ Supply/Demand และตอนที่ราคากลับมาพื้นที่ๆ เป็นโอกาสเปิดเทรดตามแนวนี้

                อย่างแรกที่จะให้สังเกตคือ ปกติราคาไม่ได้เปลี่ยนเทรนบ่อย แม้ว่ารูปแบบ Reversal เกิดขึ้นเป็นจุดบอกที่ดีว่าราคาจะกลับตัว แต่ส่วนมากจะเป็นรูปแบบ Continuation เป็นหลัก สิ่งที่จะเห็นประจำเมื่อเกิด Reversal มักจะตามมาด้วย Continuation บ่อยจนกว่าราคาไปเจอ Demand/Supply ของ timeframe ใหญ่กว่าหรือของ timeframe ที่เกิด Reversal  อย่างภาพด้านบนจุดที่เป็น demand/supply แบบ Reversal มีแต่ 3 จุด ถ้ามองจาก timeframe นี้เป็นหลัก ที่เหลือเป็นแบบ continuation หมดราคาดันไปต่อที่ที่เกิด Reversal

                ประเภทที่เป็น Continuation ที่บอกรูปแบบการไปต่อ ทำให้เรารู้ว่าแหล่งออเดอร์กองกันอยู่ตรงไหน เพราะตอนที่ราคาทำ Base หลักการ demand/supply บอกว่ามี unfilled orders อยู่เมื่อเกิด imbalance ความไม่สมดุลย์เกิดขึ้น unfilled orders ในที่นี้คือ limit orders ดังนั้นเมื่อราคามาถึงพื้นที่ก็จะหยุดราคาได้ทันทีเพราะออเดอร์พวกนี้อยู่ในตลาด limit orders ทั้งมาจากที่ต้องการเข้าตลาดอีกรอบ ตอนที่เกิด imbalance ออเดอร์ตรงข้ามไม่พอ market orders เข้ามาดันราคาไปก่อนเลยทำให้มี limit orders หรือ unfilled orders ที่ยังไม่ได้จับคู่ตอนเกิดต้นตอเหลืออยู่ ดังนั้นเมื่อมองมุมออเดอร์มี 2 เหตุผลหลักๆ ที่ unfilled orders พวกนี้จะหมดไปคือราคากลับมาพื้นที่อีกแล้ว market orders มา fill ออเดอร์พวกนี้ อย่างที่กลยุทธ์การเทรด demand/supply คือเทรดตอนราคาย่อตัวกลับมา และพอผ่านไปนานราคาไม่กลับมา เทรดเดอร์ที่ตั้ง Limit orders ไว้ตรงนี้ก็ยกเลิกออเดอร์พวกนี้ออกไป

                เนื่องจากการเกิด demand/supply ไม่ได้แค่บอกว่ามี unfilled orders เหลือพื้นที่ตรงนั้นด้วย เพราะตอนที่ราคาสู้กันหรือช่วงที่กำหนดว่าเป็นต้นตอ มีการสู้กันระหว่า sellers และ buyers หรือช่วง Base มีการเปิด long/short positions ไปด้วย หรือเรียกได้ว่าเป็นช่วง consolidation หลักการของ demand/supply บอกว่าให้เน้นเป็นช่วงที่ consolidation สั้นๆ เพราะบอกถึงความไม่สมดุลย์ได้มากกว่า สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือเมื่อราคาเบรคไปทางที่เกิดความไม่สมดุลย์มี trapped traders เกิดขึ้น เลยทำให้ trapped traders พวกนี้ออกจากตลาดด้วย stop loss เลยยิ่งทำให้เกิด strong rally หรือ sharp drop ได้เร็วขึ้นด้วย และยังมีเทรดเดอร์อีกกลุ่มที่ไม่ได้ตั้ง stop loss เพราะมั่นใจว่าราคาจะกลับมาทางที่พวกเขาเปิดเทรด แม้วิ่งสวนทางก็จะกลับมาอีก ที่สำคัญคือเทรดเดอร์กลุ่มนี้ และตอนที่ราคากลับมา ถ้าระยะห่างจากจุดที่เกิด และกว่าจะกลับมานานเกินไปพวกเขาอาจออกไปแล้วยอมปิดเสีย แต่ถ้าไม่นานเกินเช่นถ้าเทรดเดอร์กลุ่มนี้ถือ D1 เป็นภาพรวม ก็อาจจะถือรอหลายวันอาจมากสุดไม่เกิน 1 อาทิตย์  ถ้าราคากลับมาแล้วเกิดเหตุการณ์เช่น price structure ที่พวกเขารู้ว่าจะไม่มาทางพวกเขาแน่เทรดเดอร์พวกนี้ก็จะปิดทันที

                ดังนั้นคำว่า unfilled orders ต้องบอกที่มาให้เป็นว่ามาจากไหนบ้าง จากการรอเข้าหรือจากการรอออกที่จุดนั้นของพวก trapped traders ถ้าราคาไม่ไปต่อ ดูที่เลข 1 จะเห็นว่าพอราคาเบรคลงมาและทำเป็น Drop-Base-Drop มี trapped traders อยู่ด้านบนพอราคากลับมา หลังจากที่ราคายืนยัน พอราคากลับมาถ้าราคาไม่ขึ้นไปต่อ ก็จะทำให้เทรดเดอร์พวกนี้ออกได้ เพราะพวกเขายังอยู่ในตลาดระยะห่างจากจุดที่ราคาลงไม่ต่างกันมาก trapped traders พวกนั้นยังอยู่ในตลาด จะเห็นว่าทั้งเลข 2 และเลข 3 ก็หลักการเดียวกันหมด

                ดังนั้นการมองต้นตอ ต้องให้ความสำคัญการโต้ตอบที่เปิดเผยก่อนว่าเป็นอย่างไรและระยะห่าง ถ้าการกลับมาจากต้นตอไม่นานเกิน trapped traders ยังอยู่ โอกาสที่เทรดเดอร์พวกนี้จะทำให้ demand/supply ทำงานดีจะมีสูงและก็จะโต้ตอบเร็วด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับระยะห่างของต้นตอกับจุดที่กลับมานั้นห่างกัน

 

ทีมงาน : thaibrokerforex.com

เส้น

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chatchawal Nakcharoen