หนึ่งในโครงสร้างตลาดที่มีความสำคัญเป็นอันดับดับต้นๆเลยก็คือ อุปสงค์ และ อุปทาน โดยจะถูกเรียกอย่าแพร่หลายว่า Demand & Supply

…. ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงความรู้พื้นฐานของ อุปสงค์ และ อุปทาน สำหรับการลงทุนทั่วๆไปซึ่งแน่นอนว่ามันสามารถนำไปปรับใช้กับกลยุทธิ์ในการเทรด Forex ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งจะถูกเรียกว่า Demand Zone และ Supply Zone ดังนั้นแล้วเราจะสามารถนำความรู้นี้ไปใช้ได้อย่างไรและมันจะเพิ่มประสิทธิภาพได้มากน้อยแค่ได้..ไปรับชมกันครับ

ฉบับย่อ

  • Demand & Supply คือ ความต้องการซื้อและความต้องการขายของสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่งเทียบกับปริมาณโดยจะส่งผลต่อราคาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
  • การเทรดโดยใช้ Demand และ Supply Zone คือ เทคนิคที่นำกฎของอุปสงค์และอุปทานเข้ามาหาโซนราคาเพื่อมองหาจุดกลับตัวในอนาคต

พื้นฐานของ Demand & Supply ในการลงทุน

ในยุคปัจจุบันเราไม่สามารถที่จะปฎิเสธได้เลยว่าไม่ว่าจะเป็นการลงทุนรูปแบบใดก็ตามเราก็มักจะถูกรายล้อมไปด้วย Demand และ Supply หรือแปลเป็นไทยได้ว่า อุปสงค์ และ อุปทาน นั่นเองโดยคำทั้งสองคำนั้นมักจะอยู่คู่กันเสมอเพราะมันเป็นสิ่งที่เหมือนกันแต่มีความหมายที่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นผมจะให้ความหมายและนิยามของทั้งสองคำอย่างง่ายๆดังนี้

A diagram of a graph

Description automatically generated

รูปที่ 1 พื้นฐานของ Demand & Supply ในการลงทุนที่แสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างอุปสงค์และอุปทานที่มีผลต่อราคาและปริมาณซึ่งส่งผลต่อลักษณะกราฟราคาหากมีความต้องการซื้อมากกราฟจะมีเทรนด์ขาขึ้น ใน ขณะเดียวกันหากหากมีความต้องการขายมากกราฟจะมีเทรนด์ขาลง

  • Demand หรือ อุปสงค์
    • ความหมายทางเศรษฐศาตร์ : ปริมาณความต้องการซื้อสินค้าของผู้บริโภคโดยปกติแล้วจะมีความสัมพันธ์ในทางตรงข้ามกับราคาสินค้า หมายถึง เมื่อสินค้ามีมูลค่าและราคาที่เพิ่มสูงขึ้น ผู้บริโภคสิ้นค้าชนิดนั้นก็จะมีแนวโน้มที่ต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นน้อยลง ทั้งนี้ยังไม่รวมกับปัจจัยอื่นๆ
    • ความหมายทางด้านตลาด Forex : ปริมาณความต้องการซื้อของคู่สกุลเงินในราคาใดๆมีจำนวนที่มากกว่าปริมาณผู้ที่ต้องการขาย จึงทำให้เกิดการผลักดันราคาให้มีทิศทางพุ่งขึ้นไปทำให้สินทรัพย์หรือคู่สกุลเงินนั้นมีค่าที่มากขึ้น
  • Supply หรือ อุปทาน
    • ความหมายทางเศรษฐศาตร์ : ปริมาณความต้องการขายสินค้า โดยปกติแล้วจะมีความสัมพันธ์ในทางเดียวกันกับราคาสินค้า หมายถึง เมื่อสินค้ามีมูลค่าและราคาที่ลดน้อยลงขึ้น ผู้บริโภคสิ้นค้าชนิดนั้นก็จะมีแนวโน้มที่ต้องการซื้อสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น ทั้งนี้ยังไม่รวมกับปัจจัยอื่นๆ
    • ความหมายทางด้านตลาด Forex : ปริมาณความต้องการขายของคู่สกุลเงินในราคาใดๆมีจำนวนที่มากกว่าปริมาณผู้ที่ต้องการซื้อ จึงทำให้เกิดการผลักดันราคาให้มีทิศทางพุ่งลงไปทำให้สินทรัพย์หรือคู่สกุลเงินนั้นมีค่าน้อยลง

ตัวอย่าง Demand & Supply ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

เนื่องจาก อุปสงค์ และ อุปทาน ในระดับเศรษฐศาตร์นั้นยังถือว่ามีอีกหลายปัจจัยนอกเหนือจากราคาสินค้าที่ทำให้เกิดการผลักดันของราคาไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ดังนั้นผมจะขอยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันให้รับชมกัน คือการ ผลักดันราคาของตุ๊กตา “ลาบูบู้” ดังต่อไปนี้

A cartoon characters in garment

Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 2 ตัวอย่างของ Demand & Supply ที่เกิดขึ้นในชีวิตปรับจำวันเทียบกับกลไกการตลาดที่เกิดขึ้นกับตุ๊กตาลาบูบู้ที่อยู่ดีๆมีกระแสเกิดขึ้นมาทำให้มีความต้องการซื้อที่เพิ่มมากขึ้นคนขายมีสินค้าไม่พอกับความต้องการของตลาดจึงทำให้ลาบูบู้มีราคามีเพิ่มมากขึ้นตามกฎของอุปสงค์

  • Demand หรือ อุปสงค์ การผลักดันราคาของของตุ๊กตา “ลาบูบู้”
    • เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น : สิ่งที่เกิดขึ้นของตุ๊กตา “ลาบูบู้” นั้นเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคือสิ่งเกิดขึ้นจากการที่มีความต้องซื้อที่มากกว่าความต้องการขาย หรือ อีกนัยหนึ่งคือ มีคนที่อยากได้ตุ๊กตาลาบูบู้นั้นมีมากกว่าคนที่ต้องการขายนั้นเองครับ
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทางเศรษฐศาตร์ : ราคาของตุ๊กตา“ลาบูบู้”มีราคาที่เพิ่มมากขึ้นอันเนื่องมาจากสินค้ามีจำนวนน้อยและคนซื้อสามารถยอมจ่ายในราคาที่สูงยิ่งขึ้นเพื่อที่จะได้ตุ๊กตามาไว้ในการครอบครองและยิ่งนานเข้าราคาก็จะสิ่งสูงเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่เมื่อมาถึงจุดหนึ่งเมื่อมีคนที่สามารถนำเข้าสิ้นค้าได้เป็นจำนวนมากทำให้ราคา“ลาบูบู้” นั้นมีราคาที่ลดลงมาอันเกิดจากกลไกของ อุปสงค์และอุปทานนั่นเอง
    • ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทางด้านตลาด Forex : หากเปรียบเทียบลาบูบู้เป็นสกุลเงินชนิดหนึ่งที่อยู่ในตลาดจะสังเกตได้ว่าเมื่อมีความต้องซื้อมากกว่าขายนั้นจึงทำให้กราฟราคามีทิศทางในทางที่พุ่งขึ้น อันเนื่องมาจากมีคนยอมจ่ายในราคาที่สูงมากขึ้นเพื่อให้ได้สกุลชนิดนี้เข้ามาไว้ในครอบครองจึงทำให้เกิดการผลักดันให้มีการพุ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าไม่ว่าเราจะไปทำการซื้อขายสินทรัพย์ในช่องทางไหนหรือตลาดใด หลักการของอุปสงค์และอุปทานยังคงมีกลไกการตลาดที่เหมือนๆกัน เพราะฉะนั้นแล้วในหัวข้อถัดไปผมจะขอนำเสนอการใช้งานอุปสงค์และอุปทานสำหรับการเทรดในตลาด Forex ให้ได้รับชมกันโดยจะเรียกเทคนิคนี้ว่า Demand และ Supply Zone ซึ่งจะมีรายละเอียดปรีกย่อยอีกดังรายละเอียดหัวข้อต่อไปนี้

พื้นฐานการใช้ Demand Zone และ Supply Zone ในการเทรดบนตลาด Forex

จากกฎของอุปสงค์อุปทานดังตัวอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นจะเห็นได้ว่าเราสามารถหาจุดที่กราฟราคาเกิดอุปสงค์อุปทานเพื่อมาใช้หาโซนจุดกลับตัวได้เป็นอย่างดีและจะสรุปวิธีการใช้เบื้องต้นได้ดังนี้

  • Demand Zone คือ โซนที่ราคาที่เกิดจากอุปสงค์ทำให้กราฟราคาเป็นเทรนด์ขาขึ้น
    • วิธีใช้งาน : จะเห็นจากตัวอย่างได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีความต้องการซื้อที่มากเกิดขึ้น จะทำให้เกิดการพุ่งตัวเป็นเทรนด์ขาขึ้น ทำให้อนาคตเมื่อกราฟกลับมายังราคาโซนนี้ก็จะมีทำให้มีโอกาสในการกลับตัวพุ่งขึ้นอีกครั้ง
  • Supply Zone คือ โซนที่ราคาที่เกิดจากอุปทานทำให้กราฟราคาเป็นเทรนด์ขาลง
    • วิธีใช้งาน : วิธีนี้จะตรงข้ามกับอุปสงค์คือเมื่อใดก็ตามที่มีความต้องการขายที่มากเกิดขึ้น จะทำให้เกิดการดิ่งตัวลงเป็นเทรนด์ขาลง ทำให้อนาคตเมื่อกราฟกลับมายังราคาโซนนี้ก็จะมีทำให้มีโอกาสในการกลับตัวลงขึ้นอีกครั้ง

ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่า “แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่ากราฟตำแหน่งใดเป็น Demand Zone หรือ Supply Zone ?” เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นจะต้องสอนองค์ประกอบอื่นๆเพิ่มเติมเพื่อให้ผู้อ่านสามารถหา Demand และ Supply Zone ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยจำเป็นต้องมีความรู้ดังหัวข้อต่อไปนี้

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ Balance & Imbalance

ในตลาดของการซื้อขายใดๆหรือจากตัวอย่างที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าสินทรัพย์ใดๆจะสามารถทำการเคลื่อนตัวได้ก็ต่อเมื่อมีการซื้อขายเกิดขึ้นดังนั้นเราจะสอนคำศัพท์ใหม่เกี่ยวกับ Balance & Imbalance ดังตัวอย่างต่อไปนี้

A graph of candlesticks and a chart of candlesticks

Description automatically generated

รูปที่ 3 รูปภาพแสดงตัวอย่างข้อแตกต่างของกราฟราคาระหว่าง Balance และ Imbalance

  • Balance คือ กราฟราคาที่ลักษณะคล้ายคลึงกับการเกิด Sideway
    • Balance เกิดจาก: ผู้ซื้อและผู้ขายมีปริมาณความต้องการที่จะซื้อหรือขายในปริมาณที่ใกล้เคียงกันจึงไม่สามารถทำให้ราคาผลักดันออกไปได้ในทางใดทางหนึ่งเป็นการสร้างกลุ่มราคาที่กำลังอยู่ในระหว่างการตัดสินใจว่าจะไปทิศทางใด
  • Imbalance คือ กราฟราคาที่ลักษระคล้ายคลึงกับการเกิด Trend
    • Imbalance ขาขึ้นเกิดจาก: ผู้ซื้อมีปริมาณที่ต้องการซื้อมากกว่าฝั่งขายเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการเสนอซื้อในราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆจนทำให้เกิด Bullish ผลักดันจนเกิดเป็นเทรนด์ขาขึ้น
    • Imbalance ขาลงเกิดจาก: ผู้ซื้อมีปริมาณที่ต้องการขายมากกว่าฝั่งซื้อเป็นจำนวนมากทำให้เกิดการเสนอขายในราคาที่ต่ำลงเรื่อยๆจนทำให้เกิด Bearish ผลักดันจนเกิดเป็นเทรนด์ขาลง
    • การสังเกต Imbalance ที่สมบูรณ์ : Imbalance ที่ดีจะสามารถสังเกตได้โดยง่าย ไม่ว่าจะเป็น Imbalance ขาลงหรือขาขึ้น ให้ทำการสังเกตเพียงเนื้อเทียนจะต้องมีความยาวหนาและมีการทิ้งไส้ให้เหลือน้อยๆหรือไม่มีเลย เป็นต้น

องค์ประกอบของ Demand Zone และ Supply Zone

ในหัวข้อถัดมากจะเป็นการอธิบายองค์ประกอบและคำศัพท์พื้นฐานของ Demand & Supply Zone ซึ่งจะมีหัวข้อให้จำหลักๆดังนี้

A diagram of a trading chart

Description automatically generated

รูปที่ 4 รูปภาพแสดงตัวอย่างองค์ประกอบของ Demand Zone และ Supply Zone ที่จะประกอบไปด้วย Rally, Base และ Drop ซึ่งเป็นพื้นฐานของการหาโซนอุปสงค์และอุปทาน

  • Rally หรือตัวย่อคือ R
    • ความหมาย : มีลักษณะเป็นแท่ง Bullish เกิดจากฝั่ง Buy มีปริมาณการซื้อที่มากกว่ากว่าฝั่งขายทำมีโอกาสเกิด Imbalance ขาขึ้นได้
  • Drop หรือตัวย่อคือ D
    • ความหมาย : มีลักษณะเป็นแท่ง Bearish เกิดจากฝั่ง Sell มีปริมาณการขายที่มากกว่ากว่าฝั่งซื้อทำมีโอกาสเกิด Imbalance ขาลงได้
  • Base หรือตัวย่อคือ B
    • ความหมาย : มีลักษณะคือมีการเกิดทั้ง Bearish และ Bullish เกิดจากฝั่ง Sell และฝั่ง Buy มีปริมาณการซื้อขายที่ใกล้เคียงกันทำกราฟเกิดลักษณะ Sideway ทำให้มีโอกาสเกิด balance ที่คงที่

Demand Zone และ Supply Zone 4 รูปแบบ

จากที่ได้เรียนรู้ถึงองค์ประกอบย่อยของ Demand Zone และ Supply Zone แล้วเราจะมาจำแนกประเภทของการเกิดโซนอุปสงค์และโซนอุปทานต่อดังหัวข้อต่อไปนี้

A screenshot of a graph

Description automatically generated

รูปที่ 4 รูปภาพแสดงตัวอย่างรูปแบบของ Demand & Supply Zone ทั้ง 4 รูปแบบที่จะทำให้เราสามารถจำแนกหาโซนอุปสงค์และโซนอุปทานออกมาได้

โดยผมข้อนิยามของโซนอุปสงค์และโซนอุปทานไว้ก็คือ เราจะใช้ตำแหน่งของ Base ที่เกิดขึ้นเป็นตัวกำหนดของโซนของอุปสงค์และโซนอุปทาน ซึ่งเราจะสามารถจำแนกได้ว่า Base ประเภทที่เกิดขึ้นได้ดังนี้

  • ประเภทของ Demand Zone : นิยมใช้ในการเทรดในลักษณะของแนวรับ
    • Drop Base Rally หรือ DBR ความหมายคือมีราคาลงมา(D)ทำเบสก่อน(B)ที่จะทำราคาขึ้น(R)ไปอีก
    • Rally Base Rally หรือ RBR ความหมายคือมีราคาขึ้นมา(R)ทำเบสก่อน(B)ที่จะทำราคาขึ้น(R)ไปอีก
    • Tip: โซนนี้จะจบด้วย Rally เสมอ และจะต้องเป็น Imbalance ขาขึ้นที่สมบูรณ์
  • ประเภทของ Supply Zone : นิยมใช้ในการเทรดในลักษณะของแนวต้าน
    • Rally Base Drop หรือ RBD ความหมายคือมีราคาขึ้นมา(R)ทำเบสก่อน(B)ที่จะทำราคาลง(D)ไปอีก
    • Drop Base Drop หรือ DBD ความหมายคือมีราคาลงมา(D)ทำเบสก่อน(B)ที่จะทำราคาลง(D)ไปอีก
    • Tip: โซนนี้จะจบด้วย Drop เสมอ และจะต้องเป็น Imbalance ขาลงที่สมบูรณ์

ตัวอย่างการใช้ Demand Zone ในการเทรดจริง

เมื่อเข้าใจองค์ประกอบและรูปแบบของโซนอุปสงค์และโซนอุปทานแล้วก็ถึงเวลาที่จะต้องลงสนามจริงโดยในหัวข้อนี้เราจะไม่ได้พูดถึงเพียงแค่การหาโซนแต่จะเป็นตัวอย่างในการใช้กลยุทธิ์และอินดิเคเตอร์อื่นๆเข้ามาประกอบการตัดสินใจร่วมด้วย โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้

A screenshot of a graph

Description automatically generated

รูปที่ 5 รูปภาพแสดงตัวอย่างการใช้ Demand Zone และ Supply Zone ในการเทรดจริงผสมกับการใช้งานอ่านรูปแบบกราฟแท่งเทียน Hammer พร้อมกับการยืนยันสันญาณด้วย MACD 4C บน Trading View

  • วิธีการหา Demand Zone และยืนยันสัญญานในการออกออเดอร์
    • เริ่มทำการมองหารูปแบบ Demand Zone และ Imbalance : จากที่ได้สังเกตจากกราฟดังรูปข้างต้นจะเห็นได้ว่ามีการเกิด RBR หรือ RBD สลับไปมามากมายภายในกราฟดังนั้นสิ่งที่จะต้องคำถึงเสมอเลยคือการเกิด Imbalance ที่สมบูรณ์ จากรูปจะเห็นได้ว่าตำแหน่งนั้นเกิด Imbalance ขาขึ้นที่สมบูรณ์อันเนื่องมาจากมีรูปแบบ DBR โดยที่มี Relly ที่มีเนื้อเทียนที่ยาวหนามีใส้เทียนที่สั้น จึงเป็นการยืนยันที่ถึง Demand Zone ที่ดี
    • พิจารณาความสดใหม่ของ Demand Zone : ให้ทำการสังเกตว่า ณ ตำแหน่งนั้นยังไม่เคยถูกทดสอบมาก่อน จึงมีความสดใหม่ของโซนซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการสร้างจุดกลับตัวได้ดี
    • พิจารณารูปแบบกราฟแท่งเทียน : จากจุดดังกล่าวมีการเกิดของแท่งเทียนในลักษณะของ Hammer ซึ่งจะใช้เป็นตัวยืนยันการกลับตัวของราคาได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
    • นำอินดิเคเตอร์เข้าร่วมพิจาณาในช่วงแท่งเทียนถัดไป : จากจุดดังกล่าวได้ใช้อินดิเคเตอร์ MACD 4C ยืนยันสัญญาณว่ายังคงเป็นเทรนด์ขาขึ้นโดยที่ Histogram ยังอยู่เหนือระดับ 0 หรือผิวน้ำ รวมกับสัญญาณของ Histogram เปลี่ยนจากสีอ่อนเป็นสีเข้มเพื่อยืนยันว่าจุดนั้นจะมีแรงซื้อที่เพิ่มมากขึ้น จากนั้นก็ให้เข้าทำการ Buy
    • กำหนดจุด SL และ TP : ไม่มีกลยุทธิ์ใดที่มี Win rate 100% ดังนั้นควรตั้งจุด SL และ TP ในช่วงที่พิจาณาแล้วว่าสมควร (สามารถเลือกได้หลากหลายรูปแบบ)

สรุป

อุปสงค์และอุปทานคือความต้องการซื้อและความต้องการขายซึ่งจะเทียบกับราคาของสินทรัพย์และปริมาณ ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงไปใดในทิศทางใดทิศทางหนึ่งย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของราคาด้วยเช่นกัน ดังนั้นเราจึงนำแนวคิดนี้ไปใช้ร่วมกันกับการเทรดในตลาด Forex เช่นกันซึ่งจะทำให้เราสามารถหาโซนหรือกลุ่มก้อนของราคาที่มีความต้องการซื้อหรือขายที่มีปริมาณที่มากและนำมาประยุกต์ใช้ในการหาจุดกลับตัวได้นั่นเอง

อ้างอิง

  1. https://www.britannica.com/money/supply-and-demand
  2. https://medium.com/@strike.marketingteam/understanding-demand-and-supply-zones-in-trading-a-comprehensive-guide-eac80bb67fd7
  3. https://dotnettutorials.net/lesson/how-to-trade-with-supply-and-demand-zone/
  4. https://intradayscreener.com/blog/hammer-candlestick-patterns

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon