คำสั่งซื้อขาย Forex คืออะไร?

คำสั่งซื้อขาย Forex คือ วิธีการส่งข้อมูลผ่านโปรแกรมการเทรดต่างๆ อย่าง MT4, MT5 หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อดำเนินการเปิดหรือปิดการซื้อขายในตลาดแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งผู้เทรดสามารถระบุเงื่อนไขหรือระดับราคาให้ตรงกับความต้องการได้

ข้อดีของการกำหนดคำสั่งซื้อขาย

  • ช่วยลดแรงกดดันเมื่อตลาดเกิดความผันผวนรุนแรง
  • ไม่จำเป็นต้องคอยติดตามหน้าจอตลอดเวลา เนื่องจากระบบจะทำงานอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนด
  • ศึกษาปัจจัยข่าว Forex ต่างๆ เพื่อวางแผนจุดเข้า-ออกตลาดได้ล่วงหน้า
  • สร้างโอกาสทำกำไรได้มากขึ้น

ข้อควรคำนึงเมื่อกำหนดคำสั่งซื้อขาย

  • ต้องเข้าใจรายละเอียดและคุณสมบัติของคำสั่งแต่ละประเภทให้ถ่องแท้
  • แม้จะมีการตั้งคำสั่งไว้แล้ว อาจเกิดการเลื่อนไหลของราคา (Slippage) หรือการเสนอราคาใหม่ (Requote) ในช่วงตลาดผันผวน

ประเภทคำสั่งซื้อขายตลาด (Market Orders)

Market Orders คือ คำสั่งที่ต้องการให้เปิดตำแหน่งทันทีที่ราคาตลาดปัจจุบัน

ประเภทของคำสั่งซื้อขายตลาด

Buy Market (ซื้อทันที)

  • ความหมาย: เปิดตำแหน่งซื้อทันทีที่ราคาตลาดปัจจุบัน
  • การใช้งาน: ใช้เมื่อคาดว่าราคาจะปรับตัวขึ้นและต้องการเข้าตลาดทันที
  • ข้อดี: ดำเนินการซื้อได้ทันทีโดยไม่ต้องรอราคา
  • ข้อเสีย: อาจได้ราคาไม่ดีหากตลาดมีความผันผวนสูง

Sell Market (ขายทันที)

  • ความหมาย: เปิดตำแหน่งขายทันทีที่ราคาตลาดปัจจุบัน
  • การใช้งาน: ใช้เมื่อคาดว่าราคาจะปรับตัวลงและต้องการเข้าตลาดทันที
  • ข้อดี: ดำเนินการขายได้ทันทีโดยไม่ต้องรอราคา
  • ข้อเสีย: อาจได้ราคาไม่ดีหากตลาดมีความผันผวนสูง

ระบบการดำเนินการของคำสั่งตลาด

Market Execution

  • ความหมาย: คำสั่งจะถูกดำเนินการทันทีตามราคาที่ดีที่สุดในขณะนั้น
  • การทำงาน: อาจเกิด Slippage (ราคาเคลื่อนไหวระหว่างส่งคำสั่ง)
  • ข้อดี: รวดเร็ว ไม่มีการปฏิเสธคำสั่ง
  • เหมาะกับ: การเทรดระยะสั้น, Scalping

Instant Execution

  • ความหมาย: คำสั่งจะดำเนินการที่ราคาที่คุณเห็นเท่านั้น
  • การทำงาน: หากราคาเปลี่ยน จะมีการ Requote (เสนอราคาใหม่)
  • ข้อดี: ราคาที่ได้จะตรงตามที่เห็น (หากไม่มี Requote)
  • เหมาะกับ: เทรดเดอร์ที่ต้องการความแน่นอนของราคา

ตัวอย่างวิธีใช้ Market Orders ในโปรแกรม MT4

หน้าต่าง Order

  • ด้านบนแสดงคู่สกุลเงิน (Symbol): XAUUSD (ทองคำกับดอลลาร์สหรัฐ)
  • แสดงราคา Bid/Ask: 3376.89/3377.05
  • มีปุ่มคำสั่ง “Sell by Market” (สีแดง) และ “Buy by Market” (สีฟ้า) สำหรับส่งคำสั่งทันที

การตั้งค่า

  • Volume: 0.01 lot
  • Stop Loss: กำหนดจุดตัดขาดทุน
  • Take Profit: กำหนดจุดทำกำไร
  • Type: Market Execution

ข้อควรระวัง

  • มีคำเตือน Slippage (ราคาที่ได้อาจต่างจากที่เห็น)
  • ควรตั้ง Stop Loss ทุกครั้ง
  • เลือกขนาด lot ให้เหมาะกับทุน

ประเภทคำสั่งซื้อขายแบบจำกัด (Limit Orders)

Limit Orders คือ คำสั่งที่ต้องการซื้อหรือขายที่ราคาดีกว่าราคาตลาดปัจจุบัน

ประเภทของ Limit Orders

Buy Limit (ซื้อเมื่อราคาลง)

  • ความหมาย: คำสั่งซื้อที่ราคาต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • การใช้งาน: ใช้เมื่อคาดว่าราคาจะลดลงไปถึงระดับที่กำหนดแล้วกลับตัวขึ้น
  • ข้อดี: ได้ราคาซื้อที่ดีกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • ข้อเสีย: หากราคาไม่ลงมาถึงระดับที่กำหนด คำสั่งจะไม่ถูกดำเนินการ

Sell Limit (ขายเมื่อราคาขึ้น)

  • ความหมาย: คำสั่งขายที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • การใช้งาน: ใช้เมื่อคาดว่าราคาจะเพิ่มขึ้นไปถึงระดับที่กำหนดแล้วกลับตัวลง
  • ข้อดี: ได้ราคาขายที่ดีกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • ข้อเสีย: หากราคาไม่ขึ้นไปถึงระดับที่กำหนด คำสั่งจะไม่ถูกดำเนินการ

ตัวอย่างการตั้ง Sell Limit ใน MT4

คือ การตั้งคำสั่ง Sell ล่วงหน้าในราคาที่สูงกว่าปัจจุบัน


ประเภทคำสั่งซื้อขายแบบหยุด (Stop Orders)

Stop Orders คือ คำสั่งที่ต้องการซื้อหรือขายเมื่อราคาเคลื่อนไหวไปถึงระดับที่กำหนด และคาดว่าจะเคลื่อนไหวต่อไปในทิศทางเดิม

ประเภทของ Stop Orders

Buy Stop (ซื้อเมื่อราคาขึ้น)

  • ความหมาย: คำสั่งซื้อที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • การใช้งาน: ใช้เมื่อคาดว่าหากราคาผ่านระดับแนวต้าน ราคาจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
  • ข้อดี: ยืนยันแนวโน้มขาขึ้นก่อนเข้าซื้อ
  • ข้อเสีย: ราคาซื้อจะแพงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน

Sell Stop (ขายเมื่อราคาลง)

  • ความหมาย: คำสั่งขายที่ราคาต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • การใช้งาน: ใช้เมื่อคาดว่าหากราคาหลุดระดับแนวรับ ราคาจะลดลงต่อเนื่อง
  • ข้อดี: ยืนยันแนวโน้มขาลงก่อนเข้าขาย
  • ข้อเสีย: ราคาขายจะถูกกว่าราคาตลาดปัจจุบัน

Stop Limit Orders

  • Buy Stop Limit: คำสั่งที่รวม Buy Stop และ Buy Limit เข้าด้วยกัน
  • Sell Stop Limit: คำสั่งที่รวม Sell Stop และ Sell Limit เข้าด้วยกัน
  • การทำงาน: เมื่อราคาถึงระดับ Stop Price จะกลายเป็น Limit Order
  • ข้อดี: ควบคุมราคาที่ต้องการซื้อหรือขายได้แม่นยำมากขึ้น
  • ข้อเสีย: ซับซ้อนกว่าคำสั่งอื่น และอาจไม่ถูกดำเนินการหากราคาเคลื่อนไหวเร็วเกินไป

ตัวอย่างการตั้ง Sell Stop ใน MT4

คือ การตั้งคำสั่ง Sell ล่วงหน้าในราคาที่ต่ำกว่าปัจจุบัน

ประเภทคำสั่งบริหารความเสี่ยง (Risk Management Orders)

Risk Management Orders คือ คำสั่งที่ช่วยจัดการความเสี่ยงและรักษากำไรของตำแหน่งที่เปิดไว้

ประเภทของคำสั่งบริหารความเสี่ยง

Stop Loss (SL)

  • ความหมาย: คำสั่งปิดตำแหน่งอัตโนมัติเมื่อขาดทุนถึงระดับที่กำหนด
  • การใช้งาน: ใช้เพื่อจำกัดการขาดทุนในกรณีที่ราคาเคลื่อนไหวตรงข้ามกับที่คาดการณ์
  • ข้อดี: ป้องกันการขาดทุนที่เกินควบคุม
  • ข้อควรระวัง: ควรตั้งไว้ในระดับที่เหมาะสม ไม่ใกล้เกินไปจนถูกตัดออกง่าย

Take Profit (TP)

  • ความหมาย: คำสั่งปิดตำแหน่งอัตโนมัติเมื่อกำไรถึงระดับที่กำหนด
  • การใช้งาน: ใช้เพื่อล็อกกำไรเมื่อราคาเคลื่อนไหวตามที่คาดการณ์
  • ข้อดี: รับรู้กำไรโดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องเฝ้าดูตลาด
  • ข้อควรระวัง: หากตั้งไว้ใกล้เกินไป อาจทำให้พลาดโอกาสทำกำไรที่มากกว่า

Trailing Stop

  • ความหมาย: เครื่องมือช่วย เลื่อนจุด Stop Loss ตามการเคลื่อนไหวของราคาที่เป็นกำไร
  • การทำงาน: เมื่อราคาเคลื่อนไหวเป็นกำไร Trailing Stop จะเลื่อนตามในระยะห่างที่กำหนด แต่จะไม่เลื่อนกลับหากราคากลับทิศทาง
  • ข้อดี: รักษากำไรที่ได้แล้วขณะยังเปิดโอกาสให้กำไรเพิ่มขึ้น
  • ข้อควรระวัง: ในตลาดที่ผันผวน อาจถูกตัดออกก่อนที่ราคาจะกลับมาเคลื่อนไหวในทิศทางที่เป็นกำไร

ตัวอย่างการตั้ง Trailing Stop ใน MT4

เงื่อนไขสำคัญ คือ

  • ไม่สามารถตั้งต่ำกว่า Stop Level และไม่ต่ำกว่า 15 จุดใน MT4
  • สามารถตั้ง Trailing Stop ได้เพียงหนึ่งคำสั่งต่อหนึ่งสถานะเท่านั้น
  • เริ่มทำงานเมื่อราคาเคลื่อนไหวในทิศทางทำกำไรตามจำนวนจุดที่กำหนดไว้
  • ทุกครั้งที่ Trailing Stop ปรับระดับ SL จะมีการบันทึกในแถบบันทึก
  • สามารถตั้งโดยไม่ต้องมีการกำหนด SL ไว้ก่อน และสามารถใช้กับคำสั่งซื้อขายล่วงหน้าได้

วิธีใช้งานคำสั่งซื้อขาย Forex ที่ถูกต้อง

1. Market Orders

วิธีใช้ที่ถูกต้อง

  • ใช้เมื่อต้องการเข้าตลาดทันทีที่ราคาปัจจุบัน
  • เหมาะสำหรับการเทรดในตลาดที่มีสภาพคล่องสูง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ในช่วงประกาศข่าวสำคัญเพื่อป้องกัน Slippage
  • เตรียมพร้อมรับความเสี่ยงจากราคาที่อาจไม่ตรงกับที่เห็น

2. Limit Orders

Buy Limit

  • ตั้งคำสั่งซื้อที่ราคาต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • ใช้เมื่อคาดว่าราคาจะลงมาแตะระดับที่ต้องการแล้วกลับตัวขึ้น
  • วางที่จุดแนวรับสำคัญหรือระดับ Fibonacci Retracement

Sell Limit

  • ตั้งคำสั่งขายที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • ใช้เมื่อคาดว่าราคาจะขึ้นไปแตะระดับที่ต้องการแล้วกลับตัวลง
  • วางที่จุดแนวต้านสำคัญหรือระดับ Fibonacci Retracement

3. Stop Orders

Buy Stop:

  • ตั้งคำสั่งซื้อที่ราคาสูงกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • ใช้เมื่อต้องการยืนยันแนวโน้มขาขึ้น โดยเฉพาะเมื่อราคาทะลุแนวต้าน
  • เหมาะสำหรับกลยุทธ์ Breakout Trading

Sell Stop

  • ตั้งคำสั่งขายที่ราคาต่ำกว่าราคาตลาดปัจจุบัน
  • ใช้เมื่อต้องการยืนยันแนวโน้มขาลง โดยเฉพาะเมื่อราคาทะลุแนวรับ
  • เหมาะสำหรับกลยุทธ์ Breakout Trading

4. Trailing Stop

วิธีใช้ที่ถูกต้อง

  • ตั้งระยะห่างจากราคาให้เหมาะสม ไม่ใกล้หรือไกลเกินไป
  • ใช้ในตลาดที่มีแนวโน้มชัดเจน (Trending Market)
  • เหมาะกับการเทรดที่ต้องการรักษากำไรโดยไม่ต้องปรับ Stop Loss เอง
  • ควรกำหนดระยะห่างให้มากพอที่จะไม่ถูกตัดออกจากความผันผวนระยะสั้น
  • ตรวจสอบว่าแพลตฟอร์มที่ใช้สามารถรันคำสั่ง Trailing Stop ได้แม้ปิดโปรแกรม

 

เคล็ดลับการใช้คำสั่งซื้อขาย Forex สำหรับผู้เริ่มต้น

  • เริ่มจากคำสั่งพื้นฐาน ใช้ Market Orders ก่อนเพื่อเรียนรู้การเคลื่อนไหวของตลาด
  • ไม่ลืมตั้งจุดตัดขาดทุนและทำกำไร ด้วย Stop Loss และ Take Profit ทุกครั้ง เพื่อควบคุมความเสี่ยง
  • ฝึกใช้คำสั่งล่วงหน้า ทดลองวาง Pending Orders เพื่อเตรียมแผนการเทรดไว้ล่วงหน้า
  • พัฒนาสู่คำสั่งที่ซับซ้อนขึ้น เช่น Trailing Stop เพื่อช่วยให้จัดการกำไรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

FAQ — รู้จักคำสั่งซื้อขาย Forex ทุกประเภท (Market, Limit, Stop, Trailing Stop)

เพราะ “รู้ว่าอะไรคืออะไร” ไม่ได้แปลว่า “รู้ว่าเมื่อไหร่ควรใช้” เทรดเดอร์มือใหม่ส่วนใหญ่ใช้ Market Order แบบไร้แผน หรือวาง SL/TP ใกล้เกินไปจนโดนลากกินแล้วราคากลับตัว ที่เจ็บคือ “ตั้งถูกประเภท แต่ผิดจังหวะ” ซึ่งแย่พอๆ กับเปิดมั่วเลย
เพราะเขา “กลัวความจริง” มากกว่ากลัวขาดทุน บางคนไม่ใช้ SL เพราะเชื่อมั่นในตัวเองเกินไป หรือยึดติดกับคำว่า “เดี๋ยวก็กลับมา” …จนพอร์ตระเบิด การไม่ใช้ SL ไม่ได้แปลว่าเก่ง แต่แปลว่ายังไม่เคยเจอตลาดเอาคืนแบบโหดๆ (หรือเคยแล้วก็ยังไม่เข็ด) แต่เอาจริงๆก็ทำได้นะ ถ้าจะเทรดแบบไม่ใช่ Stop Loss แต่ต้องแน่ใจจริงๆว่า MM ที่วางมา ลึกขนาดที่ยังไงก็ไม่มีทางแพ้ออกจากเกมก่อนแน่ๆ
จริงถ้า “ตั้งมั่วๆ” พวก SL ที่วางแคบเกิน (เช่น 5 pip ใต้แนวรับ) โดนลากกินแน่นอน เพราะมันคือจุดที่ Broker และผู้เล่นรายใหญ่รู้ว่าคนส่วนใหญ่จะวาง แต่ถ้าวาง SL หลังโซนสำคัญ (เช่น หลัง Demand Zone จริงๆ) จะเป็น SL ที่มีคุณภาพ 

การตั้ง TP ไม่มีสูตรตายตัว มีแต่ต้องเหมาะกับ “สไตล์” และต้องตั้งอยู่บนเหตุผล ไม่ใช่ความรู้สึก

  • ถ้าเทรดระยะสั้นหรือสไตล์ Scalp/Day Trade (M5–M15) การตั้ง TP ใกล้ช่วยให้เข้าถึงเป้าไวและชนะบ่อยขึ้น แต่กำไรต่อครั้งน้อยและต้องเทรดบ่อย 
  • ขณะที่การตั้ง TP ไกลในสไตล์ Swing/Trend Following (H1–D1) จะให้กำไรคำโตและมี Risk:Reward ที่ดีกว่า แต่ต้องอดทน รอได้นาน และรับความผันผวนระหว่างทางให้ได้

จริง! และมีทั้งแบบ ลากราคามากิน SL โดยตรงเลย กับแอบทำแบบเนียน ๆ 

  1. โบรกเกอร์ Book B (Dealing Desk) คือโบรกที่ “รับกินคำสั่งของลูกค้า” เอง ไม่ส่งไปตลาดจริง คุณเสีย = เขาได้
  2. แบบเนียนๆ คือ พอเขารู้ว่า SL คุณอยู่ตรงไหน เขาก็มี “ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของฝูงเทรดเดอร์” ที่สามารถเอาไปเทรดฝั่งตรงข้ามได้ พฤติกรรมที่ดูเหมือน “ลากมากิน SL” มักเกิดจาก “Price Manipulation ภายในระบบ” เช่น เปิด Spread ชั่วขณะในช่วงข่าว หรือจงใจ Trigger SL ระยะใกล้ก่อนราคากลับตัว
  3. แบบโกงหน้าด้านๆคือ ใช้ MetaTrader Manager หรืออื่นๆ เข้าควบคุมพอร์ตลูกค้าตรงๆไปเลย

การเลือกโบรกเกอร์จริงมีความสำคัญมาก แนะนำให้เลือกเฉพาะ โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือ เท่านั้น

 

เขียนโดย

Poomipat Wonganun

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon