โบรกเกอร์ A-Book คืออะไร?
- ส่งคำสั่งซื้อขายของลูกค้าไปยังผู้ให้สภาพคล่อง Liquidity Provider – LP โดยตรง
- โบรกเกอร์ไม่แทรกแซงคำสั่งซื้อขาย ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับลูกค้า
- ทำกำไรจาก ค่าสเปรด หรือ ค่าคอมมิชชั่นเท่านั้น
- เทรดเดอร์ จะเจอกับสภาพตลาดจริง ราคาตลาดจริง ไม่มี การรีโควต
โบรกเกอร์ B-Book คืออะไร?
- โบรกเกอร์ ทำหน้าที่เป็น Market Maker หรือเป็นคู่สัญญากับลูกค้าเอง
- คำสั่งซื้อขายของลูกค้าจะไม่ถูกส่งไปยังตลาดจริง
- โบรกเกอร์ทำกำไรจากการขาดทุนของลูกค้า
- มักมีโปรโมชั่น โบนัส หรือเงื่อนไขที่ดึงดูดใจ เพราะควบคุมความเสี่ยงได้
ภาพแสดงถึงความแตกต่างของ A-BOOK กับ B-BOOK คือ การส่งโดยตรง และ โบรกเกอร์เป็นเจ้าตลาดเอง ความหมายต่างกันนิดเดียวเอง
โบรกเกอร์ Hybrid คืออะไร?
- ผสมผสานการทำงานของ A-Book และ B-Book เข้าด้วยกัน
- ลูกค้าที่เทรดมีกำไรสม่ำเสมอมักถูกส่งไป A-Book
- ลูกค้าที่ขาดทุนหรือเปิด-ปิดออเดอร์เร็ว มักถูกจัดการด้วยระบบ B-Book
- โบรกเกอร์ Forex บริหารความเสี่ยงได้ยืดหยุ่น และมีรายได้หลายทาง
ภาพแสดงถึงความแตกต่างของ ไฮบริด ที่ส่งตลาดบ้าง ไม่ส่งบ้าง โดยโบรกเกอร์จะเลือกลูกค้าที่ขาดทุน หรือ เปิด-ปิด ออเดอร์เร็ว จะไปทาง B-Book มากกว่า
ความแตกต่างระหว่างโบรกเกอร์ A-Book, B-Book และ Hybrid
พวกเราได้เปรียบเทียบข้อแตกต่างของประเภท LP ที่จัดออกเป็น 3 แบบ นั่นก็คือ A-Book, B-Book และ Hybrid มาเป็นตารางเปรียบเทียบ
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบข้อมูลของ LP ประเภท A-Book, B-Book และ Hybrid
หัวข้อ | A-Book | B-Book | Hybrid |
---|---|---|---|
การส่งคำสั่ง | ส่งคำสั่งไปยังผู้ให้สภาพคล่อง (LP) โดยตรง | โบรกเกอร์รับคำสั่งซื้อขายเอง (ทำหน้าที่เป็น Market Maker) | เลือกส่งหรือไม่ส่งคำสั่งตามกลยุทธ์และพฤติกรรมของลูกค้า |
แหล่งรายได้ของโบรกเกอร์ | สเปรด / ค่าคอมมิชชั่น | กำไรจากการขาดทุนของลูกค้า | รายได้จากทั้งสเปรด/คอมมิชชั่น และกำไรจากลูกค้า |
ความโปร่งใส | โปร่งใส ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน โอกาสแทรกแซงต่ำ | อาจมีการแทรกแซงราคา รีโควต หรือ Slippage | ขึ้นอยู่กับการบริหารของโบรกเกอร์ และสัดส่วนการใช้งานแต่ละระบบ |
5 Liquidity Providers ในตลาด Forex ที่โบรกเกอร์ชั้นนำใช้
- JPMorgan Chase
- จุดแข็ง: ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ โดยสินทรัพย์
- เอกลักษณ์: ความแข็งแกร่งด้านการธนาคารเพื่อการลงทุน (Investment Banking) และการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) พร้อมทั้งมีความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ล้ำหน้า เช่น การลงทุนใน AI และ Blockchain
- Citibank
- จุดแข็ง: ธนาคารที่มีเครือข่ายระดับโลก (Global Network) ที่ครอบคลุมกว่า 160 ประเทศ
- เอกลักษณ์: เชี่ยวชาญในด้านธนาคารเพื่อธุรกิจระหว่างประเทศ และการให้บริการลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก
- Deutsche Bank
- จุดแข็ง: ธนาคารชั้นนำของเยอรมนีและยุโรปที่มีฐานลูกค้าทั่วโลก
- เอกลักษณ์: ความชำนาญด้านการธนาคารเพื่อการลงทุน การวิเคราะห์เชิงเศรษฐกิจ และการเงินตราต่างประเทศ (FX Market)
- XTX Markets
- จุดแข็ง: บริษัทเทรดแบบ High-Frequency Trading (HFT) ชั้นนำของโลก
- เอกลักษณ์: ใช้อัลกอริทึมขั้นสูงและ Machine Learning ในการเทรดในตลาดสภาพคล่องสูง เช่น FX, หุ้น, และสินทรัพย์ดิจิทัล
- Barclays
-
- จุดแข็ง: ธนาคารรายใหญ่จากอังกฤษที่มีประวัติยาวนานกว่า 300 ปี
- เอกลักษณ์: ผู้นำด้านนวัตกรรมทางการเงิน (เช่น การออกบัตรเครดิตเจ้าแรกใน UK) และการให้บริการที่หลากหลายตั้งแต่รายย่อยจนถึงองค์กรขนาดใหญ่
ภาพแสดงถึง 5 LPs ใหญ่ ๆ ที่โบรกเกอร์ Forex เลือกใช้ และ แน่นอนว่านี่คือสุดยอดแห่งความน่าเชื่อถือ
Tier 1 vs Tier 2 LPs ต่างกันยังไง?
ความแตกต่างของ Tier 1 LPs กับ Tier 2 LPs ขอสรุปเป็นตารางเปรียบเทียบข้อมูลดังตารางที่ 2 คือ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความแตกต่างของ Tier 1 LPs กับ Tier 2 LPs
หัวข้อ | Tier 1 LPs | Tier 2 LPs |
---|---|---|
ประเภท | ธนาคารขนาดใหญ่ | บริษัท Liquidity Provider ระดับรอง |
แหล่งที่มา | ราคาสเปรดดิบ ต้นทาง (Raw Pricing) | ได้ราคาจาก Tier 1 LPs |
ราคา | Spread แคบสุด, ไม่มี Markup | อาจมี Markup เพิ่มกำไร |
ลูกค้า | Hedge Funds และโบรกเกอร์รายใหญ่ | ให้บริการแก่โบรกเกอร์รายย่อย |
ปริมาณสภาพคล่อง | สภาพคล่องสูงสุด | สภาพคล่องรองจาก Tier 1 |
ตัวอย่าง | JPMorgan Chase, Citibank, Goldman Sachs, Barclays | Virtu Financial, LMAX Exchange, CFH Clearing |
- Tier 1 LPs และ Tier 2 LPs มีความแตกต่างกันที่ ขนาด, ความน่าเชื่อถือ, และบทบาทในตลาด
- โบรกเกอร์ที่ได้สภาพคล่องจาก Tier 1 LPs — จะได้ราคาที่ดีกว่า และโปร่งใสกว่า
โบรกเกอร์ไหนใช้ Liquidity Provider ชั้นนำ? วิธีเช็กก่อนเปิดบัญชี!
ตัวอย่างที่โบรกเกอร์ใช้ Liquidity Provider ชั้นนำ พวกเราสรุปมาเป็นข้อมูลดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 ยกตัวอย่างโบรกเกอร์ที่ใช้ Liquidity Provider ชั้นนำ
โบรกเกอร์ | LP ที่ใช้ (ตัวอย่าง) | จุดเด่น |
---|---|---|
IC Markets | JPMorgan, Goldman Sachs, XTX Markets | สเปรดต่ำมาก มี LP ระดับ Tier 1 หลายราย |
Pepperstone | Barclays, UBS, BNP Paribas | มีการเปิดเผย LP บางส่วน โปร่งใส |
FXTM (ForexTime) | มี Tier 1 LP แต่ไม่เปิดชื่อ | มี ECN และ STP บัญชี |
FP Markets | HSBC, Credit Suisse, XTX Markets | มี LP จากธนาคารระดับโลก |
Dukascopy | Direct LP: LMAX, Currenex, Tier 1 Banks | มีระบบ SWFX Swiss ECN |
ThinkMarkets | มี LP ชั้นนำ ไม่เปิดเผยรายชื่อ | สภาพคล่องดี เสถียร |
วิธีเช็กว่าโบรกเกอร์ใช้ LP ชั้นนำจริงไหม?
- ดูจากเว็บไซต์ของโบรกเกอร์
-
- ส่วนใหญ่จะมีหน้าข้อมูล “Liquidity”, “Execution”, หรือ “Technology”
- ถ้ามีชื่อ LP ชัดเจน เช่น JPMorgan, XTX Markets, Barclays ถือว่าโปร่งใส
- ถ้าไม่มี อาจเป็นสัญญาณให้ระวัง หรือต้องสอบถามเพิ่มเติม
- สอบถามฝ่าย Support โดยตรง
-
- ถามตรง ๆ “โบรกเกอร์ของคุณเชื่อมต่อกับ Liquidity Provider ใดบ้าง?”
- โบรกเกอร์ดีจะตอบตรงหรืออย่างน้อยบอกว่าใช้ Tier 1 Banks / LP ระดับโลก ก็สามารถตรวจสอบได้หน้าเว็บไซต์ หรือ มีหลักฐานในการได้รับการดูแล และ ใช้บริการ
- ดูใบอนุญาต (Regulation)
- ดูจากประเภทบัญชี (ECN/STP)
-
- บัญชีแบบ ECN หรือ STP มักเชื่อมกับ LP โดยตรง
- ถ้ามีระบบ FIX API หรือ Depth of Market (DOM) ให้ดู จะมีการแสดงราคาหลายระดับจากหลาย LP
- รีวิวจากเทรดเดอร์ หรือเว็บไซต์รีวิว
-
- เว็บไซต์อย่าง Trustpilot, Forex Peace Army, Myfxbook บางครั้งมีข้อมูลเรื่อง LP และการดำเนินคำสั่ง
- ระวังรีวิวปลอมด้วย ดูจากรีวิวที่มีรายละเอียดเชิงลึก
- อ่านรีวิวจากเว็บไซต์รีวิวโบรกเกอร์ Thaibrokerforex.com >> โบรกเกอร์ Forex น่าเชื่อถือที่สุด
ภาพแสดงถึงโบรกเกอร์ EBC ที่มีการเผยว่าตนเองนั้นมี LP เป็นธนาคาร BARCLAYS ที่แข็งแกร่งเป็นจุดเด่น
สภาพคล่องสูง = เทรดดีขึ้น จริงไหม?
เมื่อสภาพคล่องสูง จะมีข้อดีที่น่าสนใจอย่างเลย ไม่ว่าจะเป็น ให้ราคาซื้อขาย ใกล้เคียงกับราคาตลาดจริง พร้อมทั้งลดความผันผวนของราคา และทำให้การเทรดมีความเสถียร ในหัวข้อนี้จึงขอนำเสนอประเด็นที่สำคัญดังนี้
- ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากตลาดไม่มีสภาพคล่อง
- วิธีสังเกตสภาพคล่อง ในตลาดเพื่อเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสมกับการเทรด
ปัญหาที่เกิดขึ้นถ้าตลาดไม่มี Liquidity Provider
- สเปรดกว้างขึ้น ทำให้เทรดยาก
- Slippage เพิ่มขึ้น ทำให้คำสั่งซื้อขายดำเนินการในราคาที่ไม่ต้องการ
- ตลาดไม่เสถียร ราคาผันผวนหนัก
วิธีสังเกตสภาพคล่องของตลาด
- ดู สเปรด ว่ากว้างหรือแคบ
- เช็ก Slippage และ Requote ตอนเทรดข่าว
- ดูการจัดอันดับโบรกเกอร์ Forex เทรดข่าวดีสุด
- สังเกต ปริมาณการซื้อขาย (Volume)
ภาพแสดงถึงอารมณ์หงุดหงิดที่เจอโบรกเกอร์ที่ LP ไม่ดี ส่งผลด้านลบหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น เกิดรีโควต หรือ Slippage บ่อยครั้ง
LP แบบไหนเหมาะกับเทรดเดอร์มากที่สุด?
- ขอแนะนำคลิปจากช่อง Mixertrader ที่จะมาอธิบายว่า Broker A Book VS B Book ต่างกันยังไง ? ด้วยเนื้อหาที่ฟังแล้วจะเข้าใจเกี่ยวกับ LP ได้ง่ายขึ้น เพราะในด้านความสัมพันธ์ที่เทรดเดอร์ควรรู้
- เทรดเดอร์ที่เน้นความโปร่งใส, ใช้กลยุทธ์จริงจัง ควรเลือก A-Book หรือ Hybrid ที่โปร่งใส
- เทรดเดอร์มือใหม่, เทรดสั้น, ต้องการต้นทุนต่ำ อาจเลือก B-Book หรือ Hybrid
- สำคัญที่สุด: เลือกโบรกเกอร์ที่ ได้รับใบอนุญาต, มีความน่าเชื่อถือ และ รองรับสไตล์การเทรดของคุณ
สรุป
น่าเสียดายที่.. โบรกเกอร์ Forex ในไทยส่วนใหญ่ล้วนใช้ระบบ Hybrid ซึ่งหมายความว่า โบรกเกอร์ A-Book แท้ 100% ที่ให้บริการเทรดเดอร์ไทยมีจำนวนน้อยมาก ๆ มีบางโบรกเกอร์โฆษณาตัวเองว่าเป็น A-Book เช่น IC Markers แต่ก็มีข่าวเสียหาย และมีแนวโน้มว่าใช้ Hybrid Model ในบางกรณีด้วย
สำหรับเทรดเดอร์ไทย สิ่งที่สำคัญที่สุดในการเลือกโบรกเกอร์ จึงไม่ใช่แค่ประเภทของระบบ แต่ต้องพิจารณา 2 ปัจจัยหลัก คือ “ความน่าเชื่อถือ” และ “ต้นทุนการเทรดที่ต่ำ” ซึ่งจะช่วยให้คุณเลือกโบรกเกอร์ที่เหมาะสมกับการเทรดได้อย่างมั่นใจ
อ้างอิง
- A-book B-book and Hybrid Models : https://xopenhub.pro/book-b-book-hybrid-models/
- The “Hybrid Model” Used By Forex Brokers : https://www.babypips.com/learn/forex/hybrid-forex-broker-model
- Brokerage business models : https://www.effectivesoft.com/blog/a-book-b-book-hybrid-brokerage-models-comparison.html
- A-Book vs B-Book vs Hybrid Brokerage Models Comparison : https://quadcode.com/blog/a-book-vs-b-book-vs-hybrid-brokerage-models-comparison
- A-Book, B-Book and Hybrid brokers in Forex Trading: https://wemastertrade.com/overview-of-hybrid-brokers/
FAQ – ทุกเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับโบรกเกอร์ A-Book, B-Book, และ Hybrid
A-Book คือโบรกเกอร์ที่ส่งคำสั่งของลูกค้าไปยังตลาดจริง หรือ Liquidity Provider (LP) โดยตรง ไม่มีส่วนได้เสียกับกำไรหรือขาดทุนของลูกค้า
B-Book คือโบรกเกอร์ที่ ไม่ได้ส่งคำสั่งไปตลาดจริง แต่จัดการออเดอร์เองในระบบ ซึ่งหมายความว่า โบรกเกอร์จะได้กำไรเมื่อเทรดเดอร์ขาดทุน
Hybrid คือโบรกเกอร์ที่ใช้ ทั้ง A-Book และ B-Book โดยเลือกส่งคำสั่งไปยังตลาดจริงหรือรับเอง ขึ้นอยู่กับ ประเภทลูกค้าและกลยุทธ์ของโบรกเกอร์
การเลือกโบรกเกอร์ที่ดีที่สุดขึ้นอยู่กับลักษณะการเทรดของคุณ หากต้องการสภาพคล่องและความโปร่งใส A-Book จะดีที่สุด แต่ถ้าคุณต้องการค่าคอมมิชชั่นต่ำหรือโบนัสเยอะ ๆ B-Book หรือ Hybrid ก็อาจเหมาะสมกว่า
FBS, Eightcap, HFM, Pepperstone, Tickmill, XTB, Dooprime, FXPRO, IC Markets, และ OctaFX