ระดับประถมศึกษา :  Channel และ กราฟแท่งเทียน

วันนี้มีเนื้อหาที่ต้องสอน 2 เรื่องครับ เนื่องจากเมื่อวานนั้นยังมีเนื้อหาที่ค้างอยู่ส่วนหนึ่งเกี่ยวกับแนวรับแนวต้าน และการใช้ indicator ก็เลยยกมาพูดวันนี้ซึ่งก็คือ Channel หรือ เครื่องมือในตลาด Forex ที่เรียกว่า Equidistance ของตลาด Forex และอีกเรื่องหนึ่งคือ เรากำลังจะพูดถึงเรื่องของกราฟแท่งเทียน ซึ่งเป็นกราฟที่ได้รับความนิยม เราพูดถึงตำนานของมัน และประโยชน์ของมัน การใช้งานในเบื้องต้น มาดูเนื้อหากันดีกว่า

 

Channel

การเคลื่อนไหวของตลาด Forex นั้นมีการเคลื่อนไหว 2 ลักษณะได้แก่ การเคลื่อนไหวแบบมีทิศทาง และการเคลื่อนไหวแบบไม่มีทิศทาง ซึ่งการเคลื่อนไหวแบบมีทิศทางเรียกว่า Trend ส่วนการเคลื่อนไหวแบบไม่มีทิศทาง เรียกว่า การเคลื่อนไหวในตลาด Sideway ในตลาด Trend นั้นการเคลื่อนไหวจะเคลื่อนไหวเป็นช่องราคา ซึ่งช่องราคาของการเคลื่อนไหวนั้นจะมีขนาดเท่ากันทุกครั้ง แต่ว่าความชันของกราฟนั้นแตกต่างกัน กราฟบางช่วงนั้นจะมีความชันสูง ขณะที่กราฟบางช่วงนั้น ความชันของกราฟนั้นต่ำ ด้วยหลักการของ Channel นี้เทรดเดอร์บางคนเชื่อว่า Channel นั้นสามารถบอกเทรนด์ได้ทุกรูปแบบ

ในโปรแกรม MT4 นั้นเราสามารถใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Equidistance ในการตี Channel เพื่อประมาณการเคลื่อนไหวของราคาได้ ดังแสดงในรูปต่อไปนี้

Equidistance

ภาพที่ 1 แสดงการใช้ Equidistance

ในภาพที่ 1 แสดงตัวอย่างการใช้ Equidistance ซึ่งเป็นเส้น Equidistance ขนาดเดียว และแบบเดิมไม่มีการปรับขนาดความกว้างของเส้นแต่อย่างใด  แต่เมื่อองศาของเส้นได้ปรับเปลี่ยนไปทำให้ขนาดของเส้นนั้นดูเล็กลง ซึ่งจริง ๆ แล้วมันไม่ได้มีขนาดเล็กลงแต่อย่างใด

การใช้งาน เส้น Equidistance นั้นมีหลักการง่าย ๆ โดยสิ่งที่เราต้องดูก่อนเลยก็คือ ความชัน ถ้าหากว่าเราตีเส้นตามกรอบแล้ว เราก็จะต้องดูว่าเส้นนั้นเป็นเส้นขาลง หรือเส้นขาขึ้น กรณีที่เป็นเส้นขาขึ้น ให้ใช้เส้นล่างเป็นจุดเข้า ขณะที่เส้นเป็นขาลง จะต้องใช้เส้นด้านบนเป็นจุดเข้า ดังตัวอย่างต่อไปนี้

จุดเข้าของ Equidistance

ภาพที่ 2 แสดงจุดเข้าของ Equidistance

ในภาพที่  2 จะเห็นว่า Equidistance นั้นเอียงขึ้น ดังนั้นจุดเข้าเทรดของเราคือจุดที่ชนเส้นล่าง ซึ่งถือว่าเป็นราคา แนวรับ การเข้าเทรดจุดนั้นจึงมีความได้เปรียบ เพื่อให้การเทรดมีประสิทธิภาพ จึงควรตั้งราคาเทรดแบบ Pending Order โดยไม่ต้องนั่งเฝ้าหน้าจอ

กราฟแท่งเทียน

ในส่วนนี้เราคงไม่ต้องไปพูดถึงประวัติของกราฟแท่งเทียน เพราะว่า เราได้พูดถึงไปแล้ว กราฟแท่งเทียน เป็นกราฟที่สามารถใช้ได้ง่ายมาก เนื่องจากเป็นกราฟที่ออกแบบมาเพื่อให้สามารถเข้าใจได้เพียงกวาดตาไปมอง โดยกราฟแท่งเทียนนั้นทำให้เราเห็นโอกาสในการเทรดหลากหลายรูปแบบ  การใช้กราฟแท่งเทียนในการเทรด มีดังนี้

กราฟแท่งเทียน ขาลง กลับตัว

ภาพที่  3 ตัวอย่างกราฟแท่งเทียน ขาลง กลับตัว

จากภาพที่ 3 เป็นตัวอย่างการใช้ กราฟแท่งเทียนในกราฟขาลง ซึ่งเป็นกราฟบอกการกลับตัวทั้งหมด โดยกราฟทั้งหมดเป็นรูปแบบกราฟ ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในตลาด อย่างไรก็ตาม เทรดเดอร์หลายท่านอาจจะคิดว่า รูปแบบแบบนี้ใครจะไปจำได้หมด ต้องคอยแต่เปิดตำราเทรดกันอยู่ตลอด ซึ่งมันทำให้เสียเวลา ซึ่งก็อาจจะเป็นแบบนั้นจริง ๆ นั่นแหละครับ แต่ว่า เราก็สามารถใช้ Pattern หลัก ๆ ของกราฟได้ โดย รูปแบบการเคลื่อนไหวหลัก ๆ ที่น่าสนใจของกราฟแท่งเทียนและเป็นรูปแบบพื้นฐานประกอบด้วย

Spinning Top

รูปที่ 4 รูปแบบ Spinning Top

รูปแบบกราฟ Spinning Top จะเป็นรูปแบบกราฟที่แสดงการกลับตัวของราคา โดยกราฟจะบอกทิศทางว่าจะเปลี่ยนแปลงทิศทาง นั้น ขึ้นอยู่กับทิศทางก่อนหน้า และสีของ Spinning Top ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในจุดต่ำสุดและจุดสูงสุด

doji

รูปที่ 5 รูปแบบ Doji

รูปแบบ Doji ถือเป็นรูปแบบพื้นฐานอีกแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการวิเคราะห์ เพราะว่ามันเป็นรูปแบบที่เข้าใจง่าย หาได้ง่ายและค่อนข้างได้ผล มันสะท้อนอารมณ์ของตลาดได้อย่างดี ซึ่งเป็น กราฟที่บอกการกลับตัวของราคาโดยเฉพาะ

Doji

รูปที่ 6 รูปแบบ marubozu

รูปแบบ marubozu เป็นรูปแบบของกราฟแท่งเทียนที่แสดงถึงทิศทางต่อเนื่อง เนื่องจากไม่มีไส้เทียนเลย มันทำให้เห็นถึงการเคลื่อนไหวที่จะเคลื่อนไหวไปในทิศทางนั้นต่อ โดยถ้าหากเป็นขาขึ้นก็จะเป็นสีขาว ขณะที่เป็นสีดำต่อเนื่องก็จะเป็นสีดำ เป็นต้น

Long Black and white candle + Doji

รูปที่ 7 Long Black and white candle + Doji

รูปแบบกราฟแบบ แท่งเทียนยาวแล้วตามด้วย Doji ไม่ได้หมายถึงกราฟมีการกลับตัวแต่แสดงถึงการไปต่อของราคา ซึ่งบางครั้ง การกลับตัวก็อาจะจขึ้นได้ แต่ว่า แท่งเทียนจะต้องมีขนาดที่สั้นเสียก่อน เนื่องจากขนาดความยาวของแท่งนั้นมีผลต่อจิตวิทยาตลาด การเคลื่อนไหวที่เกิดแท่งยาว แล้วจู่ ๆ มาเกิด Doji หมายความว่า การเคลื่อนไหวของราคานั้นไม่สามารถหยุดได้ และ Doji รูปแบบนี้ไม่สามารถนำไปใช้บอกจุดกลับตัวได้นั่นเอง