สอน เทรด exness อย่างละเอียด : คู่มือฉบับสมบูรณ์ของผู้เริ่มต้น

Exness เป็นโบรกเกอร์ forex ที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งมียอด Volume ในการเทรดสูดอันดับหนึ่งในปี 2024 ครับ โดย Exness มีจุดเด่นในด้านการฝาก-ถอนเงินที่เร็วสุด ๆ และไม่มีค่าธรรมเนียมอีกด้วย

นอกจากนี้ Exness ยังเป็นโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือมาก เพราะได้รับใบอนุญาตจาก Regulator ระดับสากล เช่น CySEC, FSA, และ FCA ว่าแต่… เราจะเทรดทำกำไรจากโบรกเกอร์นี้ยังไง เราจะ สอน เทรด exness กันครับ

ทำความรู้จักกับ Exness

โบรกเกอร์ Exness ได้ก่อตั้งมาเมื่อราว ๆ ปี 2008 หากนับปัจจุบันก็น่าจะประมาณ 16 ปีได้แล้ว ต้นกำเนิดของเขามาจากรัสเซียครับ และมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ไซปรัส และเราจะสรุปข้อดี ข้อเสียจากบทความ “รีวิวโบรกเกอร์ exness” ของเรา

ข้อดีของ Exness

  • Spread : ค่า spread ต่ำเตี่ยเรี่ยดินมากสำหรับบัญชี Standard เพราะเริ่มต้นที่ 0.3 pips ในขณะที่บัญชี Zero มีค่า spread เริ่มต้นที่ 0 pips
  • การฝากถอน : ความเร็วในการฝากถอนไวราวกับ The flash ซึ่งปลอดภัยดีครับ โดยเขารองรับการฝากถอนผ่านธนาคารออนไลน์ของไทยและ E-Currency ยอดนิยม
  • การสนับสนุนลูกค้า : มีบริการ Support ให้ลูกค้าแบบ 24 ชั่วโมงตลอด 7 วัน (24/7)
  • ค่าธรรมเนียม : ไม่มีค่าธรรมเนียมในการฝากถอนเงิน
  • แพลตฟอร์ม : รองรับ MT4 และ MT5
  • อื่น : มีระบบ Social trading หรือ Copt Trade

ข้อเสียของ Exness

  • ความเสถียรของ Server : ระบบ Server ไม่ค่อยเสถียรในบางครั้ง ทำให้เกิดปัญหา Requotes
  • โปรโมชั่น : จัดโปรน้อยไปหน่อย
  • การถอนเงิน : หากถอนเงินจำนวนมาก ๆ จะมีความล่าช้าบ้าง
  • การฝากเงิน : ไม่สามารถฝากผ่าน Visa และ Mastercard ได้

รูปที่ 1 แสดงการสรุปข้อดีและข้อเสียของโบรกเกอร์ Exness

การเริ่มต้นใช้งาน Exness

การเริ่มอะไรใหม่เป็นอะไรที่ใช้พลังเยอะหน่อย แต่เราจะทำให้ทุกอย่างมันง่ายขึ้นโดยการสรุปวิธีการสมัครสมาชิก การเปิดบัญชีเทรด และการเติมเงินเอาไว้ให้ครับ

การสมัครสมาชิก

  • ขั้นตอนแรกคือการเปิดบัญชีเทรดก่อนครับ โดยให้คุณ คลิ๊กตรงนี้เพื่อเปิดบัญชรเทรด Exness
  • จากนั้นให้คุณมองไปทางขวา -> ให้คลิ๊กเลือก “บัญชีใหม่”
  • ต่อมาให้มาดูช่องด้านล่าง ให้เราเลือก Thailand
  • ใส่ E-mail ที่ใช้ในการสมัคร
  • ตั้งรหัสผ่านให้เรียบร้อย โดยรหัสผ่านจะต้องเป็น ตัวเลขและภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งจะต้องมีความยาว 8-15 ตัว ภายในรหัสจะต้องมีตัวอักษรพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก
  • ติ๊กช่องยืนยัน จากนั้น คลิ๊กดำเนินการต่อ

การเปิดบัญชีเทรด

  • เมื่อเราสมัครสมาชิกเรียบร้อยแล้ว website จะให้เราเลือกครับว่า เราต้องการเปิดบัญชีเทรดประเภทไหน
  • หากต้องการเพียงทดลองเทรดก่อน ให้เราเลือก “เดโม่” แต่ถ้าเราต้องการเทรดจริงไปเลย ให้เราเลือก “บัญชีจริง”
  • จากนั้นระบบจะทำการพาคุณเข้าสู่อีกหน้าหนึ่ง ซึ่งตรงนี้เองคุณสามารถเพิ่มบัญชีเทรดของคุณได้
  • ต่อไปให้เราคลิ๊กไปที่ “ช่องสำหรับการตรวจสอบคุณสมบัติ”
  • ให้เราทำการยืนยัน e-mail -> จากนั้นขอรับรหัส
  • ต่อมา ให้เราเข้า login e-mail -> เข้ากล่องจดหมาย -> เปิดจดหมายจาก exness -> คลิ๊กเปิดบัญชีซื้อขาย
  • จากนั้นให้เรากรอก e-mail ยืนยันได้เลย -> แล้วก็กรองหมายเลขโทรศัพท์
  • เมื่อกรองแล้วให้ขอรับ OTP ผ่าน SMS -> แล้วเลขนั้นมาใส่ช่อง OTP จ้า
  • ขั้นตอนสุดท้ายก็กรองข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อกรองเสร็จแล้วให้เราไปเลือกที่ “ตรวจสอบคุณสมบัติ”
  • เมื่อเลือกแล้วจะมีหน้าต่างแสดงขึ้นมา เพื่อให้ดำเนินการให้เสร็จสมบูรณ์ -> ให้ยืนยันคุณสมบัติทั้ง 3 ขั้นตอนโดยใช้ข้องมูลจริงครับ
  • เมื่อยืนยันครบทั้ง 3 ขั้นตอนหมดแล้วถือว่าสำเร็จสมบูรณ์แล้วจ้า

รูปที่ 2 ตัวอย่างการสมัครเปิดบัญชีเทรดกับ Exness

การยืนยันตัวตน

ในหัวข้อนี้เราแบ่งหมวดหมู่ของเอกสารที่สามารถส่งได้นะครับ ซึ่งจะมี เอกสารยืนยันตัวตน และ เอกสารยืนยันที่อยู่

เอกสารยืนยันตัวตนที่สามารถส่งได้

  • หนังสือเดินทาง
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบอนุญาตขับขี่

เอกสารยืนยันที่อยู่ที่สามารถส่งได้

  • ใบแจ้งหนี้ค่าสาธารณูปโภค (ไฟฟ้า แก๊ส น้ำ อินเทอร์เน็ต)
  • ทะเบียนบ้าน
  • ใบเรียกเก็บภาษี
  • รายการเดินบัญชีธนาคาร

เงื่อนไขและรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยเพื่อน ๆ สามารถเข้าไปอ่านต่อได้ที่ -> บทความสอนสมัคร exness เต็มรูปแบบ และต่อจากนี้ไปเราพาไปเรียนรู้กลยุทธ์การเทรดในแบบต่าง ๆ กันครับ

รูปที่ 3 แสดงตัวอย่างของทั้ง 3 กลยุทธ์การ สอน เทรด exness ที่เราจะมาลุยกันในวันนี้

3 กลยุทธ์การเทรด forex

กลยุทธ์ทั้ง 3 กลยุทธ์ที่ผมจะ สอน เทรด exness ในวันนี้ จะอ้างอิงจากการใช้ indicators ล้วน ๆ ครับ เนื่องจากมันง่ายสำหรับมือใหม่ที่ยังตีเส้น Trend Line และ แนวรับ แนวต้าน ไม่ชำนาญ พร้อมแล้วลุยกันครับ

กลยุทธ์เทรดทองแบบ Scalping

เรามาเทรดทองแบบ Scalping หรือ การกินช่วง TP สั้น ๆ กันครับ โดย indicator ที่เราจะหยิบมาใช้ในวันนี้คือ Accumulation/Distribution Line (A/D Line) ซึ่งเป็น indicator ประเภทบอกปริมาณการซื้อขาย (Volume) นั่นเองครับ

ถึงแม้ว่า indicator ตัวนี้จะหนักไปทางการบอก Volume แต่สิ่งที่ทำให้มันพิเศษคือ ความสามารถในการหยั่งรู้ความสัมพันธ์ระหว่าง Price กับ การไหลของเงิน (Money Flow) ครับ ความพิเศษนี้เองที่จะทำให้คุณรับรู้ถึงสภาวะของตลาดในปัจจุบันว่าอยู่ในช่วงไหน

  • Accumulation คือ ช่วงที่ตลาดกำลังสะสม Volume อยู่ นั่นหมายความว่า คนส่วนมากกำลังทยอยซื้อสินค้านั่น ๆ อยู่ทีละเล็กละน้อยนั่งเอง ระยะนี้จะอาศัยเวลาและรอจนกว่าแรงซื้อจะมากพอจะทำให้ตลาดเปลี่ยนเป็นขาขึ้นแบบเต็มตัว
  • Distribution คือ ช่วงที่คนทยอยขายของที่มีในมือกัน มันจะเป็นช่วงหลังจากการเกินแนวโน้มขาขึ้นอย่างเต็มตัวแล้ว ซึ่งมันอิ่มตัวมาระยะหนึ่ง พอราคามันสูงขึ้นพอ คนก็จะทยอยขายกันนั่นเอง ส่งผลให้ตลาดค่อย ๆ กลายเป็นขาลงอย่างช้า ๆ

หลักการทำงานของ A/D Line (ADL) จะเป็นการคำนวณผ่านสมการอยู่ 3 สมการด้วยกัน โดยสมการที่ 1 จะเป็นการคำนวณหา Money Flow Multiplier จากนั้นสมการที่ 2 จะเป็นการเปลี่ยน Money Flow ให้กลายเป็น Volume ในขณะที่สมการที่ 3 จะทำหน้าที่คำนวณหา A/D Line ในท้ายที่สุด

  • สมการที่ 1 : Money Flow Multiplier = [(Close price – Low price) – (High price – Close price)] / (High price – Low price)
  • สมการที่ 2 : Money Flow Volume = Money Flow Multiplier x Volume for the Period
  • สมการที่ 3 : ADL = Previous ADL + Current Period’s Money Flow Volume

วิธีใช้งาน A/D Line วิเคราะห์แนวโน้ม

ถึงแม้ว่า A/D Line จะเป็นตัวที่วัดความแรงของปริมาณการซื้อขายก็ตาม แต่เราก็สามารถนำมันมาเปรียบเทียบกับค่า A/D Line ในอดีตได้เช่นกัน ซึ่งการเปรียบเทียบนี้แหละครับ ที่จะทำให้เราอนุมานเอาได้ว่าตอนนี้เราอยู่ในช่วงของตลาดขาขึ้น หรือ ขาลง

  • ตลาดขาขึ้น
    1. A/D Line value ณ แท่งเทียนปัจจุบัน > A/D Line value ของแท่งเทียน x แท่งในอดีต
    2. แท่งเทียนปัจจุบันต้องเป็นสีเขียว หรือ Bullish candle
  • ตลาดขาลง
    1. A/D Line value ณ แท่งเทียนปัจจุบัน < A/D Line value ของแท่งเทียน x แท่งในอดีต
    2. แท่งเทียนปัจจุบันต้องเป็นสีแดง หรือ Bearish candle

รูปที่ 4 ตัวอย่างเข้าซื้อขายด้วย A/D Line indicator

เข้าสู่กลยุทธ์กันเถอะ !!

Indicator ที่เราจะใช้กันในกลยุทธ์นี้จะมีอยู่ 2 ตัวได้แก่ Moving Average ที่คำนวณแบบ Simple method จำนวน 2 เส้น และ A/D Line indicator ครับ โดยเราจะเทรดกันที่ Time Frame M1 กันเลยทีเดียว และเราจะตั้ง Take profit เอาไว้ที่ 100 – 150 points ซึ่งมี Risk Reward Ratio ที่ 1: 1 ครับ

  • Logic การเข้า order Buy
    1. รอให้ระยะห่างระหว่าง SMA(12) อยู่เหนือกว่า SMA(26) ประมาณ 80 point+
    2. กำหนดให้แท่งเทียนก่อนหน้าเป็น Bullish candle และให้แท่งเทียนก่อน bullish candle เป็น Bearish candle
    3. ค่า A/D Line ณ Bullish candle มีค่ามากกว่า A/D Line ณ Bearish candle ครับ
  • Logic การเข้า order Sell
    1. รอให้ระยะห่างระหว่าง SMA(12) อยู่ต่ำกว่า SMA(26) ประมาณ 80 point+
    2. กำหนดให้แท่งเทียนก่อนหน้าเป็น Bearish candle และให้แท่งเทียนก่อน Bearish candle เป็น Bullish candle
    3. ค่า A/D Line ณ Bearish candle มีค่าน้อยกว่า A/D Line ณ Bullish candle ครับ

กลยุทธ์เทรดตาม Trend ด้วย Chaikin oscillator

Chaikin Oscillator (CHO) เป็น indicator ที่สามารถระบุหาแนวโน้ม (Trend) และความแข็งแรงของราคาได้ ซึ่งมันได้ถูกพัฒนาโดย Mark Chaikin ผู้เป็นคนพัฒนา A/D Line นั่นแหละครับ

หลักการทำงานของ CHO indicator จะเป็นการวัดแรงซื้อซึ่งเป็นช่วง Accumulation phase และวัดแรงขายที่เป็นช่วง Distribution phase ของคู่เงิน หรือ สินทรัพย์นั้น ๆ จากนั้นจะนำค่าเหล่านั้นมา Plot ลงบน indicator window ให้เราได้อ่านค่ากันกัน

วิธีการคำนวณ CHO จะเป็นการใช้ค่าจาก A/D Line indicator มาคำนวณใหม่อีกชั้นนึงครับ โดยสมการจะมีเพียง 1 สมการดังนี้

  • สมการที่ 4 : Chaikin Oscillator = (3-day EMA of ADL) – (10-day EMA of ADL)

เราจะเห็นได้ว่าเขาจะใช้ตัวแปรจาก A/D Line ในช่วงระหว่างสอง Period มาลบกับ ซึ่งผลลัพธ์จะออกมาได้ทั้งค่า บวก และ ลบ ครับ

วิธีใช้งาน CHO วิเคราะห์แนวโน้ม

จากผลลัพธ์ดังกล่าวมันก็จะสอดคล้องไปกับวิธีการใช้งานหลัก ๆ คือการมองหาแนวโน้ม โดยเราจะต้อง Add เส้น 0 ขึ้นมาหนึ่งเส้น [6]

  • หากค่า CHO > 0 = แนวโน้มขาขึ้น
  • หากค่า CHO < 0 = แนวโน้มขาลง

นอกจากนี้มันยังสามารถบอกจุด Divergent ได้อีกด้วยนะครับ ซึ่งเทคนิคนี้อาจจะต้องใช้เวลามองนานซักหน่อยสำหรับมือใหม่ ผมจึงขอข้ามไปกันที่กลยุทธ์ของเรากัน

รูปที่ 5 ตัวอย่างการเข้าซื้อขายด้วย Chaikin Oscillator indicator

เข้าสู่กลยุทธ์กันเถอะ !!

CHO ทำงานได้ดีในการจับแนวโน้ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจับแนวโน้มที่รุนแรง ดังนั้นเราจะใช้ข้อดีตรงนี้มาเป็นจุดยืนยันสัญญาณเข้าเทรดครับ… เหตุที่ใช้คำว่ายืนยันสัญญาณเข้าเทรดหมายความว่า เราจะใช้ indicator อีกหนึ่งตัวเป็นตัวกรองชั้นแรกก่อน เพื่อลดสัญญาณหลอก หรือ False signal ครับ

ดังนั้นกลยุทธ์นี้เราจะใช้ Relative Strength Index (RSI) เพื่อวัด Momentum แรงซื้อมากเกินไป (Overbought) และวัดแรงขายที่มากเกินไป (Oversold) ก่อนในขั้นแรก -> จากนั้นเราจะมาใช้ CHO เพื่อตรวจจับแนวโน้มก่อน แล้วจึงเข้าเทรดครับ

โดยกลยุทธ์นี้เราจะมาเทรดกันที่ EUR/USD บน Time frame H4 ครับ และเราจะตั้ง Lot size เล็ก ๆ แต่เน้นกินระยะ Take profit กันยาวหน่อย 1,000 points เป็นต้น ซึ่งเราจะตั้ง Risk Reward ratio กันที่ 1:1 หรือ 1:2 ครับ

  • Logic การเข้า order Buy
    1. Step แรก ให้เรา มองหาจุดที่เกิด Oversold โดยการดูระดับ RSI ครับ ซึ่งมันต้องมีค่า น้อยกว่า 30 ต้องบอกว่าอาจจะต้องมองย้อนกลับไปประมาณ 4-5 แท่งเทียนครับ
    2. เมื่อเราเจอจุด Oversold แล้ว ก็เข้าสู่ Step ต่อไป คือ ค่า CHO ต้อง มากกว่า 0
    3. เมื่อครบทั้ง 2 Step แล้วให้เราทำการ Buy เข้าไปได้เลยครับ ซึ่งตั้ง Take profit และ Stop Loss ตามระบบที่เรากำหนดไว้ครับ
  • Logic การเข้า order Sell
    1. Step แรก ให้เรา มองหาจุดที่เกิด Overbought โดยการดูระดับ RSI ครับ ซึ่งมันต้องมีค่า มากกว่า 70 ต้องบอกว่าอาจจะต้องมองย้อนกลับไปประมาณ 4-5 แท่งเทียนครับ
    2. เมื่อเราเจอจุด Overbought แล้ว ก็เข้าสู่ Step ต่อไป คือ ค่า CHO ต้อง น้อยกว่า 0
    3. เมื่อครบทั้ง 2 Step แล้วให้เราทำการ Buy เข้าไปได้เลยครับ ซึ่งตั้ง Take profit และ Stop Loss ตามระบบที่เรากำหนดไว้ครับ

กลยุทธ์เทรดตาม Trend ด้วย Chaikin Volatility

อ่ะ.. เรามาต่อกันที่ Chaikin Volatility (CHV) ครับ เจ้า CHV เป็น indicator ที่ถูกพัฒนาโดย Marc Chaikin เจ้าของเดียวกันกับ CHO และ A/D line indicator นั่นเอง จริง ๆ แล้ว indicator ที่สามารถวัดความผันผวนของตลาด (Volatility) มีหลายตัว แต่บทความนี้ผมขอเสนอ CHV ครับ

  • Volatility ที่ต่ำ สะท้อนได้ถึงความเสถียรของตลาด ณ เวลานั้น ๆ เช่น หากตลาดเกิดแนวโน้มขาขึ้นแล้วมีค่า Volatility ที่ต่ำ แสดงว่าแนวโน้มกำลังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าตลาดจะเกิดความผันผวนเพิ่มขึ้น
  • Volatility ที่สูง สะท้อนให้เรารู้ว่าอาจจะมีการกลับตัวเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้ CV indicator ตัวเดียวไม่อาจจะใช้เป็นสัญญาณการเข้าเทรดได้ ดังนั้นจึงต้องหา indicator ตัวอื่น หรือ เทนคนิคอื่นเข้ามาจับครับ

หลักการของ CV จะเป็นหามองหาอัตราความต่าง (Rate of change) ระหว่างราคาสูงสุด (Highest price) และราคาต่ำสุด (Lowest price) ของช่วงเวลา 10 แท่งเทียนย้อนหลัง จากนั้น convert ให้เป็นเปอร์เซ็น [7]

จริง ๆ แล้วสมการที่ใช้คำนวณเขาจะใช้ High-Low average of n period ซึ่งพูดง่าย ๆ ก็คือ Moving average ครับ โดย CV แบบทั่วไปจะใช้ 10 period ครับ ดังนั้นสมการอย่างง่ายที่ควรจะเป็นก็คือ

สมการที่ 5 : Chaikin Volatility Value = (Current EMA value – EMA value 10 periods ago) / EMA value 10 periods ago * 100

วิธีการแปลผลของ CV indicator ไม่ซับซ้อนครับ เพราะมีแค่สามข้อหลัก ๆ ที่เราจะต้องดู ได้แก่

  • 0 = มีความผันผวนที่สมดุล
  • < 0 = มีความผันผวนน้อย ยิ่งมีค่าน้อยเท่าไหร่ยิ่งผันผวนน้อยเท่านั้น (Low Volatility)
  • > 0 = มีความผันผวนมาก ยิ่งมีค่ามากเท่าไหร่ยิ่งผันผวนมากเท่านั้น (High Volatility)

รูปที่ 6 ตัวอย่างการเข้าซื้อขายด้วย Chaikin Volatility indicator

เข้าสู่กลยุทธ์กันเถอะ !!

กลยุทธ์นี้เราจะมีเทรดตามแนวโน้มกันครับ โดยเราจะใช้เส้น EMA จำนวน 1 เส้น พร้อมกับ CV indicator ที่จะคอยบอก Volatility ให้เรารู้ว่า ตอนนี้เป็นช่วงเปลี่ยนเทรดแล้วเด้อ และคู่เงินที่เราจะเทรดกันในวันนี้ก็คือ EUR/USD ใน Time frame H4 นั่นเองครับ

  • Logic การเข้า order Buy
    1. รอราคาต่ำสุดของแท่งเทียนสีเขียว มากกว่า เส้น EMA 10
    2. ต้องให้ CHV มีค่ามากกว่า 0 แล้วเข้า Buys ได้เลย
    3. ตั้ง SL TP 1:3 ได้ ส่วนมากเราจะเน้นกินยาว ๆ โดยการตัด TP 500 จุด หรือ จะกำหนดจุดปิดไม้เมื่อราคาวิ่งชนเส้น EMA อีกครั้งก็ได้ครับ
  • Logic การเข้า order Sell
    1. รอราคาสูงสุดของแท่งเทียนสีแดง น้อยกว่า เส้น EMA 10
    2. ต้องให้ CHV มีค่ามากกว่า 0 แล้วเข้า Sells ได้เลย
    3. ตั้ง SL TP 1:3 ได้ ส่วนมากเราจะเน้นกินยาว ๆ โดยการตัด TP 500 จุด หรือ จะกำหนดจุดปิดไม้เมื่อราคาวิ่งชนเส้น EMA อีกครั้งก็ได้ครับ

ข้อควรระวังสำหรับ CV indicator คือ การตีความ Volatility ที่ไม่ถูกต้อง, การพึ่งพาแต่ CV indicator มากเกินไป, การละลายบริบทของตลาด

  • การตีความ Volatility ที่ไม่ถูกต้อง
    • ส่วนมากคนจะเข้าใจกันว่า หาก CV value มีค่ามากกว่า 0 หมายความว่าจะเป็นตลาดขาขึ้น ซึ่งไม่ใช่ครับ จริง ๆ แล้วมันแค่บอกเราว่า ตอนนี้มีอัตราการเปลี่ยนแปลงของราคามากขึ้นเมื่อเทียบกับเมื่อ 10 แท่งเทียนก่อน
    • ในทางเดียวกัน การที่ CV value มีค่าน้อยยกว่า 0 ก็ไม่ได้แปลว่าตอนนี้ตลาดเป็นขาลงแต่อย่างใด ดังนั้น CV indicator จึงเป็นเครื่องมือที่เอาไว้ใช้วัดความผันผวนของตลาดเท่านั้นครับ ไม่สามารถกำหนดทิศทางของแนวโน้มได้เลย
  • การพึ่งพาแต่ CV indicator มากเกินไป
    • เนื่องจากมันไม่ใช้ indicator ประเภทที่จะบอกสัญญาณการเข้าเทรด ดังนั้นเราจึงควรใช้มันควบคู่ไปกับ indicator ตัวอื่น ๆ หรือ เทคนิคการวิเคราะห์กราฟแบบอื่นร่วมด้วยเสมอครับ
  • การละลายบริบทของตลาด
    • กลยุทธ์ที่นำเสนอนี้เป็นการเทรดตามแนวโน้ม ซึ่งเราก็ยังไม่สามารถละเลยการวิเคราะห์พื้นฐานปัจจัยอื่น ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อสภาพเศรษฐกิจของค่าเงินที่เรากำลังเทรด หรือ สินทรัพย์ที่เรากำลังเทรดได้ ดังนั้นการดูข่าวเศรษฐกิจยังคงจำเป็นต่อการเทรดเสมอครับ

รูปที่ 7 ก่อนที่จะเทรดจริงผมแนะนำให้ลองทำ Backtest หรือ การทดสอบย้อนหลัง ให้ชำนาญและมั่นใจในกลยุทธ์ก่อน หรือ อาจจะลองเทรดด้วยบัญชี Demo ก่อนก็ได้

สรุป

Exness เป็นโบรกเกอร์ระดับสากลที่มีความเชื่อถือสูงและยังคงยืนหนึ่งในเรื่องของ Volume ในการเทรดสูงสุดในปี 2024 อีกด้วย ซึ่งวิธีการสมัครสมาชิก การเปิดบัญชี รวมไปถึงการยืนยันตัวตนก็เป็นเรื่องทำง่ายมาก ๆ ครับ

ภายในบทความนี้เราได้ สอน เทรด exness ด้วยกลยุทธ์การเทรด forex สำหรับมือใหม่มากถึง 3 กลยุทธ์เลย โดยแต่ละกลยุทธ์จะเป็นการใช้งาน indicator เนื่องจากมันมีความง่ายและเหมาะสำหรับมือใหม่ครับ

อย่างไรก็ตามเราควรที่จะต้องนำไป Backtest ด้วยตนเอง หรือทดลองเทรดด้วยบัญชี Demo ก่อนเสมอ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของตัวคุณเองครับ

อ้างอิง

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon