เคยสงสัยไหมครับว่าถ้าหากอยากเริ่มต้นในการลงทุนในตลาด Forex แล้วละก็สิ่งที่ต้องเรียนรู้เป็นอันดับแรกคืออะไร และเราจะเริ่มต้น เทรด forex ยังไง ? … ในบทความนี้มีคำตอบ กับการเริ่มต้นในการทำความรู้จักกับ Forex อย่างง่ายๆต่อด้วยการรู้จักกับประเภทบัญชีต่างๆในตลาด Forex จนไปถึงวิธีการเลือกโบรกเกอร์และสกิลพื้นฐานที่ต้องมี ดังนั้นแล้วองค์ความรู้ต่อไปนี้นั้นแน่นอนว่ามันจะสามารถทำให้ทุกท่านต่อยอดไปถึงระดับสูงได้อย่างแน่นอนครับ
Forex คืออะไร ? ทำความเข้าใจกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
สวัสดีครับเพื่อนๆ ทุกคน ผมในฐานะเทรดเดอร์ที่ผ่านทั้งตลาดที่ขึ้นเขาลงดอยมานับไม่ถ้วนและใน วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังแบบง่ายๆ เลยครับว่า Forex คืออะไร และเจ้า CFD ที่ทุกคนเคยได้ยินมันเกี่ยวข้องยังไงบ้างกับเจ้า Forex มาลุยกันเลยครับ
รูปที่ 1 Forex ย่อมาจาก Foreign Exchange หรือที่เรียกกันว่า ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการหมุนเวียนเงินสูง
- Forex คืออะไร? ทำความรู้จักกับจุดเริ่มต้น
- Forex ย่อมาจาก Foreign Exchange หรือที่เรียกกันว่า ตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- Forex คือตลาดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการหมุนเวียนเงินสูงถึงหลายล้านล้านดอลลาร์ทุกวัน เรียกได้ว่าถ้าคุณคิดว่าหุ้นใหญ่แล้ว Forex ใหญ่กว่าเป็นสิบเท่าเลยล่ะครับ
- Forex คือการ “ซื้อสกุลเงินหนึ่งแล้วขายสกุลเงินอีกสกุล” ง่ายๆ คือเรากำลังซื้อขาย “คู่สกุลเงิน” เช่น EUR/USD หรือ GBP/JPY อะไรพวกนี้ล่ะครับ
- CFD คืออะไร ? แล้วทำไมต้องเข้าใจความหมายของมัน
- CFD หรือ Contracts for Difference เป็นสัญญาที่คุณทำกับโบรกเกอร์ของคุณซึ่งเป็น ซึ่งเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ตราสารอนุพันธ์”
- CFD ก็เปรียบดั่งการ “เดิมพัน” กับการเปลี่ยนแปลงราคาของสินทรัพย์ โดยไม่ต้องครอบครองสินทรัพย์จริงๆ ใช่แล้วครับ! คุณไม่ต้องมีทองคำแท่งอยู่ที่บ้านหรือถือหุ้นเป็นใบ! เพียงแค่คาดเดาว่าราคาจะขึ้นหรือลงก็พอแล้ว…พูดง่ายแต่ทำยากนะครับ !
- Forex กับ CFD เกี่ยวข้องกันยังไง?
- การซื้อขายในตลาด Forex มักจะทำงานผ่าน CFD ซึ่งเป็นสัญญาที่นักลงทุนทำกับโบรกเกอร์เพื่อเก็งกำไรจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนของคู่สกุลเงิน โดยไม่ต้องครอบครองสกุลเงินนั้นจริงๆ
- CFD สามารถทำให้นักเทรดสามารถใช้ Leverage เพื่อการขยายปริมาณการเทรดได้ ซึ่งช่วยให้สามารถควบคุมเงินทุนมากกว่าทุนที่มีจริง ทำให้โอกาสในการทำกำไร (หรือขาดทุน) เพิ่มขึ้น
- ข้อดีของการเทรด Forex ผ่าน CFD
- คุณสามารถทำกำไรได้ทั้งตอนที่ราคาขึ้นและลง!! ถ้าคิดว่าราคาจะตกก็แค่ขาย (short sell) ได้เลย ไม่ต้องรอเหมือนหุ้นนั่นเองครับ
- ไม่มีค่าคอมมิชชั่นหรือค่าธรรมเนียมหนักๆ แบบหุ้น ทั้งนี้โบรกเกอร์ Forex ส่วนมากจะเก็บค่าสเปรดเล็กๆ น้อยๆ แทน….ถือว่าไม่มากครับ
- ไม่ต้องถือครองสกุลเงินหรือสินทรัพย์จริงๆ เอาเวลาไปเทรดทำกำไรได้เลย
- แล้วอะไรคือสิ่งที่ต้องระวัง?
- Leverage เป็นดาบสองคม มันช่วยให้คุณได้กำไรเยอะ แต่ก็ทำให้คุณเสี่ยงที่จะเสียเยอะเช่นกันครับ
- ตลาด Forex นั้นมีความผันผวนสูง ราคาสามารถเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาอันสั้น ซึ่งอาจนำไปสู่การสูญเสียหากไม่ได้เตรียมตัวดีพอ
- การจัดการความเสี่ยงไม่ดี การโอเวอร์เทรด การไม่สามารถควมคุมอารมณ์ในการเทรดได้ หรือ แม่กระทั่งการเทรดแบบไม่มีแผนการ จะทำให้การลงทุนในตลาด Forex ไม่ได้ต่างอะไรกับการพนันดีๆเลย
พื้นฐานการทำงานของ Forex การซื้อขายคู่สกุลเงิน
ในส่วนถัดมานี้เราก็จะมาพูดถึงการซื้อขายในตลาด Forex อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าพื้นฐานอยู่ที่การซื้อและขาย คู่สกุลเงิน (Currency Pair) ซึ่งหมายความว่าในทุกการเทรด คุณกำลังซื้อสกุลเงินหนึ่งและขายสกุลเงินอีกหนึ่งในเวลาเดียวกัน (CFD นะครับ) โดยระบบคู่สกุลเงินนั้นจะมีรายละเอียดปรีกย่อยดังต่อไปนี้
รูปที่ 2 รูปภาพตัวอย่างของ คู่สกุลเงินหลัก (Major Currency Pairs) และ คู่สกุลเงินรอง (Minor Currency Pairs) ในตลาด Forex
- คู่สกุลเงินหลัก (Major Currency Pairs)
คู่สกุลเงินที่เป็นที่นิยมที่สุดในการเทรด มักจะเป็นคู่สกุลเงินที่มีสภาพคล่องสูงและเกี่ยวข้องกับดอลลาร์สหรัฐ (USD) เช่น EUR/USD, GBP/USD, USD/JPY เป็นต้น - คู่สกุลเงินรอง (Minor Currency Pairs)
คู่สกุลเงินที่ไม่เกี่ยวข้องกับดอลลาร์สหรัฐ เช่น EUR/GBP, EUR/AUD ซึ่งถึงแม้จะไม่ได้มีการเทรดมากเท่าคู่สกุลเงินหลัก แต่ก็ยังมีสภาพคล่องที่ดีพอสมควร - คู่สกุลเงินแปลกใหม่ (Exotic Currency Pairs)
คู่สกุลเงินที่ประกอบด้วยสกุลเงินของประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็กหรือกำลังพัฒนา เช่น USD/THB, EUR/TRY คู่เหล่านี้มักจะมีสเปรดที่กว้างกว่าและสภาพคล่องต่ำกว่าคู่สกุลเงินหลัก….ส่วนใหญ่มักจะไม่เป็นที่นิยม - การอ่านค่าอัตราแลกเปลี่ยน
อัตราแลกเปลี่ยนแสดงให้เห็นถึงมูลค่าของสกุลเงินหนึ่งเมื่อเทียบกับอีกสกุลเงินหนึ่ง เช่น ถ้าค่า EUR/USD = 1.2000 นั่นหมายถึง 1 ยูโร มีค่าเท่ากับ 1.20 ดอลลาร์สหรัฐ - Base Currency และ Quote Currency
- สกุลเงินตัวแรกในคู่สกุลเงินเรียกว่า Base Currency
- สกุลเงินตัวที่สองเรียกว่า Quote Currency
- ตัวอย่างเช่น ในคู่ EUR/USD ดังนั้น EUR คือ Base Currency และ USD คือ Quote Currency
- การซื้อและขาย (Buy และ Sell)
- การ ซื้อ (Long) หรือ Buy หมายถึงการซื้อ Base Currency และขาย Quote Currency โดยคาดหวังว่าราคาจะเพิ่มขึ้น
- การ ขาย (Short) หรือ Sell หมายถึงการขาย Base Currency และซื้อ Quote Currency โดยคาดหวังว่าราคาจะลดลง
ดังนั้นแล้วหากไม่เข้าใจกลไกของการแลกเปลี่ยนคู่สกุลเงินแล้วนั้นก็จะทำให้ไม่สามารถต่อยอดในขั้นที่สูงกว่าได้ เนื่องจาก Forex เป็นการซื้อขายและเปลี่ยนคู่สกุลเงิน ดังนั้นเนื้อหาดังกล่าวจึงเป็นเนื้อหาที่ไม่ควรพลาดและควรทำความเข้าใจให้ได้มากที่สุดนั่นเองครับเพราะฉะนั้นเราไปดูเนื้อหาที่สำคัญกันต่อได้เลยครับ
การทำงานของอัตราแลกเปลี่ยน และ วิธีการอ่านตีความ
อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate)
เป็นราคาที่ระบุว่าสกุลเงินหนึ่ง (Base Currency) สามารถแลกเปลี่ยนได้กับอีกสกุลเงินหนึ่ง (Quote Currency) เท่าใด ตัวอย่างเช่น EUR/USD = 1.2000 หมายความว่า 1 ยูโรสามารถแลกเปลี่ยนได้กับ 1.20 ดอลลาร์สหรัฐ ดังที่เคยกล่าวไปแล้วข้างต้น
รูปที่ 3 ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานของอัตราแลกเปลี่ยน และ วิธีการอ่านตีความของคู่เงิน EUR/USD
สรุปอีกครั้ง Base Currency และ Quote Currency
- Base Currency คือสกุลเงินแรกในคู่สกุลเงิน เช่น EUR ในคู่ EUR/USD
- Quote Currency คือสกุลเงินที่สอง เช่น USD ในคู่ EUR/USD
ความสำคัญของราคา Bid และ Ask ที่จำเป็นต้องรู้
- Bid คือราคาที่คุณสามารถขาย Base Currency ในตลาดได้ (ราคาที่โบรกเกอร์ซื้อ)
- Ask คือราคาที่คุณสามารถซื้อ Base Currency ได้ (ราคาที่โบรกเกอร์ขาย)
- ตัวอย่าง: ในคู่ EUR/USD, Bid = 1.2000 และ Ask = 1.2005 ส่วนต่างระหว่าง Bid และ Ask เรียกว่า สเปรด (Spread)
สเปรด (Spread)
คือส่วนต่างระหว่างราคา Bid (ราคาขาย) และราคา Ask (ราคาซื้อ) ในแต่ละคู่สกุลเงิน โบรกเกอร์มักจะได้กำไรจากส่วนต่างนี้แทนการคิดค่าคอมมิชชั่น เป็นต้น ซึ่งจะค่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละโบรกเกอร์ รวมไปถึงประเภทบัญชีต่างๆอีกด้วย
การอ่านอัตราแลกเปลี่ยนเบื้องต้น
- ตัวอย่าง EUR/USD = 1.2000 หมายความว่า 1 ยูโรมีค่าเท่ากับ 1.20 ดอลลาร์สหรัฐ
- หากอัตราแลกเปลี่ยน EUR/USD เพิ่มขึ้นเป็น 1.2500 หมายถึงยูโรแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์ และ ดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับยูโร เป็นต้น
เทรด Forex ได้ที่ไหน และ โบรกเกอร์ Forex คืออะไร ?
หัวข้อถัดมาเราไปทำความรู้จักกับโบรกเกอร์ Forex คือก็คือบริษัทที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างนักเทรดและตลาด Forex โดยโบรกเกอร์จะให้บริการด้านการซื้อขายสกุลเงินผ่านอินเทอร์เน็ต โดยให้นักเทรดสามารถเปิดบัญชี ฝากเงิน และทำการซื้อขายคู่สกุลเงินต่างๆ ได้โดยใช้แพลตฟอร์มการเทรดที่โบรกเกอร์จัดหาให้ เช่น MetaTrader 4 หรือ MetaTrader 5 เป็นต้น
รูปที่ 4 ตัวอย่างหน้าที่ของโบรกเกอร์ และ ประเภทของโบรกเกอร์ในตลาด Forex แบบพอสังเขป
หน้าที่ของโบรกเกอร์ Forex
- การเชื่อมต่อนักเทรดกับตลาด: โบรกเกอร์ช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงตลาด Forex และซื้อขายคู่สกุลเงินได้ ซึ่งหน้าที่คือเป็นตัวกลางใรการรับคำสั่งซื้อขายของนักเทรด
- การให้ Leverage: โบรกเกอร์จะให้ Leverage ซึ่งเป็นการยืมเงินเพื่อเพิ่มปริมาณการเทรด ทำให้นักเทรดสามารถซื้อขายในปริมาณที่ใหญ่กว่าทุนที่มีโดยแต่ละโบรกเกอร์จะให้เพดานของ Leverage ที่แตกต่างกันออกไป
- การเก็บค่าธรรมเนียม: โบรกเกอร์จะเก็บค่าธรรมเนียมในรูปแบบของ Spread (ส่วนต่างระหว่าง Bid และ Ask) หรือบางครั้งอาจมีการเก็บค่าคอมมิชชั่นเพิ่มเติม
- การให้บริการวิเคราะห์และเครื่องมือเทรด: โบรกเกอร์มักจะมีเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคต่างๆบริการ ข่าวสารเศรษฐกิจ และข้อมูลการเทรดให้ใช้งาน เป็นต้น
ประเภทของโบรกเกอร์ Forex มีแบบไหนบ้าง ?
- Market Maker (Dealing Desk): โบรกเกอร์ประเภทนี้เป็นผู้กำหนดราคาและทำหน้าที่ตรงข้ามกับนักเทรด โดยการสร้างตลาดขึ้นมาเอง
- STP (Straight Through Processing): โบรกเกอร์ประเภทนี้ส่งคำสั่งซื้อขายของนักเทรดไปยังผู้ให้บริการสภาพคล่อง (Liquidity Provider) โดยตรง
- ECN (Electronic Communication Network): โบรกเกอร์ ECN เป็นตัวกลางที่เชื่อมต่อนักเทรดกับเครือข่ายผู้ให้บริการสภาพคล่อง ซึ่งเป็นโบรกเกอร์ที่มีความโปร่งใสสูง
- ทั้งนี้ยังคงมีประเภทของโบรกเกอร์ อีกหลากหลายแบบเช่น DMA หรือ NDD เป็นต้น
เราจะเลือกโบรกเกอร์ Forex ได้อย่างไร ถึงจะเหมาะสม
รูปที่ 5 รูปภาพการสรุปการอธิบายว่าเราจะเลือกโบรกเกอร์ Forex ได้อย่างไรถึงจะดีไม่ว่าจะเป็นการดูใบอนุญาตและตรวจสอบความโปร่งใสต่างๆเป็นต้น
- มีใบอนุญาตและการกำกับดูแล (Regulation)
- ตรวจสอบว่าโบรกเกอร์ได้รับการกำกับดูแลจากหน่วยงานการเงินที่มีชื่อเสียง เช่น FCA (UK), ASIC (Australia), CySEC (Cyprus), หรือหน่วยงานอื่นๆ ที่น่าเชื่อถือ
- โบรกเกอร์ที่ได้รับการกำกับดูแลมีแนวโน้มที่จะปลอดภัยมากกว่า เนื่องจากต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบที่เคร่งครัด
- ความโปร่งใสและความเป็นมืออาชีพ
- ตรวจสอบเว็บไซต์ของโบรกเกอร์ว่ามีข้อมูลที่ชัดเจน เช่น ค่าธรรมเนียม, สเปรด, เงื่อนไขการถอนเงิน และการใช้ Leverage
- ค้นหาความคิดเห็นจากผู้ใช้งานจริงในรีวิวหรือตามฟอรัมที่เป็นกลาง เพื่อดูความน่าเชื่อถือเช่น Trustpilot หรือ Pantip เป็นต้น
- มีระบบป้องกันเงินทุนลูกค้า
- โบรกเกอร์ที่ดีควรแยกเงินทุนของลูกค้าออกจากบัญชีของบริษัท (Segregated Accounts) เพื่อป้องกันไม่ให้เงินทุนของคุณได้รับผลกระทบหากโบรกเกอร์มีปัญหาทางการเงิน
- การฝากและถอนเงินที่สะดวกและปลอดภัย
- โบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือควรมีช่องทางการฝากถอนเงินที่หลากหลายและปลอดภัย เช่น โอนผ่านธนาคาร, บัตรเครดิต, หรือ e-wallet
- ตรวจสอบนโยบายการถอนเงินว่าใช้เวลานานแค่ไหน และมีค่าธรรมเนียมในการถอนเงินหรือไม่
- สเปรดต่ำและค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล
- เลือกโบรกเกอร์ที่มีสเปรดต่ำ โดยเฉพาะหากคุณเป็นนักเทรดแบบ Scalping หรือ Day Trading ที่ต้องการกำไรจากการเคลื่อนไหวราคาที่รวดเร็ว
- ตรวจสอบค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม เช่น ค่าคอมมิชชั่นต่อการเทรด และค่า Swap สำหรับการถือครองตำแหน่งข้ามคืน
- Leverage ที่เหมาะสม
- เลือกโบรกเกอร์ที่ให้ Leverage ในระดับที่คุณสามารถจัดการความเสี่ยงได้ โดย Leverage ที่สูงอาจให้โอกาสในการทำกำไรสูงขึ้น แต่ก็เพิ่มความเสี่ยงมากขึ้นด้วย
- สำหรับมือใหม่ อาจเลือกใช้โบรกเกอร์ที่มี Leverage ระดับกลางๆ เช่น 1:100 หรือ 1:200
- แพลตฟอร์มการเทรดที่เสถียรและใช้งานง่าย
- ตรวจสอบว่าโบรกเกอร์มีแพลตฟอร์มการเทรดที่เป็นมาตรฐาน เช่น MetaTrader 4 (MT4), MetaTrader 5 (MT5), หรือแพลตฟอร์มอื่นๆ
- บริการลูกค้า (Customer Support)
- เลือกโบรกเกอร์ที่มีการสนับสนุนลูกค้าที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สามารถติดต่อได้หลายช่องทาง เช่น แชทสด, โทรศัพท์, หรืออีเมล เป็นต้น
- ตรวจสอบว่ามีบริการลูกค้าภาษาไทยหรือไม่ หากคุณไม่สะดวกในการใช้ภาษาอังกฤษ
- ประวัติและชื่อเสียงของโบรกเกอร์
- ค้นหาประวัติความเป็นมาและระยะเวลาที่โบรกเกอร์ให้บริการ ยิ่งโบรกเกอร์อยู่ในตลาดมานานยิ่งมีโอกาสที่จะน่าเชื่อถือมากขึ้น
- ตรวจสอบชื่อเสียงของโบรกเกอร์ในชุมชนเทรดเดอร์ และดูว่ามีการร้องเรียนหรือปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการมากน้อยเพียงใด
- ประเภทบัญชีที่หลากหลาย
- โบรกเกอร์ที่ดีควรมีประเภทบัญชีที่หลากหลายให้เลือก เช่น บัญชีมาตรฐาน, บัญชีมินิ, บัญชีไมโคร หรือบัญชี ECN เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของนักเทรดที่แตกต่างกันดังรายละเอียดในหัวข้อใหญ่ถัดไปนี้
บัญชีซื้อขายของ Forex มีอะไรบ้างแล้วแบบไหนเหมาะสมกับเรา
บัญชีซื้อขายของ Forex นั้นเป็นอีกหนึ่งในพื้นฐานต่อมาที่ควรรู้ นอกจากเราจะเลือกโบรกเกอร์เป็นแล้วเราต้องมาดูต่อว่าเราควรจะเปิดใช้งานกับบัญชีประเภทไหนโดยผมขอสรุปให้ง่ายๆ ดังต่อไปนี้
รูปที่ 6 รูปภาพการสรุป บัญชีซื้อขายของ Forex ว่ามีกี่ประเภทและแต่ละประเภทมีความโดดเด่นในด้านใด
บัญชีซื้อขายของ Forex คืออะไร?
- บัญชีซื้อขาย Forex (Trading Account) คือ บัญชีที่เปิดกับโบรกเกอร์ Forex เพื่อใช้สำหรับการซื้อขายคู่สกุลเงินในตลาด Forex
- บัญชีนี้เป็นช่องทางที่นักลงทุนใช้ในการฝากเงินเข้าบัญชีเพื่อทำการซื้อขาย ซึ่งจะมีอยู่หลากหลายประเภทด้วยกันและแต่ละโบรกเกอร์จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
ประเภทของบัญชีซื้อขาย Forex มีแบบไหนบ้าง
- บัญชีเดโม (Demo Account)
- บัญชีเสมือนที่โบรกเกอร์ให้ผู้ใช้ทดลองเทรดโดยไม่ใช้เงินจริง
- เหมาะสำหรับมือใหม่ที่ต้องการฝึกฝนก่อนลงทุนจริง
- ไม่มีความเสี่ยงในการเสียเงินจริง แต่สามารถทดสอบกลยุทธ์การเทรดได้อย่างสมจริง
- บัญชีมาตรฐาน (Standard Account)
- บัญชีที่นักเทรดส่วนใหญ่ใช้ มีขนาดล็อตมาตรฐาน 100,000 หน่วยของสกุลเงิน
- เหมาะสำหรับนักเทรดที่มีประสบการณ์และมีทุนมากพอในการเทรดด้วยปริมาณขนาดใหญ่
- ค่าธรรมเนียมและสเปรดในระดับปกติ
- บัญชีมินิ (Mini Account)
- บัญชีที่เทรดด้วยล็อตขนาดเล็ก (Mini Lot) ประมาณ 10,000 หน่วยของสกุลเงิน
- เหมาะสำหรับนักเทรดที่มีทุนจำกัด แต่ต้องการทำการซื้อขายในตลาด Forex
- ลดความเสี่ยงในการเทรดด้วยปริมาณที่น้อยกว่า
- บัญชีไมโคร (Micro Account)
- ขนาดล็อตเล็กสุด (Micro Lot) ประมาณ 1,000 หน่วยของสกุลเงิน
- เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่ต้องการทดลองกลยุทธ์ใหม่ๆ โดยมีความเสี่ยงต่ำ
- สเปรดและค่าธรรมเนียมต่ำกว่าบัญชีมาตรฐาน
- บัญชี ECN (ECN Account)
- บัญชีที่เชื่อมต่อนักเทรดเข้ากับเครือข่ายผู้ให้บริการสภาพคล่องโดยตรง (เช่น ธนาคารและสถาบันการเงิน)
- สเปรดแคบมาก แต่จะมีค่าคอมมิชชั่นต่อการเทรด
- เหมาะสำหรับนักเทรดมืออาชีพหรือผู้ที่ต้องการสภาพคล่องและความโปร่งใสสูง
- บัญชี Cent (Cent Account)
- บัญชีที่แสดงยอดเงินเป็นหน่วยเซนต์ เช่น ฝากเงิน $10 จะเท่ากับ 1,000 เซนต์
- เหมาะสำหรับนักเทรดมือใหม่ที่ต้องการทดลองเทรดด้วยเงินจริงแต่ความเสี่ยงต่ำมาก
ดังนั้นแล้วจะเห็นได้ว่าประเภทบัญชีก็เป็นอีกหนึ่งในประเด็นที่สำคัญมากๆสำหรับมือใหม่นะครับและแน่นอนว่าเราเน้นย้ำให้ทุกท่านที่เพิ่งเริ่มต้นเข้าวงการ Forex เปิดบัญชีเดโมเพื่อทดลองการเทรดไปก่อนนะครับเพื่อที่จะได้เข้าใจตลาดมากขึ้นและค่อยๆเฟ้นหากลยุทธิ์ในการเทรดที่เหมาะสมกับตนเองให้ได้ก่อนการเปิดบัญชีจริงทุกครั้ง
วิธีการเปิดบัญชี Forex ต้องทำอย่างไรบ้าง ?
ขั้นตอนการเปิดบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ เบื้องต้นง่ายๆ
- เลือกโบรกเกอร์ที่ต้องการเปิดบัญชี
- กรอกข้อมูลลงทะเบียนเปิดบัญชี
- เลือกรูปแบบบัญชี
- ยืนยันตัวตน (KYC – Know Your Customer)
- อัพโหลดเอกสารที่ต้องใช้ในการยืนยันตัวตน เช่น บัตรประจำตัวประชาชน
- ยืนยันอีเมลและเบอร์โทรศัพท์
- ฝากเงินเข้าบัญชีเทรด
- เริ่มต้นเทรด
แพลตฟอร์มที่ใช้ในการเทรด Forex มีอะไรบ้าง ?
รูปที่ 7รูปภาพการสรุปการรวบรวมแพลตฟอร์มพื้นฐานที่ใช้ในการเทรด Forex ไม่ว่าจะเป็น Mt4 , Mt5 ,TradingView และอื่นๆ
- MetaTrader 4 (MT4)
- แพลตฟอร์มยอดนิยมที่สุดในหมู่นักเทรด Forex โดยเฉพาะมืออาชีพ
- มีฟีเจอร์ครบถ้วน เช่น กราฟแสดงผลแบบเรียลไทม์ และการใช้ Expert Advisors (EA) ในการเทรดอัตโนมัติ
- รองรับการใช้ Indicator และสคริปต์ที่สามารถเขียนเองได้ผ่าน MQL4
- โบรกเกอร์ส่วนมากรองรับการใช้งาน
- MetaTrader 5 (MT5)
- แพลตฟอร์มที่พัฒนาต่อจาก MT4 มีฟีเจอร์เสริมที่มากขึ้น เช่น Indicator ที่ทันสมัยมากขึ้น หรือ คำสั่งต่างๆมีความสเถียรที่มากขึ้นกว่าเดิม
- ใช้ภาษา MQL5 ในการเขียนสคริปต์และการพัฒนา EA
- cTrader
- แพลตฟอร์มที่เน้นเรื่องการเทรดแบบ ECN (Electronic Communication Network) ให้ประสบการณ์ที่รวดเร็วและโปร่งใส
- มีกราฟแสดงผลและเครื่องมือวิเคราะห์ที่หลากหลาย ใช้งานง่าย แม้สำหรับมือใหม่
- NinjaTrader
- แพลตฟอร์มการเทรดที่เน้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคขั้นสูง เหมาะสำหรับนักเทรดที่ต้องการใช้กลยุทธ์การเทรดแบบเฉพาะทาง
- โดนเด่นทางการใช้งานอินดิเคเตอร์ Volume profile
- TradingView
- แพลตฟอร์มออนไลน์ที่เน้นการวิเคราะห์ทางเทคนิคด้วยเครื่องมือกราฟที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างมากและใช้งานง่ายอีกทั้งมีความสวยงามดูสบายตา
- แม้จะไม่สามารถใช้ในการเทรดโดยตรง แต่ปัจจุบันสามารถเชื่อมต่อกับโบรกเกอร์บางรายเพื่อทำการเทรดได้แล้วเช่น 8 cap เป็นต้น
คำศัพท์พื้นฐานที่ควรรู้สำหรับเทรด Forex
ในโลกของ Forex ต่างก็มีคำศัพท์พื้นฐานอยู่มากมายที่ควรรู้จัก แต่ ณ ตอนนี้ผมจะเสนอเพียงคำศัพท์ที่ถูกใช้งานบ่อยจนขึ้นชื่อว่า “ไม่รู้จักไม่ได้” มีอะไรกันบ้างไปดูกันครับ
- Pip (Percentage in Point) : หน่วยเล็กที่สุดในการเปลี่ยนแปลงของราคาคู่สกุลเงิน โดยปกติจะหมายถึงทศนิยมตำแหน่งที่ 4 ของอัตราแลกเปลี่ยน (เช่น EUR/USD จาก 1.2000 เป็น 1.2001 เท่ากับเปลี่ยน 1 Pip)
- Lot : ปริมาณการซื้อขายในตลาด Forex โดยปกติแล้ว Standard lot จะมีค่า 100,000 หน่วยของสกุลเงินหลัก เป็นต้น
- Leverage : อัตราส่วนที่โบรกเกอร์ให้คุณยืมเงินมาลงทุน ตัวอย่างเช่น Leverage 1:100 หมายความว่าคุณสามารถควบคุม 100 หน่วยของสกุลเงินด้วยเงินทุนเพียง 1 หน่วยของคุณเอง
- Margin : เงินประกันที่โบรกเกอร์ต้องการจากนักเทรดเพื่อเปิดสถานะการเทรดโดยใช้ Leverage เช่น หาก Leverage คือ 1:100 โบรกเกอร์อาจต้องการเพียง 1% ของมูลค่าการเทรดในบัญชีเป็น Margin
- Stop-Loss หรือ SL : คำสั่งที่ตั้งไว้เพื่อปิดสถานะการเทรดโดยอัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับขาดทุนที่กำหนด ช่วยป้องกันการสูญเสียที่มากเกินไป
- Take-Profit หรือ TP : คำสั่งที่ตั้งไว้เพื่อปิดสถานะการเทรดโดยอัตโนมัติเมื่อราคาถึงระดับกำไรที่ต้องการ
- Equity : มูลค่ารวมของบัญชีเทรดของคุณ ซึ่งประกอบด้วยยอดเงินคงเหลือบวกกับกำไรหรือขาดทุนที่ยังไม่ถูกปิด
- Free Margin : จำนวนเงินที่ยังไม่ได้ถูกใช้เป็น Margin ซึ่งสามารถใช้ในการเปิดสถานะใหม่ได้
- Swap : ดอกเบี้ยที่เกิดจากการถือครองตำแหน่งข้ามคืนในบางคู่สกุลเงิน บางโบรกเกอร์เรียกว่า Rollover
- Drawdown : การลดลงของมูลค่าบัญชีเมื่อเกิดขาดทุนในช่วงเวลาหนึ่ง มักจะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของยอดเงินสูงสุดของบัญชี
- Slippage : ความแตกต่างระหว่างราคาที่คุณคาดหวังว่าจะทำการเทรดกับราคาที่ทำการเทรดได้จริง ซึ่งอาจเกิดจากความผันผวนของตลาดหรือความล่าช้าของการดำเนินการ
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคำศัพท์ดังกล่าวเป็นคำสั่งที่ควรรู้เมื่อเทรดเดอร์ต้องการจะเข้าสู่วงการ Forex เพราะแต่ละคำศัพท์จะเป็นรากฐานไปสู่การเรียนในขั้นที่สูงกว่านั่นเองครับ
พื้นฐานการวิเคราะห์กราฟ เทคนิคและเครื่องมือที่ควรรู้ในตลาด Forex
ก่อนจะไปเริ่มต้นการเทรดองค์ความรู้ในการวิเคราะห์กราฟถือเป็นสาระสำคัญในอันดับต้นๆของการเทรด Forex ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของกลยุทธิ์ในการเทรด หากขาดความรู้เหล่านี้ไปแล้วแน่นอนว่าหากลงมือเทรดจริงก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการพนันเลย ดังนั้นแล้วเราจึงรวบรวมองค์ความรู้สรุปเป็นหัวข้อย่อยให้ไปต่อยอดกันได้อย่างง่ายๆดังต่อไปนี้
รูปที่ 8 รวบรวมพื้นฐานการวิเคราะห์กราฟ เทคนิคและเครื่องมือที่ควรรู้ในตลาด Forex ที่ควรจะมีไม่ว่าจะเป็น การวิเคราะห์กราฟ หรือ การจัดการความเสี่ยง เป็นต้น
- การวิเคราะห์กราฟ (Chart Analysis)
- ประโยชน์คือการใช้กราฟราคาเพื่อดูการเคลื่อนไหวของตลาดในอดีตและคาดการณ์ทิศทางในอนาคต
- กราฟที่นิยมใช้มี 3 ประเภท:
- กราฟเส้น (Line Chart) – แสดงข้อมูลราคาปิดอย่างง่าย
- กราฟแท่ง (Bar Chart) – แสดงราคาสูงสุด, ต่ำสุด, เปิด และปิดในช่วงเวลา
- กราฟแท่งเทียน (Candlestick Chart) – ให้รายละเอียดการเปิด, ปิด, สูงสุด และต่ำสุด พร้อมทั้งแสดงแนวโน้มของตลาด (เป็นที่นิยมมากที่สุด)
- แนวรับและแนวต้าน (Support and Resistance)
- แนวรับ คือระดับราคาที่ราคามักจะไม่ตกต่ำลงไปมากกว่านั้น หรือเป็นระดับที่แรงขายเริ่มอ่อนแอและแรงซื้อเริ่มเข้ามามีบทบาท ทำให้ราคามีแนวโน้มที่จะหยุดตกลงไปและทำการเด้งกลับขึ้นไป
- แนวต้าน คือระดับราคาที่ราคามักจะไม่ขึ้นไปมากกว่านั้น หรือเป็นระดับที่แรงซื้อเริ่มอ่อนแอและแรงขายเริ่มเข้ามามีบทบาททำให้ราคามีแนวโน้มที่จะหยุดขึ้นต่อและเริ่มลดลงไป
- เส้นแนวโน้ม (Trend Lines)
- ใช้ระบุแนวโน้มของตลาด (ขาขึ้น, ขาลง หรือเคลื่อนไหวในกรอบ)
- การลากเส้นผ่านจุดสูงสุดหรือต่ำสุดเพื่อช่วยคาดการณ์แนวโน้มในอนาคต
- เครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิค (Technical Indicators)
- Moving Average (MA) – เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ช่วยในการหาทิศทางแนวโน้มระยะสั้นและยาว
- Relative Strength Index (RSI) – ใช้บ่งบอกสถานะ Overbought หรือ Oversold เพื่อดูว่าราคานั้นสูงหรือต่ำเกินไป
- Indicators ดังกล่าวเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้นในความเป็นจริงมีให้ใช้งานอยู่มากมาย
- การวิเคราะห์รูปแบบกราฟ (Chart Patterns)
- Head and Shoulders – รูปแบบการกลับตัวของราคาที่มีลักษณคล้ายหัวและไหล่เมื่อกราฟเกิดรูปแบบนี้เกิดขึ้นมักจะมีการกลับตัวของราคาเสมอๆ
- Double Top/Double Bottom – อีกหนึ่งในรูปแบบการกลับตัวที่แสดงว่าราคากำลังจะเปลี่ยนทิศทางเช่นเดียวกัน
- Chart Patterns ดังกล่าวเป็นเพียงการยกตัวอย่างเท่านั้นในความเป็นจริงมีให้ใช้งานอยู่มากมาย
- Fibonacci Retracement
- ค่าที่ใช้ในการหาจุดกลับตัวของราคาในระดับ Fibonacci (เช่น 38.2%, 50%, 61.8%) ซึ่งบ่งบอกถึงแนวรับและแนวต้านสำคัญ สามารถประยุกต์ได้ทั้งการ เข้าออเดอร์ และ ออกออเดอร์
- การจัดการความเสี่ยง
- การวิเคราะห์กราฟควรทำควบคู่ไปกับการตั้งค่า Stop-Loss และ Take-Profit เพื่อจำกัดการขาดทุนและปกป้องกำไร
เครื่องมือและเทคนิคเหล่านี้ล้วนเป็นพื้นฐานสำคัญที่นักเทรดควรรู้ในการวิเคราะห์กราฟบนตลาด Forex เพื่อทำให้การตัดสินใจนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเราสามารถเลือกใช้งานเทคนิคใดก็ได้ที่มองเห็นว่าเหมาะสมกับตนเองและอัตราการชนะที่สูงคุ้มค่าแก่การลงทุน ดังนั้นแล้วเราควรจะค้นหาและสร้างกลยุทธ์การเทรดของคุณเอง ก่อนจะเริ่มทำการเทรดจริงเสมอดังหัวข้อต่อไปนี้
ค้นหาและสร้างกลยุทธ์การเทรดของคุณเอง ทำได้อย่างไร ?
รูปที่ 9 ขั้นตอนการค้นหาและสร้างกลยุทธ์การเทรดของคุณเองโดยเริ่มจากการทำความเข้าใจ ระบุเป้าหมาย จนไปถึงการทดสอบจริงเป็นต้น
ค้นหาและสร้างกลยุทธ์การเทรดของคุณเอง
- ทำความเข้าใจตลาดและตัวเอง
- ก่อนที่จะสร้างกลยุทธ์ คุณต้องเข้าใจว่าตลาด Forex มีการเคลื่อนไหวอย่างไร รวมถึงความผันผวนและความเสี่ยงต่างๆในแต่ละคู่สกุลเงิน
- พิจารณาสไตล์การเทรดของตัวคุณเอง เช่น คุณชอบเทรดระยะสั้น (Scalping) หรือระยะยาว (Swing Trading) เพื่อให้กลยุทธ์ตรงกับความถนัดและความต้องการของคุณ
- ระบุเป้าหมายการเทรด
- ตั้งเป้าหมายว่าคุณต้องการกำไรเท่าไหร่และยอมรับความเสี่ยงได้มากน้อยเพียงใด เช่น คุณต้องการกำไร 5% ต่อเดือนและยอมรับการขาดทุนไม่เกิน 2%
- ใช้เทคนิคที่ถนัดวิเคราะห์แนวโน้มของตลาด (Trend Analysis)
- ดูว่าแนวโน้มของตลาดเป็นอย่างไร คุณสามารถใช้ เส้นแนวโน้ม (Trend Lines) หรือ Moving Average เพื่อระบุว่าตลาดกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น, ขาลง, หรือเคลื่อนไหวในกรอบ อย่างไรเป็นต้น
- การจัดการความเสี่ยง (Risk Management)
- ใช้ Stop-Loss และ Take-Profit เพื่อจำกัดการขาดทุนและกำหนดระดับกำไรที่คาดหวัง
- พิจารณาการใช้ Risk-to-Reward Ratio ที่เหมาะสม เช่น เสี่ยง 1 เพื่อได้กำไร 2 หรือ 3 ส่วนตามเป้าหมายในการเทรดที่ต้องการ
- ทดสอบกลยุทธ์ด้วยการ Backtest
- ทดสอบกลยุทธ์การเทรดของคุณโดยใช้ข้อมูลตลาดในอดีต (Backtest) เพื่อดูว่ากลยุทธ์ทำงานได้ดีแค่ไหนในสภาพตลาดต่างๆ
- เริ่มต้นเทรดด้วยบัญชีเดโม
- ทดลองใช้กลยุทธ์ที่สร้างขึ้นในบัญชีเดโมเพื่อดูผลลัพธ์โดยไม่เสี่ยงกับเงินจริง
- ปรับแต่งกลยุทธ์ตามผลลัพธ์ที่ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสไตล์การเทรดของคุณ
- รักษาความมีวินัยและอารมณ์ในการเทรด
- ติดตามแผนการเทรดอย่างมีวินัย อย่าให้ความโลภหรือความกลัวเข้ามากระทบการตัดสินใจ
- ใช้กลยุทธ์ที่ผ่านการทดสอบแล้ว ไม่ออกนอกแผนการเทรดที่คุณวางไว้
- การสร้างกลยุทธ์การเทรดที่เหมาะสมกับตัวเองจะช่วยเพิ่มโอกาสในการประสบความสำเร็จในตลาด Forex และทำให้การเทรดของคุณมีความเป็นระบบมากขึ้น
สรุป
การเทรด Forex สำหรับมือใหม่นั้นควรที่จะเริ่มต้นด้วยการเรียนรู้พื้นฐานในตลาดต่างๆก่อน ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักการซื้อขายคู่สกุลเงิน ความรู้เกี่ยวกับโบรกเกอร์และประเภทบัญชีต่างๆ รวมไปถึงการใช้งานแพลตฟอร์มในการเทรดก็ด้วย อีกทั้งคุณควรเรียนรู้ถึงวิธีการวิเคราะห์ทางกราฟต่างๆรวมไปถึงการจัดการความเสี่ยง และ การสร้างกลยุทธ์เทรดของตัวเอง เพื่อให้การเทรดของคุณนั้นสามารถใช้งานได้จริงและทรงประสิทธิภาพนั่นเองแหละครับ