A screenshot of a computer Description automatically generated

การเทรดในตลาด Forex นั้นก็ถือว่าเป็นหนึ่งในแหล่งรายได้สำคัญของคนยุคใหม่เลยก็ว่าได้ แต่แน่นอนว่าการเทรดในตลาด Forex นั้นถือว่ามีเนื้อหาที่ถือว่ากว้างขวางมากๆและในหลายๆคนผมเชื่อว่าคงจะมีเวลาในการศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวการฟอเร๊กซ์ได้น้อย ดังนั้นในหัวข้อนี้ผมจะมาสรุปให้มาเป็น Forex ฉบับสมบูรณ์ ที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจและสามารถทำความรู้จักกับฟอเร๊กซ์ได้อย่างรวดเร็วได้อย่างรวดเร็ว

ปฐมบท 0 – 100 กับ Forex ฉบับสมบูรณ์

ก่อนจะเข้าสู้เนื้อหาของการเทรด Forex ในหัวข้อนี้ผมจะทำการสอนและทบทวนเนื้อหาที่ควรรู้ตั้งแต่ 0 – 100 เพื่อให้ทุกท่านมั่นใจได้ว่าจะไม่พลาดตัวแปรสำคัญใดๆที่จะส่งผลต่อการเทรดฟอเร๊ก ดังนั้นจะเห็นได้ว่าบางหัวข้อต่อไปนี้อาจจะไม่ได้ลงรายละเอียดที่มากเกินความจำเป็นแต่จะเป็นสอนในฉบับแบบรวดรัดและมีเนื้อหาที่ตรงไปตรงมาเพราะฉะนั้นแล้วเราไปทำความรู้จักพื้นฐานของตลาดฟอเร๊กซ์กันได้เลยครับ

A screen shot of a phone Description automatically generated

รูปที่ 1 ทำความรู้จัก Forex คืออะไรและตัวอย่างหน้าตาของการเทรก Forex ผ่านทางแพลตฟอร์ม Tradingview.com ที่จะมีองค์ประกอบต่างๆโดยจะสอนผ่านหัวข้อย่อยต่างๆภายในบทนี้

ทำความรู้จักกับ Foreign exchange หรือ Forex

  • ความหมายของคำว่า Forex : Foreign exchange หรือ Forex (FX) มีความหมายคือตลาดซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่จะทำการซื้อขายผ่านเคาท์เตอร์ทั่วโลก [1] หรือ OTC ซึ่งการซื้อขายเหล่านี้จะมีขั้นตอนกระบวนการผ่านตัวกลางที่สำคัญอย่าง ธนาคาร ,ผู้ให้สภาพคล่อง และ โบรกเกอร์ เป็นต้น
  • Forex คือการทำกำไรจากส่วนต่างของราคา: Forex เป็นการซื้อขายเก็งกำไรจากส่วนต่างของราคาของคู่สกุลเงิน อันเกิดจากความแข็งค่าและอ่อนค่าของสกุลเงินใดสกุลเงินหนึ่ง เช่น การนำเงินไปแลกในช่วงที่คู่เงินเกิดการแข็งค่า และ แลกกลับในช่วงที่คู่เงินมีการอ่อนค่า เป็นต้น (ปัจจุบันนอกจากคู่เงินก็มีสินทรัพย์อีกหลากหลายที่เทรดได้ เช่น ทองคำ)
  • การเทรด Forex นั้นไม่ใช่สินทรัพย์แต่เป็น CFDs : ถึงแม้เราจะทำการเทรดคู่สกุลเงินอยู่ก็ตามแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะได้คู่เงินนั้นมาครอบครองจริงๆแต่จะเป็นเพียงการซื้อขาย CFD (Contracts for Difference) [2] หรือตราสารอนุพันธ์ เรียกกันง่ายๆว่า สัญญาซื้อขายส่วนต่าง (ซื้อมาแล้วต้องขายนะ!!)
  • ความเป็นจริงตลาด Forex ไม่ได้มีตั้ง ณ บนโลกแห่งนี้ : อ้างอิงจาก Babypips.com [3] จากโครงสร้างของตลาดกล่าวได้โดยย่อคือมันเป็นการแลกเปลี่ยนสกุลเงินจึงทำให้ตลาด Forex มีหลากหลายหรือจะเรียกว่าเป็น Decentralized markets ก็ได้ ดังนั้นตลาด Forex ที่พบเห็นโดยทั่วไปนั้นเป็นเพียงตลาด CFD ที่จะใช้ราคาอ้างอิงบนตลาด Forex มาใช้ในการซื้อขายนั่นเอง
  • โบรกเกอร์น้อยรายที่จะส่งคำสั่งซื้อขายเข้าสู่ตลาด Forex จริง : ปัจจุบันมีโบรกเกอร์มากมายผุดเข้ามาในตลาด Forex เป็นจำนวนมากแต่มีเพียงไม่กี่ค่ายเท่านั้นที่จะมีการส่งคำสั่งซื้อขาย เข้าสู่ตลาด forex จริงๆจะกล่าวต่อไปในหัวข้อความความสำคัญของโบรกเกอร์ภายในบทนี้
  • Forex สามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง: ในคำสั่งซื้อขายของ Forex จะสามารถทำกำไรได้ทั้ง 2 ทิศทางอันเนื่องมาจากไม่ได้เป็นการซื้อขายจริงๆแต่เป็นเพียงการใช้ สัญญาการซื้อขายส่วนต่าง CFDs คือสัญญาที่ซื้อที่ราคาใดราคาหนึ่งและต้องทำการขายที่ราคาใดราคาหนึ่งเพื่อทำกำไรจากส่วนต่าง

เวลาการเปิดปิดในตลาด Forex

เวลาเปิดปิดของตลาด Forex ถือว่าเป็นอีกหนึ่งในความสำคัญของการเทรดและยังสามารถนำไปปรับใช้เป็นกลยุทธิ์ได้อีกหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการ เทรด เฉพาะเวลาตลาดใดๆ เปิด หรือ ปิดเป็นต้น ทั้งนี้ถึงแม้ว่าตลาด Forex จะมีการเทรดได้ตลอด 24 ชม. แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะสามารถเทรดได้ทุกคู่เงินนะครับ ทางเราจึงขอสรุปตารางเวลาการเปิดปิดตลาด Forex มาให้ดังนี้

A screen shot of a screen Description automatically generated

รูปที่ 2 รูปภาพที่แสดงถึงเวลาเปิดปิดของตลาด Forex

  • อเมริกา (USD) เปิด 19.00 – 03.00 น.
  • ลอนดอน (GBP) เปิด 15.00 – 23.00 น.
  • ออสเตรเลีย (AUD) เปิด 05.00 – 13.00 น.
  • โตเกียว ญี่ปุน (JPY) เปิด 06.00 – 14.00 น.
  • ฝรั่งเศส (CHF) เปิด 13.00 – 21.00 น.
  • ยุโรป (EUR) เปิด 14.00 – 23.00 น.
  • แคนาดา (CAD) เปิด 19.00 – 03.00 น.

หมายเหตุ : อ้างอิงตามเวลาของประเทศไทย

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม่ Forex จะสามารถเทรดได้ตลาด 24 ชม.แต่ก็สามารถเทรดในคู่สกุลเงินหลักได้เพียง 5 วันต่อสัปดาห์ คือ จันทร์ – ศุกร์ แล้วหยุดวันเสาร์และอาทิตย์ [4] เพียงแต่ในบางโบรกเกอร์ก็สามารถที่จะเทรดในวัน เสาร์และอาทิตย์ ได้ในกรณีที่เทรดกับสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ เช่น Cryptocurrency หรือ BTCUSD (บิทคอยน์) เป็นต้น

คำศัพท์พื้นฐานที่ต้องรู้ก่อนเริ่มเทรด Forex

การที่จะเป็นนักเทรดมืออาชีพที่ดีได้นั้นอย่างน้อยควรจะเข้าใจถึงแก่นแท้ของคำศัพท์ขั้นพื้นฐานในตลาด Forex ให้ได้เสียก่อน นอกจากจะทำให้เราสามารถต่อยอดได้มากแล้วยังทำให้เราเข้าใจถึงโครงสร้างและกลยุทธิ์ต่างๆได้ดีขึ้นอีกด้วย..(.ถ้าไม่รู้เรื่องพวกนี้ระวังจะคุยกับเทรดเดอร์ท่านอื่นไม่รู้เรื่องนะครับ ^^) ดังนั้นเราไปลุยศึกษาคลังคำศัพท์ขั้นพื้นฐานกันได้เลยครับ

ความหมายของ Lot size คือ

A screen shot of a chart Description automatically generated

รูปที่ 3 รูปภาพตัวอย่างความสัมพันธ์ระหว่าง Lot size ในบัญชีประเภทต่างๆเทียบกับค่า Contact Size

  • Lot size หรือ Lot: คือ หนึ่งในตัวแปรสำคัญในการกำหนดขนาด หรือ ปริมาณการซื้อขายของสินค้าชนิดนั้นๆ โดยจะมีค่าขั้นต่ำอยู่ที่ 0.01 และอาจจะมีมากถึง 100 ในบางโบรกเกอร์ [5]
  • ความสัมพันธ์ของ Contact Size ที่มีผลต่อค่า Lot ในแต่ละบัญชี : Contact Size จะเป็นตัวกำหนดตัวหนึ่งที่จะมีค่าไม่เท่ากันในแต่ละสินทรัพย์ ซึ่งจะเป็นดังตัวกำหนดว่า 1Lot ในแต่ละสินทรัพย์มีค่าเท่าไร ในคู่สกุลเงินหลัก Contact Size จะมีค่าเท่ากับ 100,000 ต่อ Lot สำหรับบัญชี STD (สามารถหาค่า Contact Size ได้จากการกดดู Symbol ภายในโปรแกรม MT4,5) ดังนั้นแล้วในบัญชีอื่นๆจะมีค่า Contact Size แตกต่างกันดังนี้
    • บัญชีประเภท Standard มีค่า 1Lot: 100,000 หน่วย
    • บัญชีประเภท Mini มีค่า 1Lot: 10,000 หน่วย
    • บัญชีประเภท Micro มีค่า 1Lot: 1000 หน่วย
    • บัญชีประเภท Nano มีค่า (cent account) 1Lot: 100 หน่วย

A screenshot of a computer Description automatically generated

รูปที่ 4 รูปภาพตัวอย่างการคำนวน Lot size ผ่านทางโปรแกรมช่วยคำนวนบนเว็บไซต์ของ Exness

  • ตัวอย่างการใช้งาน Lot size เบื้องต้น : โดยปกติแล้วการคำนวนของ Lot size มักจะมีวิธีคิดหลากหลายรูปแบบแต่โดยปกติแล้วเราจะคำนวนโดยเทียบกับระยะทางว่าจำนวนกี่ pip ใน Lot จำนวนใดๆจะมีค่าเป็นเท่าไร เช่น 1 Lot size ของบัญชี STD ของสินทรัพย์ EURUSD เมื่อเคลื่อนที่ 1 pip จะมีค่าเท่ากับ 10 USD เป็นต้นซึ่งจะคำนวนได้จาก
    • สูตร : (หลักทศนิยม ÷ ราคาปัจจุบัน) x (Contact Size x ราคาปัจจุบัน) x Lot
    • คำนวนผ่านทางเครื่องคิดเลขของ Exness : เครื่องคิดเลขการเงิน

ความหมายของ Pip และ Points คือ

  • Pip และ Points: คือ คือหน่วยของราคาใดๆของสินทรัพย์มีหน้าที่คือบอกระบุตำแหน่งของทศนิยมของสกุลเงินใดๆ หน้าที่หลักๆคือใช้หาระยะห่างของราคา จากราคาใดราคาหนึ่งไปยังอีกราคาใดราคาหนึ่ง [6] เป็นต้น ทั้งนี้จะสรุปได้ว่า
    • Pip คือหน่วยตำแหน่งในตำแหน่งทศนิยมนี่ 4 ในกรณีที่มีจุดทศยม 4-5 ตัว และตำแหน่งทศนิยมนี่ 2 ในกรณีที่มีจุดทศยม 2-3 ตัว
    • Point คือหน่วยตำแหน่งในตำแหน่งทศนิยมนี่ 5 ในกรณีที่มีจุดทศยม 4-5 ตัวและตำแหน่งทศนิยมนี่ 3 ในกรณีที่มีจุดทศยม 2-3 ตัว
    • 1 Pip จะมีค่าเท่ากับ 10 Point เสมอ

A close up of a sign Description automatically generated

รูปที่ 5 รูปภาพตัวอย่างการอธิบายตำแหน่งของ Pip และ Point ในคู่สกุลเงิน EURUSD ที่มีจำนวนทศนิยมจำนวน 5 ตำแหน่ง และ USDJPY ที่มีทศนิยมจำนวน 3 ตำแหน่ง

  • ยกตัวอย่างการการหาระยะทางของ EURUSD : 1.00025 ไปยัง EURUSD : 1.00012
    • ให้ทำค่าทั้งสองราคามาลบกัน : 1.00025 – 1.00012 = 0.00013
    • ในหน่วย Point จะได้ระยะทางเท่ากับ : 13 point
    • ในหน่วย Pip จะได้ระยะทางเท่ากับ : 1.3 pip
  • ยกตัวอย่างการการหาระยะทางของ USDJPY : 100.012 ไปยัง USDJPY : 100.025
    • ให้ทำค่าทั้งสองราคามาลบกัน : 100.025 – 1.00012 = 0.013
    • ในหน่วย Point จะได้ระยะทางเท่ากับ : 13 point
    • ในหน่วย Pip จะได้ระยะทางเท่ากับ : 1.3 pip
  • ยกตัวอย่างการการหาระยะทางของ EURUSD : 1.50025 ไปยัง EURUSD : 1.30012
    • ให้ทำค่าทั้งสองราคามาลบกัน : 1.50025 – 1.30012 = 0.20013
    • ในหน่วย Point จะได้ระยะทางเท่ากับ : 20013 point
    • ในหน่วย Pip จะได้ระยะทางเท่ากับ : 2001.3 pip

หมายเหตุ : ตัวเลขสีแดงแสดงถึงค่าในตำแหน่ง Pip และสีน้ำเงินแสดงค่าในตำแหน่ง Point

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าค่า Pip และ Point ในแต่ละสกุลเงินจะมีทศนิยมที่แตกต่างกันเนื่องจากจำนวนทศนิยมของแต่ละคู่สกุลเงินมีจำนวนที่แตกต่างกันไปและยังสอดคล้องกับการกับเรื่องของการหา Lot size อีกด้วยเพราะฉะนั้นการคำนวน Lot size จำเป็นจำต้องมีความรู้เรื่อง Pip และ Point ด้วยนั้นเองดังสูตร (หลักทศนิยม ÷ ราคาปัจจุบัน) x (Contact Size x ราคาปัจจุบัน) x Lot หรือจะคำนวน ผ่านทางเครื่องคิดเลขของ Exness ก็ได้เช่นกัน

ความหมายของ Leverage คือ

A graphic of a money bag and a red arrow Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 6 รูปภาพตัวอย่างการอธิบายความหมายของ Leverage และความสามารในการเพิ่มจำนวนเงินลงที่อยู่ให้สามารถซื้อสินทรัพย์ได้ในราคาที่เพิ่มมากขึ้น

  • Leverage: หรือ เลเวอเรจ แปลตามภาษาไทยหมายถึง “คานงัด” ความสามารถของมันคือพลังในการทวีคูณเข้าไปในเงินลงทุนของเรา นั้นเหมายถึงเราสามารถใช้เงินเพียงเล็กน้อยเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ในราคาที่สูงได้ [7] โดยปกติจะมีให้เลือกในขั้นตอนเปิดบัญชี อยู่ที่ 1:1 จนมากถึง 1:2,000 หรือ ไม่จำกัด ในบางโบรกเกอร์
  • ยกตัวอย่างของของการทำงานเลเวอเรจ: โดยปกติแล้วหากท่านมีเงินจำนวน 100 USD และต้องการซื้อสินค้าในราคา 10,000 USD โดยปกติแล้วจะไม่สามารถซื้อได้เนื่องจากมีเงินไปพอซึ่งในกรณีนี้คือจะมีเลเวอเรจอยู่ที่ 1:1 แต่ถ้าหากโบรกเกอร์สามารถให้ท่านใช้เลเวอเรจ 1:1,000 ได้เท่ากับว่าท่าสามารถซื้อสินค่าได้สูงถึง 100 USD x 1,000 เท่ากับ 100,000 เลยทีเดียว
  • Leverage คือดาบสองคมที่อันตรายในตลาด Forex: ในวงการนี้เราจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า Leverage คือความอันตรายต่อผู้เล่นหน้าใหม่เพราะนอกจากจะสามารถลงทุนได้ด้วยเงินเพียงเล็กน้อยแต่กลับได้ผลตอบแทนที่สูงแต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงที่จะขาดทุนสูงเช่นกัน ดังตัวอย่างต่อไปนี้
    • กรณีซื้อขายถูกทาง: มีทุนอยู่ 1,000 $ ใช้ เลเวอเรจ 1:100 ทำการ Buy ด้วยจำนวน 1 Lot กราฟมีการพุ่งขึ้น 1,000 pip เท่ากับว่าคุณจะได้กำไร 10,000 $
    • กรณีซื้อขายผิดทาง: มีทุนอยู่ 1,000 $ ใช้ เลเวอเรจ 1:100 ทำการ Buy ด้วยจำนวน 1 Lot กราฟมีการพุ่งลง 100 pip เท่ากับว่าคุณจะหมดเงินในบัญชีไปด้วยระยะทางที่สั้นๆ หรือที่เรียกกันว่า ล้างพอร์ต
    • หมายเหตุ : ตัวอย่างดังกล่าวทุกการเคลื่อนที่ 1 Pip จะคิดเป็นเงิน 10$ ต่อ 1 Lot

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าความสำคัญของ Leverage นั้นถือว่าเป็นหนึ่งในความสำคัญต้นๆของการเทรด Forex เลยก็ว่าได้ทั้งนี้ก็จะต้องมีความรู้เรื่องของ Lot size และ Pip เข้ามาประกอบด้วยหากขาดความรู้อย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วนั้นจะกล่าวได้ว่าอาจจะไม่สามารถเข้าใจถึงลักษณะการทำงานของเลเวอเรจเลยก็เป็นได้

ความสำคัญของ Balance / Equity / Margin และ Margin Level

ในหัวข้อนี้จะพูดถึงความสำคัญของ Balance , Equity , Margin และ Margin Level เป็นหลักโดยคำศัพท์ในหัวข้อนี้จะเน้นไปที่คำศัพท์ประเภทเงินลงทุนเป็นหลักโดยหากขาดความเข้าใจตัวใดตัวหนึ่งไปแล้วนั้นจะถือว่าพลาดจุดสำคัญที่สุดไปเลยก็ได้ ดังนั้นเราไปดูความหมายของแต่ละตัวดังนี้ได้เลย

A screenshot of a computer Description automatically generated

รูปที่ 7 รูปภาพตัวอย่างแสดงหน้าต่างสถานะของ Balance / Equity / Margin และ Margin Level บนโปรแกรม Mt5

  • Balance คือ จำนวนยอดเงินสุทธิของเราในปัจจุบัน โดยที่จะเป็นยอดเงินที่ยังไม่ได้หักลบกับ กำไร-ขาดทุน ของออเดอร์ที่เรายังคงค้างไว้อยู่ในระบบ [8]
  • Equity คือ จำนวนยอดเงิน ณ เวลาปัจจุบันที่ได้ทำงานหักลบ กำไร-ขาดทุน ของออเดอร์ที่เรายังคงค้างไว้อยู่ในระบบโดยจะแสดงผลแบบ Real-time ทำให้เราทราบได้ว่า ณ ขณะนี้หากทำการปิดออเดอร์ไปจะทำให้เราเหลือ Balance เท่าไร [9]
  • ในกณีที่ไม่มีออเดอร์ค้างไว้อยู่ Balance จะเท่ากับ Equity เสมอ
  • Margin คือ วงเงินที่ใช้ในการค้ำประกัน มีลักษณะคล้ายคลึงกับ Future ที่เราจะต้องมีการวางเงินค้ำประกันเอาไว้ โดยปกติเวลาเราจะทำการซื้อขายสินทรัพย์ใดๆก็ตาม ทางโบรกเกอร์ก็จะทำการดึงเงินมาค้ำประกันไว้ก่อนและจะคืนให้ตามเดิมเมื่อมีการสิ้นสุดการซื้อขาย ทั้งนี้ยังมีความสัมพัน์กับค่า Leverage และ Lot ดังตัวอย่างต่อไปนี้ [10]
    • สูตรสมการคำนวน: Margin = ราคาสินค้า / Leverage * Lot
    • ยกตัวอย่างการคำนวน Margin: สมมุติมีสินทรัพย์ราคา 100,000 บาท โดยที่เรามีเงินลงทุน 1,000 บาท ดังนั้นเราควรจะใช้ Leverage 1:100 เป็นอย่างต่ำ ในการที่จะสามารถวางเงินค้ำประกันได้ ดังนั้นเมื่อเราแทนค่าสมการสมสูตรด้านบนจะเห็นได้ว่า Margin จะเท่า 100 บาท
    • ยกตัวอย่างความสำคัญของ Margin: เมื่อใดก็ตามหากเรามี Margin ไม่เพียงพอเราก็จะไม่สามารถทำเปิดการซื้อขายในจำนวน Lot มากๆได้เนื่องจากค่า Margin ไม่พอที่จะใช้สำหรับวางค้ำประกัน และ ในกรณีที่เราไม่เหลือ Margin อยู่เลยก็มีโอกาสที่โบรกเกอร์จะทำการปิดออร์เดอร์ทั้งหมดให้อัตโนมัติ หรือ ก็คือการล้างพอร์ตในภาษาไทยเรา
  • Margin level คือ เปอร์เซนต์อัตราส่วนระหว่างค่า Equity และ Margin โดยที่หากมีเปอร์เซนต์ที่ต่ำกว่าค่า Stop out ก็จะมีการหยุดการซื้อขายไปเลยทำให้เราเกิดการล้างพอร์ตเกิดขึ้นได้ (Stop out ของแต่ละโบรกเกอร์จะกำหนดขั้นต่ำต่างกัน) ทั้งนี้เราสามารถเลือกได้ว่าต้องการ Stop out ที่เท่าไรโดยสามารถเลือกได้โดยการศึกษาข้อมูลของโบรกเกอร์และประเภทบัญชีนั้นๆก่อนการลงทุน [11]

ชนิดของคำสั่งซื้อขาย หรือ ออเดอร์

เมื่อเราได้รู้ถึงคำศัพท์ที่เกี่ยวของกับพื้นฐานที่ผ่านมาแล้วนั้น ในหัวข้อต่อไปนี้ก็จะขออธิบายเกี่ยวกับประเภทออเดอร์ต่างๆที่เราสามารถทำการซื้อขายหรือสั่งการได้ผ่านการเทรด Forex ทั้งนี้ผมก็จะขออธิบายโดยนำหน้าต่างของโปรแกรมเทรด MT4 มาอธิบายเป็นหลัก อย่างไรก็ตามแน่นอนว่าเราจะไปทำความรู้จักกับแพลตฟอร์ตสำหรับการเทรดกันในหัวข้อถัดต่อๆไปภายในบทนี้เช่นกัน

A chart with different colored text Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 8 รูปภาพแสดงตัวอย่างของการออกออเดอร์ทั้ง 6 รูปแบบที่จะแสดงให้เห็นถึงข้อแตกต่างได้อย่างชัดเจน

ประเภทของคำสั่งซื้อขายโดยทั่วไปแล้วสำหรับคนที่ทำการเทรดหุ้นมาก่อนคงจะคุ้นชินกับคำว่า Long และ Short มาก่อนแต่ในตลาด Forex หากเราจะทำนายว่าอนาคตจะมีโอกาสที่กราฟจะทำราคาไปในทิศทางขึ้นเราจะเรียกคำสั่งนี้ว่า Buy แทนคำว่า Long และ ในขณะเดียวกันก็จะเรียกหากเราจะทำนายว่าอนาคตจะมีโอกาสที่กราฟจะทำราคาไปในทิศทางลงเราจะเรียกคำสั่งนี้ว่า Sell แทนคำว่า Short ทั้งนี้ยังคงมีประเภทคำสั่งอื่นๆอีกดังนี้ [12]

  • Buy คือ: คำสั่งซื้อ หรือ การทำนายว่ากราฟในอนาคตจะมีทิศทางขาขึ้น หมายถึงเมื่อเราทำการออกคำสั่งจะมีการเข้าออเดอร์ Buy ทันที
  • Sell คือ: คำสั่งขาย หรือ การทำนายว่ากราฟในอนาคตจะมีทิศทางขาลง หมายถึงเมื่อเราทำการออกคำสั่งจะมีการเข้าออเดอร์ Sell ทันที
  • Buy Stop คือ: เป็นคำสั่งซื้อประเภทเพนดิ้งออเดอร์ หรือ ก็คือคำสั่งซื้อล่วงหน้าเมื่อกราฟราคามาถึงจุดหมายที่ต้องการจะออกออเดอร์ Buy ที่จุดนั้นทันที เมื่อคำสั่งนี้จะส่งไว้สูงกว่าราคาปัจจุบัน
  • Sell Stop คือ: เป็นคำสั่งซื้อประเภทเพนดิ้งออเดอร์ หรือ ก็คือคำสั่งขายล่วงหน้าเมื่อกราฟราคามาถึงจุดหมายที่ต้องการจะออกออเดอร์ Sell ที่จุดนั้นทันที เมื่อคำสั่งนี้จะส่งไว้ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน
  • Buy Limit คือ: เป็นคำสั่งซื้อประเภทเพนดิ้งออเดอร์ หรือ ก็คือคำสั่งซื้อล่วงหน้าเมื่อกราฟราคามาถึงจุดหมายที่ต้องการจะออกออเดอร์ Buy ที่จุดนั้นทันทีเมื่อเมื่อคำสั่งนี้จะส่งไว้ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน
  • Sell Limit คือ: เป็นคำสั่งซื้อประเภทเพนดิ้งออเดอร์ หรือ ก็คือคำสั่งขายล่วงหน้าเมื่อกราฟราคามาถึงจุดหมายที่ต้องการจะออกออเดอร์ Sell ที่จุดนั้นทันที เมื่อคำสั่งนี้จะส่งไว้สูงกว่าราคาปัจจุบัน
  • Close order / position คือ: การปิดคำสั่งซื้อขายที่มีการออกออเดอร์ Buy หรือ Sell ไปแล้วซึ่งสามารถทำการปิดด้วยตนเองได้ หรือ จะทำการปิดแบบล่วงหน้าโดยจะมีคำศัพท์แยกมาดังนี้
    • Take profit คือ: การปิดในตำแหน่งการซื้อขายที่ออเดอร์นั้นได้กำไรเมื่อถึงเป้าหมายราคาที่กำหนด
    • Stop loss คือ: การปิดในตำแหน่งการซื้อขายที่ออเดอร์นั้นได้ขาดทุนเมื่อถึงเป้าหมายราคาที่กำหนด

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคำสั่งการซื้อขายเหล่านี้จะเป็นหนึ่งในตัวแปรที่สามารถกำหนดกลยุทธิ์ในการซื้อขายได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมไปถึงยังเป็นหนึ่งในคำศัพท์ที่จำเป็นมากๆในการเข้าใจถึงองค์ประกอบในการเทรดอีกด้วยเพราะในอนาคตเราจะวนเวียนอยู่กับคำศัพท์เหล่านี้อย่างแน่นอน

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Gain และ Drawdown

หนึ่งในคำศัพท์ที่เราไม่สามารถมองข้ามได้เนื่องจากมันสามารถบอกผลลัพธ์ของกลยุทธิ์ในการเทรดของท่านได้อย่างชัดเจน รวมไปถึงเป็นหนึ่งในคำศัพท์ยอดฮิตที่มีกจะใช้คู่กับการสอบกองทุนหรือการประกอบการตัดสินใจผลงานผ่านท่าง Myfxbook ด้วยโดยในหัวข้อนี้จะไม่ได้พูดถึงเรื่องตัวแปรของ Dashboard ของ Myfxbook มากนักเพียงแต่จะขออธิบายในหัวข้อที่สำคัญและพบเห็นได้ทั่วไปดังนี้

A graph on a computer screen Description automatically generated

รูปที่ 9 รูปภาพตัวอย่างแสดงตัวอย่างการแสดงผลของ Gain และ Drawdown บนหน้าต่างของ Myfxbook

  • Gain คือ: (กำไร หรือ ขาดทุน) ทั้งหมดเทียบกับเงินฝากที่ฝากเข้าโดยสำหรับ myfxbook จะมีวิธีการคำนวนแบบ Time-Weight Return (TWR) โดยวัดผลตอบแทนของพอร์ตตั้งแต่ครั้งแรกที่มีการโอนเงินเข้าพอร์ต
    • Abs. Gain: ผลตอบแทน (กำไร ขาดทุน) ที่คำนวณจากเงินฝากทั้งหมด
    • Daily: อัตราผลตอบแทน รายวัน
    • Monthly: อัตราผลตอบแทน รายเดือน

A graph of a graph Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 10 รูปภาพตัวอย่างแสดงตัวอย่างของการเกิด Drawdown ทั้ง 3 ประเภทที่แตกต่างกัน

  • Drawdown: อัตราการขาดทุนแบบสูงสุดหมายถึงจะเป็นการบ่งบอกเปอร์เซนต์ในการขาดทุนว่าตั้งแต่เทรดมาขาดทุนไปแล้วกี่เปอร์เซนต์เมื่อเทียบกับ Balance (ทั้งนี้สูตรในการคำนวนของแต่ละที่จะไม่เหมือนกัน) ทั้งนี้ Drawdown ยังสามารถแบ่งได้อีกหลายประเภทดังนี้ [13]
    • Absolute drawdown คือ คือผลขาดทุนมากที่สุดที่เคยเกิดขึ้นคำนวนจากเงินทุนเริ่มต้นมีสูตร คือ Absolute drawdown = Initial Deposit – Minimum Balance ประโยชน์คือสามารถช่วยให้ท่านดูได้ว่าเงินทุนของท่านนั้นเพียงพอต่อระบบเทรดนั้นๆหรือไม่ (ในกรณีที่ใช้ EA)
    • Maximum Drawdown คือ จุดขาดทุนต่อเนื่องสูงสุด นับจากผลต่างระหว่างจุดสูงสุดและจุดต่ำสุดมีสูตรคือ Maximum Drawdown = Maximum peak – Minimum Equity
    • Relative Drawdown คือ การขาดทุนต่อเนื่องสูงสุดจะโดยจะบ่งบอกว่ากลยุทธิ์ที่เราใช้เทรดนั้นเคยมีการ SL ติดต่อกันจนขาดทุนเป็นเท่าไรโดยที่จะมีสูตรคือRelative drawdown = (Maximum Drawdown

/ Maximum peak) x 100

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทั้ง Gian และ Drawdown คือหนังในตัวแปรที่สำคัญที่จะสามารถบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของกลยุทธิ์ของตนเองได้ โดยเหตุนี้เราจึงสามารถนำตัวแปรเหล่านี้ไปวัดความสามารถในการเทรดของตนเองและการเทรดของคนอื่นได้ด้วยเช่นกัน อีกทั้งยังสามารถนำไปรวมกับการ Money Management ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

องค์ประกอบสำคัญของแท่งเทียน หรือ Candlestick Chart

ต้องยอมรับอย่างหนึ่งครับว่าไม่ว่าจะเป็นการเทรดในตลาดไหนก็ตามหรือไปเทรดบนแพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน ณ บนกระดานกราฟจะสังเกตได้ว่าร้อยละ 90% ส่วนใหญ่ของคนไทยจะใช้รูปแบบเป็นแบบกราฟแท่งเทียนเป็นหลัก เหตุเพราะว่าการใช้งานกราฟในรูปแบบนี้สามารถทำให้เรามองเห็นภาพรวมได้อย่างชัดเจน..ไม่ว่าจะเป็นราคา เปิด/ปิด หรือ สูง/ต่ำ ก็ง่ายต่อการมองเห็นอย่างยิ่ง [14]

A chart with text and arrows Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 11 รูปภาพตัวอย่างแสดงตัวอย่างองค์ประกอบสำคัญของแท่งเทียน หรือ Candlestick Chart ของทั้งสองแท่งเทียนที่จะประกอบไปด้วย ราคาเปิด ราคาปิด ราคาสูง และ ราคาต่ำ

ทั้งนี้ยังรวมไปถึงการที่สามารถระบุได้ว่าแท่งเทียนไหนเป็น Bullish หรือ Bearish จึงทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับกลยุทธิ์ในการเทรดได้หลากหลายรูปแบบด้วยกันไม่ว่าจะเป็น Dow theory, Elliott wave, Fibonacci, และพวก Price action หรือ Candlestick pattern เป็นต้น โดยพื้นฐานของแท่งเทียนจะมีเนื้อหาดังต่อไปนี้

  • องค์ประกอบของกราฟแท่งเทียน
    1. ราคาเปิด (Open price)
    2. ราคาปิด (Close price)
    3. ราคาสูงสุด (Highest price)
    4. ราคาต่ำสุด (Lowest price)
    5. เนื้อเทียน (Body) หรือ ตัวเทียน คือช่วงระยะระหว่าง ราคาเปิด กับ ราคาปิด
    6. ไส้เทียน (Wick) คือช่วงระหว่างราคา ต่ำสุด หรือ สูงสุด จนถึงขอบเนื้อเทียน
  • การเกิดกราฟแท่งเทียน Bullish (แท่งสีเขียว): เกิดจากการที่มี ราคาปิด มากกว่า ราคาเปิด แสดงให้เห็นว่าราคาในขณะนั้นมีแรงซื้อมากกว่าแรงขายทำให้ราคามีการปรับตัวขึ้น
  • การเกิดกราฟแท่งเทียน Bearish (แท่งสีแดง):เกิดจากการที่มี ราคาปิด น้อยกว่า ราคาเปิด แสดงให้เห็นว่าราคาในขณะนั้นมีแรงขายมากกว่าแรงซื้อทำให้ราคามีการปรับตัวลง
  • ทำความเข้าใจกราฟแท่งเทียนในแต่ละ Timeframe: จากพื้นฐาน Timeframe ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญเนื่องจากกราฟแท่งเทียนแต่ละ Timeframe นั้นไม่เหมือนกัน เหตุเพราะว่า เวลาในการเปิดปิดของแท่งเทียนนั้นแต่งต่างกัน เช่น ใน TF 5 นาที แท่งเทียนจะเกิดขึ้นเพียง 1 แท่ง ในขณะเดียวกัน ใน TF 1 นาที จะมีการเกิดแท่งเทียน 5 แท่งในระยะเวลา 5 นาทีเท่าๆกัน เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่ารายละเอียดของกราฟแท่งเทียนนั้นถือได้ว่าตอบโจทย์ได้ในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรืองที่สามารถพิจารณาราคาของ ณ เวลาใดๆได้อย่างละเอียด รวมไปถึงยังสามารถสังเกตราคาที่เกิดขึ้นแต่ละชนิดได้อย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับกราฟประเภทอื่นๆ ทั้งนี้ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งในพื้นฐานสำคัญที่ต้องรู้ก่อนที่จะเข้าสู่การเทรดในกลยุทธิ์ต่างๆอีกด้วย

คู่เงินหลัก และ คู่เงินรองในตลาด Forex

จากที่กล่าวกันไปในหัวข้อต้นๆว่าในตลาด Forex นั้นเป็นการเทรดกับสัญญาซื้อขายส่วนต่าง CFDs โดยมีสินทรัพย์หลักคือคู่สกุลเงิน แต่บนโลกใบนี้มีสกุลเงินเกิดขึ้นมากมาย จึงเกิดเป็นคำถามว่า “แล้วเขาเทรดสกุลเงินไหนกันบ้างนะ?” ผมจึงขอตอบว่าแท้จริงแล้วในตลาด Forex ก็มีทั้งคู่เงินหลัก และ คู่เงินรอง โดยจะมีรายละเอียดดังหัวข้อต่อไปนี้ [15]

A table with different foreign languages Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 12 รูปภาพตัวอย่างคู่เงินหลัก และ คู่เงินรองในตลาด Forex

  • คู่เงินหลัก หรือ Major currency pair คือ: คู่เงินหลัก หรือ Major fx เป็นคู่สกุลเงินที่ได้รับความนิยมในการเทรดเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมากจากเป็นคู่สกุลเงินที่มีสภาพคล่องที่สูงและยังเป็นสกุลเงินหลักที่มีคนใช้งานแพร่หลายทั่วโลกรวมไปถึงยังมีความมั่นคงและแข็งแรงอีกด้วย ซึ่งสามารถสังเกตได้ง่ายๆมักจะมีคำว่า USD ประกอบด้วยเช่น
    • EUR/USD หรือ Euro zone / United States
    • GBP/USD หรือ Great British Pound / United States
    • AUS/USD หรือ Australia / United States
    • NZD/USD หรือ New Zealand / United States
    • USD/JPY หรือ United States / Japan
    • USD/CHF หรือ United States / Switzerland
  • คู่เงินรอง หรือ Minor currency pair คือ: คู่เงินรอง หรือ Minor fx เป็นคู่เงินที่มีคนนิยมในการใช้เทรดรองลงมาจาก คู่เงินหลัก ซึ่งแน่นอนว่าจะมีสภาพคล่องที่น้อยกว่าแต่ในทางกลับกันก็มีความผันผวนที่มากกว่าเช่นกัน สังเกตได้ง่ายๆมักจะมี ไม่มี คำว่า USD ประกอบ เช่น EUR/GBP, EUR/JPY, GBP/JPY เป็นต้น
  • คู่เงินนอกกระแส หรือ Exotic currency pair : เป็นคู่เงินที่มักจะเพิ่งมีการเกิดใหม่ขึ้นความน่าเชื่อถือค่อนข้างน้อย และมักจะไม่มีผวนต่ำและสภาพคล่องที่ต่ำเช่นกัน จึงไม่เป็นที่นิยมในการเทรด

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ละสินทรัพย์ในการเทรดจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไปไม่ว่าจะเป็นความผันผวนหรือสภาพคล่องก็ต่างเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญกับกลยุทธิ์ในการเทรดทั้ง นั้นหมายความสำหรับการท่านใดที่ชอบเทรดกราฟเป็นเภทที่เน้นเทรดเป็นเทรนด์เป็นหลักก็คงไม่พ้นต้องเลือกคู่เงินที่มีความผันผวนสูงๆ เป็นต้น

แพลตฟอร์มสำคัญที่ใช้ในการเทรด Forex และวิธีการใช้งาน

ก่อนที่จะไปเริ่มต้นการเทรดอย่างจริงจังเราต้องไปทำความรู้จักเกี่ยวกับเครื่องมือหรือแพลตฟอร์มที่ใช้ในการเทรด Forex เสียก่อนโดยปัจจุบันนี้เราสามารถเลือกเทรดได้ค่อนข้างอิสระในหลายๆโบรกเกอร์ก็มักจะมีแพลตฟอร์มที่รองรับแตกต่างกันไปดังนั้นในบทนี้จึงจะเสนอเพียงแพลตฟอร์มที่มีความนิยม 4 แพลตฟอร์มดังต่อไปนี้

A computer and tablet with a graph on it Description automatically generated

รูปที่ 13 รูปภาพแสดงตัวอย่างหน้าตาของ Metatrader 5 หรือ MT5

  • Metatrader4/5 หรือ MT4/5: ในปัจจุบันโบรกเกอร์ส่วนใหญ่โดยพื้นฐานจะรองรับ Metatrader เป็นหลักโดยเฉพาะ Metatrader 4 และในปัจจุบันแม้แต่ในประเทศเราเองยังถือว่ามีผู้คนใช้งานอย่างแพร่หลายเลยที่เดียวอีกทั้งยังสามารถและดาวห์โหลดมาติดตั้งได้ง่ายผ่านโบรกเกอร์ที่ทำการสมัครชิกไว้ได้ด้วยซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียดังนี้
    • ข้อดีของ Metatrader4/5
      • ทุกโบรกเกอร์มีบริการ Metatrader4/5
      • มีให้บริการทั้งใน PC และ Smartphone
      • ใช้งานค่อนข้างง่าย
      • รองรับอินดิเคเตอร์พื้นฐานจำนวนมาก
      • เป็นแพลตฟอร์มที่ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายในการใช้งาน
      • รองรับการทำงานของ EA หรือ โรบอทเทรด
      • เปิดโอกาสให้สามารถนำเข้า Indy หรือ EA ได้ฟรี
      • ใช้ภาษา MQL4/5 ในการพัฒนา
    • ข้อเสียของ Metatrader4/5
      • ความสามารถในการวาดเขียนบนหน้าต่างมีสีสันด้อยกว่าแพลตฟอร์มอื่น
      • ใน Metatrader 5 ใช้ทรัพยพากรณที่มากกว่า Metatrader 4
      • มีความสวยงามด้อยกว่าแพลตฟอร์มอื่นๆเล็กน้อยและมีข้อจำกัดในการปรับแต่งที่จำกัด
      • ไม่สามารถทำการ Copytrade ได้โดยตรงแต่จะต้องทำผ่านตัวกลาง เช่น โบรกเกอร์ หรือ EA เป็นต้น

A computer on a table Description automatically generated

รูปที่ 14 รูปภาพตัวอย่างแสดงตัวอย่างหน้าตาของ cTrader

  • cTrader: เป็นแพลตฟอร์มหนึ่งที่โบรกเกอร์ส่วนใหญ่มักจะรองรับเพียงแต่จะมีน้อยกว่า Metatrader4/5 เหตุอาจจะเป็นเพราะว่าเป็นแพลตฟอร์มที่มาทีหลัง Metatrader4 โดยจะพัฒนาขึ้นโดย Spotware ในช่วงเวลาที่ใกล้เคียงกับ Metatrader 5 ซึ่งจะมีข้อดีข้อเสียดังนี้
    • ข้อดีของ cTrader
      • หน้าต่างใช้งานค่อนข้างง่าย
      • มีระบบ Copytrade โดยตรงไม่ต้องผ่านตัวกลางใดๆ
      • สามารถใช้งาน EA ได้
      • ใช้ภาษา C# API ในการพัฒนา
    • ข้อเสียของ cTrader
      • มีผู้ใช้งานน้อยกว่า Metatrader4/5 ค่อนข้างมาก
      • เนื่องจากในไทยมีผู้ใช้งานน้อยจึงไม่ค่อยมีคอนเทนส์อะไรแนะนำออกมา
      • EA ส่วนใหญ่มักจะถูกเขียนขึ้นโดยภาษา MQL4/5 มากกว่า C# API
      • มีเพียงบางโบรกเกอร์เท่านั้นที่แนะนำให้ใช้ cTrader

A computer with a graph on it Description automatically generated

รูปที่ 15 รูปภาพแสดงตัวอย่างหน้าตาของ Ninja Trader

  • Ninja Trader: นินจาเทรดเดอร์เป็นอีกหนึ่งแพลตฟอร์มที่ถึงแม้จะไม่ได้ได้รับความนิยมเทียบเท่า MT4/5 แต่กลับสร้างความโดดเด่นผ่านทางข้อมูลของ Volume (ปริมาณการซื้อขาย) ที่เป็นจุดขายของแพลตฟอร์มนี้เลยทีเดียวผ่านทางอินดิเคเตอร์อย่าง Volume profile แต่ทั้งนี้เนื่องจากไม่ได้เป็นที่นิยมมากนักจึงคิดว่ารู้พอหอมปากหอมคอคงเพียงพอแล้ว

A computer with a screen showing a graph Description automatically generated

รูปที่ 16 รูปภาพแสดงตัวอย่างหน้าตาของ Tradingview

  • Tradingview: เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่ถือว่าเป็นคู่แข่งตลอดกาลของ Metatrader เลยทีเดียวเหตุผลเพราะมีเป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากเป็นเครื่องมือที่สามารถใช้งานได้ง่ายรวมไปถึง User interface ทำออกมาได้แบบมีสีสันที่สวยงามพร้อมกับ Feature ต่าง ๆที่หลากหลาย…
    นอกจากนี้ Tradingview ที่เป็นแพลตฟอร์มที่คนกลุ่มที่ใช้งาน Forex จะใช้สำหรับการวิเคราห์กันแล้วยังมีกลุ่มนักเทรดประเภทอื่นๆร่วมใช้อีกจำนวนมากไม่ว่าจะเป็นเทรดเดอร์ของตลาดหุ้น หรือ แม้แต่เทรดเดอร์ Cryptocurrency เองก็ด้วยเช่นกันจึงทำให้ Tradingview เป็นอีกแพลตฟอร์มที่ได้รับความนิยมสูง

    • ข้อดีของ Tradingview
      • User interface มีสีสันสวยงามและใช้งานได้ง่าย
      • มี Indicator ให้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
      • ใช้ภาษา Pine Script ในการพัฒนาโปรแกรมเป็นหลัก
      • เหมาะสำหรับนักวิเคราห์ทุกรูปแบบ
      • มี Feature หลากหลายรูปแบบ
      • มีจุดขายด้านอินดิเตอร์ Volume profile ที่สามารถบ่งบอกปริมาณการซื้อขายได้อย่างแม่นยำ
      • รองรับทั้ง PC และ Smartphone รวมไปถึงสามารถใช้งานบน Website ได้อีกด้วย
    • ข้อเสียของ Tradingview
      • สำหรับบัญชีฟรีใช้งานได้ไม่เต็มรูปแบบ เช่น Backtest ไม่ได้หรือจำกัดจำนวนการใช้งาน Indicator เป็นต้น
      • มีค่าใช้จ่ายสูงในบัญชีที่ต้องการใช้งานในรูปแบบเต็ม
      • มีโบรกเกอร์น้อยรายที่สามารถซื้อขายผ่าน Tradingview ได้โดยตรง ดังนั้นบางโบรกเกอร์ยังจำเป็นจะต้องซื้อขายผ่าน MT4/5
      • บางอินดิเคเตอร์จำเป็นต้องใช้งานในบัญชีที่เสียเงินเช่น อินดิเตอร์ Volume profile เป็นต้น
      • ไม่สามารถใช้งาน EA หรือ Indy ที่พัฒนามาจากภาษา MQL4/5 ได้

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแต่ละแต่ละแพลตฟอร์มก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความพึงพอใจที่จะใช้งาน บางคนอาจจะถนัดในด้านการวิเคราห์เป็นหลักจึงใช้งานบน Tradingview และออกคำสั่งซื้อขายผ่านทาง MT4/5 ก็สามารถทำได้ หรือ บางท่านเทรดโดยการใช้งาน EA หรือ โรบอทเทรดก็เลือกในการเทรดผ่าน MT4/5 เป็นหลักก็ไม่ผิดกติการแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นควรที่จะเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมกับกลยุทธิ์ในการเทรดของตนเองเป็นหลักถึงจะดีที่สุด

รวมเทคนิคขั้นพื้นฐานที่ควรรู้ก่อนเริ่มต้นการเทรด Forex

ในหัวหัวข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งในหัวข้อสำคัญมากอีกหัวข้อหนึ่ง เพราะเป็นหนึ่งในพื้นฐานที่ควรจะมีก่อนจะทำการเข้าสู่วงการเทรดเดอร์ แต่ถึงอย่างนั้นสำหรับใครที่เป็นมือใหม่แอบข้ามหัวข้อย่อยที่ผ่านๆมาแนะนำให้เลื่อนขึ้นกลับไปอ่านอีกสักเล็กน้อยนะครับ เนื่องจากในหัวข้อนี้เราจะพูดถึงคำศัพท์ต่างๆและองค์ประกอบที่ได้ทำการอธิบายมาก่อนหน้าทั้งหมดหากขาดความรู้ในหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งไปแล้วนั้นก็อาจจะทำให้ท่านไม่สามารถเข้าใจภาพรวมได้ทั้งหมดนั่นเองครับ

โดยสิ่งที่จะสอนต่อไปนี้ก็จะพูดถึงกลยุทธิ์หลักๆที่ผู้เขียนได้เล็งเห็นแล้วว่าเป็นกลยุทธ์ที่เทรดเดอร์จำเป็นจะต้องรู้และถึงแม้จะมีเนื้อหาไม่ได้เข็มข้นมากแต่รับรองได้เลยว่าท่านจะสามารถนำกลยุทธิ์ไปต่อยอดเชิงลึกและผสมผสานกันได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นเราไปเริ่มที่ความรู้ประเด็นแรกกันเลยครับ

ทำความรู้จักกับ Trend (เทรน) หรือ พฤติกรรมของกราฟในตลาด Forex

พื้นฐานสำคัญของการเทรดใน Forex คือต้องตอบให้ได้ว่ากราฟที่เกิดขึ้นกับคู่เงินในปัจจุบันเป็นกราฟที่บ่งบอกถึงสภาวะเทรนแบบใด [16] หรือ อีกความหมายคือ คือแนวโน้มของราคา ณ ตอนนี้ เป็นแบบใด และนั่นจึงเป็นเป้าหมายแรกๆในการเทรดบนตลาดฟอเร๊กซ์ เพราะหากเราสามารถระบุเทรนได้อย่างแม่นยำแล้วเราจะสามารถใช้พิจาณาในการออกออเดอร์ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ดังนั้นในตลาด Forex จะประกอบไปด้วยเทรนสามรูปแบบดังต่อไปนี้

A graph with arrows and lines Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 17 รูปภาพตัวอย่างแสดงตัวอย่างการเกิดเทรนทั้ง 3 ประเภท

  • Trend (เทรน) คือ แนวโน้มของราคาที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลาใดๆ แบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักๆดังต่อไปนี้
    • Up-Trend (เทรนขาขึ้น) คือ เทรนสภาวะ หรือ Pattern ที่มีรูปแบบของกราฟมีแนวโน้วที่มีทิศทางไปทางด้านบน หรือ ก็คือมีการสร้างราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ สามารถสังเกตได้จากการตีแนวรับแนวต้านเป็นพื้นฐาน หรือ ดูจาก Swing ของราคาดังนี้
      • มีการทำ Higher High หรือ ราคาจุดสูงสุดก่อนหน้ามีการทำราคาขึ้นไป
      • มีการทำ Higher Low หรือ ราคาต่ำสุดก่อนหน้ามีการทำราคาขึ้นไป
    • Down-Trend (เทรนขาลง) คือ เทรนสภาวะ หรือ Pattern ที่มีรูปแบบของกราฟมีแนวโน้วที่มีทิศทางไปทางด้านล่าง หรือ ก็คือมีการสร้างราคาที่ต่ำลงเรื่อยๆ สามารถสังเกตได้จากการตีแนวรับแนวต้านเป็นพื้นฐานเช่นกัน
      • มีการทำ Lower High หรือ ราคาจุดสูงสุดก่อนหน้ามีการทำราคาลงมา
      • มีการทำ Lower Low หรือ ราคาจุดต่ำสุดก่อนหน้ามีการทำราคาลงมา
    • Sideways (ไซต์เวย์) คือ เทรนที่มีลักษณะที่มีการทำราคาที่ไม่คงที่ หรือ ไม่เลือกทำราคาให้สูงขึ้นเรื่อยๆหรือต่ำลงเรื่อยๆ โดยปกติจะขึ้นๆลงๆต่างกันไม่มากนักและมักจะมี Volume และความผันผวนที่ต่ำจึงสามารถตีแนวรับแนวนอนได้เป็นแนวนอนมีกรอบที่แคบ
      • ในแต่ละสวิงของราคาจุดต่ำสุด หรือ จุดสูงสุด จะมีการทำราคาใกล้เคียงกันเสมอ
      • มักจะสามารถตีกรอบเป็นรูปสี่เหลี่ยมได้

หมายเหตุ : จะสอนวิธีการตีแนวรับแนวต้านในหัวข้อถัดไป

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในสภาวะของตลาดนั้นจะมีการปรากฎของ Pattern ที่แตกต่างกันออกไปดังนั้นหากเราสามารถรู้ว่าเทรนด์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่นั้นเกิดในลักษณะใดเราก็จะสามารถคาดการณ์ราคาที่สามารถจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ว่ามีโอกาสที่จะทำราคาไปใดทิศทางใด…แต่ๆๆๆ นั้นไม่ได้หมายความว่าราคานั้นจะสามารถทำราคาตามเทรนด์ได้เสมอไป ในหลายครั้งก็มีโอกาสทำราคากลับตัวเปลี่ยนไปอีกเทรนด์ได้เลยเช่นกัน ดังตัวอย่างพื้นฐานหัวข้อ แนวรับแนวต้าน ต่อไปนี้

พื้นฐานการหาแนวรับแนวต้าน Support & Resistance

การหาแนวรับแนวต้านนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่เบสิคสุดๆที่เทรดเดอร์ทุกท่านจำเป็นต้องมี เหตุเพราะว่าการหาแนวรับแนวต้าน [17] ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีหลักที่จะเข้ามาช่วยในการหาเทรนที่เกิดขึ้นในตลาดได้อย่างแม่นยำ อีกทั้งยังสามารถที่จะบอกจุดที่กราฟ อาจจะมีการกลับตัวหรือจุดเปลี่ยนเทรนที่จะเกิดในอนาคตได้อีกด้วยซึ่งเราจะมีวิธีการตีง่ายๆดังนี้

A graph on a screen Description automatically generated

รูปที่ 18 รูปภาพตัวอย่างการหาแนวรับแนวต้าน Support & Resistance

  • แนวรับ หรือ Support คือ เป็นเส้นแนวนอนที่จะอยู่บริเวณใต้กราฟแท่งเทียนเป็นหลัก ลักษณะในการใช้งานทั่วไปคือเป็นแนวที่ราคามักจะวิ่งลงมาชนและไม่สามารถทะลุลงต่อไปได้ โดยปกติเส้นนี้มักจะมีจุดที่ราคาวิ่งลงมาแตะและเด้งขึ้นไปมากกว่า 2-3 จุดขึ้นไป ซึ่งจะมีหลักการหาง่ายๆดังนี้
    • มองหาจุดต่ำสุดของราคา หรือ Swing Low : คือให้ทำการมองหาจุดที่ราคาวิ่งจากด้านบนลงมาด้านล่างและทำการเด้งกลับขึ้นไป อย่างน้อย 2-3 จุดขึ้นไป
    • ทำการลากเส้นตามแนว จุดต่ำสุด ที่ได้มองไว้ : ในการลากเส้นนี้จะให้ทำการลากเส้นผ่านจุดต่ำสุดที่เรามองไว้ โดยปกติจะถามีลักษณะในแนวทแยงหรือเฉียงจะเป็นการบ่งบองถึงลักษณะ Up/Down Trend ในขณะเดียวกันหากเป็นเส้นแนวนอนแบบ 180 องศาจะเป็นการบ่งบองถึงลักษณะ Side Way
    • เทคนิคพิเศษ : มักจะมีการตีเส้นผ่าน Lower Low มากกว่า 2 จุดขึ้นไปในกรณีตีแนวรับในเทรนด์ขาลงและใช้เส้นเดียวกันนี้คัดลอกไปวางตำแหน่ง Lower High
  • แนวต้านหรือ Resistance คือ เป็นเส้นแนวนอนที่จะอยู่บริเวณบนกราฟแท่งเทียนเป็นหลัก ลักษณะในการใช้งานทั่วไปคือเป็นแนวที่ราคามักจะวิ่งขึ้นมาชนและไม่สามารถทะลุลงต่อไปได้ โดยปกติเส้นนี้มักจะมีจุดที่ราคาวิ่งขึ้นมาแตะและเด้งลงไปมากกว่า 2-3 จุดขึ้นไป ซึ่งจะมีหลักการหาง่ายๆดังนี้
    • มองหาจุดสูงสุดของราคา หรือ Swing High : คือให้ทำการมองหาจุดที่ราคาวิ่งจากด้านล่างขึ้นมาด้านบนและทำการเด้งกลับลงไป อย่างน้อย 2-3 จุดขึ้นไป
    • ทำการลากเส้นตามแนว จุดต่ำสุด ที่ได้มองไว้ : ในการลากเส้นนี้จะให้ทำการลากเส้นผ่านจุดต่ำสุดที่เรามองไว้ โดยปกติจะถามีลักษณะในแนวทแยงหรือเฉียงจะเป็นการบ่งบองถึงลักษณะ Up/Down Trend ในขณะเดียวกันหากเป็นเส้นแนวนอนแบบ 180 องศาจะเป็นการบ่งบองถึงลักษณะ Side Way
    • เทคนิคพิเศษ : : มักจะมีการตีเส้นผ่าน Higher high มากกว่า 2 จุดขึ้นไปในกรณีตีแนวต้านในเทรนด์ขาขึ้นและและใช้เส้นเดียวกันนี้คัดลอกไปวางตำแหน่ง Higher Low

A graph of a stock market Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 19 รูปภาพตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของเส้น แนวรับกลายเป็นแนวต้าน

  • แนวรับและแนวต้านสามารถเปลี่ยนสถานะระหว่างกันได้ : อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้น Support & Resistance สามารถเปลี่ยนแปลงกันได้ เช่น แนวต้านเดิมกลายเป็นแรวรับใหม่ หรือ แนวรับใหม่กลายเป็นแนวต้านเดิม และจะพบเห็นในกรณีที่มีการทำราคาทะลุเส้นแนวรับหรือแนวต้านออกไป จนราคา ณ ขณะนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเทรนด์เดิมแต่ก็ยังคงทำราคามาชนเส้นนั้นๆและเด้งต่อไป
  • การหาแนวรับแนวต้านสามารถหาได้จากวิธีอื่นๆอีก : อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าการตีแนวรับแนวต้านถือว่าเป็นพื้นฐานเบสิค แต่ทั้งนี้การหาแนวรับแนวต้านในความเป็นจริงนั้นยังคนมีวิธีการอีกหลากหลายไม่ว่าจะเป็นการใช้เทคนิคการตีเส้น Fibonacci Retracement เพื่อหาจุดราคาเหมาะสมหรือว่าจะเป็นการใช้อินดิเคเตอร์อย่างเช่น Moving Average ที่นอกจากจะใช้เป็นแนวรับต้านไปในตัวได้แล้วยังประยุกต์ใช้ในการระบุเทรนด์ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

A graph with green and red lines Description automatically generated

รูปที่ 20 รูปภาพตัวอย่างการเกิด Break of Structure และ Change of Character

  • จะรู้ได้อย่างไรว่าเทรนด์นั้นจะไปต่อหรือพอแค่นี้? : จากเนื้อหาข้างต้นนั้นจะเห็นได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่กราฟมีราคาหลุดออกจากโซนแนวรับหรือแนวต้านไปแล้วนั้นก็อาจจะหมายความว่ามีโอกาสที่เทรนนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลง แต่ทั้งนี้ยังสามารถสังเกตได้อีกสองประเด็นและเป็นคำศัพท์ที่ควรรู้อีก 2 เรื่องคือ
    • BOS หรือ Break of Structure: หรือก็คือการที่เทรนทำราคาไปในทิศทางเดิมและมีการทำราคาสวิงที่สูงกว่าเดิมในเทรนด์ขาขึ้น หรือ ทำราคาต่ำกว่าเดิมในเทรนด์ขาลง ซึ่งจะเป็นการยืนยันว่า ณ ขณะนั้น เทรนด์ยังสามาถมีโอกาสทำราคาไปในทิศทางเดิมได้มากกว่าการกลับตัว
    • Choch หรือ Change of Character: หรือก็คือการที่ราคาไม่สามารถสร้างราคาสวิงที่สูงกว่าเดิมได้ในเทรนด์ขาขึ้น หรือ ต่ำกว่าเดิมได้ในเทรนด์ขาลง จึงทำให้มีโอกาสที่เทรนจะมีการกลับตัวได้สูง

จากพื้นฐานที่ได้กล่าวไปด้านบนจะเป็นพื้นฐานหลักในการมองหาได้ทั้งจุดกลับตัวอีกทั้งสามารถระบุเทรนที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อีกด้วยจึงทำให้เราสามารถคาดการ์ณในสิ่งที่จะเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี โดยประโยชน์จะเห็นได้ว่าเมื่อใดก็ตามที่มีเราทำการตีเส้นแนวรับและแนวต้านเป็นขาขึ้นเมื่อไรนั้นหมายถึงท่านจะต้องระวังเป็นอย่างมากในการออกออเดอร์ประ Short หรือ Sell เป็นต้น

…. แต่อย่างไรก็ตามการตีแนวต้านนั้นไม่สามารถบอกอนาคตได้อย่างชัดเจนดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้อย่างอื่นประกอบด้วยดังหัวข้อ รูปแบบกราฟแท่งเทียน Price Action ดังต่อไปนี้

การมองหารูปแบบกราฟแท่งเทียน Price Action

ในหัวข้อนี้จะเป็นเรื่องที่ต่อยอดจากหัวข้อองค์ประกอบสำคัญของแท่งเทียนเป็นหลัก ซึ่งจะให้ข้อมูลของรูปแบบกราฟแท่งเทียนมาพิจาณาเพื่อหาทิศทางราคาในอนาคต โดยเรามักจะมองรูปแบบเหล่านี้เป็น Pattern ซึ่งที่ผ่านๆมานักวิเคราห์ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆมาแล้วว่าเมื่อใดที่กราฟ แท่งเทียนมีรูปแบบประเภทนี้ ก็มักจะมีโอกาสที่จะทำราคาในทิศทางใดๆต่อไปได้ในอนาคต

…แต่เนื่องจาก Price Action [18] นั้นมีเนื้อหาและ Pattern เป็นจำนวนมากเราจึงเลือก Price Action มาเฉพาะตัวที่คิดว่าพบเจอได้บ่อยแม่นยำและใช้ง่ายเป็นจำนวน 5 ตัวดังต่อไปนี้

A chart of candlesticks and candles Description automatically generated

รูปที่ 21 รูปภาพตัวอย่างการเกิด Price Action ยอดนิยมทั้ง 5 รูปแบบซึ่งประกอบไปด้วย Harami / Star / Doji Star / Engulfing และ Inverted Hammer & Shooting Star

  • Harami คือ สามารถแบ่งได้เป็น 2 คือ
    • Bullish Harami คือ แท่งแรก มีสีแดงและลำตัวยาวและจะต้องมีราคาปิดทีอยู่ใกล้บริเวณราคาต่ำสุดของแนวโน้มขาลง ซึ่งแท่งถัดมาจะต้องมีสีเขียวและลำตัวสั้นอยู่ระหว่างลำตัวของแท่งเทียนแรก
    • Bearish Harami คือ แท่งแรก มีสีเขียวและลำตัวยาวและจะต้องมีราคาปิดทีอยู่ใกล้บริเวณราคาสูงสุดของแนวโน้มขาขึ้น ซึ่งแท่งถัดมาจะต้องมีสีแดงและลำตัวสั้นอยู่ระหว่างลำตัวของแท่งเทียนแรก
  • Star คือ หนึ่งในรูปแบบที่มีความนิยมใช้ในการหาจุดกลับตัวอีกหนึ่งตัวแบ่งออกเป็น Morning Star และ Evening Star ซึ่งจะเป็นเปรียบเทียบกันของแท่งเทียน 3 แท่ง โดยที่จะมีรายละเอียดดังนี้
    • Morning Star คือ แท่งแรกจะต้องมีสีแดงและลำตัวยาวโดยแท่งต่อมานั้นจะต้องมีลำตัวที่สั้นสีใดก็ได้แต่ ราคาเปิดและปิดต้องอยู่ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนแรกเสมอ โดยแท่งสุดท้ายจะต้องมีสีเขียวและลำตัวยาว ราคาเปิดสูงกว่าราคาปิดหรือเปิดของแท่งเทียนที่สอง(ขึ้นอยู่กับสีของแท่งที่สอง)
    • Evening Star คือ แท่งแรกจะต้องมีสีเขียวและลำตัวยาวโดยแท่งต่อมานั้นจะต้องมีลำตัวที่สั้นสีใดก็ได้แต่ ราคาเปิดและปิดต้องอยู่สูงกว่าราคาปิดของแท่งเทียนแรกเสมอ โดยแท่งสุดท้ายจะต้องมีสีแดงและลำตัวยาว ราคาเปิดสูงกว่าราคาปิดหรือเปิดของแท่งเทียนที่สอง (ขึ้นอยู่กับสีของแท่งที่ สอง)
  • Doji Star คือ อีกหนึ่งในรูปแบบที่บ่งบอกถึงจุดกลับตัวได้ค่อนของแม่นยำและมีหลักษณะการใช้งานแบบเดียวกับ Star เพียงแต่แท่งเทียนแท่งที่ 2 จะมีลักษณะเป็นรูปบวก โดยจะมีลักษณะการใช้งานดังนี้
    • Morning Doji Star คือ แท่งแรกมีสีแดงและลำตัวยาวโดยแท่งถัดมาจะมีลักษณะเป็น Doji ลำตัวสั้น (เป็นกราฟเหมือนเครื่องหมายบวก +) ราคาสูงสุดจะอยู่ต่ำกว่าราคาปิดของแท่งเทียนแรก โดยแท่งสุดท้ายจะต้องเป็นแท่งสีเขียวและลำตัวยาวราคาเปิดต้องอยู่สูงกว่าราคาสูงสุดของแท่งเทียนที่สอง และ ราคาปิดสูงกว่าครึ่งหนึ่งของลำตัวแท่งเทียนที่หนึ่ง
    • Evening Doji Star คือ แท่งแรกมีสีเขียวและลำตัวยาวโดยแท่งถัดมาจะมีลักษณะเป็น Doji ลำตัวสั้น (เป็นกราฟเหมือนเครื่องหมายบวก +) ราคาต่ำสุดจะอยู่สูงกว่าราคาปิดของแท่งเทียนแรก โดยแท่งสุดท้ายจะต้องเป็นแท่งสีแดงและลำตัวยาวราคาเปิดต้องอยู่ต่ำกว่าราคาต่ำสุดของแท่งเทียนที่สอง และ ราคาปิดต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของลำตัวแท่งเทียนที่หนึ่ง
  • Engulfing คือ หนึ่งในรูปแบบที่นิยมและหากดูผิวเผินจะพบว่ามีลักษณะการใช้งานคล้ายกับ Harami เพียงแต่จะสลับตำแหน่งกันโดยจะมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
    • Bullish Engulfing คือแท่งแรกจะมีสีแดงลำตัวสั้นหรือยาวก็ได้โดยที่แท่งถัดมาจะต้องมีสีเขียวและลำตัวยาวกว่าแท่งแรกเสมอโดยที่ราคาเปิดต้องต่ำกว่าหรือเท่ากับราคาปิดของแท่งแรก
    • Bearish Engulfing คือคือแท่งแรกจะมีสีเขียวลำตัวสั้นหรือยาวก็ได้โดยที่แท่งถัดมาจะต้องมีสีแดงและลำตัวยาวกว่าแท่งแรกเสมอโดยที่ราคาเปิดต้องสูงกว่าหรือเท่ากับราคาปิดของแท่งแรก
  • Inverted Hammer และ Shooting Star ทั้งสองจะเป็นหนึ่งในรูปแบบยอดฮิตและมีลักษณะเหมือนค้อนคือมีด้ามค้อนที่ยาวและมีหัวค้อนที่สั้นซึ่งจะมีประโยชน์และรายละเอียดการใช้งานดังต่อไปนี้
    • Inverted Hammer คือสัญญาณที่จะบอกถึง Bullish มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวจากแนวโน้มขาลงเป็นขาขึ้นลักษะจะสังเกตได้จากมีรูปแบบที่เหมือนค้อน มีสีอะไรก็ได้แต่ถ้าเป็นสีเขียวจะมีสัญญาณแรงซื้อมากกว่าแรงขาย และมักจะเกิดอยู่ใกล้กับราคาต่ำสุดของวัน
    • Shooting Star คือสัญญาณที่จะบอกถึง Bearish มีโอกาสสูงที่ราคาจะกลับตัวจากแนวโน้มขาขึ้นเป็นขาลงลักษะจะสังเกตได้จากมีรูปแบบที่เหมือนค้อน มีสีอะไรก็ได้แต่ถ้าเป็นสีแดงจะมีสัญญาณแรงขายมากกว่าแรงซื้อ และมักจะเกิดอยู่ใกล้กับราคาสูงสุดของวัน

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของแท่งเทียนก็เป็นอีกประเด็นสำคัญที่ช่วยให้เราสามารถบ่งบอกโอกาสที่เกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น…เพียงแต่ในหัวข้อนี้ไม่สามารถนำรูปแบบของ Price Action มานำเสนอได้หมดและไม่ได้การันตีว่าถ้าหากเกิดรูปแบบนี้แล้วจะมีโอกาสในการทำราคาดังตัวอย่างเสมอไปเพียงแต่จะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่าเท่านั้นเอง จึงสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น

พื้นฐานการวิเคราะห์ด้วย Chart pattern analysis เบื้องต้น

การดูรูปแบบ Chart pattern นั้นถือเป็นเรื่องที่ต่อยอดมากจากพื้นฐานการตีแนวรับแนวต้านดังหัวข้อด้านบน โดยในหัวข้อนี้จะเป็นการเสนอถึงการตีแนวรับแนวต้านในรูปแบบต่างๆแบบเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งตามหลักความเป็นจริงเราจะพบว่าในหลายๆสถานการ์ณที่พอเราตีเส้นออกมาแล้วพบว่ามันไม่ได้เป็นรูปแบบเส้นที่ขนานกันเสมอไป แต่มันกลับเป็นลักษะที่แปลกแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะเป็นการตีเส้นออกมาเป็นรูปสามเหลี่ยม หรือ สี่เหลี่ยมเป็นต้น [19]

A diagram of a graph Description automatically generated with medium confidence

รูปที่ 22 รูปภาพที่รวบรวม Chart pattern ยอดนิยมไว้ใช้สำหรับมองหา pattern ในรูปแบบต่างๆเพื่อมองหาจุดกับตัวหรือความต่อเนื่องของเทรนด์ในอนาคต ขอขอบคุณรูปภาพจาก forex-awards.com

นอกจากนี้แล้วเราจำเป็นจะต้องคำนึงถึง Pattern ของรูปแบบกราฟที่เกิดขึ้นมาด้วยว่าจะเป็นรูปแบบใดซึ่งจะเป็นการผสมผสามกันในหลายๆเรื่องไม่ว่าจะเป็นการตีเทรนไลน์เพื่อหารูปแบบหรือจะทำการดู Pattern รูปร่างของกราฟที่เกิดขึ้นด้วยเช่นกันโดยเราจะขอทำการเสนอรูปแบบของ Chart pattern ที่พบเห็นได้บ่อยและมีโอกาสที่จะทำราคาใดๆต่อไปดังรูปภาพด้านบนโดยจะมีลักษณะการมองหา Chart pattern ดังนี้

วิธีการมองหาประเภท Chart pattern

  1. พยายามจินตนาการว่ารูปร่างของกราฟแท่งเทียนตรงกับรูปภาพใดบนรูปตัวอย่างมากที่สุด
  2. มองให้ออกว่ากราฟนั้นจะบ่งบอกเราในเรื่องใด เช่น การกลับตัว หรือ การบอกเทรนด์ต่อที่เนื่อง
  3. วาดเส้นแนวรับแนวต้านออกมาให้คล้ายคลึงกับ Chart pattern ที่ใกล้เคียงมากที่สุด
  4. ให้ทำการรอจนกว่ากราฟราคาจะทำรูปแบบใกล้เคียงกับ Chart pattern มากที่สุด
  5. เมื่อกราฟราคาทำรูปแบบตาม Chart pattern ดังรูปที่จินตนาการไว้และเมื่อมายังจุดแนวรับแนวต้านให้ก็ให้ทำการพิจารณาการออกออเดอร์ได้เลยครับ

เนื่องจากหัวข้อของ Chart pattern analysis ก็เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีรายละเอียดที่ถือว่าเชิงลึกมากๆและมีความระเอียดอ่อนของมันเองในแต่ละ pattern เพราะเหตุนี้จึงขอกล่าวถึงวิธีการดูและการใช้งานคร่าวๆเท่านั้นเพื่อให้ทุกท่านรู้จักและนำไปต่อยอดได้ดียิ่งขึ้น

ทำความรู้จักความสามารถของเครื่องมือช่วยเทรด Indicator

หนึ่งในเครื่องมือหนึ่งที่ใช้งานได้ฟรีในแพลตฟอร์มอย่าง Metatrader ก็คือ Indicator [20] เป็นสิ่งที่คนพัฒนาขึ้นมาช่วยในการวิเคาะห์พฤติกรรมของราคากราฟในปัจจุบัน โดยเบื้องต้นก็มักจะนำราคาที่เกิดขึ้นในอดีตหรือรูปแบบต่างๆที่เกิดขึ้นที่ผ่านมา มาคำนวนเข้ากับสมการต่างๆทำให้สามารถคาดการณ์โอกาสในการทำราคาของอนาคตได้ ทั้งนี้ประโยชน์ของอินดิเคเตอร์นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละชนิดของมัน อีกทั้งยังมีความหลากหลายเป็นอย่างมากดังตัวอย่างอินดิเคเตอร์ต่อไปนี้

A graph on a computer screen Description automatically generated

รูปที่ 23 ตัวอย่างการแสดงผลของอินดิเคเตอร์ Moving Average (MA) และ Relative Strength Index (RSI) บนแพลตฟอร์ม Tradingview

  • Moving Average (MA) คือ อินดิเคเตอร์ประเภทTrend ที่เป็นเส้นค่าเฉลี่ยนของราคาหนึ่งในเครื่องมือยอดฮิตตลอดการซึ่งมีประวัติการใช้งานมานานมากๆ อีกทั้งยังเป็นต้นแบบให้กับอินดิเคเตอร์อีกหลายๆตัวอีกด้วยไม่ว่าจะเป็น MACD หรือ EMA เป็นต้น ซึ่งมีความสามารถในการหาเทรนด์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตหรือจะใช้เป็นสัญญาณในการออกออเดอร์ก็ได้เช่นกัน
  • Relative Strength Index (RSI) คือ หนึ่งในอินดิเคเตอร์ประเภท Oscillator ที่จะเข้ามาช่วยเหลือในการบอกโมเมนตัมที่เกิดขึ้นผ่านสภาวะตลาดที่มีสภาวะซื้อมากเกินไป (Overbought) หรือขายมากเกินไป (Oversold) เป็นต้น และเป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือหนึ่งที่จะเข้ามาช่วยดูในเรื่องจุดกลับตัวได้เป็นอย่างดี
  • Average True Range (ATR) คือหนึ่งในอินดิเคเตอร์ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องของการวัดความผันผวนของราคาในตลาดสามารถนำไปประยุกต์ในในด้านต่างๆได้อย่างมากมายเช่น ช่วยในเรื่องของการกำหนดจุด Stop loss เพื่อหาอัตราส่วน RR ในการออกออเดอร์ได้ เป็นต้น

ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเครื่องมือช่วยเทรดหรือ Indicator นั้นมีประโยชน์ที่ค่อนข้างหลากหลายทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานในแต่ละตัวด้วยและแน่นอนว่ามันก็ไม่ได้แม่นยำร้อยเปอร์เซ็นเสมอไปดังนั้นควรศึกษาความเป็นมาและวิธีการใช้งานให้มากยิ่งขึ้นและควรจะใช้ร่วมกับเทคนิคการเทรดอื่นๆด้วยจะทำให้เราสามารถออกออเดอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นทีเดียว

Forex Factory วิเคราห์ข่าวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อราคาของคู่เงินโดยตรง

ผลกระทบหลักอันดับหนึ่งสำหรับนักเทรดนั้นปฎิเสธไม่ได้เลยว่าจะต้องมาจาก เศรษฐกิจ เพราะเราต้องระลึกไว้เสมอครับว่าเราทำการเทรดกับคู่สกุลเงินและมันมีผลโดยตรงหากเกิดเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นกับประเทศคู่เงินนั้นๆแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเศรษฐกิจประเทศไหนดี เพราะฉะนั้นผมจึงขอนำเสนอเว็บไซต์ Forex Factory ที่เป็นเว็บในการรายงานข่าว Forex และช่วยสรุปผลกระทบจากข่าวโดยตรงโดยจะมีเนื้อและวิธีการดังต่อไปนี้

A screenshot of a computer Description automatically generated

รูปที่ 24 ตัวอย่างการใช้งาน Forex Factory วิเคราห์ข่าวทางเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อราคาของคู่เงินโดยตรง

  • Forex Factory คือ: เว็บที่รายงานข่าวที่เกี่ยวข้องกับ Forex โดยเฉพาะซึ่งจะแต่ละข่าวก็จะมีหัวข้อสกุลเงินและประเภทข่าวนั้นบอกเสมอ อีกทั้งยังบอกถึงเวลาข่าวที่จะออกล่วงหน้าให้เราสามารถเตรียมความได้อีกด้วย ซึ่งความสำคัญของข่าวจะแบ่งออกเป็น 4 สีและส่งผลกระทบต่อคู่สกุลเงินที่แตกต่างกันดังนี้
    • ผลกระทบน้อยมาก: Impact สีขาว หรือ เรียกว่าข่าวกล่องขาว
    • ผลกระทบน้อย: Impact สีเหลือง หรือ เรียกว่าข่าวกล่องเหลือง
    • ผลกระทบปานกลาง: Impact สีส้ม หรือ เรียกว่าข่าวกล่องส้ม
    • ผลกระทบสูงมาก: Impact สีแดง หรือ เรียกว่าข่าวกล่องแดง
  • ประเภทของข่าว Forex ที่มีมีผลกระทบมากที่สุด คือ ข่าวที่หากมีการเกิดกล่องสีส้มหรือสีแดงจะทำให้เกิดการกระชากของราคาอย่างรุนแรง
    • Non-Farm หรือ อัตราการจ้างงานสหรัฐฯ
    • Advance GDP หรือ ดัชนี GDP สหรัฐฯ
    • Fed Chair Powell Speaks หรือ แถลงการณ์ธนาคารกลางสหรัฐฯ
  • ประเภทของข่าว Forex ที่มีมีผลกระทบปานกลาง คือ
    • Federal Funds Rate หรือ การประกาศปรับอัตราดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐฯ
    • Unemployment Claims หรือ รายงานจำนวนคนยื่นขอรับสวัสดิการว่างงานสหรัฐฯ
    • CB Consumer Confidence หรือ รายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐฯ
    • Flash Manufacturing PMI หรือ ดัชนีภาคการผลิตสหรัฐฯ
    • Flash Services PMI หรือ ดัชนีภาคการบริการสหรัฐฯ
  • ตัวอย่างในกรณีเกิดข่าว : สมมุติหากการทำการเทรด คู่เงินที่มี USD อยู่ด้านหลัง เช่น EURUSD แล้วข่าวที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นกับคู่สกุลเงิน USD และเป็นข่าวกล่องแดงสิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อจากนี้คือ
    • หากการประกาศตัวเลข Actual ออกมาสูงกว่า Forecast ราคาจะมีแนวโน้มปรับตัวต่ำลง
    • หากการประกาศตัวเลข Actual ออกมาต่ำกว่า Forecast ราคาจะมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น

ทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานของ Broker forex และการคัดกรอง

หน้าที่ของโบรกเกอร์ก็คือจะเป็นตัวกลางในการซื้อขายคำสั่งของเราไปให้ยังผู้ให้สภาพคล่อง (Liquidity provider) แล้วจึงส่งเข้าตลาด forex [21] อีกทีนึง ดังนั้นแล้วเราจำเป็นจะต้องคัดกรองและเลือกใช้ โบรกเกอร์ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นหลัก ดังนั้นนั้นเราต้องเข้าใจหลักการทำงานของโบรกเกอร์และควรที่จะคัดกรองโบรกเกอร์ดังต่อไปนี้

A diagram of different types of buildings Description automatically generated

รูปที่ 25 ตัวอย่างเส้นทางดำเนินการในการส่งสัญญาณซื้อขายของเทรดเดอร์จนไปถึงปลายทางของตลาด Forex

  • บทบาทของ Broker Forex:
    • โบรกเกอร์ Forex ช่วยส่งคำสั่งซื้อขายของเทรดเดอร์ไปยังผู้ให้สภาพคล่อง (Liquidity Provider) และเข้าสู่ตลาด Forex
    • โบรกเกอร์จะได้ค่าบริการได้จาก 2 แหล่งหลักๆคือ spread และ commission
  • ประเภทของโบรกเกอร์:
    • No Dealing Desk (NDD) หรือ A-book: ส่งคำสั่งเข้าสู่ตลาดจริง ๆ โดยใช้การส่งสัญญาณแบบ Market Execution คือจะทำการส่งคำสั่งซื้อขายเข้าสู่ตลาด โดยคำสั่งนี้จะไม่ถูก Requote แต่อาจจะได้คำสั่งซื้อในราคาที่คลาดเคลื่อนไปเล็กน้อย
    • Dealing Desk (DD) หรือ B-book: รับคำสั่งเองและใช้การส่งสัญญาณแบบ Instant Execution คือมีคำสั่งในการซื้อขายทันทีจะได้ในราคาที่ไม่คลาดเคลื่อน เนื่องจาก เป็นผู้รับคำสั่งเองแต่ก็ยังมีโอกาสที่จะ Requote ได้
    • Hybrid Model: โบรกเกอร์ที่ใช้ทั้ง A-book และ B-book
  • การเลือกโบรกเกอร์ที่น่าเชื่อถือ:
    • Commission: เปรียบเทียบค่าคอมมิชชั่นระหว่างโบรกเกอร์
    • Spread: ค่า Spread มีผลต่อการทำกำไร ควรเลือกโบรกเกอร์ที่มีค่าน้อย
    • Swap: ค่าธรรมเนียมการถือครองออเดอร์ข้ามคืน มีทั้งบวกและลบ
    • การฝากถอนเงิน: ตรวจสอบความสะดวกและรวดเร็วในการฝากถอนเงิน
    • License: ใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแลเพื่อความน่าเชื่อถือเช่น (FCA, ASIC, CySEC, NFA) เป็นต้น
    • ตรวจสอบประวัติและความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์: ตรวจสอบผ่านทางเว็บรีวิวโบรกเกอร์ในไทยหรือตามแพลตฟอร์มรีวิวที่เชื่อถือได้
    • บริการลูกค้า: สามารถติดต่อสอบถามแก้ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้อย่างรวดเร็ว

สรุป

จากเนื้อหาที่ผ่านมานั้นจะเห็นได้ว่าเป็นเนื้อหาที่สามารถนำไปใช้งานและนำไปต่อยอดได้จริงตั้งแต่การทำความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานฟอเร็กซ์จนไปถึงคำศัพท์พื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้อีกทั้งยังสอนถึงกลยุทธ์พื้นฐานหรือเทคนิคในการเทรดเบื้องต้นอีกด้วย ไม่เพียงเท่านั้นการเน้นย้ำความสำคัญในการซื้อขายสินทรัพย์ผ่านตัวกลางในการเทรดอย่างโบรกเกอร์ก็มีความสำคัญไม่แพ้กับประเด็นอื่น

…แต่อย่างไรก็ดีเนื้อหาของฟอเร็กซ์และโดยเฉพาะกลยุทธิ์ในการเทรดนี้เป็นเพียงพื้นฐานเบสิคเท่านั้น โดยในความเป็นจริงเนื้อในบทนี้ถือว่ามีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งหากได้ก้าวเข้าสู่วงการฟอเร๊กซ์แล้วนั้นจะได้พบความจริงอย่างหนึ่งที่ว่าเทคนิคการเทรดไม่ได้มีตายตัวและเทคนิคแต่ละอย่างก็อาจจะไม่ได้เหมาะสมกับเรา ดังนั้นแล้วเราจึงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าในบทความนี้จะเป็นพื้นฐานที่สมบูรณ์จนสามารถนำความรู้เหล่านี้ไปแต่ยอดในวงการ Forex ได้อย่างมีประสิธิภาพ

อ้างอิง

  • [1] https://www.forbes.com/advisor/investing/what-is-forex-trading/
  • [2] https://www.plus500.com/en-au/tradingacademy/tradersguide/what-is-cfd-trading~1
  • [3] https://www.babypips.com/learn/forex/forex-market-structure
  • [4] https://phantomtradingfx.com/productivity/forex-market-hours-and-sessions/
  • [5] https://www.babypips.com/learn/forex/lots-leverage-and-profit-and-loss
  • [6] https://www.babypips.com/learn/forex/pips-and-pipettes
  • [7] https://www.forbes.com/advisor/investing/what-is-leverage/
  • [8] https://www.babypips.com/learn/forex/what-is-account-balance
  • [9] https://www.babypips.com/learn/forex/what-is-equity
  • [10] https://www.babypips.com/learn/forex/what-is-margin
  • [11] https://www.babypips.com/learn/forex/what-is-margin-level
  • [12] https://www.babypips.com/learn/forex/types-of-orders
  • [13] https://www.litefinance.org/blog/for-beginners/what-is-forex/what-is-drawdown-in-trading
  • [14] https://en.wikipedia.org/wiki/Candlestick_chart
  • [15] https://www.litefinance.org/blog/for-beginners/what-is-forex/major-currency-pairs/
  • [16] https://www.babypips.com/learn/forex/trend-lines
  • [17] https://www.babypips.com/learn/forex/support-and-resistance
  • [18] https://www.babypips.com/forexpedia/category/price-action
  • [19] https://www.forex-awards.com/forex-columns/?id=25522
  • [20] https://www.investopedia.com/articles/forex/10/indicators-fx-traders-must-know.asp
  • [21] https://www.investopedia.com/terms/forex/c/currency-trading-forex-brokers.asp

เขียนโดย

Alisa William

ผู้ตรวจทานความถูกต้อง

Chonthicha Poomidon